จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาบีซู หรือ ภาษาเลาเมียน เป็นภาษาที่มีผู้พูดในประเทศจีน และประเทศไทย จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาพม่า-โลโล สาขาย่อยโลโล การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม ภาษานี้มีความใกล้เคียงกับภาษาก่อ (อึมปี้) ภาษาปเยน และภาษาพูน้อย ความแตกต่างของแต่ละสำเนียงขึ้นกับอิทธิพลของภาษากลุ่มกะได และคำยืมจากภาษาลาหู่ รากศัพท์มีความคล้ายคลึงกับภาษาฮานี ร้อยละ 36 ภาษาลาหู่ร้อยละ 32 และภาษาลิซู ร้อยละ 31
การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์[ แก้ ]
มีผู้พูดภาษาบีซูทั้งหมดราว 3,000 คน โดยในประเทศจีน มี 2,000 คน (พ.ศ. 2542) โดยเป็นผู้ที่พูดได้ภาษาเดียว 500 คน พบบริเวณสิบสองปันนา ในมณฑลยูนนาน ตะวันตกเฉียงใต้ หมู่บ้านเหมิ่งเจอ (勐遮乡, Mĕngzhē ) ในอำเภอเหมิงไห่ (勐海县, Mĕnghǎi ) ในเขตหมู่บ้านจิ่งซิ่น (景信乡, Jǐngxīn ) ฟู่หยาน (富岩镇, Fùyán ) และหนานหย่า (南雅乡, Nányǎ ) ในอำเภอเมิ่งเหลียน (孟连县, Mènglián ) และบางส่วนของอำเภอซีเหมิง (西盟县, Xīméng ) ผู้พูดภาษานี้ในจีนกำลังเปลี่ยนไปใช้ภาษาละหู่หรือภาษากะได ส่วนใหญ่ใช้ในหมู่ผู้ใหญ่ และเด็กใช้ภาษานี้กับผู้ใหญ่ ผู้พูดภาษานี้ในจีนร้อยละ 80 พูดภาษาละหู่ ภาษากะได หรือภาษาจีน ได้ด้วย และมีร้อยละ 10 ที่พูดภาษาเหล่านี้ได้ทั้งหมดรวมทั้งภาษาฮานี
ผู้พูดภาษาบีซูได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณประเทศลาว พม่า และไทย เนื่องจากภัยสงครามในสมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง ปัจจุบันในไทยมีประชากรที่พูดภาษาบีซูทั้งสิ้นประมาณ 500 คน[ 2] ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้าน 3 หมู่บ้านของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ บ้านดอยชมภู หมู่ที่ 7 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว , บ้านปุยคำ หมู่ที่ 14 ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย และบ้านผาแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านผาจ้อ หมู่ที่ 10 ตำบลสันกลาง อำเภอพาน [ 3] ภาษาบีซูในแต่ละหมู่บ้านมีคำศัพท์และการออกเสียงต่างกันเล็กน้อย[ 2]
หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น และพยัญชนะท้าย มี 8 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/ , /n/ , /ŋ/ , /p/ , /t/ , /k/ , /w/ และ /j/
หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 12 หน่วยเสียง ได้แก่ /ml/ , /mj/ , /bl/ , /bj/ , /kl/ , /kw/ , /kj/ , /kʰl/ , /kʰj/ , /pl/ , /pʰl/ และ /pʰj/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น
พยัญชนะ /m̥/ , /n̥/ , /ŋ̊/ , /l̥/ , /j̊/ ออกเสียงคล้ายมีลมนำหน้า แต่ปัจจุบันเสียงลมนำหน้าลดลงหรือไม่มีแล้ว[ 5]
หน่วยเสียง /f/ พบเฉพาะในคำยืม
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาบีซูถิ่นดอยชมภู จังหวัดเชียงราย [ 6]
ระดับลิ้น
ตำแหน่งลิ้น
หน้า
กลาง
หลัง
สูง
i
ɨ~ʉ
u
กลาง
e
ə
o
ต่ำ
ɛ~æ
a
ɔ
ระบบเสียงภาษาบีซูถิ่นดอยชมภูมีเฉพาะสระเดี่ยว โดยสระประสม /ia/ ปรากฏเฉพาะในคำยืม เช่น /ʔet͡ɕʰia / 'เอเชีย'
ความสั้นยาวของเสียงสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่สระที่มีพยัญชนะท้ายเป็น /m/ , /n/ , /ŋ/ , /w/ , /j/ มักมีเสียงยาวกว่าสระที่มีพยัญชนะท้ายเป็น /p/ , /t/ , /k/ อย่างไรก็ตาม ระบบเขียนอักษรไทยใช้รูปสระเสียงยาวในทุกบริบท
