ข้ามไปเนื้อหา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Management Science, Silpakorn University
ชื่อย่อSUMS
สถาปนาพ.ศ. 2545
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์
ที่อยู่
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
สี  สีเขียวไข่ครุฑ[1]
มาสคอต
กระดานหมากรุก
สถานปฏิบัติศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมและภัตตาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี
เว็บไซต์www.ms.su.ac.th

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Management Science, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมโครงการจัดตั้ง "คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร" ไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี พ.ศ. 2540 – 2549 ฉบับแรก มหาวิทยาลัยวางแผนจะตั้งคณะวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาคตะวันตกบนฐานสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยมีศักยภาพอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยได้ทบทวนแผนแม่บทตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจและงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลงเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นจึงบรรจุคณะวิทยาการ (ซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาการจัดการโรงแรม การจัดการการท่องเที่ยวและการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรม) ลงในแผนแม่บทเมื่อ พ.ศ. 2543

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีนั้น เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา ดังนั้นการจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่จึงมิอาจเป็นวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเหมือนวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมได้ สถานการณ์งบประมาณของมหาวิทยาลัยขณะนั้นทำให้นโยบายการจัดการศึกษาที่สำคัญของวิทยาเขตแห่งใหม่ เน้นการพึ่งพาตนเองด้านงบประมาณ จัดตั้งให้เป็นหน่วยงานในกำกับ การประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยงานภายในวิทยาเขต การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอน ลดภาระเงินเดือน ค่าจ้างในระยะยาว

อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ เริ่มเป็นอธิการบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา (อาจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอนในวิทยาเขตแห่งใหม่ เนื่องจาก คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีได้ จึงต้องจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ เพื่อจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีให้ได้ในปีการศึกษา 2545 โดยสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบโครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 ในระยะแรกจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 3 สาขาวิชาได้แก่ การจัดการการท่องเที่ยว การจัดการชุมชน และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้มีการเพิ่มหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตขึ้น

จนกระทั่งในปีการศึกษา 2559 ทางมหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรบัญชีบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนิทรรศการและงานอีเว้นท์ขึ้น จนปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการมีสาขาวิชารวมทั้งสิ้น 9 สาขา

หน่วยงาน

[แก้]
  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการจัดการชุมชน
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษา
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชาบัญชี
  • สาขาวิชาโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการจัดการนิทรรศการและงานอีเว้นท์

หลักสูตร

[แก้]
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการจัดการชุมชน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษา
  • สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์
  • สาขาวิชาโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเว้นท์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (กจ.ม.)

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการ

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.) หลักสูตรนานาชาติ

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
รายนามคณบดีคณะวิทยาการจัดการ
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
รองศาสตราจารย์ สมประสงค์ น่วมบุญลือ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545[2]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการคณะวิทยาการจัดการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[3]
รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาการจัดการ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 8 กันยายน พ.ศ. 2547[4]
9 กันยายน พ.ศ. 2547 – 8 กันยายน พ.ศ. 2551[5]
9 กันยายน พ.ศ. 2551 – 8 กันยายน พ.ศ. 2555[6]
3
รองศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ ศิริวงศ์ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 – 8 กันยายน พ.ศ. 2559[7]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีรพัฒน์ ยางกลาง 9 กันยายน พ.ศ. 2559 – 2563 [8]
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ 9 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

กิจกรรมนักศึกษา

[แก้]
  • กิจกรรมแรลลี่หมากรุก

จัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายนของทุกปี เพื่อให้นักศึกษาปี 1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคณะวิทยาการจัดการ การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของคณะที่นักศึกษาต้องทราบและปฏิบัติ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของคณะวิทยาการจัดการ เพลงสันทนาการของคณะ เพลงเชียร์ของคณะ การบูมคณะ และความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในรุ่นของตัวเอง เพื่อที่จะเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการอย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจ

  • กิจกรรมเฟรชชี่ไนท์

จัดขึ้นในช่วงกันยายนของทุกปี เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จัดขึ้นให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อแสดงถึงความรัก ความดูแลเอาใจใส่ และเป็นการยอมรับเพื่อเข้าสู่คณะวิทยาการจัดการ ภายในกิจกรรมจะมีคอนเสิร์ตจากศิลปิน

  • พิธีไหว้ครูคณะวิทยาการจัดการ

จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายนของทุกปี เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรัก ความเคารพต่อครูอาจารย์ผู้สั่งสอนอบรมนักศึกษา เพื่อให้มีความรู้ในการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาทุกคนจะได้แสดงความกตัญญูต่ออาจารย์อีกด้วย

  • พิธีติดติ้งคณะวิทยาการจัดการ

จัดขึ้นในช่วงกันยายนของทุกปี เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อรับเข้ามาเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการอย่างเต็มตัว อีกทั้งยังเป็นวันที่รุ่นพี่ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และสายรหัสได้มาร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย

  • กิจกรรมพี่สอนน้องสอบ

เป็นกิจกรรมที่พี่ ๆ คณะวิทยาการจัดการจัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมน้อง ๆ ชั้นปีที่ 1 สำหรับการสอบ ซึ่งเป็นการสอบครั้งแรกของน้อง อีกทั้งให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้ถึงระเบียบ ข้อบังคับในการสอบ เทคนิคการเขียนหรือการทำข้อสอบของแต่ละสาขาวิชา อีกทั้งมีการช่วยน้องติวในเนื้อหาวิชาที่ไม่เข้าใจให้อีกด้วย เพื่อให้น้อง ๆ ได้พร้อมในการเข้าสู่สนามสอบจริง

  • กิจกรรมลูกทุ่งชุมชน

จัดขึ้นช่วงเดือนมีนาคม–เมษายนของทุกปี จัดโดยสาขาการจัดการชุมชน ภายในงานจะมีร้านค้า เวทีรำวง ตลาดนัดนักศึกษา เกมและการละเล่นในธีมของงานวัด และมีรำวงการกุศลเพื่อนำรายได้ไปบริจาคและบำเพ็ญประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย

  • กิจกรรมรัฐประศาสนศาสตร์วิชาการ

จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายนของทุกปี จัดโดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภายในงานจะมีการปฐกถาพิเศษจากนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องการเมือง การปกครอง การบริหารงานภาครัฐ ฯลฯ กิจกรรมเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเรื่องที่เป็นประเด็นในด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบัน กิจกรรมการแข่งขันการตอบปัญหาทางรัฐประศาสนศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมการแข่งขันการนำเสนอวิสัยทัศน์ของระดับอุมศึกษาในเรื่องที่เป็นประเด็นในปัจจุบัน ซึ่งได้รับความสนใจและมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯลฯ

  • กิจกรรม SARIM

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะวิทยาการจัดการ โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนกันเป็นเจ้าภาพของแต่ละคณะเรียงตามตัวอักษร โดยเป็นกิจกรรมสันทนาการร่วมกันหรือ "การชนสัน"

  • กิจกรรมชนช้าง

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นร่วมกับ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดขึ้นเพื่อเป็นการชนสันทนาการของทั้ง 3 คณะ อีกทั้งมีการแสดงของเชียร์ลีดเดอร์ของแต่ละคณะ และการเต้นสันทนาการเวียนกัน

ผลงาน / รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

[แก้]
  • นายรัชพล เปรมสวัสดิ์ และนายพิชชากร อภิพาณิชพงษ์ ตัวแทนนักศึกษาร่วมกับนายนิพนธ์ สาสาร และชวยุต นิ่มนวล ตัวแทนเทศบาล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานการแกะสลักทราย คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศการแข่งขันเทศกาลแกะสลักทราย ฮิชิคาริ ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ เมืองฮิชิคาริ ประเทศญี่ปุ่น
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในโครงการ AFET Futures Trading Challenge
  • ตำแหน่งชนะเลิศรางวัลเกียรติคุณพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการแข่งขัน เกมจำลองธุรกิจแห่งชาติครั้งที่ 1
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชยโครงการ "การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ"
  • รางวัลชนะเลิศโครงการ "Phillip Futures Challenge on Campus 2006"
  • รางวัล "Spirit of SIFE Award" การแข่งขันโครงการ 2007 SIFE Thailand National Competition
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 ในโครงการ AFET Futures Trading Challenge 2007
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ ระดับภูมิภาคตะวันตก
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดทักษะมัคคุเทศก์เฉลิมพระเกียรติ ระดับมหาวิทยาลัย
  • ได้รับรางวัลจากการร่วมแข่งขัน "One–2–Call! - Brand Age Award โครงการประกวดแผนพัฒนาธุรกิจ (ปีที่ 3) ตอนงานเข้า OTOP"
  • รางวัลจากการร่วมแข่งขันทำอาหารแห่งภูมิภาคเอเชีย งานชุมนุมเชฟระดับโลก
  • นางสาวนฤมล บัณฑิตาโสภณ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ภาคบรรยาย ระดับดี ในการประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 "การพัฒนาภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อความยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น สังคมไทย และอาเซียน"
  • นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป นางสาวศิริชาภรณ์ สิงห์โต ที่ได้รับรางวัล "ชนะเลิศ TFEX Campus Champion" นางสาวจิดาภา ทองดอนกระเดื่อง "รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง TFEX Campus Champion" และนางสาวสุณิสา สังข์เงิน "รองชนะเลิศอันดับสอง TFEX Campus Champion" ในการแข่งขันโครงการ "TFEX Click2Win Campus League 2014
  • นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับ "รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น" เป็นสมัยที่สามติดต่อกันจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558
  • อาจารย์ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร และนายดนัยกานต์ ศรีสุข นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจโรงแรมและที่พัก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (เหรียญทอง) จากการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ ประเทศเวียดนาม ในสาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน ได้รับรางวัลผลงานวิจัยการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติดีเด่น ภาคบรรยายการประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ในหัวข้อ "ภัยธรรมชาติกับการจัดการอย่างยั่งยืน ระดับท้องถิ่น ประเทศและอาเซียน" ณ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 354/2545 ลงวันที่ 5 เมษายน 2545
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 1111/2545 ลงวันที่ 30 กันยายน 2545
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 925/2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 1226/2547 ลงวันที่ 8 กันยายน 2547
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1424/2551 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2551
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 1290/2555 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2555
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 996/2559 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2559

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]