ข้ามไปเนื้อหา

สงครามจีน–เวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สงครามจีน-เวียดนาม)
สงครามจีน–เวียดนาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม, สงครามเย็น และความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

แผนที่เมืองในเวียดนามที่จีนโจมตี
วันที่17 กุมภาพันธ์ – 16 มีนาคม ค.ศ. 1979
(3 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
ชายแดนจีน–เวียดนาม
ผล

ทั้งสองฝ่ายอ้างชัยชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
จีนยึดครองดินแดนเวียดนามชั่วคราวในจังหวัดกาวบั่งและจังหวัดหลั่งเซิน[2][3][4]
คู่สงคราม
 จีน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
PLA 200,000 นายกับรถถัง 400–550 คัน[5][6]
  • ทหารประจำการ 70,000–100,000 นาย
  • กองกำลังท้องถิ่นและกองกำลังติดอาวุธ 150,000 นาย[7]
ความสูญเสีย
  • ประมาณการของจีน:
  • ถูกฆ่า 6,954 นาย
  • บาดเจ็บ 14,800–21,000 นาย
  • ถูกจับกุม 238 นาย[6][8][9]
  • ประมาณการของเวียดนาม:
  • บาดเจ็บ 62,000 นาย รวมผู้เสียชีวิต 48,000 นาย[10][11][12][13]
  • รถถังถูกทำลาย 420 คัน[14]
    ปืนครกและปืนหนักถูกทำลาย 66 อัน[14]
  • ประมาณการของตะวันตก:
  • ถูกฆ่า 26,000 นาย
  • บาดเจ็บ 37,000 นาย[15]
  • ประมาณการของจีน:
  • ถูกฆ่า 42,000[11]–57,000 นาย
  • ทหารกองหนุนถูกฆ่า 70,000 นาย[8][16]
  • ถูกจับ 1,636 นาย[12][13]
  • รถถังถูกทำลาย 185 คัน[14]
  • ปืนครกและปืนหนักถูกทำลาย 200 อัน[14]
  • เครื่องยิงจรวดถูกทำลาย 6 คัน[14]
  • ประมาณการของตะวันตก:
  • ถูกฆ่า 30,000 นาย
  • บาดเจ็บ 32,000 นาย[15]
สงครามจีน–เวียดนาม
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ对越自卫反击战
อักษรจีนตัวเต็ม對越自衛反擊戰
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามChiến tranh biên giới Việt Nam-Trung Quốc

สงครามจีน–เวียดนาม (เวียดนาม: Chiến tranh biên giới Việt-Trung; จีน: 中越战争; พินอิน: Zhōng-Yuè Zhànzhēng) หรือรู้จักกันในชื่อ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นสงครามชายแดนสั้น ๆ สู้รบกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในต้นปี 2522 ประเทศจีนเปิดฉากการรุกเพื่อตอบโต้การบุกครองและยึดครองกัมพูชาของเวียดนามในต้นปี 2521 (ซึ่งยุติการปกครองของเขมรแดงที่จีนหนุนหลัง) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เฮนรี คิสซินเจอร์ เขียนว่า ผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิง มองเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความพยายามของโซเวียตที่จะ "เหยียดหนวดชั่วร้ายของมันมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ ... ดำเนินการขยายอาณาเขตที่นั่น" ซึ่งสะท้อนความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตที่มีมานาน คิสซินเจอร์ยังสังเกตว่า "แม้ว่าการดำเนินการจะมีจุดอ่อน แต่การทัพของจีนสะท้อนการวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จริงจัง"

กำลังจีนเข้าสู่เวียดนามตอนเหนือและยึดหลายนครใกล้ชายแดน วันที่ 6 มีนาคม 2522 ประเทศจีนประกาศว่าประตูสู่กรุงฮานอยได้เปิดออกและว่าภารกิจลงโทษลุล่วงแล้ว ก่อนถอนทหารออกจากประเทศเวียดนาม ทั้งประเทศจีนและเวียดนามต่างอ้างชัยในสงครามอินโดจีนนี้ โดยกำลังเวียดนามประจำอยู่ในกัมพูชาจนถึงปี 2532 อาจกล่าวได้ว่าประเทศจีนไม่บรรลุเป้าหมายในการห้ามมิให้เวียดนามเลิกเข้าไปข้องเกี่ยวในประเทศกัมพูชา ให้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จึงได้มีการสะสางชายแดนจีน-เวียดนาม

แม้ว่าไม่สามารถขัดขวางเวียดนามจากกัมพูชาได้ แต่จีนสามารถแสดงให้เห็นว่าคู่แข่งคอมมิวนิสต์สมัยสงครามเย็น คือสหภาพโซเวียตนั้น ไม่สามารถคุ้มครองพันธมิตรเวียดนามได้ หลังความสัมพันธ์ที่เสื่อมลงระหว่างสหภาพโซเวียตและจีน มีการประจำทหารจีน 1.5 ล้านนายตามชายแดนจีน-โซเวียตเพื่อเตรียมสงครามเต็มขั้นกับโซเวียต

ภูมิหลัง

[แก้]

เช่นเดียวกับสงครามอินโดจีนครั้งแรก ซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์ซับซ้อนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเวียดนามต่างปะทุจากผลพวงที่ไม่ได้ข้อยุติของความสัมพันธ์ทางการเมือง สงครามอินโดจีนครั้งที่สามเกิดขึ้นจากปัญหาคาราคาซังจากสงครามครั้งก่อน ๆ[17]

ผู้ชนะฝ่ายสัมพันธมิตรหลักในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ต่างตกลงว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสไม่มีวิธียึดอินโดจีนคืนทันที มหาอำนาจตกลงว่าบริเตนจะเข้าควบคุมและทหารจะยึดครองภาคใต้ ขณะที่กำลังจีนคณะชาติจะเคลื่อนเข้ามาจากทิศเหนือ กำลังจีนคณะชาติเข้าสู่ประเทศเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเหนือเส้นขนานที่ 16 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2488 เส้นขนานดังกล่าวแบ่งอินโดจีนออกเป็นเขตควบคุมจีนและบริเตน บริเตนขึ้นบกในภาคใต้ปลดอาวุธกำลังฝรั่งเศสที่ถูกกักตัวขนาดย่อม ตลอดจนบางส่วนของกำลังญี่ปุ่นที่ยอมจำนนเพื่อช่วยในการยึดเวียดนามภาคใต้คืน เนื่องจากไม่มีกำลังบริเตนเพียงพอในทันที

สงครามอินโดจีนครั้งแรก

[แก้]

ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

[แก้]

สงครามเวียดนาม

[แก้]

กัมพูชา

[แก้]

แม้ว่าคอมมิวนิสต์เวียดนามและเขมรแดงจะเคยร่วมมือกันมาก่อน แต่ความสัมพันธ์นั้นเสื่อมลงเมื่อพล พต ผู้นำเขมรแดง เถลิงอำนาจและสถาปนากัมพูชาประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2518 หลังการปะทะหลายครั้งตามชายแดนระหว่างประเทศเวียดนามและกัมพูชา และด้วยการส่งเสริมจากผู้แปรพักตร์เขมรแดงที่หนีการกวาดล้างของเขตตะวันออก ประเทศเวียดนามจึงบุกครองกัมพูชาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2522 กำลังเวียดนามเข้าสู่กรุงพนมเปญและผู้นำเขมรแดงหนีไปกัมพูชาตะวันตก

กำลังทหาร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gompert, David C.; Binnendijk, Hans; Lin, Bonny. Blinders, Blunders, and Wars: What America and China Can Learn (PDF) (Report). RAND Corporation. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  2. Nayan Chanda, "End of the Battle but Not of the War", p. 10. Khu vực có giá trị tượng trưng tinh thần nhất là khoảng 300m đường xe lửa giữa Hữu Nghị Quan và trạm kiểm soát biên giới Việt Nam.
  3. Nguyen, Can Van. "Sino-Vietnamese Border Issues". NGO Realm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2014. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
  4. Nguyen, Can Van. "INTERVIEW ON TERRITORY AND TERRITORIAL WATERS". vlink.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2015. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
  5. Zygmunt Czarnotta and Zbigniew Moszumański, Altair Publishing, Warszawa 1995, ISBN 83-86217-16-2
  6. 6.0 6.1 Zhang Xiaoming, "China's 1979 War with Vietnam: A Reassessment" เก็บถาวร ตุลาคม 31, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, China Quarterly, Issue no. 184 (December 2005), pp. 851–874. Actually thought to have been 200,000 with 400–550 tanks. Zhang writes that: "Existing scholarship tends towards an estimate of as many as 25,000 PLA killed in action and another 37,000 wounded. Recently available Chinese sources categorize the PLA's losses as 6,594 dead and approximately 31,000 injured, giving a total of 24,000 casualties from an invasion force of 200,000."
  7. King V. Chen (1987): China's War With Việt Nam, 1979. Hoover Institution Press, Stanford University, page 103
  8. 8.0 8.1 对越自卫反击作战工作总结 [Work summary on counter strike (1979–1987)], The rear services of Chinese Kunming Military Region
  9. China at War: An Encyclopedia, p. 413, ที่กูเกิล หนังสือ
  10. Howard, Russell D. (September 1999). "USAF Institute for National Security Studies, USAF Academy" (PDF). Regional Security Series. INSS Occasional Paper. 28.
  11. 11.0 11.1 Tonnesson, Bởi Stein (2010). Vietnam 1946: How the War Began. University of California Press. p. 2. ISBN 9780520256026.
  12. 12.0 12.1 Chan, Gerald (1989). China and international organizations: participation in non-governmental organizations since 1971 (illustrated ed.). Oxford University Press. p. 80. ISBN 0195827384.
  13. 13.0 13.1 Military Law Review, Volumes 119–122. Vol. 119. Contributors United States. Dept. of the Army, Judge Advocate General's School (United States. Army). Headquarters, Department of the Army. 1988. p. 72.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 King C. Chen (1983). "China's war against Vietnam, 1979: a military analysis". Journal of East Asian Affairs. 3 (1). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  15. 15.0 15.1 Chen, King C. (1987). China's War with Vietnam, 1979: Issues, Decisions, and Implications. Hoover Press. p. 114. ISBN 9780817985738. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  16. Vietnam, p. 158, ที่กูเกิล หนังสือ
  17. Burns, R.D. and Leitenberg, M. (1984). The Wars in Vietnam, Cambodia and Laos, 1945–1982: A Bibliographic Guide. Santa Barbara: ABC-Clio Information Services, p. xxvi.
  • Kurlantzick, Joshua. China-Vietnam Military Clash (Washington: Council on Foreign Relations, 2015). online
  • Liegl, Markus B. China’s use of military force in foreign affairs: The dragon strikes (Taylor & Francis, 2017). excerpt
  • Neale, Jonathan (2001). The American War: Vietnam 1960–1975 (ภาษาอังกฤษ). Bookmarks. ISBN 978-1-898876-67-0.
  • Path, Kosal. "China's Economic Sanctions against Vietnam, 1975–1978." China Quarterly (2012) Vol. 212, pp 1040–1058.
  • Path, Kosal. "The economic factor in the Sino-Vietnamese split, 1972–75: an analysis of Vietnamese archival sources." Cold War History 11.4 (2011): 519–555.
  • Path, Kosal. "The Sino-Vietnamese Dispute over Territorial Claims, 1974–1978: Vietnamese Nationalism and its Consequences." International Journal of Asian Studies 8.2 (2011): 189–220. online
  • Willbanks, James H. (2009). Vietnam War almanac. Facts On File. ISBN 9781438126883.
  • Zhang, Xiaoming. Deng Xiaoping's Long War: The Military Conflict Between China and Vietnam, 1979–1991 (U of North Carolina Press 2015) excerpt
  • Zhang, Xiaoming. "Deng Xiaoping and China's Decision to go to War with Vietnam." Journal of Cold War Studies 12.3 (2010): 3–29 online
  • Zhang, Xiaoming. "China's 1979 war with Vietnam: a reassessment." China Quarterly (2005): 851–874. online เก็บถาวร 2020-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แหล่งที่มาเพิ่มเติม

[แก้]