ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลในสังกัดของกรุงเทพมหานครเอง 12 แห่ง(ไม่นับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) ศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง ประกอบไปด้วยศูนย์เอราวัณ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และศูนย์นเรนทร สังกัดโรงพยาบาลราชวิถี

โรงพยาบาลเอกชนมีทั้งหมด 112 แห่ง และ โรงพยาบาลของรัฐทั้งหมด 22 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง โรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 3 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทางโรคไต 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ รวมโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั้งสิ้น 151 โรงพยาบาล 5 สถานพยาบาล

โรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม ได้แก่ โรงพยาบาลทันตกรรม กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล โรงพยาบาลฟันทองหล่อ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชถือว่าเป็นสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรุงเทพมหานครโดยตรงแต่เป็นโรงพยาบาลในกำกับของกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2559 โรงพยาบาลเดชา ถูกกระทรวงสาธารณสุขสั่งปิดกิจการ ต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครโดยเพิ่มโรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานราชการ สังกัดสำนักการแพทย์ [1]และในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โรงพยาบาลวิมุต เปิดทำการ

โรงพยาบาลของเอกชนที่ไม่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ 1
  2. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ 2
  3. โรงพยาบาลวิภาวดี 1
  4. โรงพยาบาลบีแคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
  5. โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  6. โรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย
  7. โรงพยาบาลหัวใจ
  8. โรงพยาบาลการุญเวช สุขาภิบาล 3
  9. โรงพยาบาล ซีจีเอช สายไหม
  10. โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  11. โรงพยาบาลบางมด 3
  12. โรงพยาบาล บางปะกอก 1
  13. โรงพยาบาล บางปะกอก-รังสิต 2
  14. โรงพยาบาลบางโพ
  15. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (สาขาพร้อมมิตร)
  16. โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  17. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  18. โรงพยาบาลซีจีเอช พหลโยธิน
  19. โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  20. โรงพยาบาลคลองตัน
  21. โรงพยาบาลกรุงธน 1
  22. โรงพยาบาลนครธน
  23. โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน
  24. โรงพยาบาลพญาไท 1
  25. โรงพยาบาลพญาไท 2
  26. โรงพยาบาลพญาไท 3
  27. โรงพยาบาลเพชรเกษม-บางแค
  28. โรงพยาบาลพระราม 9
  29. โรงพยาบาลรามคำแหง
  30. โรงพยาบาลจักษุรัตนิน
  31. โรงพยาบาลสมิติเวช
  32. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์
  33. โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์
  34. โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท
  35. โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี
  36. โรงพยาบาลศรีวิชัย 1
  37. โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม
  38. โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
  39. โรงพยาบาลสุขุมวิท
  40. โรงพยาบาลสินแพทย์
  41. โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  42. โรงพยาบาลเทพธารินทร์
  43. โรงพยาบาลธนบุรี 1
  44. โรงพยาบาลเวชธานี
  45. โรงพยาบาล ตาหู จมูก
  46. โรงพยาบาลกรุณาพิทักษ์
  47. โรงพยาบาลบางกอกเนอสซิ่งโฮม
  48. โรงพยาบาลยศเส
  49. โรงพยาบาลเยาวรักษ์
  50. โรงพยาบาลศูนย์มะเร็งกรุงเทพฯ
  51. โรงพยาบาลมนารมย์
  52. โรงพยาบาลลาดกระบัง เมโมเรียล
  53. โรงพยาบาลภิรมย์เภสัช
  54. โรงพยาบาลปิยะเวท
  55. โรงพยาบาลเสรีรักษ์
  56. โรงพยาบาลเสนาเวชการ
  57. โรงพยาบาลอังคทะวาณิช
  58. โรงพยาบาลจงจินต์มูลนิธิ
  59. โรงพยาบาล ผิวหนัง อโศก
  60. โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล แยกไฟฉาย
  61. โรงพยาบาลกมล ศัลยกรรมตกแต่งและแปลงเพศ
  62. โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน
  63. โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
  64. โรงพยาบาลเบทเทอร์บีอิ้ง
  65. โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์
  66. โรงพยาบาลเกษมราษฏร์รัตนาธิเบศร์
  67. โรงพยาบาลยันฮี
  68. โรงพยาบาลฮัมซะฮฺ
  69. โรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์
  70. โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ
  71. โรงพยาบาลผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2
  72. โรงพยาบาลคามิลเลียน
  73. โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
  74. โรงพยาบาลบางขุนเทียน 1
  75. โรงพยาบาลไทยจักษุ พระราม 3
  76. โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
  77. โรงพยาบาลบาโนบากิ
  78. โรงพยาบาลวิมุต
  79. โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช
  80. โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะทาง ไอดีแอล
  81. Dr. Chen Surgery Hospital International Center
  82. โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ
  83. โรงพยาบาลธนบุรีทวีวัฒนา
  84. โรงพยาบาลราชเวชอนุสาวรีย์ชัย

สถานพยาบาลของเอกชนที่ไม่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้ถือว่าโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นสถานพยาบาล[2]

