ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรชวา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ Jawa_Wignyan.png ด้วย Diacritic_Wignyan.png จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
Courcelles (คุย | ส่วนร่วม)
File renamed: File:Jawa Ra Agung.pngFile:Jawa Ra Agung Pasangan.png FR3; per my talk page from prior move.
บรรทัด 131: บรรทัด 131:
!colspan="1"|ชื่อ
!colspan="1"|ชื่อ
|-
|-
| [[ไฟล์:Ra agung.png|60px]] || [[ไฟล์:Jawa Ra Agung.png|60px]] || Ra agung
| [[ไฟล์:Ra agung.png|60px]] || [[ไฟล์:Jawa Ra Agung Pasangan.png|60px]] || Ra agung
|-
|-
| [[ไฟล์:Jawa Pa Cerek.png|60px]] || [[ไฟล์:Jawa Pa Cerek Pasangan.png|60px]] || Pa cêrêk
| [[ไฟล์:Jawa Pa Cerek.png|60px]] || [[ไฟล์:Jawa Pa Cerek Pasangan.png|60px]] || Pa cêrêk

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:56, 4 ตุลาคม 2556

อักษรชวา
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16–20
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาชวา
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
อักษรบาหลี
อักษรบาตัก
อักษรบายบายิน
อักษรบูฮิด
อักษรฮานูโนโอ
อักษรลนตารา
อักษรซุนดา
อักษรเรินกง
อักษรเรชัง
อักษรตักบันวา
ISO 15924
ISO 15924Java (361), ​Javanese
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Javanese
ช่วงยูนิโคด
U+A980–U+A9DF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรชวา (ภาษาชวา: Aksara Hanacaraka) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาชวา โดยก่อนหน้าที่จะใช้อักษรชวาเขียน ราว พ.ศ. 1900 ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรปัลลวะ อีก 200 ปีถัดมาเขียนด้วยอักษรกวิ จนราว พ.ศ. 2200 อักษรชวาหรือจารากันจึงพัฒนาขึ้นมา อักษรนี้ถูกห้ามใช้ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2483 -2488 ราวพ.ศ. 2000 มีการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับเช่นกัน เรียกว่าเปกอลหรือกันดิล ตั้งแต่เนเธอร์แลนด์นำการเขียนด้วยอักษรละตินเข้ามาเผยแพร่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ทั้งอักษรชวาและอักษรอาหรับจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน ปัจจุบันอักษรชวาใช้ทางวิชาการและการประดับตกแต่ง ผู้ที่อ่านได้จะได้รับการยกย่องมากอักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาบาหลีและภาษาซุนดา แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินหมดแล้ว

ลักษณะ

อักษรชวาจะประกอบด้วยพยัญชนะซึ่ง พยัญชนะทุกตัวมีเสียงอะ เสียงสระอื่นแทนด้วนรูปสระต่างๆ พยัญชนะมี 2 แบบ คือ ตัวเต็ม (อักษรา) และตัวเชิง (ปาซางัน) มีอักษรพิเศษเรียก อักษรา มุรทา หรือ อักษรา เกเท ใช้เขียนชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ สระมีสองชุดคือสระจมและสระลอย

อักษรตัวเต็มพื้นฐานมี 20 ตัวได้แก่

ha na ca ra ka
da ta sa wa la
pa dha ja ya nya
ma ga ba tha nga

อักษรตัวเชิง

ha na ca ra ka
da ta sa wa la
pa dha ja ya nya
ma ga ba tha nga

เครื่องหมายตัวสะกด

Panyangga Cêcak Wingyan Layar Pangkon
kaṃ kang kah kar -k

พยัญชนะตัวควบกล้ำ

Cakra Kêrêt Pengkal
kra krê kya

อักษรส่วนเพิ่ม

เป็นอักษรที่เรียกอักษรมุรทาและมหาปรานา ใช้เขียนคำขึ้นต้นของชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ โดยการใช้คล้ายกับการใช้อักษรตัวใหญ๋ของอักษรละตินที่ใช้เขียนภาษาชวาในปัจจุบัน

อักษรมุรทา
ตัวเต็ม ตัวเชิง ชื่อ
Na murda
Ca Murda
Ka murda
Ta murda
Sa murda
Pa murda
Nya murda
Ga murda
Ba murda
อักษรมหาปรานา
ตัวเต็ม ตัวเชิง ชื่อ
Da mahaprana
Sa mahaprana
Ja mahaprana
Tha mahaprana
อักษรพิเศษ
ตัวเต็ม ตัวเชิง ชื่อ
Ra agung
Pa cêrêk
Nga lêlêt

อักษรสำหรับถ่ายเสียงภาษาอื่น

การถ่ายเสียงอักษรละติน
fa qa va za
fa qa va d͡ʒa
ถ่ายเสียงอักษรอาหรับ
tsa ḥa kha dza za ṣa ḍa ṭa ẓa a' gha fa qa
θa ħa xa ða d͡ʒa sˤa ðˤa tˤa dˤa ʔ ɣa fa qa
ถ่ายเสียงภาษาซุนดา
nya rêu lêu
ɳa
ถ่ายเสียงภาษาจีน
the se nie hwe yo syo

สระพื้นฐาน

a i u e o ě
- Wulu Suku Taling Taling-tarung Pěpět

สระส่วนเพิ่ม

aa ii uu ai au ěu o (ซุนดา) i (กวิ)
Tarung Wulu mělik Suku měndut Dirga mure Dirga mure-tarung Pěpět-tarung Tolong -

ตัวเลข

1 2 3 4 5 6 7 8 9 0

การเรียงลำดับ

อักษรชวามีการเรียงลำดับที่มีเอกลักษณ์ เพราะจะเป็นบทกวีในตัวของมันเองด้วย คือ "Hana caraka, data sawala, paḍa jayanya, maga baṭanga," ซึ่งมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องอายี ซากา[1] ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์องค์แรกของชวา อักษรชวานี้จะเรียงลำดับตามแบบของภาษาสันสกฤตก็ได้

การใช้งานในปัจจุบัน

ใช้เขียนภาษาซุนดา

ชาวซุนดาบางส่วนใช้อักษรชวาในการเขียนภาษาซุนดา แต่ได้ดัดแปลงตัวอักษรและเปลี่ยนชื่อเรียกขากจากจารากันในภาษาชวาเป็นจาจารากัน มี 18 ตัวโดยตัดตัว dha และ tha ออกไป

ความตล้ายคลึงกับอักษรบาหลี

รูปลักษณ์ของอักษรชวาและอักษรบาหลีคล้ายคลึงกัน แต่ใช้ยูนิโคดต่างกัน

Javanese Script
Javanese Script
Balinese Script
Balinese Script
อักษรชวา อักษรบาหลี
อาคารที่มีป้ายเขียนด้วยอักษรชวา


อ้างอิง

  1. Soemarmo, Marmo. "Javanese Script." Ohio Working Papers in Linguistics and Language Teaching 14.Winter (1995): 69-103.