ศาลปฏิวัติ
ศาลปฏิวัติ[1] (ฝรั่งเศส: Tribunal révolutionnaire) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยสภาแห่งชาติในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อใช้ไต่สวนนักโทษการเมือง และกลายเป็นหนึ่งในองค์กรทรงอำนาจที่สุดในสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว คดีที่ผ่านศาลนี้จะไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลปฏิวัติเฉพาะกาลได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1792 หลังเกิดเหตุการณ์บุกพระราชวังตุยเลอรี เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ประเทศว่าบ้านเมืองยังมีกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรับมือกับอาชญากรรมทางการเมืองและกบฎอยู่ และยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้ระบบศาลเตี้ยตามอำเภอใจ ศาลปฏิวัติมีตุลาการห้าคน อัยการหนึ่งคน และรองอัยการสองคน ทั้งหมดได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งจากสภา นอกจากนี้ ศาลยังมีคณะลูกขุนจำนวนสิบสองคน ถือเป็นพัฒนาการในระบบยุติธรรมของฝรั่งเศสซึ่งมีแบบอย่างมาจากกฎหมายอังกฤษ[2]
ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1793 สภาแห่งชาติได้แบ่งสำนักงานศาลออกเป็นสี่แห่งเพื่อรับมือกับการพิจารณาคดีที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมโหฬาร นอกจากนี้ สภายังกำหนดให้ลูกขุนทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งทางตรงโดยคณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะ หรือคณะกรรมาธิการความมั่นคงทั่วไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สาลินี อาชวานันทกุล (2562-05-01). "ตุลาการภิวัตน์ ความเป็นมนุษย์ของผู้พิพากษา กับ We. The Revolution". เดอะแมตเทอร์. กรุงเทพฯ: เดอะแมตเทอร์. สืบค้นเมื่อ 2565-10-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Andress, David (2005). The Terror: Civil War in the French Revolution. London: Abacus. ISBN 0-349-11588-5.