ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมอาบ
ในรัชกาลที่ 5
เกิดอาบ บุนนาค
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424
จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 (80 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดามารดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
ท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธ์พิสุทธิ์

เจ้าจอมอาบ บุนนาค ท.จ. (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ

เจ้าจอมอาบ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 เป็นบุตรคนที่ 12 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม: วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อเจ้าจอมอาบอายุได้ 10 ปี ได้เข้ากรุงเทพ เพื่อร่วมขบวนแห่โสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2434 และเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2438 เมื่ออายุได้ 14 ปี มีหน้าที่ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับเจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ริมถนนสุโขทัย ติดกับสวนของเจ้าจอมเอิบและสวนเจ้าจอมเอื้อน ปัจจุบันคือ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าจอมอาบ ได้ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา หรือเสด็จพระองค์อาทรฯ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่งทรงถูกพระอัธยาศัยกันกับท่านเจ้าจอม ท่านเจ้าจอมจึงย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับเสด็จพระองค์อาทรฯ ที่ตำหนักทิพย์ ส่วนเรือนของท่านเอง ที่สร้างในที่พระราชทานใกล้ ๆกับเรือนของเจ้าจอมพี่น้องของท่านนั้น ท่านยกเป็นมรดกให้กับหลานที่ท่านเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กไปเลยก่อนที่จะย้ายมาพำนักที่ตำหนักทิพย์เป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทรฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๕๐๑ ท่านเจ้าจอมอาบเป็นผู้ดูแลเตรียมงานพระศพจนลุล่วงไปด้วยดี และท่านก็ยังคงพำนักอยู่ ณ ตำหนักทิพย์ต่อมา

ท่านเจ้าจอมอาบ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ด้วยอาการหัวใจวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 80 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7
  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum


  1. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1015. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "บอกแก้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1157. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)