ถนนเพชรบุรี
ถนนเพชรบุรี หรือ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อักษรโรมัน: Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ระยะทาง
[แก้]ถนนเพชรบุรีมีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ เริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกตัดกับถนนสวรรคโลกและถนนหลานหลวงที่ทางแยกยมราชในพื้นที่เขตดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านทางรถไฟสายเหนือเข้าพื้นที่เขตราชเทวี ตัดกับถนนพระรามที่ 6 และผ่านใต้ทางพิเศษศรีรัชที่ทางแยกอุรุพงษ์ ตัดกับถนนบรรทัดทองที่ทางแยกเพชรพระราม ตัดกับถนนพญาไทที่ทางแยกราชเทวี ตัดกับถนนราชปรารภและถนนราชดำริที่ทางแยกประตูน้ำ ซึ่งเดิมถนนเพชรบุรีจะสิ้นสุดแค่ช่วงนี้ ก่อนจะมีการเวนคืนและก่อสร้างถนนตัดใหม่ต่อไปในภายหลัง โดยมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตัดกับซอยชิดลมที่ทางแยกชิดลม-เพชรบุรี ตัดกับกับถนนวิทยุที่ทางแยกวิทยุ-เพชรบุรี ผ่านใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนนิคมมักกะสันและซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ที่ทางแยกมิตรสัมพันธ์ ตัดกับถนนอโศก-ดินแดงและถนนอโศกมนตรีที่ทางแยกอโศก-เพชรบุรีและเข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ข้ามคลองบางกะปิ ตัดกับซอยเพชรบุรี 38/1 ที่ทางแยกพร้อมพงษ์ ตัดกับซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ที่ทางแยกเอกมัยเหนือ ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่เขตสวนหลวง ก่อนไปสิ้นสุดที่สี่แยกคลองตัน ตัดกับถนนรามคำแหง และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนพัฒนาการ
ประวัติ
[แก้]ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลายถนนคอเสื้อ (ปัจจุบันคือถนนพิษณุโลก) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2448[1] โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดลองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนประแจจีน ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประแจจีนเป็น ถนนเพชรบุรี[1] ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[2]
ปี พ.ศ. 2505 ทางการได้เวนคืนตลาดเฉลิมลาภเก่าบริเวณสามแยกประตูน้ำ (ปัจจุบันคือสี่แยกประตูน้ำ) โดยตัดถนนต่อออกจากสามแยกประตูน้ำไปจรดซอยสุขุมวิท 71 โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2506 คนทั่วไปนิยมเรียกถนนเพชรบุรีช่วงนี้ว่า "ถนนเพชรบุรีตัดใหม่"
รายชื่อทางแยก
[แก้]จังหวัด | เขต | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา |
---|---|---|---|---|---|
ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช - คลองตัน) | |||||
กรุงเทพมหานคร | ดุสิต | แยกยมราช | เชื่อมต่อจาก: ถนนพิษณุโลก จากเทเวศร์ | ||
ถนนสวรรคโลก ไปถนนศรีอยุธยา | ถนนหลานหลวง ไปถนนกรุงเกษม, สะพานผ่านฟ้าลีลาศ | ||||
ราชเทวี | ทางขึ้น ทางพิเศษศรีรัช ไป แจ้งวัฒนะ, บางนา, ดาวคะนอง | ไม่มี | |||
แยกอุรุพงษ์ | ถนนพระรามที่ 6 ไปถนนศรีอยุธยา | ถนนพระรามที่ 6 ไปถนนพระรามที่ 1 | |||
แยกเพชรพระราม | ไม่มี | ถนนบรรทัดทอง ไปถนนพระรามที่ 1, ถนนพระรามที่ 4 | |||
แยกราชเทวี | ถนนพญาไท ไปถนนศรีอยุธยา, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ถนนพญาไท ไปถนนพระรามที่ 1, สามย่าน | |||
แยกประตูน้ำ | ถนนราชปรารภ ไปแยกสามเหลี่ยมดินแดง | ถนนราชดำริ ไปแยกราชประสงค์, ถนนสีลม | |||
แยกชิดลม-เพชรบุรี | ไม่มี | ซอยชิดลม ไปถนนเพลินจิต | |||
แยกวิทยุ-เพชรบุรี | ไม่มี | ถนนวิทยุ ไปถนนเพลินจิต, ถนนสาทร | |||
แยกทางด่วนเพชรบุรี | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดินแดง, แจ้งวัฒนะ | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปบางนา, ดาวคะนอง | |||
แยกมิตรสัมพันธ์ | ถนนนิคมมักกะสัน ไปสถานีรถไฟมักกะสัน, ถนนราชปรารภ | ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ไปถนนสุขุมวิท | |||
แยกอโศก-เพชรบุรี | ถนนอโศก-ดินแดง ไปแยกพระราม 9 | ถนนอโศกมนตรี ไปถนนสุขุมวิท, คลองเตย | |||
ห้วยขวาง | ถนนเพชรอุทัย ไปถนนพระราม 9 | ไม่มี | |||
แยกพร้อมพงษ์ | ไม่มี | ซอยเพชรบุรี 38/1 (พร้อมพงษ์) ไปถนนสุขุมวิท | |||
แยกศูนย์วิจัยใต้ | ซอยเพชรบุรี 47 (ศูนย์วิจัย) ไปถนนพระราม 9 | ไม่มี | |||
แยกทองหล่อเหนือ | ไม่มี | ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ไปถนนสุขุมวิท | |||
แยกเอกมัยเหนือ | ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ไปถนนพระราม 9, ถนนลาดพร้าว | ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ไปถนนสุขุมวิท | |||
แยกเพชรบุรีตัดใหม่ | ถนนเพชรพระราม ไปถนนพระราม 9 | ไม่มี | |||
สวนหลวง | แยกคลองตัน | ถนนรามคำแหง ไปมหาวิทยาลัยรามคำแหง, มีนบุรี | ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ไปถนนสุขุมวิท | ||
ตรงไป: ถนนพัฒนาการ ไปถนนศรีนครินทร์ | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สถานที่สำคัญ
[แก้]สถานศึกษา
[แก้]- วิทยาลัยเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา
- โรงเรียนอนุบาลอิ่มเอม
- โรงเรียนสอนดนตรีสยาม เพชรเก้า
- โรงเรียนประเทืองวิทย์อุรุพงษ์
- โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
- โรงเรียนกิ่งเพชร
- โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
- โรงเรียนมักกะสันพิทยา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก
ธนาคาร
[แก้]- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาประตูน้ำ
- ธนาคารกสิกรไทย สาขากิ่งเพชรและสาขาถนนเพชรบุรี 17
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี
- ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาถนนเพชรบุรี ซอย 20
- ธนาคารออมสิน สาขาอุรุพงษ์
สถานที่ราชการ
[แก้]- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- กรมการพลังงานทหาร
- สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า .
- ↑ สำนักงานเขตราชเทวี. "ถนนเพชรบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://office.bangkok.go.th/ratchathewi/index.php?option=com_content&view=article&id=74:2012-06-03-00-52-09&catid=52:2012-06-03-00-50-50&Itemid=101 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มิถุนายน 2558.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนเพชรบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์