  1. โรงพยาบาลกว๋องสิวมูลนิธิ ชื่อทางการตามกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังกว๋องสิวมูลนิธิ[3]
  2. โรงพยาบาลโกลเด้นเยียส์ ชื่อทางการตามกระทรวงสาธารณสุข โกลเด้นเยียร์ สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
  3. โรงพยาบาลเดอะซีเนียร์ ชื่อทางการตามกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลเดอะซีเนียร์ สาขารัชดาภิเษก
  4. โรงพยาบาลเจตนิน ชื่อทางการตามกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลเจตนิน

โรงพยาบาลทันตกรรมที่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]

ผู้ประกันตน กับสำนักงานประกันสังคม สามารถใช้บริการขัดฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน และ ผ่าฟันคุดได้ ปีละ 900 บาท ที่ศูนย์ทันตกรรมหรือคลินิกทันตกรรม

  1. โรงพยาบาลฟันทองหล่อ ของ บริษัท โรงพยาบาลฟันทองหล่อ จำกัด
  2. โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. โรงพยาบาลทันตกรรม กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล ของ บริษัท เดนทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  4. โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โรงพยาบาลของเอกชนที่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
  2. โรงพยาบาลเกษมราษฏร์บางแค
  3. โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ประชาชื่น
  4. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง
  5. โรงพยาบาลนวมินทร์
  6. โรงพยาบาลนวมินทร์ 9
  7. โรงพยาบาลบางนา 1
  8. โรงพยาบาลบางประกอก 8
  9. โรงพยาบาลบางไผ่
  10. โรงพยาบาลบางมด
  11. โรงพยาบาลบี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
  12. โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
  13. โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
  14. โรงพยาบาลพีเอ็มจี
  15. โรงพยาบาลมิตรประชา
  16. โรงพยาบาลเพชรเวช
  17. โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
  18. โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
  19. โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
  20. โรงพยาบาลมิชชั่น
  21. โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ
  22. โรงพยาบาลลาดพร้าว
  23. โรงพยาบาลวิภาราม
  24. โรงพยาบาลศิครินทร์
  25. โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์
  26. โรงพยาบาลหัวเฉียว
  27. โรงพยาบาล ไอเอ็มเอช ธนบุรี
  28. โรงพยาบาล ไอเอ็มเอช สีลม

โรงพยาบาลของรัฐบาลที่ไม่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน (สังกัดคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล)
  2. โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า (สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. โรงพยาบาลประสานมิตร (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข)
  4. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม)
  5. โรงพยาบาลมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ (สังกัดมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ดำเนินการโดยเครือข่ายโรงพยาบาลราชวิถี)
  6. โรงพยาบาลราชทัณฑ์ (สังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม)[4]
  7. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (สังกัดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์)
  8. โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก
  9. โรงพยาบาลเด็ก (สังกัดสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
  10. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (สังกัดคณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)
  11. โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
  12. โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (สังกัดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก)

โรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจที่ไม่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง
  2. ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ โรงพยาบาลชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. โรงพยาบาลสวนเบญจกิติเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เดิมชื่อ โรงพยาบาลยาสูบ[5]

โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครที่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]

โรงพยาบาลของรัฐที่สังกัดกรุงเทพมหานครผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ในทุกโรงพยาบาลที่สังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รวมทั้งหมด 9 แห่ง โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครเปิดโอกาสให้ผู้ที่เลือกได้ใช้บริการรักษาพยาบาลมากที่สุดในขณะนี้หากเทียบกับโรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจและโรงพยาบาลเอกชน เพราะผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้มากที่สุดถึง 12 โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และใน ปี พ.ศ. 2561 หากผู้ประกันตนเลือก โรงพยาบาลตากสิน จะสามารถรับการรักษาพยาบาลได้ทั้งหมด 12 โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร หากเลือก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จะไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นในสังกัด กรุงเทพมหานครได้

  1. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (สังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช)
  2. โรงพยาบาลกลาง (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  4. โรงพยาบาลตากสิน (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  5. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  6. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  7. โรงพยาบาลสิรินธร (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  8. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  9. โรงพยาบาลนคราภิบาล (สังกัดกรุงเทพมหานคร)
  10. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน (สังกัดกรุงเทพมหานคร)

โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครที่ไม่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. โรงพยาบาลรัตนประชารักษ์
  2. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร[6]
  3. โรงพยาบาลพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

โรงพยาบาลของรัฐบาลที่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (สังกัดสภากาชาดไทย)
  2. โรงพยาบาลตำรวจ (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข)
  4. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม)
  5. โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม)
  6. โรงพยาบาลราชวิถี (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข)
  7. โรงพยาบาลรามาธิบดี (สังกัดสังกัดคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
  8. โรงพยาบาลเลิดสิน (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข)
  9. โรงพยาบาลศิริราช (สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)
  10. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม)
  11. โรงพยาบาลเทียนฟ้า มูลนิธิ (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข)

สถานพยาบาลของรัฐบาลที่รับบัตรประกันสังคม

[แก้]
  1. สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังกล้วยน้ำไท

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/011/T_0031.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-14.
  3. สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังกว๋องสิวมูลนิธิ[ลิงก์เสีย]
  4. http://www.hosdoc.com/
  5. เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลยาสูบ[ลิงก์เสีย]
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/011/T_0031.PDF