คลอง
คลอง (อังกฤษ: canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง
ประโยชน์ของคลอง
[แก้]ในกรณีของคลองขุดนั้นเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้
- ขุดเป็นคลองลัดเพื่อเชื่อมแม่ลำน้ำตอนที่ไหลโค้งตวัด หรือเชื่อมแม่น้ำ 2 สาย เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้การคมนาคมขนส่งทางน้ำมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ขุดเป็นคลองคูเมืองเพื่อเป็นแนวป้องกันจากศัตรูผู้รุกราน อยู่ถัดจากกำแพงเมืองออกมา เช่น คลองคูเมืองด้านตะวันตกของกรุงธนบุรี และคลองคูเมือง 3 ชั้น ด้านตะวันออกของเกาะรัตนโกสินทร์ในกรุงเทพฯ
- เพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำ และป้องกันอุทกภัยจากน้ำท่วมและน้ำขัง
- เพื่อใช้ในการชลประทานสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม
- เพื่อใช้ในกิจการประปา สำหรับการอุปโภคบริโภคน้ำสะอาดของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองและเขตชุมชนใหญ่ๆ
วัตถุประสงค์ในการขุดคลองข้างต้นนั้น บางครั้งเป็นการขุดคลองเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ในสมัยโบราณ ส่วนใหญ่เป็นการขุดคลองด้วยเหตุผลข้อที่ 1 หรือข้อที่ 2 ในช่วงต่อมา มีวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 5 นั้นเป็นการขุดคลองเพื่อการประปาในสมัยใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ ในด้านการมีน้ำที่สะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภค
คลองที่สำคัญ
[แก้]คลองที่สำคัญในไทย
[แก้]คลองในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นคลองที่คนขุดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แต่ก็มีบางคลองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศ มักเรียกลำน้ำเล็กๆ บางสายที่เกิดเองตามธรรมชาติว่า "คลอง" เช่น คลองกระแส จังหวัดระยอง คลองใหญ่ จังหวัดตราด คลองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คลองปากนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช และคลองนาทวี จังหวัดสงขลา แต่ในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ ถ้ากล่าวถึงคลอง ก็หมายถึงลำน้ำที่คนขุดขึ้นเพียงอย่างเดียว
- คลองคูเมืองเดิม
- คลองบางขนาก
- คลองประเวศบุรีรมย์
- คลองผดุงกรุงเกษม
- คลองพระโขนง
- คลองมหานาค
- คลองมหาสวัสดิ์
- คลองมอญ
- คลองรอบกรุง
- คลองหลอด
- คลองบางกอกน้อย
- คลองบางกอกใหญ่
- คลองบางหลวง
- คลองเปรมประชากร
- คลองแสนแสบ
- คลองชลประทาน
- คลองรังสิต
- คลองสำโรง
- คลองภาษีเจริญ
- คลองสนามชัย
- คลองประปา
- คลองหกวาสายล่าง
- คลองสามวา
- คลองลาดพร้าว
- คลองทวีวัฒนา
- คลองพระยาสุเรนทร์
- คลองระพีพัฒน์
- คลองพระยาบันลือ
คลองที่สำคัญในต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Edwards-May, David (2002), European Waterways - map and concise directory, Euromapping