สระในพยางค์เปิดจะเป็นเสียงยาวตามด้วยเสียงกักที่เส้นเสียง เช่น /j̊a / [j̊aːʔ ] 'ไก่', /kʰɛ / [kʰɛːʔ ] 'กลัว'
ภาษาบีซูถิ่นดอยชมภูมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 3 หน่วยเสียง[ 7] ได้แก่
หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง (mid tone) เช่น /j̊a / 'ไก่'
หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ (low tone) เช่น /j̊à / 'คัน'
หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง (high tone) เช่น /j̊á / 'ไร่'
ตัวเขียนภาษาบีซูอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
พยัญชนะ
อักษรไทย
เสียง
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
ก
/k/
ก่ องกู บ
นกฮูก
ปล่าก
ผ่า
กง
/ɡ/
กง า
ฉัน (สรรพนาม)
ค
/kʰ/
คื่ อ
หมา
ง
/ŋ/
ง าน
หนอก
อาง เซง
เสียง
จ
/t͡ɕ/
จ านบา
เหยี่ยว
จฺ
/t͡s/
จฺื ง จฺื ง
ต้นไม้
ช
/t͡ɕʰ/
เช้ น
บูด, เปรี้ยว
ชฺ
/t͡sʰ/
ชฺ่ าล่า
เสือ
ซ
/s/
ซ าลอง
ตะกร้า
ซฺ
/ʃ/
ซฺ ามคือ
เตาสามขา
ญ
/ɲ/
ญ่ ามป่าย
ตั๊กแตน
ด
/d/
แด่ ย่า
ผี
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย)
ฮามีด
หน่อไม้
ต
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น)
ต าว
กอบ, สง
ท
/tʰ/
ท าง
ดาบ
น
/n/
น าคาง
จมูก
เซฺน
เหา
บ
/b/
บู่ ก่า
หญ้า
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย)
มู่งบล่าบ
ฟ้าแลบ
ป
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น)
ป่ าง
ขวด
พ
/pʰ/
แพ ล่อง
ย่ามสะพาย
ฟ
/f/
ฟ าย
ฝาย
ม
/m/
ม่ องม่ อง
มะม่วง
ท่าม
ถือ
ย
/j/
ยู ม
บ้าน
ชอย ลอย
กรวยดอกไม้
ล
/l/
ล องมยาง
กุ้ง
ว
/w/
ว่ า
หมู
อ่าก่าว
เป็ด
อ
/ʔ/
อู่ โฮ่ง
เต่า
ฮ
/h/
ฮ อต่าม
หนู
ฮง
/ŋ̊/
เฮง่
ทาก
ฮน
/n̥/
ฮน่ าม
ดม
ฮม
/m̥/
ฮม้ อง
เห็ด
ฮย
/j̊/
ฮย า
ไก่
ฮล
/l̥/
ฮล าบ
หาบ
สระ
อักษรไทย
เสียง
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
–า
/a/
ค่า บา ย่า
ผู้หญิง
กย่า ง
ดีใจ
–ี
/i/
ปี่
ให้
ชฺี่ ด
ปอก
–ือ/–ื
/ɨ/
พื อ
มัด (ใช้กับเชือก)
คาตื ง
ข้องใส่ปลา
–ู
/u/
ชู
เด็ด
ยู มญู ง
จันทัน
เ–
/e/
เ จ
แผ้วถาง (หลังการเผา)
เ ฮง้น
พิง
แ–
/ɛ/
ล่องแ ต่
ปลา
แ งม
ปลิดด้วยไม้ง่าม
โ–
/o/
โ ค
หมด
โ ฮ่งเฮ่น
โรงเรียน
–อ
/ɔ/
ตอ ลอ
ผีเสื้อ
คอ ก
เคาะ
เ–อ/เ–ิ
/ə/
เ พล่อ
เป็น
เ ฮลิง
ล้ม
เ–ีย
/ia/
เอเชีย
เอเชีย
วรรณยุกต์
อักษรไทย
เสียง
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
ไม่มีรูป
เสียงกลาง
ฮยา
ไก่
ฮอบีน
เครื่องบิน
–่
เสียงต่ำ
ฮย่ า
คัน
อู่ แมงป่ อง
แมวป่า
–้
เสียงสูง
ฮย้ า
ไร่
เจิ้ นเจ้ อ
สิ่งใด
↑ 1.0 1.1 ภาษาบีซู ที่ Ethnologue (17th ed., 2013)
↑ 2.0 2.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 1.
↑ มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย: ชนเผ่าพื้นเมืองบีซู. , หน้า 3.
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 32.
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 8.
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 38.
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาบีซูอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 39.
Bradley, David (2007). "Language Endangerment in China and Mainland Southeast Asia". ใน Brenzinger, Matthias (บ.ก.). Language Diversity Endangered . New York: Mouton de Gruyte.
ภาษาราชการ กลุ่มภาษาไท
เชียงแสน ตะวันตกเฉียงเหนือ ลาว–ผู้ไท สุโขทัย กลุ่มอื่น ๆ
ชนกลุ่มน้อย ตามตระกูลภาษา
ไม่ใช่ภาษาพื้นเมือง
ภาษามือ