ข้ามไปเนื้อหา

อะแพโทซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะแพทโตซอรัส)

อะแพโทซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนปลาย (Kimmeridgian ถึง Tithonian), 152–151Ma
โครงกระดูก A. louisae (ตัวอย่างชนิด CM 3018), Carnegie Museum of Natural History
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
เคลด: ไดโนเสาร์
Dinosauria
เคลด: ซอริสเกีย
Saurischia
เคลด: ซอโรโพโดมอร์ฟา
Sauropodomorpha
เคลด: ซอโรพอด
Sauropoda
วงศ์ใหญ่: Diplodocoidea
วงศ์: Diplodocidae
วงศ์ย่อย: Apatosaurinae
สกุล: อะแพโทซอรัส

Marsh, 1877
ชนิดต้นแบบ
Apatosaurus ajax
Marsh, 1877
ชนิดอื่น ๆ
  • A. louisae
    Holland, 1916
ชื่อพ้อง

อะแพโทซอรัส (อังกฤษ: Apatosaurus, /əˌpætəˈsɔːrəs/;[3][4] แปลว่า "กิ้งก่าปลอม") เป็นสกุลของไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลาย Othniel Charles Marsh อธิบายและตั้งชื่อสปีชีส์แรกว่า A. ajax ใน ค.ศ. 1877 และ A. louisae สปีชีส์ที่สองถูกค้นพบและตั้งชื่อโดยวิลเลียม เฮช. ฮอลแลนด์ ใน ค.ศ. 1916. อะแพโทซอรัสมีชีวิตประมาณ 152 ถึง 151 ล้านปีก่อน ในช่วงยุคคิมเมอริดเจียนตอนปลายถึงยุคทีโธเนียนตอนต้น

อะแพโทซอรัส อยู่ในสกุลของวงศ์ Diplodocidae ในขณะที่วงศ์ย่อย Apatosaurinae ถูกตั้งชื่อใน ค.ศ. 1929 กลุ่มของมันไม่ได้มีชื่อตามกฎจนถึง ค.ศ. 2015 โดยมีแค่ บรอนโตซอรัส ที่อยู่ในวงศ์ย่อย ในขณะที่จำพวกอื่นถือเป็นชื่อพ้องหรือเปลี่ยนเป็นdiplodocines บรอนโตซอรัส เคยเป็นชื่อพ้องย่อยของ อะแพโทซอรัส มาเป็นเวลานาน; ประเภทสปีชีส์ถูกเปลี่ยนเป็น A. excelsus ใน ค.ศ. 1903. การศึกษาใน ค.ศ. 2015 สรุปว่า บรอนโตซอรัส เป็นสกุลของซอโรพอดห่าง ๆ จาก อะแพโทซอรัส แต่ใช่ว่านักบรรพชีวินวิทยายอมรับ ในตอนที่ไดโนเสาร์พันธุ์นี้มีชีวิตในอเมริกาเหนือช่วงยุคจูแรสสิกตอนปลาย อะแพโทซอรัส อาจมีชีวิตร่มกับ อัลโลซอรัส, คามาราซอรัส, ดิพโลดูคัส และ สเตโกซอรัส

รายละเอียด

[แก้]

อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 (สูสีกับดิพโพลโดคัสมากนะครับ)

ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า

ลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน)

หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่

ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่าทั้ง 2 ตัวนี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน

อะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taylor, M.P. (2010). "Sauropod dinosaur research: a historical review." Pp. 361–386 in Moody, R.T.J., Buffetaut, E., Naish, D. and Martill, D.E. (eds.), Dinosaurs and Other Extinct Saurians: A Historical Perspective. London: The Geological Society, Special Publication No. 34.
  2. Berman, D.S. and McIntosh, J. S. (1978). "Skull and relationships of the Upper Jurassic sauropod Apatosaurus (Reptilia, Saurischia)." Bulletin of the Carnegie Museum, 8: 1–35.
  3. "Apatosaurus". Merriam-Webster Dictionary.
  4. "Apatosaurus". Dictionary.com Unabridged. Random House.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]