พรรคชาติไทย
พรรคชาติไทย (อังกฤษ: Chart Thai Party) เป็นอดีตพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประเทศไทย
พรรคชาติไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พร้อมกับพรรคพลังประชาชนและพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากทำผิดกฎหมายเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น ส.ส.ส่วนใหญ่ของพรรคที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค ได้ก่อตั้งพรรคชาติไทยพัฒนาขึ้นเป็นพรรคที่สืบต่อจากพรรคชาติไทย[3]
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
แก้-
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
(วาระ: 2531–2534)
-
บรรหาร ศิลปอาชา
(วาระ: 2538–2539)
ประวัติ
แก้พรรคชาติไทยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดย พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) บุตรชายจอมพลผิน ชุณหะวัณ พี่เขยคือ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร (ยศในขณะนั้น) และพลตรีศิริ สิริโยธิน ทั้งสามเป็นสมาชิกของ กลุ่มซอยราชครู ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางทหาร เศรษฐกิจ และการเมืองที่จอมพลผินเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น พรรคชาติไทยเป็นตัวแทนของฝ่ายขวาและกลุ่มสนับสนุนการทหารในการเมืองไทยในช่วงปีที่ค่อนข้างเสรีและเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2519[2]
ในระหว่างการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 พรรคเรียกร้องให้ ขวาพิฆาตซ้าย ซึ่งหัวหน้าพรรคและรองนายกรัฐมนตรีคือ พลตรีประมาณ ได้ประกาศในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกวาดล้างขบวนการนักศึกษา ใน การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4]
ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือ พ.ศ. 2519, 2522, 2526 และ 2529 พรรคชาติไทยเป็นพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดเป็นอันดับสองเสมอมา มีเพียงการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2526 ถึง พ.ศ. 2529 เท่านั้นที่พรรคชาติไทยเป็นพรรคฝ่ายค้าน นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคในขณะนั้น ระบุว่า สำหรับนักการเมืองแล้วการอยู่ฝ่ายค้านก็เหมือนอดตาย[5]
บทบาทของพรรคชาติไทยในทศวรรษ 2520
แก้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2522, รัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์-พลเอก เปรม
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2522 พรรคชาติไทยซึ่งนำโดย พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 42 ที่นั่ง ถือเป็นอันดับที่2 แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เช่นเดียวกับพรรคการเมืองอื่นๆ เช่น พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคประชากรไทย ที่เป็นฝ่ายค้าน โดยฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นนำโดย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี[6]
ต่อมาเมื่อ พลเอก เกรียงศักดิ์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป[7] และพรรคชาติไทยได้เข้าร่วมรัฐบาล และมีสมาชิกหลายคนได้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42 ได้แก่[8]
- พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เลขาธิการพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
- นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทั่งวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2524 พันตำรวจเอก กฤช ได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงมีการแต่งตั้ง นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ซึ่งสังกัดพรรคชาติไทยเช่นกัน ดำรงตำแหน่งแทน[9]
โดยระหว่างการทำงานนั้นพรรคชาติไทยได้เกิดความขัดแย้งกับพรรคกิจสังคมในการสั่งซื้อน้ำมันเป็นเหตุให้เกิดการปรับคณะรัฐมนตรีหลายครั้งในปี พ.ศ. 2524[10][11]คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 13 สิ้นสุดลงเมื่อมีพระบรมราชโองการ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526[12]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2526 และการทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน
