โสภณ ซารัมย์
โสภณ ซารัมย์ (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2502) ประธานมูลนิธิอาณัตพณ ซารัมย์ (ลูกเติ้ง) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาธิการในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
โสภณ ซารัมย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ถัดไป | สุกำพล สุวรรณทัต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2522–2547) ไทยรักไทย (2548–2550) พลังประชาชน (2550–2550) ภูมิใจไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อารีญาภรณ์ ซารัมย์ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้โสภณเกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 ที่บ้านหนองเก้าข่า ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตร กำนันสนั่น ซารัมย์ โสภณ ซารัมย์สมรสกับนางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลลำปลายมาศ มีบุตร 3 คน ได้แก่นายอาณัตพณ ซารัมย์ อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
นายโสภณ ซารัมย์ จบการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษาจากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ มีพี่ชายหนึ่งคนได้แก่ สมบูรณ์ ซารัมย์[1]เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
ภายหลังบุตรชายเสียชีวิต[2]ได้ก่อตั้งมูลนิธิขึ้นและดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิอาณัตพณ ซารัมย์ (ลูกเติ้ง)
งานการเมือง
แก้โสภณได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ใน พ.ศ. 2544 ในนามพรรคชาติไทย และการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2548 โสภณได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ภายหลังการยุบพรรคพลังประชาชน โสภณซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของเนวิน ชิดชอบ จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย ใน พ.ศ. 2553 เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการศึกษาธิการในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แก้โสภณ ซารัมย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] และในการร่วมรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[4]
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 มีรัฐมนตรีจำนวน 5 คนที่ถูกอภิปราย ซึ่งนายโสภณ ซารัมย์ ก็เป็นรัฐมนตรีที่ฝ่ายค้านเสนอญัตติอภิปรายเช่นกัน โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายโสภณในครั้งนี้ มุ่งเน้นที่เรื่องการทุจริตการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (สายสีม่วง) วงเงินลงทุน 36,055 ล้านบาท เนื่องจากนายโสภณได้ปรับเปลี่ยนวงเงินลงทุนจาก 4 โครงการ เหลือ 1 โครงการ แต่วงเงินลงทุนยังเท่าเดิม อีกทั้ง ยังเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ซิโน-ไทย จำกัด วงเงิน 3,233 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทเครือญาติของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และบริษัท ช.การช่าง วงเงิน 2,658 ล้านบาท ทำให้รัฐสูญเสียเงินถึง 6,001 ล้านบาท [5] ภายหลังได้มีการลงมติไม่ไว้วางใจ โดยนายโสภณ ซารัมย์ ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจ 234 เสียง ไม่ไว้วางใจ 196 เสียง ผ่านการไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่มาของปัญหาการโหวตไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคเพื่อแผ่นดิน) จนต้องมีการปรับพรรคเพื่อแผ่นดิน ออกจากการร่วมรัฐบาล [6]
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
แก้- พ.ศ. 2554 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติเห็นชอบให้มอบปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ สมบูรณ์ ซารัมย์ ส.ส.เสียบบัตรแทน
- ↑ กระบะชนท้ายสิบล้อจอดทางโค้ง คร่าชีวิต 'ส.จ.เติ้ง' ลูกชาย'โสภณ ซารัมย์'
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ “ร.ต.อ.เฉลิม” ใช้เวลา 2 ชม. อภิปราย 3 รมต.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลลงมติ “ชวรัตน์-โสภณ” รมต.จากภูมิใจไทย เจอ ส.ส.พรรคร่วมโหวตสวนไม่ไว้วางใจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า | โสภณ ซารัมย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สันติ พร้อมพัฒน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต |