ข้ามไปเนื้อหา

คาราบาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บาวเบญจเพส)
คาราบาว
คาราบาวในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547
คาราบาวในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศไทย
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต, บลูส์, คันทรี, ร็อก ,อาร์แอนด์บี, ป็อป
ช่วงปีพ.ศ. 2523–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
อดีตสมาชิก
เว็บไซต์http://www.carabao.net/

คาราบาว (อังกฤษ: Carabao) เป็นวงดนตรีเพลงเพื่อชีวิตไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดวงหนึ่ง ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2523 มีผลงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปัจจุบัน โดยมี ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) พ.ศ. 2556 เป็นหัวหน้าวง

ประวัติ

[แก้]

ก่อตั้ง

[แก้]

วงคาราบาวเกิดจากการก่อตั้งโดยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว กรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ 3 คน คือแอ๊ด - ปรีดา โอภากุล, เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร และ ไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา ขึ้นที่นั่น ในปี พ.ศ. 2523 โดยคำว่า คาราบาว เป็นภาษาตากาล็อก คือภาษาพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แปลว่า ควาย หรือคนใช้แรงงาน ซึ่งทางฟิลิปปินส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นเกษตร โดยหมายจะเป็นวงดนตรีที่มีเนื้อหาเพื่อชีวิต

แอ๊ดได้มีโอกาสฟังเพลงของ เลด เซพเพลิน, จอห์น เดนเวอร์, ดิ อีเกิ้ลส์ และ ปีเตอร์ แฟลมตัน จากแผ่นเสียงที่ไข่ได้สะสมไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาทั้ง 3 คนจึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คาราบาว เพื่อใช้ในการประกวดดนตรี แสดงบนเวทีในงานของมหาวิทยาลัย โดยเล่นดนตรีแนวโฟล์คในเนื้อหาที่สะท้อนสภาพปัญหาและความเป็นจริงของสังคม

เมื่อกลับมาเมืองไทย แอ๊ดและเขียวได้ร่วมกันเล่นดนตรีในเวลากลางคืน โดยกลางวันแอ๊ดทำงานอยู่ที่การเคหะแห่งชาติ ขณะที่เขียวทำให้กับบริษัทฟิลิปปินส์ที่มาเปิดในประเทศไทย ส่วนไข่ก็ขอลาออกจากวงและแยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ที่ภาคใต้ ทั้งคู่ออกอัลบั้มชุดแรกของวง ในชื่อ ขี้เมา เมื่อปี พ.ศ. 2524 และแอ๊ดก็ได้ติดต่อวงโฮป ให้มาช่วยโปรดิวซ์และเล่นดนตรีในห้องอัดให้ในอัลบั้มชุดนี้ และทำให้คาราบาวพอเป็นที่รู้จักบ้างในอัลบั้มนี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้มีสมาชิกในวงเพิ่มขึ้นมาอีก 1 คน คือ เล็ก - ปรีชา ชนะภัย จากวงเพรสซิเดนท์ (โดยเล็กเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนอุเทนถวายกับแอ๊ด) และได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อชุด แป๊ะขายขวด โดยเล็กได้ชักชวนสมาชิกวงเพรสซิเดนท์บางส่วน รวมทั้ง อ๊อด - เกริกกำพล ประถมปัทมะ มือเบสที่ตอนนั้นยังอยู่ในวงเพรสซิเดนท์ ให้มาเล่นเป็นแบ็คอัพของทั้ง 3 คน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง[1]

รุ่งเรือง

[แก้]

วงคาราบาวเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในอัลบั้มชุดที่ 3 ในปี พ.ศ. 2526 จากอัลบั้มชุด วณิพก กับสังกัดอโซน่า ด้วยเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม โดยมีทีมแบ็คอัพชุดเดิม คือสมาชิกกวงเพรสซิเดนท์บางส่วน และได้หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เข้ามาร่วมเล่นเครื่องเคาะ, เพอร์คัสชั่นให้ด้วย (และร่วมออกทัวร์คอนเสิร์ตด้วยกัน) บทเพลงจากอัลบั้มนี้มีเนื้อหาที่แปลกแผกไปจากเพลงในยุคนั้น ๆ และดนตรีที่เป็นท่วงทำนองแบบไทย ๆ ผสมกับดนตรีตะวันตก มีจังหวะที่สนุกสนาน ชวนให้รู้สึกคึกคัก เต้นรำได้ จึงสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในดิสโก้เธคได้เป็นเพลงแรกของไทย และหลังจากอัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จ ทำให้แฟนเพลงหลาย ๆ คนต้องไปหาซื้ออัลบั้มสองชุดแรกของวงมาฟัง ทำให้ทั้งสองชุดแรกขาดตลาดและเป็นชุดที่หายากมากในเวลานั้น

ต่อมาในปลายปีเดียวกัน คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 คือ ท.ทหารอดทน ซึ่งได้ เป้า - อำนาจ ลูกจันทร์,เทียรี่ เมฆวัฒนา, อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ รัช - ไพรัช เพิ่มฉลาด เข้ามาเป็นวงแบ็คอัพ แต่แอ๊ดกลับมีปัญหากับสังกัดอโซน่าในการทำเพลง เนื่องจากอโซน่าไม่อนุญาตให้วงคาราบาวไปอัดเสียงที่ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม และให้ใช้ห้องอัดของอโซน่าทั้งที่แอ๊ดรู้ว่าเครื่องมือไม่ทันสมัย รวมทั้งเป็นอัลบั้มแรกของทางวงที่ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศตามสื่อต่าง ๆ คือเพลง ท.ทหารอดทน และ ทินเนอร์ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายอย่างมาก

ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ รวมทั้งสมาชิกแบ็คอัพ คือ เทียรี่ เมฆวัฒนา และ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ด้วย พร้อมกับวงเพรสซิเดนท์ อดีตวงดนตรีที่เล็กและอ๊อดเคยอยู่ และด้วยความโด่งดังของวงคาราบาวนั้น ได้ทำให้เล็กได้รับบทเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง หยุดหัวใจไว้ที่รัก ในปี พ.ศ. 2527

คาราบาวประสบความสำเร็จมากที่สุดในปลายปี พ.ศ. 2527 เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ[ใคร?] ซึ่งเป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยที่ขณะนั้นยังไม่มีใครทำลายได้[2] และเมื่อคาราบาวจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรก คือ คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ที่เวโลโดรม หัวหมาก ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก็มียอดผู้ชมถึง 60,000 คน แต่นั่นกลับทำให้เกิดเหตุสุดวิสัยคือผู้ชมขึ้นไปชมคอนเสิร์ตบนอัฒจันทร์ที่เลิกใช้งานแล้ว และมีผู้ชมตีกันกลางคอนเสิร์ต จนกลายเป็นนิยามว่า คาราบาวเล่นที่ไหนก็มีแต่คนตีกัน[3] แอ๊ดได้เตือนเรื่องความปลอดภัยของอัฒจันทร์เป็นระยะๆ ในที่สุดก่อนจบการแสดงครึ่งชั่วโมง และเหลือเพลงที่ยังไม่ได้แสดงอีก 3-4 เพลง เจ้าหน้าที่ตำรวจเกรงว่าอัฒจันทร์จะถล่มลงมาทับผู้ชมจนอาจจะทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก จึงสั่งยุติการแสดง แอ๊ดจึงประกาศยุติคอนเสิร์ตโดยทันที และเพลงสุดท้ายที่แอ๊ดร้อง คือ รอยไถแปร เพื่อเป็นการปลอบใจและส่งผู้ชมให้ค่อย ๆ ทยอยกลับบ้าน