แก้ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2526 พรรคชาติไทยได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 73 ที่นั่ง[13] จากนั้นกลุ่มของ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์[14] และ กลุ่ม สส. อิสระ ที่มาเข้าสังกัด ทำให้รวมได้ถึง 110 ที่นั่ง มากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนั้น แต่ถึงกระนั้นยังรวมเสียงได้ไม่เพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาล และไม่ได้รับความร่วมมือจากพรรคการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะพรรคกิจสังคมที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม และสนับสนุน พลเอก เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป[15] อันเป็นเหตุให้พรรคชาติไทย กลายเป็นฝ่ายค้าน และพลตรี ประมาณ ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำฝ่ายค้านคนแรกจากพรรคชาติไทย[16]
ในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านพรรคชาติไทยพยายามการยกเรื่องปัญหาชาวนาซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคในภาคกลางมาอภิปราย และ พลตรี ประมาณ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านได้เสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจถึง 4 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่ครั้งเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้[17]
- ในปี พ.ศ. 2526 เรื่องขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจในรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล (รัฐมนตรีกระทราวงคมนาคม) ถูกยกเลิกเนื่องจากที่ประชุมลงมติให้ผ่านระเบียบวาระโดยไม่รอลงมติ
- ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจในรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ถูกยกเลิก เนื่องจากผู้เสนอญัตติ(พลตรี ประมาณ) ไม่ขอชี้แจง ประธานสภาผู้แทนราษฎร(นายอุทัย พิมพ์ใจชน) จึงวินัจฉัยว่าญัตตินี้เป็นอันตกไป
- ในปี พ.ศ. 2528 เรื่องขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจในรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ถูกยกเลิก เนื่องจากการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
- ในปี พ.ศ. 2528 เรื่องขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยได้อภิปรายในวันที่ 5-6 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ที่ประชุมลงมติไว้วางใจ
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ได้มีการพิจารณาอนุมัติกฎหมายหลายฉบับ โดย 1 ในนั้นคือ การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ซึ่งก่อนจะมีการลงมติ บรรยากาศการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างตรึงเครียด และมีการอภิปรายกันอย่างดุเดือดจากทั้งฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน พ.ร.ก. และฝ่ายค้านนำโดยพรรคชาติไทยซึ่งไม่สนับสนุน
ผลการลงมติปรากฎว่ามีสมาชิก 140 เสียงไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ขณะที่ 137 เสียงเห็นควรอนุมัติ จากนั้นนายไกรสร ตันติพงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้มีการนับคะแนนใหม่ โดยผลการลงมติอีกครั้งปรากฏว่าสมาชิก 143 เสียงไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ขณะที่ 142 เสียงเห็นควรอนุมัติ จากนั้น นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้อ้างว่ามีการนับคะแนนผิดพลาด จึงเสนอให้นับคะแนนใหม่อีกครั้ง โดยผลการลงมติครั้งสุดท้ายซึ่งลงมติโดยการขานชื่อรายบุคคล ปรากฏว่าสมาชิก 147 เสียงไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ขณะที่ 143 เสียงเห็นควรอนุมัติ และ งดออกเสียง 5 สรุปได้ว่าสภาไม่อนุมัติ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529[18]
นอกจากพรรคฝ่ายค้านซึ่งนำโดยพรรคชาติไทยนั้น ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคกิจสังคมซึ่งเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล ลงมติไม่อนุมัติถึง 38 คน รวมถึงนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และ นายโกศล ไกรฤกษ์ ที่ดำรงตำแหน่งเป็นถึงรองหัวพรรค[19] โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ พ.ร.ก. ไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร และนำไปสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันเดียวกัน[20]
การเปลี่ยนหัวหน้าพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2529
แก้พรรคชาติไทย และพลเอก เปรม ได้มีการตกลงกันล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งในการพยายามจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งมีเงื่อนไขว่าหากพรรคชาติไทยจะเข้าร่วมรัฐบาลต้องเปลี่ยนหัวหน้าพรรคจากพลตรี ประมาณ เป็นผู้อื่น และพลเอก เปรม จะให้เงินสนับสนุนพรรค 30 ล้านบาท ต่อมาในการประชุมพรรคชาติไทย ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ได้เกิดความพยายามในการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคเป็น พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตรองหัวหน้าพรรคที่ลาออกเพื่อเตรียมตัวดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528[21] โดยนายบรรหารได้เซ็นเช็คส่วนตัวมูลค่า 30 ล้านบาทให้ พลตรี ประมาณ จากนั้น พลตรี ประมาณ จึงลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 24 มิถุนายน แต่ภายหลังทราบว่าเช็คนั้นใช้ไม่ได้[13] สำหรับหัวหน้าพรรคชาติไทยคนใหม่ก็คือพลตรี ชาติชาย ส่วนพลตรี ประมาณ ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่คือประธานคณะที่ปรึกษาพรรค[21]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2529 และการร่วมรัฐบาล พลเอก เปรม อีกครั้ง
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2529 พรรคชาติไทยนำโดย พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคคนใหม่ ได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 64 ที่นั่ง พรรคชาติไทยได้เข้าร่วมรัฐบาลผสมซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์, พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร ร่วมด้วย โดยรัฐบาลสนับสนุนพลเอก เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป[22] โดยในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 44 มีสมาชิกพรรคชาติไทยดำรงตำแหน่งต่างๆ ถึง 9 คน ได้แก่[23]
- พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสอาด ปิยวรรณ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายประมวล สภาวสุ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายประภัตร โพธสุธน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายเสนาะ เทียนทอง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสุรพันธ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายกร ทัพพะรังสี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
และนายชุมพล ศิลปอาชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง[24]
รัฐบาลเกิดความไร้เสถียรภาพเนื่องปัญหาภายในของพรรคประชาธิปัตย จากกลุ่ม 10 มกรา ที่ไม่พอใจการบริหารพรรคของนายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรค จนกระทั่งการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2531 ที่ประชุมลงมติพิจารณาพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ โดยผลปรากฎว่ารัฐบาลจะชนะด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 183 ต่อ 134 เสียง แต่กลุ่ม 10 มกรา กลับลงมติไม่เห็นชอบทั้งสิ้นถึง 40 คน[25] ทำให้รัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ 16 คนเตรียมแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่ง[26] แต่ในวันรุ่งขึ้นก็มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร[27]
พ.ศ. 2531-2539 ยุคชาติชาย ชุณหะวัณ และบรรหาร ศิลปอาชา
แก้รัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และการรัฐประหารใน พ.ศ. 2534
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรคชาติไทยได้ สส. รับเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่ 1 ที่ 87 ที่นั่ง โดยหัวหน้าพรรคในขณะนั้น คือ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต1 ในเบื้องต้นได้มีการเทียบเชิญ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เข้ารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็น สมัยที่ 4 ทว่าพลเอกเปรมปฏิเสธตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 [28] ในกรณีนี้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีจํานวน สส. มากที่สุด จึงได้เป็นแกนนําในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45 โดยมีพรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคกิจสังคม นําโดย พลอากาศเอก สิทธิ เศตวศิลา พรรคประชาธิปัตย์ นําโดยนาย พิชัย รัตตกุล พรรคราษฎร นําโดย พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ พรรคมวลชน นําโดยนายเฉลิม อยู่บํารุง และ พรรคสหประชาธิปไตย นําโดย นาย บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ [29]
