จักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิไบแซนไทน์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 395–1453b | |||||||||
(ดูที่ธงของจักรวรรดิไบแซนไทน์)}}
เหรียญโซลิดัสกำลังพรรณาถึงพระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ ซึ่งได้เป็นบรรทัดฐานของเหรียญในจักรวรรดิไบแซนไทน์
| |||||||||
จักรวรรดิไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 555 ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (สีชมพูคือรัฐเมืองขึ้น) | |||||||||
การเปลี่ยนแปลงดินแดนของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ในแต่ละสมัยของราชวงศ์ต่าง ๆ จนกระทั่งการล่มสลายของจักรวรรดิใน ค.ศ. 1453 | |||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||
เมืองหลวง | คอนสแตนติโนเปิลc (ค.ศ. 395–1204, ค.ศ. 1261–1453) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||
ศาสนา |
| ||||||||
จักรพรรดิผู้ที่มีชื่อเสียง | |||||||||
• ค.ศ. 306–337 | คอนสแตนตินที่ 1 | ||||||||
• ค.ศ. 395–408 | อาร์กาดิอุส | ||||||||
• ค.ศ. 402–450 | เทออดอซิอุสที่ 2 | ||||||||
• ค.ศ. 527–565 | ยุสตินิอานุสที่ 1 | ||||||||
• ค.ศ. 610–641 | เฮราคลิอัส | ||||||||
• ค.ศ. 717–741 | ลีโอที่ 3 | ||||||||
• ค.ศ. 797–802 | ไอเนรีน | ||||||||
• ค.ศ. 867–886 | เบซิลที่ 1 | ||||||||
• ค.ศ. 976–1025 | เบซิลที่ 2 | ||||||||
• ค.ศ. 1042–1055 | คอนสแตนตินที่ 9 | ||||||||
• ค.ศ. 1081–1118 | อเล็กซิออสที่ 1 | ||||||||
• ค.ศ. 1259–1282 | มิคาเอลที่ 8 | ||||||||
• ค.ศ. 1449–1453 | คอนสแตนตินที่ 11 | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคโบราณตอนปลาย ถึง ยุคกลางตอนปลาย | ||||||||
1 เมษายน ค.ศ. 286 | |||||||||
11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 | |||||||||
• การแบ่งจักรวรรดิตะวันออก-ตะวันตกครั้งสุดท้าย ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 | 17 มกราคม ค.ศ. 395 | ||||||||
4 กันยายน ค.ศ. 476 | |||||||||
• ยูลิอุส แนโปสถูกลอบสังหาร; เป็นจุดจบของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในทางทฤษฎี | 25 เมษายน ค.ศ. 480 | ||||||||
• การเข้ายึดครองของมุสลิม; สูญเสียมณฑลอันมั่งคั่งแห่งซีเรียและอียิปต์; อำนาจทางทะเลในเมดิเตอร์เรเนียนสิ้นสุดลง; เป็นจุดเริ่มต้นของยุคมืดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ | ค.ศ. 622–750 | ||||||||
• สงครามครูเสดครั้งที่ 4; ก่อตั้งจักรวรรดิละติน โดยนักรบครูเสดที่นับถือนิกายคาทอลิก | 12 เมษายน ค.ศ. 1204 | ||||||||
• จักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 ยึดกรุงคอนสแตนโนเปิลคืน | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1261 | ||||||||
29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 | |||||||||
• การล่มสลายของโมเรีย | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1460 | ||||||||
• การล่มสลายของทราบิซอนด์ | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1461 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 457 | 16,000,000 คนf | ||||||||
• ค.ศ. 565 | 26,000,000 คน | ||||||||
• ค.ศ. 775 | 7,000,000 คน | ||||||||
• ค.ศ. 1025 | 12,000,000 คน | ||||||||
• ค.ศ. 1320 | 2,000,000 คน | ||||||||
สกุลเงิน | โซลิดัส, เดนารีอุส และไฮเพอร์โพรอน | ||||||||
| |||||||||
|
