ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

เกิด13 ธันวาคม พ.ศ. 2454
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต7 มิถุนายน พ.ศ. 2525 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
นามปากกาบุญเหลือ
อาชีพนักเขียน นักวิชาการ
สัญชาติไทย
คู่สมรสนายแพทย์ชม เทพยสุวรรณ
บิดามารดา

ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (ราชสกุลเดิม กุญชร; 13 ธันวาคม พ.ศ. 2454 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2525) เป็นนักเขียน และนักวิชาการภาษาไทย เป็นธิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) กับนวล กุญชร ณ อยุธยา

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (ราชสกุลเดิม กุญชร) เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2454 เป็นธิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) กับนวล กุญชร ณ อยุธยา เกิดที่บ้านย่านคลองเตย ถนนสุนทรโกษา ซึ่งเป็นบ้านพักนอกเมืองของบิดา เป็นน้องสาวร่วมบิดากับหม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ นักเขียนชาวไทย ที่มีนามปากกาว่า ดอกไม้สด จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ และไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่ปีนัง และประเทศอังกฤษ จากนั้นมาศึกษาต่อที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2479 แล้วเข้ารับราชการสอนหนังสือที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเป็นอาจารย์สอนพิเศษภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์ และสอนภาษาไทยที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคนแรก

จากนั้นไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐ และกลับมารับราชการ จนลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2513 ขณะดำรงตำแหน่งคณบดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตบางแสน (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยบูรพา) ระหว่างปี พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2503

หม่อมหลวงบุญเหลือ สมรสกับนายแพทย์ชม เทพยสุวรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ไม่มีบุตรธิดา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2525 สิริอายุได้ 70 ปี

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ภาษาและวรรณคดี กรมส่งเสริมสถานภาพสตรี และการส่งเสริมสันติภาพ พร้อมกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกอีก 97 รายการ[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ยูเนสโกชูสมเด็จพระพันวัสสาฯบุคคลสำคัญของโลก". โพสต์ทูเดย์. 10 พฤศจิกายน 2554. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9