โรงพยาบาลนครธน
โรงพยาบาลนครธน | |
---|---|
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 1 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 56 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150, ไทย |
หน่วยงาน | |
ประเภท | โรงพยาบาลเอกชน |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 150 เตียง |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท | |
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
การซื้อขาย | SET:NKT |
อุตสาหกรรม | การแพทย์ |
ก่อตั้ง | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 |
สำนักงานใหญ่ | |
บริษัทแม่ | สยามเฮลท์แคร์ กรุ๊ป |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลนครธน (อังกฤษ: Nakornthon Hospital) เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางขนาด 150 เตียง มีศูนย์บริการต่าง ๆ อาทิ ศูนย์สมองและระบบประสาทศูนย์ศัลยกรรม ศูนย์ทางเดินอาหารและตับศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ฯลฯ ตั้งอยู่ในแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]สุดจิตต์และถนอม ทองสิมา เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณถนนพระรามที่ 2 กว่า 500 ไร่ ต่อมาบุตรคือญาณเดช ทองสิมา เข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อ โดยแนวคิดการสร้างโรงพยาบาลมาจากถนอมผู้เป็นมารดา ที่คิดว่าการสร้างโรงพยาบาลเปรียบเสมือนการทำบุญ จึงได้ลงทุนสร้างโรงพยาบาล ใช้เงินลงทุน 200–300 ล้านบาท โรงพยาบาลนครธนเปิดให้บริการครั้งแรกปลายปี พ.ศ. 2539 แต่ปีถัดมาเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้โรงพยาบาลมีหนี้จำนวนมาก จึงทำแผนชำระหนี้ 6 ปี จนหมดหนี้ ระหว่าง พ.ศ. 2542–2552 ได้เปิดรับคนไข้ประกันสังคม[1]
ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงจากโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไปเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง มีศูนย์ต่าง ๆ ตั้งแต่ศูนย์สุขภาพเด็ก ศูนย์สูตินรีเวช ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ศูนย์รักษ์เต้านมดูแลโรคมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ เป็นต้น[2] พ.ศ. 2561 เปิดศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์ศัลยกรรม หรือแม้แต่กระดูกและข้อ รวมถึงศูนย์สมองและระบบประสาท[3]
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
[แก้]ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2567 โรงพยาบาลนครธนได้ประกาศเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และลงทุนเพิ่มด้วยจำนวนเงิน 350 ล้านบาท เพื่อยกระดับเครื่องมือทางการแพทย์ และปรับปรุงสถานที่[4] โดยได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อดำเนินกระบวนการระดมทุนสาธารณะโดยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจการแพทย์ ในชื่อย่อหลักทรัพย์ NKT โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด และธนาคารไทยพาณิชย์ ในเครือเอสซีบี เอกซ์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน[5]
NKT ได้ทำการระดมทุนสาธารณะโดยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนเฉพาะหุ้นเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 135,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25.23% ในเบื้องต้น ที่ช่วงราคาหุ้นละ 7.60–8.20 บาท เมื่อวันที่ 2–4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในเครือเอสซีบี เอกซ์ เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย[6] หลังเสร็จสิ้นการเสนอขายหุ้นแล้ว NKT ได้กำหนดราคาเสนอขายสุดท้ายที่ 7.80 บาท NKT จึงมีมูลค่าเสนอขายทั้งหมด 1,053,000,000 บาท[7] และเข้าซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567[8] โดยเป็นหลักทรัพย์ตัวสุดท้ายที่จดทะเบียนด้วยเงื่อนไขการเข้าจดทะเบียนฉบับเก่าของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สินีพร มฤคพิทักษ์. "รศ. ญาณเดช ทองสิมา แผนสร้างเมืองนครธนบนพื้นที่กว่า 500 ไร่". ฟอบส์ประเทศไทย.
- ↑ "เพ็ญศิริ ทองสิมา ปั้นภาพลักษณ์ใหม่ "นครธน" สู้เชนยักษ์". ผู้จัดการ.
- ↑ "รพ.นครธน ประกาศตัวขอเป็นเบอร์1 ย่านพระราม 2". ไทยโพสต์.
- ↑ "เพื่อชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย !! รพ.นครธน ตอบโจทย์คนยุคใหม่ เร่งยกระดับการรักษา มุ่งดูแลสุขภาพเชิงลึก พร้อมระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กลางปีนี้". ผู้จัดการออนไลน์. 27 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โรงพยาบาลนครธน ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 135 ล้านหุ้น เข้า SET ใช้ขยายธุรกิจ-คืนหนี้". การเงินธนาคาร. 13 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โรงพยาบาลนครธน เคาะช่วงราคาไอพีโอ 7.60 – 8.20 บาท เปิดจองซื้อ 2-4 ธ.ค.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. 29 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'บมจ.โรงพยาบาลนครธน' หรือ NKT เคาะราคาเสนอขายสุดท้าย IPO หุ้นละ 7.80 บาท". ผู้จัดการออนไลน์. 6 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "NKT ไอพีโอตัวสุดท้ายปี 67 เปิดเทรดวันแรก 5.95 บาท ต่ำจอง 23.72%". โพสต์ทูเดย์. 20 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)