ต่อมา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 พรรคฝ่ายค้านนําโดย นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรี 4 ท่าน ประกอบด้วย พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคประชาธิปัตย์) นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (พรรคประชาธิปัตย์) นายสุบิน ปิ่นขยัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พรรคกิจสังคม) และ ร้อยตํารวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคมวลชน) แม้ว่ารัฐมนตรีทั้ง 4 ท่านจะได้รับความไว้วางใจ ทว่าพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ได้รับคะแนนความไว้วางใจน้อยกว่ารัฐมนตรีท่านอื่น สืบเนื่องจากเนื่องจาก ส.ส.พรรคกิจสังคมและพรรคชาติไทยลุกออกจากห้องประชุมระหว่างลงคะแนน เป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจ นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายเจริญ คันธวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทั้ง 2 ท่านสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดโปงว่า ส.ส.ภาคอีสาน 3 คน ของพรรคกิจสังคมไปติดต่อขอเงินจากนายเจริญ คันธวงศ์แลกกับผลประโยชน์ เหตุการณ์ในครั้งนี้เกือบบานปลาย แต่เหตุการณ์ได้ยุติลงก่อนสืบเนื่องจากพลเอกชาติชายได้เรียกแกนนำของพรรคกิจสังคม และ พรรคประชาธิปัตย์มาไกล่เกลี่ย[30]
ปัญหาสําคัญในยุคของรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ คือเรื่องการทุจริต คอร์รัปชั่นต่อมา ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ได้ออกมากล่าวโจมตีรัฐบาลจนเป็นประเด็นร้อนว่า “รัฐบาลนี้ดีทุกอย่าง แต่ปัญหาใหญ่หลวงที่ไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ก็คือปัญหาคอร์รัปชัน ที่ได้แผ่ขยายวงออกไปทุกหย่อมหญ้ากว่าร้อยละ 90 เข้าไปแล้ว ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางการเมืองที่สำคัญ" จากวาทะดังกล่าวเป็นเหตุให้ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้ออกมาตอบโต้พลเอก ชวลิตว่า “ใครที่กล่าวว่ารัฐบาลพลเรือนมีการคอรัปชันสูงขึ้น 90% นั้น ให้กลับไปปัดกวาดบ้านเรือนของตัวเองเสียก่อน กองทัพไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมือง ต้องแปรสภาพกองทัพ โดยรื้อหลักสูตรทั้งหมดแล้วสร้างความเป็นวิชาชีพ” คำกล่าวของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์นี้ ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจขึ้นในบรรดานายทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นอย่างมาก พลโทวิโรจน์ แสงสนิท ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ได้ออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ ปลดหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ุออกจากตำแหน่ง สุดท้ายแล้วหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ุจึงชิงตัดหน้าด้วยการยื่นใบลาออกจากการเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ปลายปี พ.ศ. 2532 การคอร์รัปชันในรัฐบาลยังเป็นปัญหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก พลเอกชวลิตยังได้ออกมาเตือนรัฐบาลอีกครั้งให้แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน กล่าวว่า “ทหารจะหนุนรัฐบาลเฉพาะเรื่องที่มีความถูกต้องชอบธรรม และเป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนเท่านั้น”
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันถูกกล่าวถึงมาตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ทว่า การออกมาเปิดโปงการทุจิตคอร์รัปชันโดยนายสันติ ชัยวิรัตนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 ออกมาเปิดโปงว่า รัฐมนตรีของพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ต้องการหาเงินเข้าพรรคจำนวน 500 ล้านบาท แต่เนื่องจากตนเป็นรัฐมนตรีใหม่จึงไม่สามารถหาเงินเข้าพรรคได้ตามจำนวนที่สั่ง จึงเกิดปัญหา และยังระบุว่า ผู้ใหญ่ในพรรคกิจสังคมสอนวิธีให้ทุจริต ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายค้านและประชาชนให้ปรับคณะรัฐมนตรี ทว่าพรรคร่วมรัฐบาลยืนกรานไม่ให้ปรับคณะรัฐมนตรี [31]
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับกองทัพประทุขึ้นอีกครั้งหลังกองบัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์ยึดรถโมบายยูนิตขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2533 เนื่องจากต้องสงสัยทำให้ระบบสื่อสารของทหารถูกรบกวน ทำให้นายราชันย์ ฮูเซ็น ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. และร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชน และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ดูแล อ.ส.ม.ท. โจมตีกองบัญชาการทหารสูงสุดอย่างรุนแรง ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ทหารเสื่อมศรัทธาในรัฐบาล" ประกอบกับการรับตำแหน่งในรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ซึ่งเคยวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลไว้มากมาย ทำให้พลเอก ชวลิต ไม่มีฐานพรรคการเมืองและเกิดความขัดแย้งกับนักการเมืองจนต้องลาออกไปในที่สุด ส่งผลให้พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และกลุ่มทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่5 (จปร.5) ไม่พอใจเป็นอย่างมาก[32][33]
ดังนั้น พลเอกชาติชายจึงตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เพื่อเปิดทางให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี
วันรุ่งขึ้นคือ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พลเอกชาติชายได้รับความไว้วางใจกลับสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง[34] พร้อมตั้งรัฐบาลผสมจาก 5 พรรคคือ พรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร และพรรคปวงชนชาวไทย โดยตัดพรรคที่มักมีปัญหาในรัฐบาลก่อนคือ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคสหประชาธิปไตย และพรรคมวลชนออกไป จัดตั้งขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 ของไทย[35]
ความขัดแย้งของรัฐบาลพลเอก ชาติชาย กับ กองทัพ ที่มีมาโดยตลอดถึงจุดตึงเครียดที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[36] ซึ่งพลเอก ชาติชาย หวังให้คานอำนาจกับกลุ่มทหาร จปร.5 รวมถึงกระแสข่าวปลดพลเอก สุนทร และ พลเอก สุจินดา ก็รุนแรงขึ้นหลังการแต่งตั้งพลเอก อาทิตย์ กระทั่งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พลเอก ชาติชาย มีกําหนดการนําคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ที่พระตําหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันนั้นมีเพียงพลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล มาส่งพลเอก ชาติชาย ขึ้นเครื่องบิน จากนั้นก็เกิดการรัฐประหารขึ้นขณะพลเอก ชาติชาย อยู่ในเครื่องบิน[32]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และการดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคของ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์
แก้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารรัฐบาลของพลเอกชาติชาย โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ทำให้มีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคจากพลเอกชาติชาย เป็นพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับ รสช. เพราะหวังกระชับความสัมพันธ์ของพรรคชาติไทยกับ รสช. แม้ในช่วงแรกพลอากาศเอก สมบุญ จะปฏิเสธเนื่องจากก่อนหน้านี้เขาพึ่งร่วมก่อตั้งพรรคสามัคคีธรรมซึ่งเป็นพรรคที่ใกล้ชิดกับ รสช. แต่ในที่สุดก็ตอบรับและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทยคนใหม่ พลอากาศเอก สมบุญ เคยปราศรัยหาเสียงและให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยังให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งราว 10 คน ย้ายไปสังกัดพรรคสามัคคีธรรมอีกด้วย ตอกย้ำความตั้งใจให้พรรคสามัคคีธรรมชนะเลือกตั้ง สร้างความไม่พอใจให้กับแกนนำพรรคชาติไทยบางส่วนเช่น นายเสนาะ เทียนทอง[37]
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคสามัคคีธรรมชนะเลือกตั้งได้ สส. มาทั้งสิ้น 79 ที่นั่ง และพรรคชาติไทยอันดับ 2 ที่ 74 ที่นั่ง พรรคความหวังใหม่ซึ่งพึ่งก่อตั้งมาโดยพลเอกชวลิต ได้ไปทั้งสิ้น 72 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม และพรรคกิจสังคม ได้ 44, 41, 31 ที่นั่ง ตามลำดับ พลอากาศเอก สมบุญ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยก็สนับสนุนพรรคสามัคคีธรรมจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคสามัคคีธรรมได้จัดตั้งรัฐบาลซึ่งประกอบไปด้วย พรรคสามัคคีธรรม, พรรคชาติไทย, พรรคกิจสังคม, พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร รวมกันทั้งสิ้น 195 ที่นั่งจากทั้งสภา 360 ที่นั่ง และสนับสนุนนายณรงค์ วงศ์วรรณ จากพรรคสามัคคีธรรมเป็นนายกรัฐมนตรี[37]