สมาชิกในวงคาราบาวในยุคนั้นเรียกว่า ยุคคลาสสิก มีสมาชิกในวงทั้งหมด 7 คน ประกอบไปด้วย

ระหว่างปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2533 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของวงคาราบาว โดยมีแอ๊ดเป็นผู้นำ โดยออกอัลบั้มออกมาทั้งหมด 5 ชุด ทุกชุดประสบความสำเร็จทั้งหมด ได้เล่นคอนเสิร์ตที่สหรัฐ และในทวีปยุโรปหลายครั้ง รวมทั้งปี พ.ศ. 2528 วงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพร่วมกันทั้งวง และมีหลายเพลงของวงดนตรีคาราบาวที่ฮิตและติดอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ คาราบาวจนถึงปัจจุบัน เช่น เมด อิน ไทยแลนด์, มหาลัย, เรฟูจี, บัวลอย (ถึกควายทุย ภาค 5), คนจนผู้ยิ่งใหญ่, ซาอุดรฯ, เจ้าตาก, เวลคัม ทู ไทยแลนด์, กระถางดอกไม้ให้คุณ, คนหนังเหนียว, บาปบริสุทธิ์, แม่สาย, ทับหลัง, รักทรหด เป็นต้น อีกทั้งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงไทยในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. วงคาราบาวเป็นศิลปินกลุ่มแรกของไทยที่มีโฆษณาลงในปกอัลบั้มและได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ในสังคม เช่นเครื่องดื่มโค้ก
  2. คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของวง ทำโดยคนไทย ในปี พ.ศ. 2528 นับเป็นคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ครั้งแรกของไทย และ เป็นครั้งแรกที่มีการแสดงดนตรีในเวทีกลางแจ้ง
  3. อัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ ที่เป็นประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทย ถึงแม้เพลงนี้จะไม่มีมิวสิกวีดีโอ แต่เมื่อเพลงได้ถูกเผยแพร่ออกไป และ ได้รับความนิยมถึงขีดสุด ทางรัฐบาลในขณะนั้นนำโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในเนื้อหาที่รณรงค์ให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย จึงได้จัดทำมิวสิกวีดีโอขึ้นมาต่างหากเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ แต่ไม่ได้ส่งเสริมการขายอัลบั้มแต่อย่างใด

แต่เพลงของวงคาราบาวบางเพลง แอ๊ดจะแต่งโดยมีเนื้อหาส่อเสียด จึงมักจะถูกคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศอยู่เสมอ ในแต่ละอัลบั้ม เฉพาะในยุคก่อตั้งจนถึงยุคคลาสสิกจะมีเพลง ท.ทหารอดทน, ทินเนอร์ ในอัลบั้ม ท.ทหารอดทน, หำเทียม ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์, หำเฮี้ยน ในอัลบั้ม อเมริโกย, วันเด็ก, ผู้ทน, ค.ควาย ค.คน ในอัลบั้ม ประชาธิปไตย และ พระอภัยมุณี ในอัลบั้ม ทับหลัง

แยกย้ายและปัจจุบัน

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 หลังสิ้นสุดการโปรโมทอัลบั้มทับหลัง สมาชิกวงคาราบาวยุคคลาสสิกก็ได้แยกย้ายกันไป โดยเทียรี่ เมฆวัฒนา, อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ก็ได้แยกตัวออกจากวง และออกอัลบั้มร่วมกันในชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ (ก่อนจะแยกย้ายกันไปทำอัลบั้มเดี่ยวจริง ๆ ของแต่ละคน) ส่วนแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้แยกออกไปทำอัลบั้มเดี่ยวในชื่อชุด ทำมือ + ก้นบึ้ง และ โนพลอมแพลม โดยมีอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ และ เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร รวมทั้งวงตาวันมาร่วมเล่นแบ็คอัพ และเล็ก - ปรีชา ชนะภัย ได้แยกออกไปทำอัลบั้มเดี่ยวในชื่อชุด ดนตรีที่มีวิญญาณ

และในปี 2533 คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดที่ 10 ห้ามจอดควาย โดยชุดนี้มีสมาชิกเหลือเพียง 4 คนคือ แอ๊ด, เล็ก, เขียว และ อ๊อด และได้วงตาวันมาร่วมเป็นโปรดิวเซอร์-นักดนตรีห้องอัดเสียง และร่วมเล่นแบ็คอัพให้ด้วย (สมาชิกวงตาวัน : ปุ้ม - พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คีย์บอร์ดและร้องประสาน, ต้น - วงศกร รัศมิทัต กลอง, หมู - กิติพันธ์ ปุณกะบุตร กีต้าร์และคีย์บอร์ด, ปริ้นส์ - มรุธา รัตนสัมพันธ์ กีต้าร์, เพอร์คัสชั่นและคีย์บอร์ด)

และหลังจากทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มชุดที่ 10 เสร็จสิ้น เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ก็ลาออกเพื่อไปทำอัลบั้มเดี่ยว และออกอัลบั้มชุดแรกชื่อชุด "ก่อกวน" ส่วนทางวงคาราบาวก็ได้รับสมาชิกเพิ่มเข้ามา มาแทนที่ตำแหน่งที่ออกไปคือ โก้ - ชูชาติ หนูด้วง (มือกลอง) ดุก - ลือชัย งามสม (มือคีย์บอร์ด, ทรัมเป็ท) โก๋ - ชวลิต ฉลอมพงษ์ (มือกลอง) และสมาชิกรับเชิญ น้อย ซานตานอย (คีย์บอร์ด และ แซ็คโซโฟน) ในอัลบั้มชุดที่ 11 วิชาแพะ เมื่อปี พ.ศ. 2534

ในปี พ.ศ. 2535 คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดที่ 12 สัจจะ ๑๐ ประการ หลังจากชุดนี้ เล็ก ได้ขอพักจากวง เพื่อไปทำอัลบั้มเดี่ยว

ในปี พ.ศ. 2536 คาราบาวได้สมาชิกคือ หมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (กีตาร์โซโล่) มาร่วมเล่นกีต้าร์ในชุดที่ 13 ช้างไห้ เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2537 น้อง - ศยาพร สิงห์ทอง (เพอร์คัสชั่น, เบส ในบางเพลง) ได้มาร่วมเล่นกับคาราบาวในชุดที่ 14 รุ่นคนสร้างชาติ

ในอัลบั้มชุดที่ 15 แจกกล้วย เมื่อปี พ.ศ. 2538 และในปีเดียวกันนั้น วงคาราบาวมีอายุครบรอบ 15 ปี คาราบาวจึงได้ออกอัลบั้มชุดพิเศษ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันอีกครั้งของสมาชิกในยุคคาสสิกทั้ง 7 คน ในชื่อชุด หากหัวใจยังรักควาย โดยออกมาถึง 2 ชุดด้วยกัน และมีการจัดคอนเสิร์ตปิดอัลบั้มคือ คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ ในปี พ.ศ. 2539 แต่หลังจากคอนเสิร์ตนี้ ชื่อเสียงและความนิยมของวงคาราบาวเริ่มซาลง เนื่องจากกระแสดนตรีที่เปลี่ยนไป แต่ทางวงก็ยังคงผลิตผลงานออกมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดย เล็ก - ปรีชา ชนะภัย, เทียรี่ เมฆวัฒนา ที่แยกตัวออกไปได้กลับมาร่วมวงอีกครั้งตั้งแต่อัลบั้มอเมริกันอันธพาลในปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน มีเพลงดังในช่วงซบเซานี้คือเพลง บางระจันวันเพ็ญ ในอัลบั้มชุด เซียมหล่อตือ หมูสยาม และทางวงได้รับสมาชิกใหม่คืออ้วน - ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย ในตำแหน่งมือกลอง, ขลุ่ย และ แซกโซโฟน ตั้งแต่อัลบั้มชุด สาวเบียร์ช้าง ในปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีที่ทางวงวางจำหน่ายอัลบั้ม ลูกลุงขี้เมา ที่ทางวงจัดทำขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 25 ปี น้อง - ศยาพร สิงห์ทอง ได้ขอลาออกจากวงจากปัญหาเรื่องสุขภาพ จึงทำให้มีสมาชิกเพียง 8 คน

จนถึงปัจจุบันนี้ คาราบาวมีอัลบั้มทั้งสิ้น 29 ชุด โดยอัลบั้มชุดล่าสุดที่วงคาราบาวออกจำหน่าย คือ 40 ปี ฅนคาราบาว ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งไม่นับรวมถึงอัลบั้มพิเศษของทางวงหรือของสมาชิกในวง หรือบทเพลงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากนับรวมกันแล้วคงมีไม่ต่ำกว่า 100 ชุด มีเพลงไม่ต่ำกว่า 1,000 เพลง เป็นวงดนตรีที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดทั้งในวงการดนตรีทั่วไปและวงการเพลงเพื่อชีวิต เป็นที่รู้จักของผู้คนในสังคมทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ฟังเพลง หรือผู้ที่นิยมในเพลงเพื่อชีวิตเท่านั้น จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ตำนานเพลงเพื่อชีวิต

แต่ในช่วงหลัง เนื่องจากอายุที่มากขึ้นของสมาชิกวงคาราบาว ทำให้การทัวร์คอนเสิร์ตเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 แอ๊ดจึงได้ประกาศเตรียมยุบวงคาราบาวลงอย่างเป็นทางการ[4] และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ได้ปล่อยเพลง คาราบาวในโลกของพระเจ้า เป็นเพลงใหม่เพลงสุดท้ายสำหรับปิดวงอย่างสมบูรณ์ โดยคาราบาวได้แสดงเพลงนี้ครั้งแรกในคอนเสิร์ต 40 ปี คาราบาว เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งคาราบาวกำหนดให้เป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้าย[5] และต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 คาราบาวได้แถลงว่าจะยังคงขึ้นแสดงในงานที่รับไว้จนถึงวันที่ 9 เมษายน จึงถือว่าวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันยุบวงคาราบาวไปโดยปริยาย[6]

แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567 แอ๊ดได้ประกาศผ่านเวทีคอนเสิร์ตแห่งหนึ่งว่า ใจจริงจะยุติวงตามกำหนดวันเดิม แต่เห็นธุรกิจผูกขาดในไทยแล้วรู้สึกแค้น แต่แอ๊ดด่ากราด จึงขอพักวงแค่เดือนเมษายนเดือนเดียว แล้วจะกลับมาสู้ต่อ[7] อย่างไรก็ตาม การดำเนินวงคาราบาวหลังจากนี้จะเหลือสมาชิกเพียง 7 คน เนื่องจาก ดุก - ลือชัย งามสม เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม โดยในภายหลัง ได้มี ดั้ม - เอกมันต์ พิเศษ เป็นมือคีย์บอร์ดแบ็คอัพในการทัวร์คอนเสิร์ต และต่อมา โก๋ - ชวลิต ฉลอมพงษ์ ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 กันยายน ทำให้วงคาราบาวเหลือสมาชิกจริงเพียง 6 คน (หากรวมแบ็คอัพด้วยจะมี 7 คน)

สมาชิก

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]
  • ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) – หัวหน้าวง, ร้องนำและประสานเสียง, กีตาร์, แต่งเพลงและดนตรี (พ.ศ. 2523–ปัจจุบัน)
  • ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) (เกิด 18 เมษายน พ.ศ. 2498) – ร้องนำและประสานเสียง, กีตาร์, แบนโจ, ซอ, คีย์บอร์ด, เบส, กลอง, แต่งเพลงและดนตรีบางส่วน (พ.ศ. 2525–2535, 2538–2539, 2541–ปัจจุบัน)
  • เทียรี่ เมฆวัฒนา (เทียรี่) (เกิด 23 เมษายน พ.ศ. 2501) – ร้องนำและร้องประสานเสียง, กีตาร์, เบส, แต่งดนตรีบางส่วน (พ.ศ. 2527–2532, 2538–2539, 2541–ปัจจุบัน)
  • เกริกกำพล ประถมปัทมะ (อ๊อด) (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2494) – เบส, ร้องประสานเสียง, ร้องนำบางส่วน (พ.ศ. 2528–ปัจจุบัน)
  • อัทธนันท์ ธนะอรุณโรจน์ (ชื่อเดิม ชูชาติ หนูด้วง) (โก้) (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491) – เพอร์คัชชัน, กลองชุด (พ.ศ. 2534–ปัจจุบัน)
  • ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี) (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2509) – กีตาร์, แมนโดลิน, พิณ, เบส, ร้องประสานเสียง (พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน)
  • ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย (อ้วน) (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516) – กลอง, ขลุ่ย, เพอร์คัชชัน, แซ็กโซโฟน, ร้องประสานเสียง, ร้องนำบางส่วน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)
  • เอกมันต์ พิเศษ (ดั้ม) (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548) – คีย์บอร์ด, เพอร์คัชชัน, กีตาร์ (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)

อดีต

[แก้]
  • กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2495) – กีตาร์, เบส, ร้องนำและประสานเสียง, คีย์บอร์ด, เพอร์คัชชัน (พ.ศ. 2523–2533, 2538, 2541–2543, 2550; ทัวร์ใน พ.ศ. 2554–2555)
  • สานิตย์ ลิ่มศิลา (ไข่) – (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) กีตาร์, ร้องประสานเสียง (พ.ศ. 2523 – ประมาณ พ.ศ. 2524)
  • ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (เล็ก, ธนิสร์) (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2493) – คีย์บอร์ด, แซกโซโฟน, ขลุ่ย, ฟลุต, ร้องนำบางส่วน, ร้องประสานเสียง (พ.ศ. 2526–2532, 2538–2539, 2554–2555)
  • อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2492) – กลอง, เพอร์คัชชัน, ทรัมเป็ต (พ.ศ. 2526–2532, 2538) (เสียชีวิต)
  • ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) – เบส (พ.ศ. 2526–2527) (เสียชีวิต)
  • ลือชัย งามสม (ดุก) (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) – คีย์บอร์ด, ทรัมเป็ต, แอคคอร์เดียน, ร้องนำบางส่วน, ร้องประสานเสียง (พ.ศ. 2534–2567) (เสียชีวิต)
  • ชวลิต ฉลอมพงษ์ (โก๋) (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2517) – คีย์บอร์ด, กลอง, เครื่องเคาะ, เพอร์คัชชัน (พ.ศ. 2565–2567) (เสียชีวิต)
  • ศยาพร สิงห์ทอง (น้อง) (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2506) – เพอร์คัชชัน (พ.ศ. 2537–2550) (เสียชีวิต)

