บุรีรัตน์ รัตนวานิช
พลอากาศเอก บุรีรัตน์ รัตนวานิช อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เป็นน้องชายคนสุดท้องของในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน ของ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แบบสรรหา[2]
จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 7 (ตท.7-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์, พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน), โรงเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 14, โรงเรียนการบิน, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 41, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศรุ่นที่ 27, วิทยาลัยการทัพอากาศรุ่นที่ 28, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 42[3]
รับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ ๆ อาทิ ผู้บังคับบัญชากองบิน 2 ลพบุรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536), ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ, ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2543), ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง, ราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์ และ รองเสนาธิการทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
ได้รับเลื่อนยศเป็น พลอากาศเอก (พล.อ.อ.) ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และรับตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยก่อนหน้านั้นมีความพยายามจาก นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผลักดันให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) แต่ทว่าไม่สำเร็จ และท้ายที่สุดตำแหน่ง ผบ.ทอ. นี้ก็ตกเป็นของ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์[4]
พล.อ.อ.บุรีรัตน์ ยังดำรงตำแหน่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอีกหลายอย่างเมื่อหลังเกษียณ อาทิ กรรมการอิสระ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น และมีตำแหน่งทางสังคม อาทิ ประธานคณะกรรมการสนามกีฬาบ้านกลาง, นายกสมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ [1]เก็บถาวร 2010-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เลิศรัตน์ รัตนวานิช จากไทยรัฐ
- ↑ "ประวัติจากเว็บไซต์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
- ↑ หนังสือ ลับ ลวง พราง ภาค 2 ซ่อนรูปปฏิวัติหัก "เหลี่ยม" โหด ISBN 978-974-02-0597-5 โดย วาสนา นาน่วม :สำนักพิมพ์มติชน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๙๓๖, ๑ มีนาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๙, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๐, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารอากาศชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยการทัพอากาศ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