ปรากฏข่าวว่าสหรัฐอเมริกาเคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่าให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[38] ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนชื่อผู้ที่จะถูกเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็น พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคที่ได้เสียงอันดับ 2 พลอากาศเอก สมบุญ ไม่อยากจะเสียคำพูด จึงได้ไปปรึกษากับ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล รองหัวหน้า รสช. โดย พลอากาศเอก เกษตร เสนอเป็นชื่อของ พลเอก สุจินดา คราประยูร รองหัวหน้า รสช. อีกคน และอาสาไปเชิญให้ ถึงแม้ว่าพลเอก สุจินดา จะเคยประกาศไว้ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[39] แต่ตอบรับคำเชิญ จากนั้นพรรคร่วมรัฐบาลก็เสนอชื่อพลเอก สุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป[37]
การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอก สุจินดา ซึ่งเป็นแกนนำ รสช. ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจเป็นวงกว้างเพราะโดนมองเป็นการสืบทอดอำนาจ และตระบัดสัตย์ นำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬและการลาออกของพลเอก สุจินดา ในที่สุด
การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
แก้หลังจากพลเอก สุจินดา ลาออก เป็นเหตุให้ต้องมีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กองทัพและพรรคร่วมรัฐบาลจึงจัดประชุมกันเพื่อหาทางออกโดยบุคคลหลักในที่ประชุมประกอบไปด้วย
- พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย
- นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทย
- นายเสนาะ เทียนทอง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย
- นายมนตรี พงษ์พาณิช หัวหน้าพรรคกิจสังคม
- นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย
และมีมติเสนอชื่อ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอก สมบุญ พยายามปฏิเสธอย่างเต็มที่แต่ไม่เป็นผล ถึงแม้ว่า ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานรัฐสภา จะถูกทางพรรคชาติไทยกดดันอย่างมากให้เสนอชื่อพลอากาศเอก สมบุญ แต่ ดร. อาทิตย์ ก็ไม่ยอมเสนอชื่อของ พลอากาศเอก สมบุญ อยู่ดี และให้เหตุผลว่าประชาชนไม่ยอมรับ และจะเป็นการสืบทอดอำนาจอีกครั้ง สุดท้ายแล้ว ดร. อาทิตย์ เลือกที่จะเสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีแทน จึงเกิดเหตุการณ์ที่พลอากาศเอก สมบุญ แต่งชุดขาวรอเก้อนั่นเอง[37]
ต่อมาพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และที่ประชุมมีมติเลือก พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ในความจริงแล้วพลตำรวจเอก ประมาณ ได้ทาบทามให้พลเอก ชาติชาย อดีตหัวหน้าพรรค กลับมาดำรงตำแหน่ง แต่พลเอก ชาติชาย ตัดสินใจไปตั้งพรรคใหม่ และยังส่งผลให้สมาชิกพรรคชาติไทยจำนวนมากย้ายไปกับพลเอก ชาติชาย ด้วย[40][41]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535
แก้ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือ 79 ที่นั่ง รองลงมาคือพรรคชาติไทย 77 ที่นั่ง และพรรคชาติพัฒนาที่พึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพลเอก ชาติชาย ได้ถึง 60 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยพรรคฝ่ายค้านเดิมสมัยรัฐบาลพลเอก สุจินดา ส่วนพรรคชาติไทยนั้นเป็นฝ่ายค้านและพลตำรวจเอก ประมาณ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านเป็นครั้งที่ 2[42] แต่อย่างไรก็ตามก็เกิดความขัดแย้งในพรรคชาติไทยขึ้น และมีแกนนำพรรคบางส่วนต้องการให้พลตำรวจเอก ประมาณ ลาออก ในที่สุดหลังดำรงตำแหน่งไปได้เพียง 1 ปี 10 เดือน พลตำรวจเอก ประมาณ ก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารพรรคแทน[43][13]
สำหรับหัวหน้าพรรคชาติไทยคนใหม่คือนายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนาน นั่นทำให้นายบรรหารได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำฝ่ายค้านด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง[44] นายบรรหารได้ยื่นขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม จากกรณีความผิดพลาดในการออกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01[45] ที่ในขณะนั้นโดนโจมตีอย่างหนักจากสังคม ประกอบกับขณะนั้นสถานการณ์ของรัฐบาลชวน หลีกภัย ไม่มั่นคงอย่างยิ่ง เนื่องจากความขัดแย้งกันภายในพรรคพลังธรรมส่งผลให้พรรคมีมติงดออกเสียง[46] รวมถึงสมาชิกกลุ่ม 16 ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคชาติไทยและพรรคชาติพัฒนาซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วย ส่งผลให้นายชวน นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรในเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ก่อนจะมีการลงมติไม่นาน[47]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 และแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