จักรวรรดิไบแซนไทน์ (อังกฤษ: Byzantine Empire) หรือที่เรียกว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก (อังกฤษ: Eastern Roman Empire) หรือ ไบแซนทิอุม (Byzantium) เป็นจักรวรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นภายหลังและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน ค.ศ. 1453 ในสมัยที่ยังมีจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่นั้น จักรวรรดิเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและกำลังทหารแข็งแกร่งที่สุดในยุโรป
จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้แสดงให้เห็นว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์คือจักรวรรดิของชาวกรีก เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลของภาษากรีก วัฒนธรรมกรีกและประชากรเชื้อสายกรีก แต่ประชาชนของจักรวรรดิเองนั้น มองจักรวรรดิของตนว่าเป็นเพียงจักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิโรมันสืบทอดตำแหน่งอย่างต่อเนื่องกันเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
การเริ่มต้นของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยส่วนใหญ่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 306-337) แห่งโรมได้สถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็น "โรมใหม่" ใน พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) และย้ายเมืองหลวงจากโรมมาเป็นคอนสแตนติโนเปิลแทน ดังนั้น จึงถือว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปโดยปริยาย แต่ก็มีบางส่วนถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นในสมัยของธีโอโดเซียสมหาราช (ครองราชย์ ค.ศ. 379-395) ซึ่งคริสต์ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้าโรมันในฐานะศาสนาประจำชาติ หรือหลังจากธีโอโดเซียสสวรรคตใน ค.ศ. 395 เมื่อจักรวรรดิโรมันได้แบ่งขั้วการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด็ดขาด ทั้งยังมีบ้างส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้น "อย่างแท้จริง" เมื่อจักรพรรดิโรมูลูส ออกุสตูลูส ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้ายถูกปราบดาภิเษก ซึ่งทำให้อำนาจในการปกครองจักรวรรดิตกอยู่ที่ชาวกรีกในฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังมีอีกบางส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิโรมันได้แปลงสภาพเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสมบูรณ์ เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิอุสเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งในราชการ จากเดิมที่เป็นภาษาละติน ให้กลายเป็นภาษากรีกแทน
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงสถานะของจักรวรรดินั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินจะสถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. 330 ก็ตาม ในตอนนั้นก็ได้มีการแปลงสภาพวัฒนธรรมจากโรมันเป็นกรีก รวมถึงการเปิดรับคริสต์ศาสนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปแล้ว
การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1453 โดยกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นจุดสิ้นสุดยุคกลางในยุโรปอีกด้วย
การเรียกชื่อ
[แก้]การใช้คำว่า "ไบแซนไทน์" เพื่อระบุปีต่อ ๆ มาของจักรวรรดิโรมันเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1557 หรือ 104 ปีภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อเฮียนามนุส ไวฟ์ นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ตีพิมพ์ผลของเขาที่มีชื่อว่า กอร์ปุสฮิสตอรีไอบึซซันตีไน (Corpus Historiæ Byzantinæ) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำนี้นำมาจากคำว่า "บิแซนเทียม" ซึ่งเป็นชื่อเมืองที่จักรพรรดิคอนสแตนตินย้ายเมืองหลวงจากโรม และสร้างขึ้นมาใหม่ภายใต้ชื่อใหม่คือคอนสแตนติโนเปิล ชื่อเก่าของนครนี้จึงไม่ค่อยใช้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ยกเว้นในบริบททางประวัติศาสตร์หรือบทกวี บีซ็องตีนดูว์ลูฟวร์ (กอร์ปุสสกรีปโตรูงฮิสตอรีไอบึซซันตีไน) ซึ่งเป็นสิ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1648 และ ฮิสตอริอาบึซซันตีนา (Historia Byzantina) ของดูว์ ก็องฌ์ ใน ค.ศ. 1680 ได้ทำให้การใช้คำว่า "ไบแซนไทน์" เป็นที่นิยมในหมู่นักเขียนชาวฝรั่งเศส เช่น มงแต็สกีเยอ เป็นต้น[2] อย่างไรก็ตาม จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้เริ่มใช้กันโดยทั่วไปในโลกตะวันตก[3]
จักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นที่รู้จักของประชาชนในชื่อ "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "จักรวรรดิแห่งชาวโรมัน" (ละติน: Imperium Romanum, Imperium Romanorum; กรีกสมัยกลาง: Βασιλεία τῶν Ῥωμαίων, Ἀρχὴ τῶν Ῥωμαίων, อักษรโรมัน: Basileia tōn Rhōmaiōn, Archē tōn Rhōmaiōn) โรมาเนีย (ละติน: Romania; กรีกสมัยกลาง: Ῥωμανία, อักษรโรมัน: Rhōmania)[a] สาธารณรัฐโรมัน (ละติน: Res Publica Romana; กรีกสมัยกลาง: Πολιτεία τῶν Ῥωμαίων, อักษรโรมัน: Politeia tōn Rhōmaiōn) หรือ "Rhōmais" (กรีกสมัยกลาง: Ῥωμαΐς) ในภาษากรีก[6] ประชากรเรียกตนเองว่า โรมัยอัย (Romaioi) และแม้กระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวกรีกมักเรียกตนเองด้วยภาษากรีกสมัยใหม่ว่า โรมัยกา (Romaiika, "โรมาอิก")[7] ภายหลัง ค.ศ. 1204 จักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกจำกัดขอบเขตให้อยู่ในมณฑลต่าง ๆ ของกรีกล้วนเป็นส่วนใหญ่ คำว่า 'เฮลเลนส์' ก็ถูกนำมาใช้มากขึ้นแทน[8]
ในขณะที่จักรวรรดิไบแซนไทน์มีลักษณะหลากหลายเชื้อชาติ ในช่วงของประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่[9] และรักษาขนบธรรมเนียบแบบโรมัน-กรีกเอาไว้[10] จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ถูกระบุโดยคนร่วมสมัยทางตะวันตกและทางเหนือ ด้วยรากฐานของกรีกที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น[11] แหล่งข้อมูลในยุคกลางตะวันตกยังเรียกจักรวรรดินี้ว่า "จักรวรรดิแห่งชาวกรีก" (ละติน: Imperium Graecorum) และตัวจักรพรรดิเองถูกเรียกว่า อีมแปร์ราตอร์ไกรกอร์รูง (Imperator Graecorum; จักรพรรดิแห่งชาวกรีก)[12] คำเหล่านี้ถูกใช้เพื่อแยกจักรวรรดิไบแซนไทน์ออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่อ้างสิทธิ์ในอิทธิพลของจักรวรรดิโรมันโบราณในด้านตะวันตก[13]
ไม่ต่างกันกับโลกอิสลามและสลาฟ ที่ซึ่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกมองว่าเป็นจักรวรรดิที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิโรมันอย่างตรงไปตรงมามากกว่า ในโลกอิสลาม จักรวรรดิโรมันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ รูม เป็นหลัก[14] ชื่อ มิวเล็ด-อี รูม หรือ "ชาติโรมัน" ถูกใช้จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั่นเพื่อกล่าวถึงประชากรของจักรวรรดิไบแซนไทน์ นั่นคือ ชุมชนคริสต์ศาสนิกชนออร์ทอดอกซ์ ภายในจักรวรรดิออตโตมัน
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิโรมัน ในปี ค.ศ. 330 พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังเมืองไบแซนทิอุม จากนั้นทรงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโนวาโรม หรือกรุงโรมใหม่ หลังพระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 337 กรุงโรมใหม่ ก็ได้เปลี่ยนเป็น คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เพื่อเป็นการถวายเกียรติแด่พระองค์
เมืองไบแซนทิอุม เมื่อถูกตั้งเป็นเมืองหลวงมีความสำคัญทางด้านการเมืองและได้เป็นศูนย์กลางการค้าของจักรวรรดิ ในเวลานั้นจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออกยังมีจักรพรรดิองค์เดียวกันอยู่ การแบ่งจักรวรรดิเป็นสองส่วนนั้นเป็นเพียงแบ่งการปกครองเท่านั้น
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 395 จักรพรรดิเธโอดอซุสที่ 1 ทรงแบ่งแยกจักรวรรดิโรมันเป็น 2 ส่วน เพื่อให้พระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออกโดยมีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี ค.ศ. 476 ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดของยุโรป จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้หันมารับภาษาและวัฒธรรมกรีก ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอนาโตเลีย ภาษาละตินของโรมันค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยภาษากรีกและได้เป็นภาษาที่ยอมรับในจักรวรรดิไบแซนไทน์
ความรุ่งเรืองถึงขีดสุดและรัชสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน
[แก้]จักรวรรดิไบแซนไทน์เจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) (ครองราชย์ ค.ศ. 527-565) ทรงต้องการรวบรวมดินแดนของจักรวรรดิโรมันที่สูญเสียไปกลับคืน ทรงปกครองดินแดนที่ขยายกว้างใหญ่ออกไปให้กว้างกว่าจักรวรรดิโรมันตะวันออก
นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงสร้างและบูรณะเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ จนทำให้อีกหลายเมือง เช่น เมืองดามาคัส เมืองแอนติออค เมืองเบรุต และเมืองอเล็กซานเดรีย มีศิลปกรรมที่สวยงามและเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน ผลงานชิ้นเอกคือฮายาโซฟีอาเป็นศิลปะไบแซนไทน์
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียน คือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน พระองค์ทรงตั้งคณะกรรมการขึ้นมา พิจารณาชำระและร่างกฎหมายขึ้น จักรพรรดิจัสติเนียนเองก็มีส่วนในการวินิจฉัยแก้ประมวลกฎหมายนั้นด้วย กฎหมายตราขึ้นในปี ค.ศ. 529 และแก้ไขเพิ่มให้สมบูรณ์อีกครั้งในอีก 5 ปีต่อมา
จักรวรรดิเสื่อมอำนาจ
[แก้]หลังจากจักรพรรดิจัสติเนียนเสด็จสวรรคตแล้ว จักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆ ตามเวลา พระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 565 และช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 565-641 ปรากฏว่ามีจักรพรรดิปกครองถึง 6 พระองค์ แต่ละองค์ปกครองจักรวรรดิในช่วงเวลาสั้น ๆ และจักรวรรดิไบแซนไทน์ต้องเสียดินแดนในการปกครองอย่างต่อเนื่องโดยจักรพรรดิไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากพยายามรักษาจักรวรรดิเอาไว้จากการรุกรานของต่างชาติ โดยเฉพาะพวกเปอร์เซียและสลาฟ
เปอร์เซียรุกรานจักรวรรดิ กองทัพเปอร์เซียซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ยกกองทัพเข้ามารุกรานไบแซนไทน์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่พรมแดนยุโรปตะวันออกก็ถูกพวกสลาฟรุกราน ทำให้จักรพรรดิของไบแซนไทน์ต้องทำนโยบายต่าง ๆ นั้นทำให้ประชาชนไม่พอใจและร่วมขับไล่จักรพรรดิมอริสในปี ค.ศ. 582-602 แล้วนายทหารชื่อโฟคาสก็ได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิปกครองอยู่ในช่วงหนึ่งคือปี ค.ศ. 602-610 โฟคาสก็ยังต้องพบกับปัญหาเดิม ๆ อีกและด้วยการที่เขานำวิธีการปกครองแบบเผด็จการมาใช้ผนวกเข้าไปด้วยก็กลับสร้างความไม่พอใจกับประชาชน ในที่สุดเขาถูกชิงอำนาจโดยนายทหารอีกผู้หนึ่งแทน
ค.ศ. 610-641 เป็นยุคสมัยจักรพรรดิเฮราเคียส ก็ยังคงเผชิญกับการรุกรานเช่นเดิม เปอร์เซียรุกลึกเข้าในจักรวรรดิมากคือเข้ามาถึงอาร์มีเนียและเมโสโปเตเมีย แล้วในปี ค.ศ. 613 ก็สามารถยึดเมืองแอนติออค ปี ค.ศ. 614 ก็ยึดเมืองเยรูซาเล็ม ซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของเปอร์เซีย ไม่รวมแม้แต่เอเชียไมเนอร์ที่กำลังถูกรุกราน ด้วยสถานการณ์ที่คับขันทำให้จักรพรรดิต้องลงนามสนธิสัญญาสันติภาพดับพวกอวาร์ที่รุกรานอยู่ยุโรปตะวันออก โดยหวังจะระดมพลกองทัพไบแซนไทน์ทั้งหมดไปเอเชียไมเนอร์ แต่ปรากฏว่าเมื่อยกทัพออกไป ทัพของเปอร์เซียก็ร่วมมือกับอวาร์เข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลทำให้จักรพรรดิต้องยกทัพกลับ
แต่ในปลายปี ค.ศ. 627 กองทัพไบแซนไทน์กลับเอาชนะกองทัพเปอร์เซียได้ ไบแซนไทน์ขับพระมหากษัตริย์เปอร์เซียและปลงชีพพระองค์ทำให้เปอร์เซียถูกบังคับให้ลงนามสนธิสัญญาสงบศึก ทำให้ไบแซนไทน์ดูเหมือนกลับมาสงบอีกครั้ง
การรุกรานมุสลิมอาหรับ
[แก้]การรุกรานใหม่กำลังเริ่มเข้ามาสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์อีกครั้งนั้นก็คือ ศาสนาอิสลามที่กำลังเผยแพร่ศาสนาโดยการนำของมุสลิมชาวอาหรับที่มีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกที ค.ศ. 632 กองทัพมุสลิมอาหรับก็สามารถเข้าครอบครองคาบสมุทรอารเบีย แล้วเริ่มรุกรานเข้าสู่ดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์และเปอร์เซีย
ต่อจากนั้นก็เริ่มเข้ายึดครองเมืองดามัสกัสในปี ค.ศ. 635 ได้จอร์แดนและซีเรียในปี ค.ศ. 636 ได้เยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 638 มุสลิมชาวอาหรับก็เริ่มรุกเข้าอียิปต์ และรุกรานเอเชียไมเนอร์ จักรพรรดิเฮราเคลียของไบแซนไทน์พยายามต่อต้านการรุกรานอย่างเต็มกำลัง จนกระทั่งสิ้นรัชกาลในปี ค.ศ. 641 สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุสลิมอาหรับได้ดินแดนแอฟริกาตอนเหนือของไบแซนไทน์ไปจนหมด ซึ่งดินแดนเหล่านี้ถือเป็นดินแดนที่สำคัญของจักรวรรดิ เพราะมีประชากรมากที่สุด ชาวเมืองเป็นชุมชนที่มีความรู้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของเมืองขนาดใหญ่และสำคัญ เช่น เมืองอเล็กซานเดรีย, เยรูซาเล็ม การสูญเสียครั้งนี้ถือเป็นการสุญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิไบแซนไทน์ เพราะทำให้ไบแซนไทน์ต้องอ่อนแอลงทั้งด้านกำลังคนและเศรษฐกิจ จนเป็นส่วนหนึ่งของการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ต่อมา[ต้องการอ้างอิง]
ปัญหาการรุกรานของมุสลิมอาหรับกับไบแซนไทน์ก็ดูเหมือนว่าจะจบลงไปชั่วคราวเมื่อได้พันธมิตร โดยจักรพรรดิลีโอที่ 3 ได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับชนเผ่าเติร์กจากเอเชียกลางมาช่วยกันไม่ให้มุสลิมอาหรับและบัลแกเรียที่รุกรานออกห่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้
สมัยราชวงศ์มาซิโดเนียและการฟื้นตัวของจักรวรรดิ (ค.ศ. 867–1025)
[แก้]ค.ศ. 867–1025 ความสงบชั่วคราวทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะจักรวรรดิมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา การเมืองภายในสงบ มึการขยายดินแดน เศรษฐกิจก็มั่นคง ความก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการก็เจริญ ด้วยการปกครองของจักรพรรดิที่มาจากราชวงศ์มาซิโดเนีย โดยมีจักรพรรดิที่สำคัญได้แก่ เบซิลที่ 1 และเบซิลที่ 2
แท้จริงตำแหน่งจักรพรรดิของไบแซนไทน์นั้นมาจากการเลือกตั้งทำให้ราชวงศ์มาซิโดเนียสามารถเข้ามาเป็นผู้นำได้ อีกทั้งด้วยผลงานของจักรพรรดิเบซิลที่ 1 ที่สามารถมีชัยชนะต่อกองทัพอาหรับ และสามารถขยายดินแดนไปยุโรปตะวันออก อีกทั้งยังยืนยันในการเป็นจักรวรรดิผู้นำคริสต์ศาสนานิกายออร์ทอดอกซ์ไปเผยแพร่อีกด้วยทำให้พระองค์ได้รับความนิยมอย่างมาก
ช่วงปลายรัชสมัยของจักรพรรดิเบซิลนั้นพระองค์สามารถเป็นพันธมิตรกับบัลแกเรียได้ด้วยนโยบายทางศาสนาแต่ก็กลายเป็นปัญหากับไบแซนไทน์มากกว่าที่เคยมีกับอาหรับ โดยจักรพรรดิเบซิลที่ 2 ได้ทำสงครามอย่างยาวนานกับบัลแกเรียนานหลายปี จนกระทั่งปี ค.ศ. 1018 บัลแกเรียก็พ่ายแพ้และตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ชัยชนะที่มีต่อบัลแกเรียนี้ทำให้ไบแซนไทน์สามารถขยายอาณาเขตในยุโรปตะวันออกไปไกลอีกคือ เซอร์เบีย โครเอเชีย แต่อำนาจของและความรุ่งเรืองของจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ หลังจากที่จักรพรรดิเบซิลที่ 2 สวรรคตในปี ค.ศ. 1025
หลังจักรพรรดิเบซิลที่ 2 เสด็จสวรรคต พระอนุชาคือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์ไม่มีโอรส จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 พระองค์ครองอำนาจในระยะสั้น แม้ในเวลาต่อมาพระองค์จะไม่มีพระราชโอรสแต่ก็มีพระองค์มีพระราชธิดา 2 พระองค์เท่านั้นคือ โซอิและธีโอโดรา แต่ประชาชนก็ยังเลือกเอาพระธิดาของพระองค์ให้ขึ้นครองราชย์ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าความมั่งคั่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์มากจากราชวงศ์มาซิโดเนียเท่านั้น
แม้จะมีจักรพรรดิจากราชวงศ์อื่นขึ้นเป็นจักรพรรดิก็ตามแต่ก็อยู่ได้เพียงระยะสั้นเพราะประชาชนไม่นิยมสุดท้าย โซอิ ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดินี ครองราชย์ในช่วง ค.ศ. 1028-1050 พระนางได้เสกสมรสถึง 3 ครั้ง ทำให้พระสวามีทั้งสามได้เป็นองค์จักรพรรดิตามไปด้วย ได้แก่ โรมานุสที่ 3 ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1028-1034 ไมเคิลที่ 4 ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1034-1041 และ คอนสแตนตินที่ 9 ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1042-1055 เมื่อคอนสแตนตินที่ 9 สิ้นพระชนม์ ธีโอโดราก็ได้เป็นจักรพรรดินีองค์ต่อมา กระทั่ง ค.ศ. 1055
ช่วงระยะนี้ คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1025-1081 นั้น นับเป็นช่วงปลายยุคทองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระยะเวลาเพียง 56 ปี มีจักรพรรดิปกครองถึง 13 พระองค์ มีความพยายามที่จะเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่เข้ามาปกครองแต่ไม่สำเร็จ กระทั่ง ค.ศ. 1081 อเล็กเซียที่ 1 จากตระกูลคอมเมนุส ก็ทำการสำเร็จ และตระกูลนี้ปกครองต่อมาอีก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1081-1185
การรุกรานของเติร์ก
[แก้]ยุคทองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ด้านหนึ่งก็มีผลร้ายเหมือนกัน นั่นคือ ด้วยความมั่งคั่ง และรุ่งเรืองต่อเนื่องยาวนานทำให้ประชาชนหลงใหลและขาดการเตรียมตัว ทำให้จักรวรรดิเริ่มอ่อนแอลง อีกทั้งเกิดความแตกแยกในหมู่ผู้ปกครองและชนชั้นสูงและระหว่างกลุ่มขุนนางทหารกับขุนนางพลเรือน เมื่อเกิดการรุกรานจากศัตรูทำให้ไบแซนไทน์ต้องประสบปัญหาในที่สุด
โดยเฉพาะการรุกรานของชนเผ่าเติร์กหรือเซลจุกเตริร์กในเวลาต่อมากล่าวคือชนเผ่าเติร์กเป็นศัตรูกลุ่มใหม่ที่เริ่มรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ในกลางศตวรรษที่ 11 อันที่จริงแล้วเมื่อสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 เคยได้เข้าร่วมกับพวกเติร์กในการต่อต้านการรุกรานของบัลแกเรียมาแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นจักรพรรดิทรงอนุญาตให้ชาวเติร์กตั้งถิ่นฐานอยู่ในทางตอนใต้ของแม่น้ำดานูบ และที่สำคัญเหนือไปกว่านั้นชาวไบแซนไทน์เองที่สอนให้ชาวเติร์กให้รบเก่งและมีระบบ
ต่อมาเมื่อเติร์กขยายตัวมากยิ่งขึ้นก็เริ่มรุกรานพื้นที่หลายแห่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1055 เติร์กสามารถชนะเปอร์เซีย หลังจากนั้นพวกเขาก็ยกทัพเข้าแบกแดดและเริ่มสถาปนาตนเองเป็นสุลต่าน พร้อมอ้างตัวเป็นผู้คุ้มครองกาหลิบอับบาสิด และเริ่มขยายอำนาจเข้าสู่อียิปต์และอนาโตเนีย ต่อมา ค.ศ. 1065 เติร์กรุกเข้าอาร์มีเนีย และ ค.ศ. 1067 ก็สามารถขยายอำนาจเข้าสู่อนาโตเลียตอนกลาง
ค.ศ. 1067 ไบแซนไทน์มีจักรพรรดิคือ โรมานุสที่ 4 พระองค์ทรงพ่ายแพ้ต่อกองทัพเติร์กที่สนามรบอาร์มีเนีย และพระองค์ก็ถูกจับเป็นเชลยต่อกองทัพของเติร์กจำเป็นต้องเซ็นสัญญาสงบศึกกับเติร์กก่อนจะได้รับการปล่อยตัว เมื่อจักรพรรดิโรมานุสเดินทางกลับยังคอนสแตนติโนเปิลพระองค์ก็ไม่เป็นที่ยอมรับจนเกิดการแย่งชิงอำนาจขึ้นภายในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทำให้เติร์กส่งกองกำลังมารบกวนจนสามารถยึดไนเซีย อันเป็นเมืองฐานกำลังทหารและเศรษฐกิจของจักรวรรดิ ไม่เพียงเท่านั้นไบแซนไทน์ยังถูกซ้ำเติมอีกชาวนอร์แมน รุกเข้ามายึดอิตาลีทั้งหมดในกลางปี ค.ศ. 1071 โดยเข้ายึดฐานที่มั่นของไบแซนไทน์ในอิตาลีที่เมืองบารีได้ให้อิตาลีทั้งหมดตกอยู่ในใต้อำนาจของนอร์แมนกลายเป็นการปิดฉากอำนาจของไบแซนไทน์ในคาบสมุทรอิตาลีไปด้วย
หลังจากเสียอิทธิพลในฝั่งอิตาลีไปแล้ว ไบแซนไทน์ก็มีอาณาเขตเล็กลงมาก นอกจากนั้นภายในไบแซนไทน์ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันอย่างไม่สิ้นสุด หลังจากที่แย่งชิงกันอยู่ถึง 4 ปี สุดท้าย อเล็กเซียส คอมมินุส ซึ่งเป็นขุนนางทหารก็ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อจักรวรรดิถูกปิดล้อมทั้งตะวันตกโดยชาวนอร์แมน และทางตะวันออกโดยเซลจุกเติร์กทำให้จักรพรรดิ อเล็กเซียสที่ 1 (ค.ศ. 1081-1811) ต้องไปขอความช่วยเหลือจากพวกเวนิส โดยที่พระองค์ต้องยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของเวนิส โดยการให้สิทธิการค้าในกรุงคอนสแตนติโนเปิลและที่อื่น ๆ ในไบแซนไทน์ ซึ่งข้อตกลงนี้เองทำให้ชาวเวนิสกลายมาเป็นพ่อค้าสำคัญในด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเวลาต่อมา
สงครามครูเสด การรุกรานของชนทั้งสองต่อไบแซนไทน์ก็ยังไม่สิ้นสุดลงจนกระทั่งจักรพรรดิอเล็กเซียสที่ 1 จำต้องขอความชั่วเหลือไปยังสมเด็จพระสันตะปาปา โดยยกขออ้างให้ช่วยเหลือเมืองเยรูซาเล็ม ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกเติร์กยึดครองไปตั้งแต่ ค.ศ. 1077 และกองทัพครูเสดครั้งที่ 1 ก็ถูกส่งเข้ามา
ด้วยชัยชนะของกองทัพครูเสดดินแดนบางส่วนก็ได้ส่งคืนให้กับจักรพรรดิไบแซนไทน์ แต่บางส่วนแม่ทัพชาวมอร์แมนกลับไม่ยอมยกคืนให้ทั้งที่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นั้นจักรพรรดิไบแซนไทน์เป็นผู้ที่เสียให้เกือบทั้งหมด ผ่านพ้นสงครามครูเสดครั้งที่ 1 พวกเติร์กก็ยังรุกรานอยู่เช่นเดิม จักรพรรดิองค์ต่อมาเห็นว่าชาวตะวันตกมีบทบาทจึงได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับชาวตะวันตกเอาไว้ ต่อมาเกิดสงครามครูเสดครั้งที่ 2 กองทัพครูเสดต้องใช้ไบแซนไทน์เป็นทางผ่านทำให้ไบแซนไทน์ถูกกองทัพครูเสดบางกลุ่มเข้าปล้น
จักรวรรดิล่มสลาย
[แก้]ไบแซนไทน์ยังต้องทำสงครามกับเติร์กมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยชาวเติร์กรุกเข้ามาในจักรวรรดิ โดยเริ่มจาก ค.ศ. 1377 เติร์กประกาศตั้งเมืองหลวงของออตโตมันที่อเดรียนเนเปิล ค.ศ. 1385 ก็ยึดเมืองโซเฟีย ค.ศ. 1386 ได้เมืองนีส เมืองเทสสาโลนิกา
พฤษภาคม ค.ศ. 1453 จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ต้องพ่ายแพ้แก่จักรวรรดิออตโตมันของชาวเติร์ก และถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันในที่สุด จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ล่มสลายลง จักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นรักษาวัฒธรรมของโรมันและวัฒธรรมกรีก เป็นระยะเวลา 1123 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 330-1453
การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ เกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ในปี ค.ศ. 1453 หลังจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นที่สิ้นสุดของยุคกลางในยุโรป
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "โรมาเนีย" เป็นชื่อที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งหมายถึ่ง "ดินแดนแห่งชาวโรมัน"[4] ภายหลัง ค.ศ. 1081 คำนี้ก็ได้ปรากฏบนเอกสารทางราชการของไบแซนไทน์เป็นบางครั้งอีกด้วย ใน ค.ศ. 1204 ผู้นำในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ได้ตั้งชื่อ โรมาเนีย ให้กับจักรวรรดิละตินที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่[5] แต่คำนี้ไม่ได้หมายถึงประเทศโรมาเนียในปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.britannica.com/topic/Byzantine-Greek-language
- ↑ Fox, What, If Anything, Is a Byzantine?; Rosser 2011, p. 1
- ↑ Rosser 2011, p. 2 .
- ↑ Fossier & Sondheimer 1997, p. 104 .
- ↑ Wolff 1948, pp. 5–7, 33–34 .
- ↑ Cinnamus 1976, p. 240 .
- ↑ Browning 1992, "Introduction", p. xiii : "The Byzantines did not call themselves Byzantines, but Romaioi–Romans. They were well aware of their role as heirs of the Roman Empire, which for many centuries had united under a single government the whole Mediterranean world and much that was outside it."
- ↑ Nicol, Donald M. (30 December 1967). "The Byzantine View of Western Europe". Greek, Roman, and Byzantine Studies (ภาษาอังกฤษ). 8 (4): 318. ISSN 2159-3159.
- ↑ Ahrweiler & Laiou 1998, p. 3 ; Mango 2002, p. 13 .
- ↑ Gabriel 2002, p. 277 .
- ↑ Ahrweiler & Laiou 1998, p. vii ; Davies 1996, p. 245 ; Gross 1999, p. 45 ; Lapidge, Blair & Keynes 1998, p. 79 ; Millar 2006, pp. 2, 15 ; Moravcsik 1970, pp. 11–12 ; Ostrogorsky 1969, pp. 28, 146 ; Browning 1983, p. 113 .
- ↑ Klein 2004, p. 290 (Note #39) ; Annales Fuldenses, 389: "Mense lanuario c. epiphaniam Basilii, Graecorum imperatoris, legati cum muneribus et epistolis ad Hludowicum regem Radasbonam venerunt ...".
- ↑ Fouracre & Gerberding 1996, p. 345 : "The Frankish court no longer regarded the Byzantine Empire as holding valid claims of universality; instead it was now termed the 'Empire of the Greeks'."
- ↑ Tarasov & Milner-Gulland 2004, p. 121 ; El-Cheikh 2004, p. 22
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่March 2021
- จักรวรรดิไบแซนไทน์
- จักรวรรดิ
- ประวัติศาสตร์ยุคกลาง
- รัฐคริสต์
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศกรีซ
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศตุรกี
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 4
- สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 15
- ประเทศราชของจักรวรรดิออตโตมัน
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์