ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร | |
---|---|
ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 | |
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (สีแดง) | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 27.1 กิโลเมตร (16.8 ไมล์) |
ประวัติ | |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2524–ปัจจุบัน |
สายดินแดง–ท่าเรือ | |
ความยาว | 8.9 กิโลเมตร (5.5 ไมล์) |
ปลายทางทิศเหนือ | ทางยกระดับอุตราภิมุข / ถนนวิภาวดีรังสิต ใน เขตดินแดง |
ทางแยก ที่สำคัญ | ทางพิเศษศรีรัช ใน เขตราชเทวี |
ปลายทางทิศใต้ | ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย |
สายท่าเรือ–บางนา | |
ความยาว | 7.9 กิโลเมตร (4.9 ไมล์) |
ปลายทางทิศตะวันตก | ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย |
ทางแยก ที่สำคัญ | ทางพิเศษฉลองรัช ใน เขตคลองเตย |
ปลายทางทิศตะวันออก | ถนนเทพรัตน ใน เขตบางนา |
สายท่าเรือ–ดาวคะนอง | |
ความยาว | 10.3 กิโลเมตร (6.4 ไมล์) |
ปลายทางทิศตะวันออก | ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย |
ทางแยก ที่สำคัญ | ทางพิเศษศรีรัช ใน เขตบางคอแหลม |
ปลายทางทิศตะวันตก | ถนนพระรามที่ 2 ใน เขตจอมทอง |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
เมืองสำคัญ | กรุงเทพมหานคร |
ระบบทางหลวง | |
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524[1][2] โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นทางพิเศษที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคต่าง ๆ ของประเทศเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องเดินทางผ่านการจราจรหนาแน่นในใจกลางกรุงเทพมหานคร ช่วยลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนถนนระดับดิน รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือคลองเตยกับภาคต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว มีระยะทางทั้งสิ้น 27.1 กิโลเมตร[2]
รายละเอียดของเส้นทาง
[แก้]ทางพิเศษเฉลิมมหานครมีจำนวน 3 เส้นทาง มีจุดเริ่มต้นทางฝั่งทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เชื่อมต่อกันที่ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายดินแดง–ท่าเรือ สายบางนา–ท่าเรือ และสายดาวคะนอง–ท่าเรือ[3]
สายดินแดง–ท่าเรือ
[แก้]ทางพิเศษสายดินแดง–ท่าเรือ เปิดให้บริการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน ผ่านถนนสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และเป็นทางระดับดินตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนพระรามที่ 4 และเป็นทางยกระดับอีกครั้งในช่วงถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง–ท่าเรือ ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 7 ด่านคือ ด่านดินแดง, ด่านเพชรบุรี, ด่านสุขุมวิท, ด่านลุมพินี (กำลังก่อสร้าง), ด่านพระรามสี่ 1, ด่านเลียบแม่น้ำ และด่านท่าเรือ 1 โดยด่านลุมพินีเชื่อมต่อโดยตรงกับโครงการวัน แบงค็อก[4]
สายท่าเรือ–บางนา
[แก้]ทางพิเศษสายท่าเรือ–บางนา เปิดให้บริการ 17 มกราคม พ.ศ. 2526 ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 บริเวณทางแยกบางนา แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านจุดตัดทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางระดับดินขนาด 6 ช่องจราจร และเป็นทางยกระดับตั้งแต่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท 50 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 4 ด่านคือ ด่านท่าเรือ 2, ด่านอาจณรงค์, ด่านสุขุมวิท 62 และด่านบางนา
สายท่าเรือ–ดาวคะนอง
[แก้]ทางพิเศษสายท่าเรือ–ดาวคะนอง เปิดให้บริการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ มีถนนรัชดาภิเษก กับ ถนนพระรามที่ 3 คู่ขนานไปตามทางด่วน ผ่านทางแยกต่างระดับบางโคล่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 9 ช่วงนี้เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และลดช่องจราจรเหลือ 4 ช่อง ตั้งแต่สะพานพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2 ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 5 ด่านคือ ด่านสาธุประดิษฐ์ 1, ด่านสาธุประดิษฐ์ 2, ด่านพระราม 3, ด่านสุขสวัสดิ์ และด่านดาวคะนอง
รายชื่อทางแยกและทางต่างระดับ
[แก้]จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ดินแดง–บางนา | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | แยกดินแดง | เชื่อมต่อจาก: ถนนวิภาวดีรังสิต ไป สุทธิสาร, ดอนเมือง และ ทางยกระดับอุตราภิมุข ไปดอนเมือง, รังสิต | ||
ถนนดินแดง ไป แยกประชาสงเคราะห์ | ถนนดินแดง ไป แยกสามเหลี่ยมดินแดง | ||||
2+200 | ต่างระดับมักกะสัน | ทางพิเศษศรีรัช ไป อโศก, พระราม 9, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ทางพิเศษศรีรัช ไป อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, แจ้งวัฒนะ, ดาวคะนอง | ||
3+700 | แยกทางด่วนเพชรบุรี | ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ไป แยกอโศก-เพชร | ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ไป แยกประตูน้ำ | ||
4+450 | แยกทางด่วนเพลินจิต | ถนนสุขุมวิท ไป นานา, เอกมัย | ถนนเพลินจิต ไป แยกเพลินจิต | ||
6+650 | แยกทางด่วนพระราม 4 | ถนนพระรามที่ 4 ไป คลองเตย | ถนนพระรามที่ 4 ไป สามย่าน, หัวลำโพง | ||
