พรรคประชาธิปไตยใหม่
พรรคประชาธิปไตยใหม่ | |
---|---|
หัวหน้า | สุรทิน พิจารณ์ |
รองหัวหน้า | |
เลขาธิการ | ปฏิวัติ พิจารณ์ |
รองเลขาธิการ |
|
เหรัญญิก | แพงศรี พิจารณ์ |
นายทะเบียนสมาชิก | ปวีณา ปาคำ |
โฆษก | ว่าที่ร้อยตรีทนงชิต บุญทน |
รองโฆษก |
|
ผู้ช่วยนายทะเบียนสมาชิก | ชุพวัล สำราญพงษ์ |
รองเหรัญญิก | ศิริวรรณ สุวรรณโคตร |
นโยบาย | จริงจัง จริงใจ รับใช้ ประชาชน[1] |
คำขวัญ | คนไทยจะอยู่ดีมีสุข ด้วยสังคมสวัสดิการ |
ก่อตั้ง | 21 เมษายน พ.ศ. 2554 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ที่ทำการ | 174/50-51 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10220 |
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 42,770[2] |
อุดมการณ์ | ประชาธิปไตยสังคมนิยม[3] |
จุดยืน | ซ้ายกลาง |
สี | สีม่วง - สีส้ม - สีขาว |
สภาผู้แทนราษฎร | 1 / 495 |
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (อังกฤษ: New Democracy Party, ตัวย่อ: ปธม.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยมีนายสุรทิน พิจารณ์ เป็นหัวหน้าพรรค นายนิพนธ์ ชื่นตา เป็นรองหัวหน้าพรรค และนายจำรัส ไกยสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก[4] ปัจจุบันมีนายสุรทิน พิจารณ์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่[5] เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรไทยมาแล้วถึง 3 สมัย คือ พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562, 2566
การสมัครรับเลือกตั้ง
[แก้]พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยมีหมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 3[6] และได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง[7][8] คือ นางพัชรินทร์ มั่นปาน ผู้สมัครลำดับที่ 2 เนื่องจากผู้สมัครลำดับแรกคือ สุรทิน พิจารณ์ ถูกตัดสิทธิ์ในการรับสมัคร
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือ นายสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรค ต่อมาได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ทำให้มีการเลื่อนนางแพงศรี พิจารณ์ และนายปฏิวัติ พิจารณ์ ขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนตามลำดับ
เช่นเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 1 ที่นั่ง นับได้ว่าพรรคประชาธิปไตยใหม่ มีบทบาทได้รับเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎรถึง 3 สมัย
การเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้งทั่วไป
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2554 | 1 / 500
|
125,753 | 0.39% | 1 | ร่วมรัฐบาล | สุรทิน พิจารณ์ |
2557 | − | − | − | - | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ | |
2562 | 1 / 500
|
39,260 | 0.11% | 0 | ร่วมรัฐบาล | |
2566 | 1 / 500
|
273,428 | 0.73% | 0 | ฝ่ายค้าน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.facebook.com/NDP54/posts/230482284498963
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566
- ↑ หน้าที่ 3 หมวดที่ 2
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2011-07-04.
- ↑ "ประกาศโดยนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปไตยใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
- ↑ เจาะใจ "สุรทิน"พรรค"ปธม." เคาะประตูบ้านเรียกคะแนนแบบถึงลูกถึงคน หลังอาศัยวัด-ข้าวก้นบาตรช่วงหาเสียง จากมติชน
- ↑ ระบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]