ดิเรก ชัยนาม
ดิเรก ชัยนาม | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (1 ปี 166 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ถัดไป | เดือน บุนนาค |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (0 ปี 114 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ดำรงตำแหน่ง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2486 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (0 ปี 286 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) |
ถัดไป | พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ) |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (0 ปี 319 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2488 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (0 ปี 154 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทวี บุณยเกตุ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | เล้ง ศรีสมวงศ์ |
ถัดไป | พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488 (0 ปี 17 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทวี บุณยเกตุ |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
ถัดไป | พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484 (2 ปี 39 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 5 มกราคม พ.ศ. 2485 (0 ปี 21 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) |
ถัดไป | หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มกราคม พ.ศ. 2448 เมืองพิษณุโลก ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 (62 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | หม่อมหลวง ปุ๋ย (นพวงศ์) ชัยนาม |
บุตร | 4 คน |
ลายมือชื่อ | |
ศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม (18 มกราคม พ.ศ. 2448 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) เป็นนักการเมือง นักการทูต และอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว กรุงลอนดอน และกรุงบอนน์[1] รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับการเสนอชื่อจากนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง และเคยได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลไทย ต่อองค์การยูเนสโกให้ประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญแห่งโลก แต่ไม่ได้รับพิจารณาเนื่องจากข้อเสนอของรัฐบาลไทยไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการพิจารณา[1]
ประวัติ
[แก้]ดิเรก ชัยนาม เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2448 ที่ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรชายของพระยาอุภัยพิพากษา (เกลื่อน ชัยนาม) อดีตข้าราชการตุลาการเมืองพิษณุโลก และคุณหญิงจันทน์ อุภัยพิพากษา เป็นพี่ชายต่างมารดาของพลอากาศโท อุสาห์ ชัยนาม สมัยที่ยังเป็นเด็กสุขภาพไม่แข็งแรง จนกระทั่งทางครอบครัวได้มายกถวายให้เป็นลูกของพระพุทธชินราช พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกและประเทศไทย สุขภาพจึงกลับมาแข็งแรงเป็นที่น่าพอใจ
ดิเรกศึกษาเล่าเรียนในระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 โดยเริ่มต้นเป็นนักเรียนประจำ และออกมาเป็นนักเรียนไปกลับใน 2 ปีสุดท้าย จากนั้นได้ย้ายมาเรียนชั้นมัธยม 8 ที่ โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2466 และได้รับพระราชทานยศเป็น มหาดเล็กวิเศษ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2468 และมาเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายจนจบการศึกษาเป็นเนติบัณฑิต ใน ปี พ.ศ. 2471
ชีวิตครอบครัว
[แก้]ดิเรกสมรสกับ ม.ล. ปุ๋ย นพวงศ์ บุตรีพระยารามราชเดช (ม.ร.ว. ปาล นพวงศ์) และคุณหญิงเนย รามราชเดช เมื่อ พ.ศ. 2468 มีบุตรชายด้วยกัน 4 คน ได้แก่[1]
- นายวัฒนา ชัยนาม
- นายชูศักดิ์ ชัยนาม
- นายเจษฎา ชัยนาม
- นายวรพุทธิ์ ชัยนาม
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ดิเรกถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 เมื่ออายุ 62 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2511[1] ส่วน ม.ล.ปุ๋ย ชัยนาม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2541 รวมอายุ 94 ปี
ตำแหน่งในคณะรัฐบาล
[แก้]- วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[2]
- วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2485 กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำจักรวรรดิญี่ปุ่น
- วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม [3]
- วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[4]
- วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5]
- วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[6]
- วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
บทบาทในสหประชาชาติ