7+400 | ต่างระดับท่าเรือ | ไม่มี | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บางโคล่, ดาวคะนอง | ||
ตรงไป: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ท่าเรือ, บางนา | |||||
10+750 | แยกทางด่วนท่าเรือ | ถนนเกษมราษฎร์ ไป ท่าเรือคลองเตย | ถนนเกษมราษฎร์ ไป แยกศุลกากร | ||
14+250 | ต่างระดับอาจณรงค์ | ไม่มี | ทางพิเศษสาย S1 ไป บรรจบทางพิเศษบูรพาวิถี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี | ||
ไม่มี | ทางพิเศษฉลองรัช ไป คลองตัน, พระราม 9, รามอินทรา | ||||
17+950 | แยกบางนา | ถนนสุขุมวิท ไป สำโรง, สมุทรปราการ | ถนนสุขุมวิท ไป อุดมสุข, พระโขนง | ||
ตรงไป: ถนนเทพรัตน ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี | |||||
ท่าเรือ–ดาวคะนอง | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | ต่างระดับท่าเรือ | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป พระรามที่ 4, ดินแดง | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ท่าเรือ, บางนา | |
23+150 | แยกทางด่วนสาธุประดิษฐ์ | ถนนสาธุประดิษฐ์ ไป ถนนจันทน์ | ถนนสาธุประดิษฐ์ ไป ถนนพระรามที่ 3 | ||
24+000 | ต่างระดับบางโคล่ | เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก จาก สมุทรสาคร | |||
ทางพิเศษศรีรัช ไป พระราม 9, แจ้งวัฒนะ | ไม่มี | ||||
25+425 | สะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | ||||
27+000 | ต่างระดับสุขสวัสดิ์ | ถนนสุขสวัสดิ์ ไป ดาวคะนอง | ถนนสุขสวัสดิ์ ไป พระประแดง | ||
31+000 | ต่างระดับดาวคะนอง | ถนนพระรามที่ 2 ไป สมุทรสาคร | ถนนพระรามที่ 2 ไป แยกบางปะแก้ว, ดาวคะนอง | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
ทางเข้า-ออก
[แก้]ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
[แก้]การก่อสร้าง
[แก้]เมื่อเปิดใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานครแล้ว ได้มีการปรับจุดขึ้น-ลง และด่านเก็บเงินเพิ่มเติมในภายหลังดังนี้
- 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพิ่มทางขึ้น-ลงถนนพระราม 4 ให้สามารถขึ้นจากจุดนี้ไปลงที่ดินแดงได้ โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านพระราม 4 (2)
- 8 กรกฎาคม 2536 รายงานประจำปี 2536 - 2537 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หน้า 90 - 98 ซึ่งมีนายสุขวิช รังสิตพล เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีความรายละเอียดว่า คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 ให้เร่งดำเนินการปรับปรุงทางขึ้น - ลง ทางด่วนขั้นที่ 1 และคณะรัฐมนตรีรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชวน 1 ได้มีมติเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนขั้นที่ 1 บริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และบริเวณแยกต่างระดับคลองเตย [5]
- 2 กันยายน พ.ศ. 2536 ได้เพิ่มทางต่างระดับมักกะสัน เพื่อเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช
- 15 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ยกเลิกด่านพระราม 3 เนื่องจากมีการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช ช่วงพญาไท-บางโคล่ ภายหลังเมื่อทางพิเศษศรีรัชช่วงนี้เปิดให้บริการแล้ว ด่านพระราม 3 ได้เปิดบริการตามปกติ แต่ปรับเส้นทางขึ้น จากเดิมขึ้นแล้วไปบางนา-ดินแดงได้ เปลี่ยนเป็นขึ้นแล้วไปแจ้งวัฒนะ ด่านพระราม 3 จึงขึ้นกับทางพิเศษศรีรัชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
- 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539 เพิ่มด่านอาจณรงค์ 1 สำหรับรับรถที่มาจากทางพิเศษฉลองรัช ที่จะเข้าทางพิเศษเฉลิมมหานคร เพื่อไปบางนา-ดาวคะนอง-ดินแดง
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เพิ่มทางเชื่อมต่อระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุข กับทางพิเศษศรีรัช บริเวณดินแดง - มักกะสัน โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านดินแดง 1
- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เพิ่มทางเชื่อมระหว่างทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ กับทางด่วนเฉลิมมหานคร โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านบางจาก
- 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เพิ่มทางขึ้น รับรถที่มาจากถนนทางรถไฟสายปากน้ำ และทางลงซอยสุขุมวิท 50 โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านอาจณรงค์ 3
- 11 กรกฎาคม 2567 เพิ่มทางขึ้น-ลงถนนวิทยุ โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านลุมพินี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 8 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "ทางพิเศษเฉลิมมหานคร". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 21 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ทางพิเศษเฉลิมมหานคร". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-25. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ "กทพ.แจ้งปิดเบี่ยงจราจร "ด่านพระราม 4-2 ถึงด่านลุมพินี" 6-11 ก.ค. ช่วง 4 ทุ่ม-ตี 4". mgronline.com. 2023-07-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2015-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน