ข้ามไปเนื้อหา

การยุบเชโกสโลวาเกีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การยุบเชโกสโลวาเกีย
ส่วนหนึ่งของผลพวงจากการปฏิวัติ ค.ศ. 1989
เชโกสโลวาเกียระหว่างปี ค.ศ. 1968 (รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ) จนถึงปี ค.ศ. 1989 (การปฏิวัติกำมะหยี่)
วันที่วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 – วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1992
(5 เดือน 2 สัปดาห์)
ที่ตั้งเชโกสโลวาเกีย สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก:
ผล

การยุบเชโกสโลวาเกีย (เช็ก: Rozdělení Československa, สโลวัก: Rozdelenie Česko-Slovenska) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1992 เป็นเหตุการณ์การแยกตัวของสหพันธ์สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียออกเป็นรัฐอิสระสองประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย โดยแนวคิดนี้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 โดยพรรคสังคมนิยมเช็กและพรรคสังคมนิยมสโลวักภายใต้ขอบข่ายการดำเนินงานในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐ

เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ การแตกแยกกำมะหยี่ (Velvet Divorce) ซึ่งอ้างถึงการปฏิวัติกำมะหยี่ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งไม่มีเหตุการณ์นองเลือดใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งส่งผลให้อำนาจการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกียสิ้นสุดลงและเปลี่ยนประเทศไปเป็นรัฐแบบทุนนิยม

เบื้องหลัง

[แก้]

ประเทศเชโกสโลวาเกียได้ถูกก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้มีการจัดการประชุมขึ้นในปี พ.ศ. 2461 ที่พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น โทมาช การิก มาซาริก ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียได้ลงนามความตกลงพิตต์สเบิร์กกับกลุ่มผู้แทนชาวเช็กและสโลวัก ซึ่งมีข้อตกลงว่าจะเป็นรัฐร่วมซึ่งประกอบด้วยชาติทั้งสองที่เท่าเทียมกันคือ สโลวัก และเช็ก

อย่างไรก็ตาม ชาวสโลวักบางคนไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนี้ และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 ก็ได้มีการก่อตั้งสาธารณรัฐสโลวักที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐบริวารของนาซีเยอรมนีที่มีอำนาจอธิปไตยจำกัดภายใต้แรงกดดันของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ต่อมาถูกสหภาพโซเวียตยึดครองในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เกิดการรวมประเทศอีกครั้งเป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 3

ในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลให้สิทธิของรัฐบาลกลางถูกลิดรอนอย่างเป็นทางการ แต่ต่อมา กุสตาว ฮูซาก ได้กลับมาควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของปราก ซึ่งสนับสนุนให้มีการแบ่งแยกดินแดนขึ้นใหม่หลังจากการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์

การยุบประเทศ

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2534 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของเช็กสูงกว่าของสโลวาเกียร้อยละ ​20 โดยได้มีการยกเลิกกฎที่เช็กต้องโอนงบประมาณให้กับสโลวาเกียซึ่งใช้มาเป็นเวลานานในปีเดียวกัน

ชาวเช็กและชาวสโลวักส่วนใหญ่ต้องการให้ประเทศเชโกสโลวาเกียคงอยู่ต่อไปในรูปแบบสหพันธรัฐ แต่พรรคหลักบางพรรคของสโลวาเกียต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระและมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ต่อมาพรรคต่าง ๆ ของทั้งสองประเทศได้รวมตัวกันอีกครั้ง แต่พรรคของแต่ละประเทศไม่มีบทบาทใด ๆ ซึ่งกันและกัน แต่เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น รัฐบาลจึงต้องการให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง แต่ฝ่ายสโลวักต้องการแยกตัว[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 รัฐสภาสโลวักได้ประกาศแยกตัวจากเชโกสโลวาเกียเพื่อก่อตั้งเป็นประเทศใหม่ขึ้น (ซึ่งต่อมาก็คือประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน) หลังจากนั้นหกเดือนต่อมา ได้มีการจัดประชุมขึ้นที่บราติสลาวา ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติให้แยกตัวออกเป็นประเทศใหม่ ต่อมา วาตสลัฟ ฮาแว็ล ประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในขณะนั้นได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเขาคัดค้านแนวคิดดังกล่าว[2] และในการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนเมื่อเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ผลปรากฏว่ามีประชาชนชาวสโลวักเพียงร้อยละ 37 และชาวเช็กเพียงร้อยละ 36 เท่านั้นที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว[3]

ต่อมาเป้าหมายในการยุบประเทศได้เปลี่ยนไปให้เป็นไปอย่างสันติสุข โดยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สมัชชาแห่งชาติได้ผ่านรัฐบัญญัติซึ่งกำหนดการแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างดินแดนเช็กและสโลวาเกียเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน[4] ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535[4]

การยุบประเทศสำเร็จโดยปราศจากความรุนแรง ซึ่งไม่เหมือนกับรัฐคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ที่มีการใช้ความรุนแรง เช่น ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการล่มสลายของยูโกสลาเวีย โดยประเทศเชโกสโลวาเกียถือเป็นรัฐสังคมนิยมเพียงรัฐเดียวที่มีการแยกประเทศอย่างสันติสุข

อ้างอิง

[แก้]
  1. Skalnik Leff, Carol (1997). The Czech and Slovak Republics. Nation versus state. Westview Press. pp. 129–139. ISBN 0-8133-2922-1.
  2. Vaclav Havel: Still Puckish, Still a Politician, No Longer President, The New York Times, 21 July 1992
  3. Kamm, Henry. "At Fork in Road, Czechoslovaks Fret", The New York Times, dateline 9 October 1992. Retrieved 1 January 2009.
  4. 4.0 4.1 Mrak, Mojmir (1999). Succession of States. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 978-90-411-1145-6.