เส้นเวลา

[แก้]

ผลงาน

[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[8]

อัลบั้มรวมเพลงและอัลบั้มพิเศษ

[แก้]
  • รวมเพลงคาราบาว (กรกฎาคม 2529)
  • รวมสุดยอดบทเพลงชุด ถึก มึน มัน กินใจ (เมษายน พ.ศ. 2534)
  • คิดถึง...คาราบาว โดย Coco Jazz (มิถุนายน พ.ศ. 2536)
  • ควายมันส์ (ธันวาคม พ.ศ. 2537)
  • คอรัส เพื่อชีวิต 1 (พฤษภาคม–กรกฏาคม พ.ศ. 2538)
  • 3 ช่ากว่ากันเยอะ (มีนาคม พ.ศ. 2539)
  • คอรัส เพื่อชีวิต 2 รักคุณเท่าฟ้า (ตุลาคม พ.ศ. 2540)
  • มิตรภาพไร้พรมแดน (พ.ศ. 2541)
  • SANTANA กีตาร์แกล้มเหล้า (มีนาคม พ.ศ. 2541)
  • 3 ช่า พอพอ (เมษายน พ.ศ. 2542)
  • เท้าติดไฟ (มิถุนายน พ.ศ. 2542)
  • Blues (พ.ศ. 2542)
  • จานร้อน (สิงหาคม พ.ศ. 2542)
  • ควายตกมัน (มีนาคม พ.ศ. 2543)
  • คนละช่า 3 คนสามช่า (มีนาคม พ.ศ. 2543)
  • ร็อกระบือ (พฤษภาคม พ.ศ. 2543)
  • Ezy Ezy Carabao โดย อ้อม จาริยา ฉัตรสุวรรณ (กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • ตำนานคน ตำนานควาย (ตุลาคม พ.ศ. 2543)
  • รวมฮิต คาราบาว ควายทอง 1-2 (ตุลาคม พ.ศ. 2543)
  • รักแบบบาว (มีนาคม พ.ศ. 2544)
  • 3 ช่า คาราบาว (กรกฎาคม พ.ศ. 2544)
  • Carabao On Films (สิงหาคม พ.ศ. 2544)
  • ซุปเปอร์ 3 ช่า (ธันวาคม พ.ศ. 2544)
  • กีตาร์บรรเลง (ธันวาคม พ.ศ. 2544)
  • ห้ามออกอากาศ (มีนาคม พ.ศ. 2545)
  • THE BEST OF CARABAO (ธันวาคม พ.ศ. 2546)
  • เมด อิน ไทยแลนด์ ภาค 2546 สังคายนา (2547)
  • ขุนศึก (มีนาคม พ.ศ. 2547)
  • โฟล์ค'บาว (ธันวาคม พ.ศ. 2547)
  • บาวโบราณ ดีด + สี + ตี + เป่า (กันยายน พ.ศ. 2548)
  • ตำนานรักทรหด (มิถุนายน พ.ศ. 2549)
  • ผู้ชนะสิบทิศ (กันยายน พ.ศ. 2549)
  • รวมฮิต คาราบาว ควายทอง 3 (ธันวาคม พ.ศ. 2549)
  • มนต์เพลงคาราบาว (พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
  • หนุ่มบาว (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
  • ควายทอง (เมษายน พ.ศ. 2552)
  • ซุปเปอร์ 3 ช่า 2 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
  • คาราบาว Hip Hop & Dance (พ.ศ. 2552)
  • คาราบาว 3 ช่า รอบนี้ผีบ้า รอบหน้าผีบอก (พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
  • คอรัสเพื่อชีวิต (มกราคม พ.ศ. 2553)
  • Carabao Dance (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
  • คาราบาว ซุปเปอร์ฮิต (มีนาคม พ.ศ. 2553)
  • 3 ช่า New Year Party (เมษายน พ.ศ. 2554)
  • 30 ปี คาราบาว (เมษายน พ.ศ. 2554)
  • ตัวตน..คนเพื่อชีวิต (พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
  • Best Collection Number 1 Rock (สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  • เพื่อนบาวแดง (มีนาคม พ.ศ. 2555)
  • ควาย In Love (กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
  • เพื่อนบาวแดง 2 (กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
  • ควายใบ้ (สิงหาคม พ.ศ. 2556)
  • ควายสอนคน (ธันวาคม พ.ศ. 2556)
  • ฮิตคาราบาว (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557)
  • ดีที่สุด คาราบาว (พ.ศ. 2557)
  • ผับเพื่อชีวิต ฮิตอย่างแรง (พ.ศ. 2557)
  • ซูเปอร์ 3 ช่า non-stop (เมษายน พ.ศ. 2557)
  • แอ๊ด-เล็ก-เทียรี่ (เมษายน พ.ศ. 2558)
  • มัน คาราบาว (เมษายน พ.ศ. 2558)
  • กินใจ คาราบาว (เมษายน พ.ศ. 2558)
  • คาราบาว เพื่อชีวิตฮิตที่สุด (พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
  • แทนคุณแผ่นดินพ่อ (มกราคม พ.ศ. 2560)
  • ตำนานควาย (เมษายน พ.ศ. 2560)
  • มหัศจรรย์กัญชา (พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)

ผลงานร่วมกับศิลปินคนอื่น

[แก้]

