ข้ามไปเนื้อหา

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม[1] (อังกฤษ: behavioral economics) และสาขาที่เกี่ยวข้องกันคือ การเงินพฤติกรรม (อังกฤษ: behavioral finance) เป็นสาขาวิชาการที่ศึกษา[2]

  • ผลขององค์ประกอบต่าง ๆ ทางจิตวิทยา ทางสังคม ทางประชาน และทางอารมณ์ ต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ของทั้งระดับบุคคลและสถาบัน
  • และผลที่เกิดขึ้นจากองค์ต่าง ๆ เหล่านั้นต่อราคาตลาด ผลกำไร และการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมพุ่งความสนใจไปที่การตัดสินใจด้วยเหตุผลที่มีความจำกัด ขององค์กรและบุคคล แบบจำลองพฤติกรรมที่ใช้ในสาขาจะรวมความรู้ความเข้าใจจากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งจิตวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์จุลภาค[3][4] บางครั้งจะมีการกล่าวถึงเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมว่า เป็นทางเลือกของ neoclassical economics สิ่งที่เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมศึกษารวมทั้งการตัดสินใจทางตลาด และกลไกที่ขับเคลื่อนการเลือกผลิตโภคภัณฑ์เพื่อมหาชน (public choice) การใช้คำว่า "เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม" ในเอกสารวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา[5] ส่วนบทความ "Prospect Theory: An Analysis of Decision under Risk (ทฤษฎีความคาดหวัง: การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง)" (ค.ศ. 1979) ของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้[6] เป็น "บทความตั้งต้นของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม"[7]

มีประเด็นทางการศึกษาหลัก ๆ 3 อย่าง คือ[8]

  • ฮิวริสติกที่ใช้ในการประเมินและการตัดสินใจ คือ เรามักจะทำการตัดสินใจโดยใช้กฎที่ง่าย ๆ ซึ่งไม่ใช่วิธีการคิดโดยเหตุผลที่สมบูรณ์
  • Framing คือ เรื่องราวต่าง ๆ (anecdote) และการเหมารวม (stereotype) แบบต่าง ๆ ซึ่งเราใช้เป็นตัวกรองทางอารมณ์เพื่อทำความเข้าใจและตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  • วิกลภาพทางตลาด (Market anomaly) รวมทั้งความผิดปกติของกลไกของราคาที่มีผลต่ออุปสงค์และอุปทาน และการตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามเหตุผล

นักวิชาการที่สำคัญ

[แก้]

เศรษฐศาสตร์

[แก้]

การเงิน

[แก้]

จิตวิทยา

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เว็บไซท์ใช้ชื่อสาขาวิชาเป็น "เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม" รักอำนวยกิจ, ปังปอนด์; ผลพิรุฬห์, พิริยะ. ""ความตาย" ในแนวคิดทาง "เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม"". สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Lin, Tom C. W. (2012-04-16). "A Behavioral Framework for Securities Risk". Seattle Law Review. 325.
  3. "Search of behavioural economics". The New Palgrave Dictionary of Economics Online.
  4. Minton, Elizabeth A; Khale, Lynn R. (2014). Belief Systems, Religion, and Behavioral Economics. New York: Business Expert Press LLC. ISBN 978-1-60649-704-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. "Behavioral economics » in U.S. (antitrust) scholarly papers". le concurrentialiste - Chroniques de droit économique. 2014-04-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-03-20.
  6. Kahneman & Tversky 1979.
  7. Shafir & LeBoeuf 2002.
  8. Shefrin 2002
  9. Grauwe, Paul De; Ji, Yuemei (November 1, 2017). "Behavioural economics is also useful in macroeconomics".
  10. Bernheim, Douglas; Rangel, Antonio (2008). "Behavioural public economics". in Palgrave
  11. "Uri Gneezy". ucsd.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-25. สืบค้นเมื่อ 2015-04-07.
  12. "Robert Sugden".
  13. "Predictably Irrational". Dan Ariely. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25.
  14. Staddon, John (2017). "6: Behavioral Economics". Scientific Method: How science works, fails to work or pretends to work. Routledge. ISBN 978-1-351-58689-4.

แหล่งข้อมูล

[แก้]