[แก้]ดิเรกขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลังจากที่สหประชาชาติก่อตั้ง 1 ปี โดยชี้แจงเหตุผลการสมัครเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ดังนี้
- เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การที่มีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพ และความมั่นคง และให้ความยุติธรรมสำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทย
- เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกขององค์การเป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
- ไทยหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
- เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ไทยประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างจริงจัง
บทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 คณะเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพร้อมด้วยผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ได้ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทย คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม แต่นายกรัฐมนตรีไม่อยู่ เนื่องจากไปตรวจดูสถานการณ์ชายแดนอรัญประเทศ พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส รองนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ออกมารับแทน
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นแจ้งว่า ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และได้ตัดสินใจส่งกำลังทหาร เข้าโจมตีดินแดนของทั้งสองประเทศ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลา 01.00 นาฬิกา ดินแดนบางส่วนที่ญี่ปุ่นจะบุกเข้า ต้องอาศัยผ่านดินแดนของไทย ฉะนั้นญี่ปุ่นจึงใคร่จะขออนุญาตจากรัฐบาลไทย ให้ญี่ปุ่นส่งกำลังบำรุงผ่านดินแดนประเทศไทย เพื่อดำเนินการศึกต่อฝ่ายอังกฤษ โดยขอให้รัฐบาลตอบภายใน 4 ชั่วโมง
ซึ่งดิเรกกล่าวว่า "การที่จะอนุญาตหรือไม่นั้นข้าพเจ้าไม่มีอำนาจแต่อย่างใด เพราะท่านก็ทราบดีแล้วว่า ข้าพเจ้าเป็นเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อำนาจสั่งไม่ให้ต่อสู้นั้นคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่ง ... ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ประกาศเป็นคำสั่งประจำไว้แล้วว่า ไม่ว่ากองทหารประเทศใด ถ้าเข้ามาแผ่นดินไทย ให้ต่อต้านอย่างเต็มที่ ฉะนั้นผู้ที่จะยกเลิกคำสั่งนี้คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด" แต่ขณะนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด กำลังตรวจราชการอยู่ที่ชายแดนภาคตะวันออก ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง สงครามกับมหามิตรที่กลายเป็นผู้รุกรานเพียงข้ามคืน ก็มิอาจเลี่ยงได้
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณากันถึงผลดีผลเสียหากต่อสู้กับญี่ปุ่น ในที่สุดนายกรัฐมนตรีได้ลงความเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะต่อต้านเพราะไทยไม่มีกำลังพอ อังกฤษและสหรัฐฯ ก็ไม่มีทางที่จะมาช่วยเหลือไทยได้ ขืนสู้ญี่ปุ่นไปประเทศไทยก็จะเสียหายอย่างหนัก คณะรัฐมนตรีจึงสั่งให้หยุดยิงเพื่อเจรจากับญี่ปุ่น ฝ่ายญี่ปุ่นได้เสนอทางเลือกให้ไทย 4 แผน ดังนี้
- แผนที่ 1 ไทยกับญี่ปุ่นทำสัมพันธ์ไมตรีในทางรุกและป้องกันร่วมกัน
- แผนที่ 2 ไทยเข้าเป็นภาคีกติกาสัญญาไตรภาคี ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 กล่าวคือ เข้าร่วมฝ่ายอักษะกับเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
- แผนที่ 3 ไทยให้ความร่วมมือทางทหารตามที่จำเป็นแก่ญี่ปุ่น รวมทั้งการอนุญาตให้ญี่ปุ่นผ่านอาณาเขตไทย และให้ความสะดวกทุกอย่างที่จำเป็น พร้อมทั้งป้องกันมิให้เกิดปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น
- แผนที่ 4 ไทยกับญี่ปุ่นรับร่วมกันป้องกันประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีความเห็นแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย ดิเรกเสนอว่า โดยที่ประเทศไทยได้ยืนยันจะรักษาความเป็นกลางตลอดมา หากจำเป็นต้องยอมให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่น อย่างมากก็ควรจะยอมเพียงให้กำลังทหารญี่ปุ่นผ่าน ตามแผนที่ 3 เท่านั้น ถ้ายอม มากกว่านั้น โลกอาจจะมองไทยว่า ทั้ง ๆ ที่ประกาศจะเป็นกลาง ความจริงแล้วสมคบกับญี่ปุ่น ตลอดมามิใช่ ต้องยอมเพราะสู้ไม่ไหว พล.ต.อ. อดุล และ ปรีดี พนมยงค์ สนับสนุนดิเรก ในที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นว่า แผนที่ 3 เหมาะสมที่สุด จึงได้นำข้อตกลงไปเสนอแจ้งแก่ญี่ปุ่น และมีการลงนามในข้อตกลงที่ไทย ยินยอมให้ญี่ปุ่นส่งกำลังทหารผ่านประเทศไทย ประเทศไทยจึงประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2485