คอนเสิร์ตครั้งใหญ่

[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต วันที่ สถานที่ หมายเหตุ ศิลปินรับเชิญ / ร่วมกับ
Live คาราบาว 29 พฤษภาคม - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2526 กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร & มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
โลกดนตรี คาราบาว พ.ศ. 2526 - 2531 ลานเพลิน
บันทึกการแสดงสด คาราบาว 24 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เวโลโดรม สนามกีฬาหัวหมาก
คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 เวโลโดรม สนามกีฬาหัวหมาก คอนเสิร์ตเล่นไม่จบ เนื่องจากอัฒจันทร์ถล่มก่อน พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 สนามกีฬากองทัพบก มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ ชีวิตสัมพันธ์
7 สีคอนเสิร์ต คาราบาว พ.ศ. 2530 - 2540 ลานเพลิน
คนรักป่า 22 เมษายน พ.ศ. 2533 หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จรัล มโนเพ็ชร
คีตาญชลี
ฅนคาราบาว บันทึกประวัติศาสตร์ เวทีสุดท้าย 25 พฤษภาคม - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซ็นเตอร์
หัวควาย ปากหมา ประสาเพลง 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทัวร์คอนเสิร์ต
หัวควาย ปากหมา ประสาเพลง 2 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ทัวร์คอนเสิร์ต
สีสัน อคูสติกไลฟ์ ออเครสตร้า กันยายน พ.ศ. 2536 หอประชุม A.U.A.
หัวควาย ปากหมา ประสาเพลง 3 30 ธันวาคม พ.ศ. 2537 - 1 มกราคม พ.ศ. 2538 วัดนก อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง & ณ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
แคมป์ไฟดนตรี แผ่นดินนี้มีตำนาน 5 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ศูนย์ยุวเกษตรสมุนไพรหุบเขาแร้งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
15 ปี ก็มีปากหมา กูให้มึงรักชาติ มกราคม พ.ศ. 2539 อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
หัวควาย ปากหมา ประสาเพลง 4 มกราคม พ.ศ. 2541 วังมะนาว จ.เพชรบุรี / ณ พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี / ณ งานดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 29-30 มกราคม พ.ศ. 2542 กรีนเนอรี่ รีสอร์ท กม 20 ปากทางขี้นเขาใหญ่ด้านปากช่อง
คอนเสิร์ต 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ราชมังคลากีฬาสถาน สีเผือก คนด่านเกวียน
คาราบาว Live Inter ตุลาคม พ.ศ. 2544 ทัวร์คอนเสิร์ตประเทศ
ถูกใจคนไทย ร่วมใช้สินค้าถูกกฎหมาย 17 สิงหาคม พ.ศ. 2545 สนามหลวง
2002 ราตรี
มอส ปฏิภาณ
นิโคล เทริโอ
นัท มีเรีย
ตุ้ย ธีรภัทร์
สุนิตา ลีติกุล
ดาจิม
ทรีจี
พลับ
นาตาลี
สุนทราภรณ์
นันทิดา แก้วบัวสาย
ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์
เล็ก อรวี
ปนัดดา เรืองวุฒิ
สุเมธ องอาจ
เท่ห์ อุเทน
อั๋น ภูวนาท
แหวน ฐิติมา
มาลีวัลย์ เจมีน่า
ปั่น ไพบูลย์เกียรติ
เบิร์ด ธงไชย
บัวชมพู ฟอร์ด
พิม ซาซ่า
ตอง ภัครมัย
เอิน กัลยกร
แคทรียา อิงลิช
แอนนิต้า
เบนซ์ พรชิตา
ลูกนก สุภาพร
เสือ ธนพล
มาช่า วัฒนพานิช
ปู แบล็คเฮด
อ่ำ อัมรินทร์
แคลช
อี๊ด ฟลาย
แอม เสาวลักษณ์
อุ๊ หฤทัย
แมว จิระศักดิ์
ใหม่ เจริญปุระ
ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล
นูโว
อัสนี วสันต์
ปาล์มมี่
โมเดิร์นด็อก
ซิลลี่ ฟูลส์
เสก โลโซ
ไท ธนาวุฒิ
เขียว คาราบาว
พลพล
บูโดกัน
กะลา
ลาบานูน
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
แช่ม แช่มรัมย์
รอน อรันย์
สมชาย ใหญ่
หนุ่มสกล
พิทักษ์
อ้อย กะท้อน
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
หงา คาราวาน
ศิริพร อำไพพงษ์
สาว สมภาร
เอกพล มนต์ตระการ
เอ๋ พจนา
แก้ว มณีทรัพย์
ดวงตา คงทอง
คริสตี้
โจนัส
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ชาย เมืองสิงห์
แจ็ค ธนพล
รจนา สารคาม
นก พรพนา
จินตหรา พูนลาภ
เพลิน พรหมแดน
อ๊อด โอภาส
สลา คุณวุฒิ
จิตรกร บัวเนียม
เอกราช สุวรรณภูมิ
พิมพา พรศิริ
ยุ้ย ปัทมวรรณ
หนูแหม่ม เมสิณี
ฉิ่งฉาบทัวร์
ไมค์ ภิรมย์พร
ก๊อต จักรพันธ์
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 8 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรีนเนอรี่ รีสอร์ท กม 20 ปากทางขี้นเขาใหญ่ด้านปากช่อง
คอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว 21 กุมภาพันธ์ - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ เพลงไม่มีวันตาย
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 9 5 เมษายน พ.ศ. 2546 กรีนเนอรี่ รีสอร์ท กม 20 ปากทางขี้นเขาใหญ่ด้านปากช่อง
เมด อิน ไทยแลนด์ สังคายนา 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
คอนเสิร์ตเพื่อช้าง 24 กันยายน พ.ศ. 2547 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
หัวควาย ปากหมา ประสาเพลง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ทัวร์คอนเสิร์ต ณ จังหวัดนครสวรรค์
สานใจไทย สู่ใจใต้ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา
นาวาคาราบาว 30 เมษายน พ.ศ. 2548 หอประชุมกองทัพเรือ มีบทเพลงพิเศษได้แก่ วอลซ์นาวี, พรานทะเล, เนวี่บูล
Pattaya International Music Festival 2006 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 บริเวณท่าเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้
หนุ่มบาว + สาวปาน 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ ราชินีเงินดาวน์ และ พ่อทูนหัว ธนพร แวกประยูร
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 3 21 มกราคม พ.ศ. 2550 บ้านโต่งโต้น ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
รวมพลัง คนไทยทั้งแผ่นดิน 23 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
มนต์เพลงคาราบาว 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
20 ปี รายการ วงเวียนชีวิต 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 MCC HALL เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
คาราบาว เราจะเป็นคนดี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 อินเดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก
บาวเบญจเพส 1 ธันวาคม - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 11 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บ้านโต่งโต้น ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
The Diary of Carabao Concert 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โบนันซ่า เขาใหญ่ ธนพร แวกประยูร
60 ปี วีรชนคนกล้า (รับเชิญ) 29 เมษายน พ.ศ. 2551 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
ตำนานเพลง 3 ทศวรรษอโซน่า 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
คาราบาว หัวใจไม่พิการ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 4 เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
Road To Country Carabao & Friends 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โบนันซ่า เขาใหญ่
คาราบาว 3 ช่า สามัคคี ตอน ลูกทุ่งแฟนเทเชีย 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 13 30 มกราคม พ.ศ. 2553 บ้านโต่งโต้น ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
BAO + PARN BIG MATCH CONCERT 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ยามาฮ่า สเตเดี้ยม เมืองทองธานี ร่วมกับ ธนพร แวกประยูร
รวมใจเพื่อ หว่อง คาราวาน 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
กามิกาเซ่ 2010 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 อาร์เอส แขกรับเชิญ ร่วมกับ ชาวกามิกาเซ่
บิ๊ก ฟัน เฟส บาย ฮอนด้า 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 สนามราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก
คาราบาว ข้าวตราฉัตร 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
40 ปี the legend of the guitar 20 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี
VELODROME RETURNS 19 มีนาคม - 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวโลโดรม สนามกีฬาหัวหมาก
CARABAO NEW YEAR EXPO 21 ธันวาคม - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
อนุรักษ์เทือกเขาตะนาวศรี 2 มกราคม พ.ศ. 2555 สิงห์สุพรรณ รีสอร์ท อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
Bodyslam & Carabao Live In Buriram At Imobile Stadium 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 Imobile Stadium
3 ตำนานเพื่อชีวิต ดนตรีสานใจ... นำนักกีฬาไทยไปโอลิมปิก 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 สนามฟุตบอล ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ อ. มวกเหล็ก จ. สระบุรี
The Hair Festival of Thailand #1st Live Music by Carabao 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 อาคารธันเดอร์โดม ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี
Big Mountain Music Festival 4 8-9 ธันวาคม พ.ศ. 2555 โบนันซ่า เขาใหญ่
บิ๊กแอส
บอดี้สแลม
ฮิวโก้
นูโว
โมเดิร์นด็อก
ปาล์มมี่
พาราด็อกซ์
โปเตโต้
Kill It Kid
ทีโบน
อีโบล่า
ละอองฟอง
ซีล
สครับบ
ลิปตา
เก็ตสึโนว่า
เจ็ตเซ็ตเตอร์
วัชราวลี
อีทีซี
The Skints
เดอะมูสส์
โน มอร์ เทีย
ธีร์ ไชยเดช
Ten To Twelve
25 Hours
Room 3.50 บาท
The Basho
สิงโต นำโชค
เยลโล่แฟง
ฟรายเดย์
แบรนด์นิวซันเซ็ต
Bottlesmoker
สวีทมัลเล็ต
มหาจำเริญ
อพาร์ตเมนต์คุณป้า
แคลช
มิสเตอร์ทีม
ภูมิจิต
The Bottom Blues
Sqweez Animal
Knock The Knock
Slot Machine
อินสติงต์
มายต์
The Yers
Some Velvet Morning
โลโมโซนิด
Plastic Plastic
Street Funk Rollers
The Superglasses
Ska Ensemble
วายน็อตเซเว่น
Abuse The Youth
Electric Neon Lamb
Destop
Error
Slow Reverse
Plot
Tuan
DZ Deathrays (Aus)
Class A Cigaretts
ชูเปอร์ชับ
Noah’s Tape
Stubborn
Psycho Slim
Brown Flying
Wheeler Dealer
Tabasco
ค็อกเทล
Musketeers
เครสเซนโด้
เอบีนอร์มัลl
ซิลลี่ ฟูลส์
ไทยเทเนี่ยม
ป๊อป ปองกูล
Light Of Hope Sek - Bao Charity 14 มกราคม พ.ศ. 2556 สนามกีฬาการท่าเรือแห่งประเทศไทย
Santana : The Sentient Tour (รับเชิญ) 6 มีนาคม พ.ศ. 2556 อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
เพื่อเพื่อน For Friends 20 มีนาคม พ.ศ. 2556 หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
The Legend of Carabao Believe In Bao Believe In Wave 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
คาราบาว ข้าวพันดี 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ลานคอนเสิร์ต ตรงข้ามวิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการ อ.พังโคน จ.สกลนคร
เพลินจิต 2 ตอน คาราบาว ออเคสตร้า 14 กันยายน พ.ศ. 2556 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
กินลม ชมบาว 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 บ้านไร่สัตหีบ (บ้านของ แอ๊ด คาราบาว) มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ กินลม ชมบาว
Big Mountain Music Festival 5 7 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โบนันซ่า เขาใหญ่
มนต์เพลงคาราบาว 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
ผาดำ ครั้งที่ 7 2 มีนาคม พ.ศ. 2557 ริมอ่างเก็บน้ำคลองจำไหร อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
สามช่า วณิพก พบ ตังเก 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
Rao Srinakarin Presents คาราบาว Live Concert 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2557 เรา ศรีนครินทร์
Rock Talking Life 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
Cambodia Bigband 26 - 27 กันยายน พ.ศ. 2557 หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
Thailand International Sport Expo 2014 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โบนันซ่า เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
คาราบาว 3 ช่า เฟสติวัล ลูกสิงหราช 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เขาใหญ่
Bangsaen 10Th Anniversary Bike Week 14 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 หน้าร้านหินทราย โรงแรมเอสเอส
Rock And Roll Come Back #2 Music Festival 22 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
Big Mountain Music Festival 6 6-7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 โบนันซ่า เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สนามหลังเทศบาลตำบลเมืองพาน ชอย 10
Samila Countdown Festival 2015 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557 บริเวณชายหาดสมิหลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
Colorful Phuket Countdown 2015 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
คาราบาว ลูกสิงหราช 11 มกราคม พ.ศ. 2558 เขาใหญ่
กองทุนพิทักษ์ป่าแก่งกระจาน 17 มกราคม พ.ศ. 2558 ไร่ชัยราชพฤกษ์ ต. สองพี่น้อง อ. แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี
Big Heroes Concert 25-26 กรกฏาคม พ.ศ. 2558 รอยัล พารากอน ฮอลล์
Drink Dance Delicious Bangkok September Fest 5 กันยายน พ.ศ. 2558 ไบเทค บางนา ฮอลล์ 106
แทนคำขอบคุณจากใจ เมืองไทยประกันภัย ครั้งที่ 8 Love Actually Charity concert 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
3 ช่า รอบใหม่ ใหญ่กว่าเดิม 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
คืนรัง 2 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เขตปลดปล่อยรีสอร์ท ตั้งอยู่ ตำบล ศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย
Two Play To Charity 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โรงภาพยนตร์สกาล่า
Big Mountain Music Festival 7 19-20 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แก่งกระจาน คันทรี คลับ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี
คาราบาว 3 ช่า สามัคคี ตอน ลูกทุ่งแฟนเทเชีย 2016 ลูกสิงหราช 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เขาใหญ่
Santana Luminosity Tour 2016 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
Kbank แก๊ง 3 ช่า VS คาราบาว เฟสติวัล สงกรานต์มาแล้ว FESTIVAL SONGKRAN 6 เมษายน พ.ศ. 2559 เขาใหญ่
Kbank แก๊ง 3 ช่า VS คาราบาว เฟสติวัล ลูกสิงหราช LAEMSING FESTIVAL SONGKRAN 9 เมษายน พ.ศ. 2559 เขาใหญ่
สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ 23 เมษายน - 28 พฤษภาคม - 11 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 สนามกีฬาราชนาวี (ก.ม.5) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี - บริเวณตลาดเซฟวัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา - กองพลทหารราบที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ - ทองบิน 5 อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
งานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง 25 เมษายน พ.ศ. 2559 วัดไร่ขิง
เพื่อชีวิต แถวหน้า 29 เมษายน พ.ศ. 2559 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
Carabao Live In Tawandang German Brewery 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
คาราบาว 3 ช่า มันส์ยกใหญ่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ลานกิจกรรม โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี
35 ปี คาราบาว 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ 35 ปี คาราบาว
เพื่อนดนตรี เพื่อนชีวิต 2 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 วาสนาดีรีสอร์ท ราชบุรี
2 คืน 3 วัน โดด มัน ฮา in Love เขาใหญ่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ริมถนนธนะรัชต์ เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
ส่งความรักช่วยเหลือพี่น้องใต้ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สนามกีฬาเทศบาลตำบลแม่ระมาด อ.แม่ระมาด
คืนรัง 3 25-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เขตปลดปล่อยรีสอร์ท ตั้งอยู่ ตำบล ศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย
งานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง 2 7 เมษายน พ.ศ. 2560 วัดไร่ขิง
เพลงรักเพลงชีวิต Song For Life 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ต แอนด์ คันทรีคลับ
หัวขบวน 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
พี่ให้น้อง 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ร้านอาหาร "กินดื่ม" ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เราคนไทยไม่ทิ้งกัน 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
ย้อนวันวาน รำลึก สายัณห์ สัญญา 8 กันยายน พ.ศ. 2560 วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม
ฟาร์ม เฟสติวัล ออน เดอะฮิลล์ ปีที่ 5 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สิงห์ปาร์ด เชียงราย
แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 8 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ไร่หุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
อินเตอร์ไพร์ม มีเดีย แอนด์ อมาโด้ พรีเซนต์ ปลุกตำนานคาราบาว ทัวร์ไฟนอล 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560 อิมแพ็ค อาคารธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
หวง ฮัก รักษ์ (ป่า)น่าน 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สนามกีฟัาโรงเรียนศรีนครน่าน
คาราบาว ศรัทธาเพื่อชีวิต 20 มกราคม พ.ศ. 2561 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
Rock and Roll Come Back Thailand #4 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เขื่อนกระเสียว ด่านช้าง สุพรรณบุรี
เพื่อผู้พิทักษ์ป้า 19 มีนาคม พ.ศ. 2561 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
เปิดประตูสู่อันดามัน ปูสาด ฟ้งเพลง บรรเลง ยันเช้า 24 มีนาคม พ.ศ. 2561 นิณีการ์เด้น & รีสอร์ท อ.รัษฏา จ.ตรัง
คาราบาว เพื่อผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการเมืองคอหงส์ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561 สนามโรงเรียนสอนขับรถยนต์ คลอง ร.5
คาราบาว โครงการเปลี่ยนอาหารให้เป็นยา 4 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลเนสซิตี้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
หากหัวใจยังรักควาย 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2561 ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
Thailand for Attapeu 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
จากภูผาถึงทะเล 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
MYTT Beach Hotel Pattaya Presents “คำภีร์ & คาราบาว Exclusive Concert 15 กันยายน พ.ศ. 2561 เวอร์ติเคิลฮอลล์ โรงแรม มิตร์ บีช พัทยา
เพื่อนพิณเพลงพนมไพร 24 กันยายน พ.ศ. 2561 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
Road To Race Concert 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สนาม 8 Speed เขาใหญ่
สหาย 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 บีจี ฮอลล์ สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส จังหวัดปทุมธานี
history festival 2018 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โอเอซิส เอาท์ดอร์ อารีน่า ศูนย์การค้าโชว์ ดีซี
ชีวิตสัมพันธ์ Rock On The Beach 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 บริเวณพัทยากลาง จังหวัดชลบุรี
Food Fun Fest 31 มกราคม พ.ศ. 2562 ลานประเสริฐแลนด์ (กาดเชิงดอย) จังหวัดเชียงใหม่
หอบรักมาห่มป่า 6 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เรีอนสำราญรีสอร์ท ชัฎป่าหวาย อ.สวนผิ้ง จ.ราชบุรี
คาราบาว History Tour Live in Pattaya 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 BONE PATTAYA
3 ขุนพลคาราบาว แอ๊ด เล็ก เทียรี่ กวี คีตา ความรัก 5 - 6 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์ เซ็นทรัลเวิลด์
ควายตกมัน 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 MCC Hall The Mall บางกะปิ
King Of Battle 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โบนันซ่า เขาใหญ่
หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 16 กันยายน พ.ศ. 2562 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
ควาย จูง หมา สามช่า มหานคร 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562 แจ้งวัฒนะ ฮอลล์, เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ชั้น 5
เกาะสวาทหาดทิพย์ 23 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 CentralWorld
Pattaya Music Festival 2020 21 มีนาคม พ.ศ. 2563 เมืองพัทยา
ผาดำ ครั้งที่ 11 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 ริมอ่างเก็บน้ำคลองจำไหร อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
HBD 54th มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต 28 มีนาคม พ.ศ. 2563 วิทยาลัยเทดโนโลยีภาดใต้ เอสเทด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
MEN IN ROSE 2020 1 เมษายน พ.ศ. 2563 สนามฟุตบอล โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
Khaosod Legends Charity 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ห้องประชุมข่าวสด
HBD 54th มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต ครั้งที่ 2 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โรงเรียนตันติวัตร
ยามเย็นชมบาว Season 3 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ลานที่ว่างฝั่งตรงข้ามเยื้องปั๊มน้ำมัน ปตท ถนนคู่สร้างประชาอุทิศ
เพื่อชีวิต อุทิศเพื่อน้อง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พิษณุโลก
Pattaya Countdown 2021 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
Khaosod Acoustic love 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ห้องประชุมข่าวสด
ส่งท้ายลมหนาว 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ร้านเนโกะเอม่อน 9 ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่
Pattaya Music Festival 2021 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เมืองพัทยา
ขึ้นหิ้ง 12 มีนาคม พ.ศ. 2565
The Green Mango Club คาราบาว 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เกาะสมุย
Pazan Camping EP2 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ลานกิจกรรมเขาใหญ่มาราธอน ถนน ธนะรัชต์ กม 21 ตำบล หมูสี อําเภอ ปากช่อง นครราชสีมา
เด็กเทป 4 3 กันยายน พ.ศ. 2565 JJ MALL จตุจักร
สยามชัยทำคาราบาว 4 กันยายน พ.ศ. 2565 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
FOR GUITAR KING 5 กันยายน พ.ศ. 2565 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
Carabao Exclusive 11 กันยายน พ.ศ. 2565 โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์
วันปล่อยเสือ 2 29 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565 สนาม Mac มวกเหล็ก สระบุรี
เขาพะ Music Pam เดินยังเซ แคมป์ อวอร์ด ครั้งที่ 3 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 อ่างห้วยปรือ ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก
คาราบาว เพื่อผู้ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง และคนพิการ ครั้งที่ 2 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สนามกีฬาเทศบาลเมืองชลบุรี
Road For Life 4 มีนาคม พ.ศ. 2566 ลานกิจกรรมเขาใหญ่มาราธอน ถ.ธนะรัชต์ กม.21 อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
งานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง 5 เมษายน พ.ศ. 2566 วัดไร่ขิง
Pazan Music Festival ตอน ริมเล 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ลานมหาราช ปากน้ำปราณ​ อ.ปราณบุรี​ จ.ประจวบคีรีขันธ์
คำภีร์ & คาราบาว เพื่อชีวิต ไทยนิยม 29 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 ไลฟ์เฮาส์ เซิร์ชสตูดิโอรามกำแหง 81
Rock Legends by ลุยเล 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566 บ้านไม้บนหาดรีสอร์ท หาดบางเก่า ชะอำ จ.เพชรบุรี
สุพรรณติวัล 2 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เขากำแพง อู๋ทอง สุพรรณบุรี
40 ปี คาราบาว 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต คือเพลง ”40 ปี ฅนคาราบาว“ และเพลง “คาราบาวในโลกของพระเจ้า” และเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนยุบวงในปี พ.ศ. 2567[9][10]
ล้อมวงมันส์ ปากน้ำปราณบุรี 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566 อ.ปราณบุรี จ.ประจวบ
Perfect Music Festival 2023 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ลานกิจกรรมตลาดน้ำชุน (ทางขึ้นเขาค้อ-แคมป์สน) ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
มันส์ สุด จริง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ลานกิจกรรม “ร้านอร่อยราชรี” @เขื่อนไม้เต็ง
คืนสู่เหย้า โรงเรียนอู่ทอง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สนามฟุตบอล โรงเรียนอู๋ทอง สุพรรณบุรี
เพื่อชีวิต เพื่อกวนอู 20 มกราคม พ.ศ. 2567 ลานเทพ สวนนันทวัน (ติดวัดถ้ำบาดาล) อ.หมวกเหล็ก จ.สระบุรี
Live House มนต์เพลงคาราบาว 21 มกราคม พ.ศ. 2567 Search Studio รามคำแหง 81
Road For Life 2 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ลานกิจกรรมเขาใหญ่มาราธอน ถนนธนะรัชต์ กม.21
PSU Engineering Charity Concert 2024 17 มีนาคม พ.ศ. 2567 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง รามอินทรา
กอดลา คาราบาว : Chichan Legendary Concert 24 มีนาคม พ.ศ. 2567 ONE CHI-CHAN, Khao Chi Chan Pattaya
H Two มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 วิทยาลัยเทดโนโลยีภาดใต้ เอสเทด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
AYUTTHAYA Music Festival 2024 2 เมษายน พ.ศ. 2567 สวนน้ำ The RABBIT WATER PARK อยุธยา
ปาร์ตี้ ล้อมวงลา คาราบาว 3 เมษายน พ.ศ. 2567 BCC Hall เซ็นทรัล ลาดพร้าว
PAZAN MUSIC FESTIVAL ตอน ริมเล 2 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ลานมหาราช ปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี
คาราบาว และ ผองเพื่อน รีเทิร์น เพื่อชีวิต เพื่อคนกีฬา 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สนามราชมังคลากีฬาสถาน
เพื่อนไม่ทิ้งกัน เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ สีเผือก คนด่านเกวียน 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
ให้มันส์หรอย 20 กันยายน พ.ศ. 2567 สวนน้ำ แยกนาหลวง อ.เมืองนครศรีธรรมราช
Pazan Music Festival ตอน RIMHAT ริมหาดใหญ่ 21 กันยายน พ.ศ. 2567 บ้านไม้บนหาดรีสอร์ทชะอำ หาดบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Rock Legends by ลุยเล 2 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 บ้านไม้บนหาดรีสอร์ทชะอำ หาดบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
สุพรรณติวัล 3 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เขากำแพง อู่ทอง สุพรรณบุรี
Lui Khao Music Festival 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ถนนธนะรัชต์ กม.21 เขาใหญ่
Sri-Racha Music Festival 29 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ร้านอาหารบ้านสวนวิวเขา ศรีราชา ชลบุรี
คอ-ฅน-90 Perfect Music Festival 2024 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ลานกิจกรรมตลาดน้ำชุน ทางขึ้นเขาค้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
บ้านไร่ 1308 Music Festival 28 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2567 บ้านไร่1308สวนผึ้ง

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ

[แก้]
  • เพลง ไฟเพื่อชีวิต ร้องโดย มงคล อุทก (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ คาราบาว เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย พยัพ คำพันธุ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "เสี่ยหำน้อย")
  • เพลง จากใจ ร้องโดย โฮป (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ คาราบาว และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "จากวันนั้นถึงวันนี้")
  • เพลง ราชาสามช่า ร้องโดย ซูซู (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ คาราบาว เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย เศก ศักดิ์สิทธิ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "ราชาสามช่า")

ผลงานภาพยนตร์ ละคร สารคดี และรายการ

[แก้]

โฆษณา

[แก้]

รางวัล

[แก้]
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2529 มิวสิกวิดีโอดีเด่น จากเพลง เจ้าตาก
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2531 มิวสิกวิดีโอดีเด่น จากเพลง ทับหลัง
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2538 เพลงยอดเยี่ยม จากเพลง หลงวัฒน์
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2541 เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม จากเพลง ไอ้หนู
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2541 เพลงยอดเยี่ยม จากเพลง สาธุชน
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2541 อัลบั้มยอดเยี่ยม, โปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม ”อเมริกันอันธพาล”
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2543 เพลงยอดเยี่ยม จากเพลง บางระจันวันเพ็ญ
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2545 เพลงยอดเยี่ยม จากเพลง คนล่าฝัน
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2545 ศิลปินคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2548 เพลงยอดเยี่ยม จากเพลง ดอกไผ่บาน
  • ท็อปอวอร์ด 2009 ประจำปี พ.ศ. 2552 ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม บาว - ปาน รีเทิร์น

ผลงานพิธีกร

[แก้]

ออนไลน์

  • พ.ศ. 2564 : ล้อมวงเล่า EP.1 ทางช่อง YouTube : Carabao Official[11]
  • พ.ศ. 2564 : ล้อมวงเล่า EP.2 ทางช่อง YouTube : Carabao Official[12]
  • พ.ศ. 2565 : ล้อมวงเล่า EP.3 ทางช่อง YouTube : Carabao Official[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คนค้นฅน REPLAY : ตัวตน คนยืนยง ช่วงที่ 1/4 (27 เม.ย.47), สืบค้นเมื่อ 2024-05-10
  2. สุดยอดสิ่งพิมพ์ไทยในรอบ 25 ปี : เมดอินไทยแลนด์ (2527)
  3. ตีกันทำไม เขาให้ไปดูคอนเสิร์ต!
  4. ""แอ๊ด คาราบาว" ประกาศยุบวงปีหน้า (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.
  5. "คอนเสิร์ต 40 ปี 'คาราบาว' ความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือน". ไทยโพสต์. 14 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "'คาราบาว' ออกแถลงการณ์จะไม่จัดคอนเสิร์ตอำลา แต่รับงานเวทีสุดท้าย 9 เมษายนนี้". ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี. 8 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. sorrawit (2024-04-04). ""น้าแอ็ด" เปลี่ยนใจ "คาราบาว" พักแค่ 1 เดือน ลั่นขอกลับมาท้ารบธุรกิจผูกขาด". Thaiger ข่าวไทย.
  8. "DISCOGRAPHY". www.carabao.net.
  9. "ปิดตำนาน "คาราบาว" น้าแอ๊ด ประกาศยุบวง พร้อมเผยเหตุผลอำลาวงการ". ไทยรัฐ. 2023-10-11.
  10. ""เล็ก คาราบาว" โพสต์ "คาราบาว" ยุบวง เป็นสัจธรรมชีวิต ไม่จากเป็นก็จากตาย". mgronline.com. 2023-10-11.
  11. "40 ปี ฅนคาราบาว : ล้อมวงเล่า EP.1 [Special Live Session]". ยูทูบ. 2021-12-24.
  12. "40 ปี ฅนคาราบาว : ล้อมวงเล่า EP.2 [Special Live Session]". ยูทูบ. 2022-01-14.
  13. "40 ปี ฅนคาราบาว : ล้อมวงเล่า EP.3 [Special Live Session]". ยูทูบ. 2022-08-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]