บุญส่ง น้อยโสภณ
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บุญส่ง น้อยโสภณ | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ | |
ก่อนหน้า | ศุภชัย สมเจริญ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
กรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (4 ปี 245 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491 |
พรรคการเมือง | อิสระ |
บุญส่ง น้อยโสภณ (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491) เป็น รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง และสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 13 อดีตที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา คนที่สอง (นายศุภชัย สมเจริญ) อดีตประธานกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 และอดีต กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับผิดชอบด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย [1][2] [3]
ประวัติการศึกษา
[แก้]- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายเแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การศึกษาอบรมพิเศษ
[แก้]- รับทุนกองทัพอากาศให้ไปศึกษาต่อด้านวิชาสื่อสาร ระยะเวลา 47 สัปดาห์ ณ Keesler Airforce Base Mississippi ประเทศสหรัฐอเมริกา
- วุฒิบัตร หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 5 วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 6 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 21
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 5 วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 9 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรสื่อสุขภาพ (HAM) รุ่นที่ 3 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- วุฒิบัตร หลักสูตรการบริหารเชิงนิติศาสตร์ระดับสูง (วทน.) รุ่นที่ 1 วิทยาลัยทนายความ สภาทนายความ
ประวัติการทำงานที่สำคัญ
[แก้]- นายทหารสารบรรณ กองเศรษฐกรรม กรมสวัสดิการทหารอากาศ
- อัยการผู้ช่วย กองคดี กรมอัยการ
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 18
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอุบลราชธานี
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงสมุทรปราการ
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสมุทรปราการ
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 3
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7
- อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3
- รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
- กรรมการการเลือกตั้ง
- ประธานกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ที่ปรึกษา รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง (นายศุภชัย สมเจริญ)
ประสบการณ์ทำงานพิเศษ
[แก้]ได้รับเลือกตั้งจากผู้พิพากษาทุกชั้นศาลทั่วประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง
- กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในศาลชั้นต้น (ปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544)
- กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในศาลชั้นอุทธรณ์ (ปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548)
- กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในศาลชั้นฎีกา (ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550)
- กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในศาลชั้นอุทธรณ์ (ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552)
ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ศาลยุติธรรม จำกัด ให้เป็น
- รองประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ศาลยุติธรรม จำกัด (ปี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ เจาะ 5 เสือ กกต.ใครเป็นใคร... โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 14 ธ.ค. 2556 02:30 สืบค้นวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ เลือกสมชัย-บุญส่ง-ประวิชนั่งกกต. โดย ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์ 15 ตุลาคม 2556 เวลา 14:20 น. เก็บถาวร 2021-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ คอลัมภ์เปิดปูม “5 เสือ กกต.” ชุดใหม่ จากเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๑, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