ในภายหลังดิเรกได้เขียนหนังสืออธิบายถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอธิบายให้เห็นภาพเหตุการณ์ บุคคลแวดล้อม ชั้นเชิงทางการทูต กุศโลบายทางการเมือง กลวิธีทางการทหารของประเทศที่ร่วมในสงคราม ตลอดจนวิธีคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งร่วมอยู่ในเหตุการณ์ ให้รอดพ้นมหาภัยในครั้งนั้น ในหนังสือ ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
บทบาทในเสรีไทย
[แก้]"ขบวนการเสรีไทย" รวมตัวกันเป็นขบวนการได้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2487 ถึงต้นปี พ.ศ. 2488 พร้อม ๆ กับที่ฝ่ายอักษะเริ่มพ่ายแพ้ในยุโรปไล่ไปตั้งแต่การที่เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อสหภาพโซเวียต ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2487 ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยกพลขึ้นบกที่บริเวณชายฝั่งนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสจากการยึดครองของนาซีเยอรมนีได้ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 นาซีเยอรมนีเริ่มประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิสำคัญหลายจุด ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้ามาหนุนช่วยในภาคพื้นเอเชียได้เต็มที่ แต่กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นที่ยึดครองภาคพื้นเอเชียบูรพา ก็ไม่ได้แสดงท่าทีที่จะยอมแพ้แต่อย่างใด ดังนั้นปฏิบัติการปลดอาวุธทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 จึงเกิดขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นสืบทราบว่าทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ได้ทำงานช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร
นั่นก็เหมือนเป็นสัญญาณเตือนขบวนการเสรีไทยว่า การที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้มิได้ง่ายดายเหมือนอย่างที่ใครบางคนคิด เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการเสรีไทยขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 โดยมีปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า และดิเรก ชัยนาม เป็นหัวหน้ากองกลาง
บทบาทในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้]ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนามได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2497 และเป็นลำดับที่ 5 ของผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางคณะได้สร้างอนุสาวรีย์รูปของท่านไว้เป็นที่ระลึกในบริเวณคณะ
ยศ
[แก้]- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2468 มหาดเล็กวิเศษ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ดิเรก ชัยนาม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[11]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[12]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ไรช์เยอรมัน :
- พ.ศ. 2482 – เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นที่ 2[14]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2483 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็องตอฟีซีเย[15]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[16]
- สหรัฐ :
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2508 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ดิเรก ชัยนาม. อดีตของปัจจุบัน รวมปาฐกถาพิเศษว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2512, สำนักพิมพ์ศึกษิตสยาม, ตีพิมพ์ใหม่ โอเพ่นบุ๊คส์ เนื่องในโอกาส 100 ปี ชาตกาล, 2548. 191 หน้า. ISBN 974-93144-2-5
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม และนายดิเรก ชัยนาม)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๑๒๔๓, ๑๑ เมษายน ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๖, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๔๐, ๕ สิงหาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๗, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๑๗๗๖, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ดิเรก ชัยนาม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เล้ง ศรีสมวงศ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (1 กันยายน พ.ศ. 2488 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489) |
พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2448
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510
- สมาชิกคณะราษฎร
- นักการทูตชาวไทย
- เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดพิษณุโลก
- บุคคลจากอำเภอบางระกำ
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- นักวิชาการจากจังหวัดพิษณุโลก
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.1
- บุคคลจากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักร
- เอกอัครราชทูตไทยประจำเยอรมนี
- เอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่น
- พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง