เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค
การปกครองเนเธอร์แลนด์ โดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค Habsburg Netherlands | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1482–1794 | |||||||||||||
สถานะ | รัฐร่วมประมุขภายในจักรวรรดิ | ||||||||||||
เมืองหลวง | บรัสเซลส์ | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ดัตช์, แซกซอนต่ำ, ฟรีเชียตะวันตก, วัลลูน, ลักเซมเบิร์ก, ฝรั่งเศส | ||||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคใหม่ตอนต้น | ||||||||||||
• ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ครับสืบทอดอาณาจักร | ค.ศ. 1482 | ||||||||||||
• ผนวกเข้าเป็นเครือราชรัฐบูร์กอญ | ค.ศ. 1512 | ||||||||||||
ค.ศ. 1549 | |||||||||||||
• สืบทอดต่อให้กับสเปนของฮาพส์บวร์ค | ค.ศ. 1556 | ||||||||||||
30 มกราคม ค.ศ. 1648 | |||||||||||||
7 มีนาคม ค.ศ. 1714 | |||||||||||||
18 กันยายน 1794 | |||||||||||||
|
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
| ||||
---|---|---|---|---|
ราชอาณาจักรแฟรงก์ (คริสต์ศตวรรษที่ 5-10) |
ฟริเซีย (600-734) | |||
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หลังปี 800 | ||||
แฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) | อาณาจักรแฟรงก์กลาง (โลทาริงเกีย) (843–870) | |||
แฟลนเดอส์และโลทาริงเกียในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (870–880) | ||||
แฟลนเดอส์ (862–1384) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ ศตวรรษ ที่ 10–14) |
ราชอาณาจักรโลทาริงเกีย (ต่อมาเป็นดัชชี) ในแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี) (880-1190) | |||
บิชอปแห่ง ลีแยฌ (980-1794) ดัชชีบูลียง (988-1795) แอบบีย์ สตาวีลอต -มาลเมดีย์ (1138-1795) |
ดัชชีบราบันต์ (1183-1430) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) |
เคาน์ตี/ ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (963–1443) |
เคาน์ตีฮอลแลนด์ (880-1432) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) | |
เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (1384–1477) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล) (1482–1556) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของสเปน (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1556–1714) |
สาธารณรัฐดัตช์ (1581–1795) | |||
เนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1714–1795) | ||||
การปฏิวัติลีแยฌ (1789–1792) |
สหรัฐเบลเยียม (1790) |
|||
ตกเป็นส่วนหนึ่งของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (1795–1804) และ จักรวรรดิฝรั่งเศส (1804–1815) |
สาธารณรัฐ บาตาเวีย (1795–1806) | |||
ราชอาณาจักร ฮอลแลนด์ (1806–1810) | ||||
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (1815-1830) | ||||
ราชอาณาจักรเบลเยียม (ตั้งแต่ 1830) |
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (รัฐร่วมประมุข) |
ราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ (ตั้งแต่ 1830) | ||
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (ตั้งแต่ 1890) |
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (อังกฤษ: Habsburg Netherlands, ดัตช์: Habsburgse Nederlanden; ฝรั่งเศส: Pays-Bas des Habsbourg) ซึ่งในภาษาละตินเรียกถึงว่า เบลจิกา (Belgica) เป็นกลุ่มดินแดนในศักดินาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีบริเวณอยู่ในกลุ่มประเทศต่ำ ซึ่งปกครองโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้อำนาจของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่ผู้ปกครองคนสุดท้ายจากราชวงศ์วาลัว-บูร์กอญ คือ มารีแห่งบูร์กอญ ซึ่งเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ ค.ศ. 1482[1] ต่อมาพระราชนัดดา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ผู้ซึ่งประสูติในเนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์คได้แต่งตั้งบรัสเซลส์เป็นหนึ่งในเมืองหลวง[2][3]
ต่อมาได้กลายเป็นกลุ่มสิบเจ็ดมณฑลในปีค.ศ. 1549 และต่อมาได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสายสเปน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1556 ซึ่งถูกเรียกว่าเนเธอร์แลนด์ของสเปน ตั้งแต่บัดนั้น[4] ต่อมาในปีค.ศ. 1581 ได้เกิดการปฏิวัติดัตช์ขึ้นเพื่อแยกดินแดนในกลุ่มรัฐทั้งเจ็ดเป็นอิสระเพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐดัตช์ ซึ่งทำให้ดินแดนส่วนที่เหลือในเนเธอร์แลนด์ใต้ที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนนั้นได้กลายเป็นเนเธอร์แลนด์ของออสเตรียในปีค.ศ. 1714 อันเป็นผลของสนธิสัญญาราสตัทท์ (Treaty of Rastatt)
การปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสิ้นสุดลงในการผนวกดินแดนภายหลังการจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เมื่อปีค.ศ. 1795
ภูมิศาสตร์
[แก้]เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์คกินอาณาเขตทั้งหมดของกลุ่มประเทศต่ำ (ในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน) และจังหวัดนอร์ และปาดกาแลเกือบทั้งหมดในฝรั่งเศสปัจจุบัน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1482 จนถึงค.ศ. 1581
โดยภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีผู้ปกครองคือฟีลิปเลอบง ดยุกแห่งบูร์กอญระหว่างปีค.ศ. 1419-1467 จังหวัดต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์ก็เริ่มเติบโตไปด้วยกัน ถึงแม้ว่าอดีตจะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของทั้งอาณาจักรฝรั่งเศส และอีกส่วนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ ดินแดนที่เป็นรัฐบริวาร ได้แก่ ฟลานเดอร์ส อาร์ตัว และเมเคอเลิน นามูร์ ฮอลแลนด์ เซลันด์ และแอโน บราบันต์ ลิมบวร์ก และลักเซมเบิร์ก ได้ถูกปกครองแบบรัฐร่วมประมุขโดยมีกษัตริย์จากราชวงศ์วาลัว-บูร์กอญ และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์บูร์กอญอยู่ที่ดัชชีบราบันต์อันเป็นสถานที่ตั้งของราชสำนักในกรุงบรัสเซลส์
โอรสของดยุกฟีลิปเลอบง ชาร์ลผู้อาจหาญ (ดยุกแห่งบูร์กอญ ระหว่างปีค.ศ. 1467-1477) ยังสามารถผนวกดินแดนเกลเดอรส์ และซุทเฟิน มาครองได้และยังคาดหวังฐานันดรศักดิ์และบรรดาศักดิ์จากจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ผ่านการเสกสมรสกับพระธิดา แต่ก็ล้มเหลวจึงทำให้เขาได้เริ่มก่อสงครามบูร์กอญขึ้น และสิ้นชีพลงในยุทธการน็องซี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sicking, L. H. J. (2004-01-01). Neptune and the Netherlands: State, Economy, and War at Sea in the Renaissance (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 13. ISBN 9004138501.
- ↑ "How Brussels became the capital of Europe 500 years ago". The Brussels Times (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-21. สืบค้นเมื่อ 2020-03-01.
- ↑ Jr, Everett Jenkins (2015-05-07). The Muslim Diaspora (Volume 2, 1500-1799): A Comprehensive Chronology of the Spread of Islam in Asia, Africa, Europe and the Americas (ภาษาอังกฤษ). McFarland. p. 36. ISBN 978-1-4766-0889-1.
- ↑ Kamen, Henry (2014-03-26). Spain, 1469–1714: A Society of Conflict (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781317755005.