อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ที่ตั้ง | จังหวัดพังงา ประเทศไทย |
พิกัด | 8°41′54″N 98°16′49″E / 8.69833°N 98.28028°E |
พื้นที่ | 125 km2 (48 sq mi) |
จัดตั้ง | สิงหาคม พ.ศ. 2534 |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดพังงาของประเทศไทย ตั้งชื่อตามยอดเขาสองลูก คือ เขาหลักและเขาลำรู่ เป็นอุทยานที่มีภูมิลักษณ์หลากหลายทั้งป่าและชายหาด
ภูมิศาสตร์
[แก้]อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อยู่ห่างจากเทศบาลนครภูเก็ตไปทางทิศเหนือ 115 กิโลเมตร (71 ไมล์) และห่างจากเทศบาลเมืองตะกั่วป่าไปทางทิศใต้ 30 km (19 mi) พื้นที่ชายฝั่งของอุทยานเป็นที่ตั้งของเขาหลัก
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ มีพื้นที่ 125 ตารางกิโลเมตร (48 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่สี่อำเภอในจังหวัดพังงา ได้แก่ อำเภอกะปง อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง[1] จุดที่สูงที่สุดมีความสูง 1,077 เมตร (3,530 ฟุต).[2][3]
ประวัติ
[แก้]เดิมทีอุทยานเป็นพื้นที่ป่าริมชายฝั่ง ต่อมาใน พ.ศ. 2527 ได้มีการสำรวจพื้นที่ป่าและภูเขาและมีการเสนอให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนของจังหวัดพังงา สุดท้ายในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2534 เขาหลัก-ลำรู่ กลายเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทย[2]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 คลื่นสึนามิได้สร้างความเสียหายต่อเขาหลัก โดยเขาหลักเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิครั้งนี้มากที่สุด มีผู้เสียชีวิต 4,000 ราย
จุดท่องเที่ยว
[แก้]อุทยานมีน้ำตกใหญ่หลายแห่ง โดยน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดคือน้ำตกลำรู่ มี 5 ชั้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำตกอื่น ๆ ได้แก่ น้ำตกลำพราว น้ำตกหินลาด และน้ำตกต้นช่องฟ้า[4] ส่วนพื้นที่ชายฝั่งของเขาหลักมีน้ำทะเลที่ใสสะอาด[5] เขาหลักยังมีที่พัก[6]มากมายที่น่าสนใจ ทั้งวิวสวย ติดทะเล และภูเขา
หาดนางทอง เมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดจะมองเห็นเป็นหาดทรายสีดำ ซึ่งคือแร่ดีบุกที่ถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมา[7]
ความหลากหลายทางชีวภาพ
[แก้]ป่าไม้ในเขตอุทยานเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ พืชพันธุ์ที่พบได้แก่ ตะเคียน ยาง ตีนเป็ด จำปา กระบาก กล้วยไม้ และเฟิร์น[2] ส่วนในพื้นที่ชายฝั่ง พบมะม่วงหิมพานต์และจิกทะเล[2]
สัตว์ขนาดเล็กที่พบได้แก่ บ่าง หมีกระรอก และเพียงพอนมลายู สัตว์ขนาดใหญ่ได้แก่ เลียงผาใต้และสมเสร็จมลายู นอกจากนี้ ยังพบสัตว์เลื้อยคลาน อาทิ ตะกวดและงูมลายู[2]
นกที่อาศัยในเขตอุทยานได้แก่ เหยี่ยวรุ้ง อินทรีทะเลปากขาว นกพิราบมรกต นกเงือกปากดำ และนกแก๊ก[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Khao Lak-Lam Ru National Park". Tourism Authority of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 2 Apr 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Khao Lak-Lam Ru National Park". Department of National Parks (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2013. สืบค้นเมื่อ 31 Mar 2013.
- ↑ Williams, China; Beales, Mark; Bewer, Tim (Feb 2012). Lonely Planet Thailand (14th ed.). Lonely Planet Publications. pp. 654. ISBN 978-1-74179-714-5.
- ↑ "National Parks in Thailand: Khao Lak-Lam Ru National Park" (PDF). Department of National Parks (Thailand). pp. 225–226. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ Nam, Suzanne (Feb 2012). Moon Handbooks Thailand (5th ed.). Avalon Travel. p. 218. ISBN 978-1-59880-969-5.
- ↑ gother.com. "10 พิกัดที่พักเขาหลักประตูสู่การดำน้ำเกาะสุรินทร์และสิมิลัน". Gother.com.
- ↑ อันซีนพังงา “หาดนางทอง” ธรรมชาติสุดแปลกตา หาดทรายสีดำพบไม่กี่แห่งในโลก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว เขาหลัก จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)