แก้ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 ปรากฎว่าพรรคชาติไทยนำโดยบรรหาร ศิลปอาชา ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 1 92 ที่นั่ง และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม 7 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคชาติไทย, พรรคความหวังใหม่, พรรคพลังธรรม, พรรคกิจสังคม, พรรคประชากรไทย, พรรคนำไทย และพรรคมวลชน รวม 232 เสียงจากทั้งสภา 391 เสียง การเลือกตั้งครั้งนี้มีการทุจริตการเลือกตั้งค่อนข้างมากโดยจำนวนเงินที่ใช้ในการทุจริตมากถึง 20,000 ล้านบาท[48] สมาชิกกลุ่ม 16 ที่มีผลงานในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลก่อน ต่างได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีบรรหาร เช่น นายสุชาติ ตันเจริญ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายเนวิน ชิดชอบ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายสนธยา คุณปลื้ม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นตั้งแต่การจัดคณะรัฐมนตรี นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคชาติไทย และแกนนำกลุ่มวังน้ำเย็นซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดอยู่จำนวนมาก รวมถึงเป็นผู้ผลักดันให้นายบรรหาร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสำเร็จ กลับไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามความต้องการ โดยนายเสนาะได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ส่วนนายบรรหาร นายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไว้ด้วยอีกตำแหน่ง[49][50] นอกจากนั้นการแต่งตั้งให้นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งที่นายสุรเกียรติ์มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่นายอำนวย วีรวรรณ ที่ศึกษามาด้านบริหารธุรกิจโดยตรงกลับได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านการต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่าการจัดคณะรัฐมนตรีของนายบรรหารส่งผลต่อการเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำเพียงเดือนเศษหลังการเข้ารับตำแหน่ง และปัญหาเงินเฟ้อตลอดการบริหารประเทศ[51][52]
รัฐบาลบรรหารประสบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมากมายเช่น คดีทุจริตจัดซื้อที่ดินและโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ถึงแม้ว่าจะริเริ่มในรัฐบาลชวน 1 แต่ได้รับการผลักดันต่อโดยนายยิ่งพันธุ์ มนะสิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลบรรหาร และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 13,612 ล้านบาท ให้กับโครงการ ซึ่งต่อมาเกิดปัญหาการทุจริตมากมาย[53] และการที่กลุ่ม 16 ไปเกี่ยวพันกับ นายราเกซ สักเสนา ที่ปรึกษาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือบีบีซี และมีการกว้านซื้อที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ไปเป็นหลักประกันกู้เงินจากธนาคารในวงเงินมหาศาลไปเทกโอเวอร์บริษัทหนึ่งก่อนจะนำไปขายต่อให้กับอีกบริษัทด้วยราคาสูงกว่าเดิมมาก
นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจํานวน 10 คน ระหว่างวันที่ 9-10 พ.ค. 2539 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้นำกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ที่ระบุในหนังสือพิมพ์มติชนมาอภิปรายว่า ในช่วงเวลาเพียงปีเศษ ธนาคารฯ ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับคนของกลุ่ม 16 ใช้ในการเทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง เป็นวงเงินสูงถึง 36,000 ล้านบาท และยกกรณีที่บริษัทในครอบครัวตันเจริญ นำที่ดินในจังหวัดหนองคาย ไปค้ำประกันเงินกู้จากธนาคารฯ แต่ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวถูกพบว่าออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก มาโดยมิชอบ ถึงแม้ว่านายสุชาติ ตันเจริญจะปฏิเสธ แต่กระทบกับความเชื่อมั่นของประชาชนทำให้ประชาชนถอนเงินออกจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ถึงวันละ 2 พันล้านบาท ในการอภิปรายครั้งนั้นฝ่ายค้านอภิปรายรัฐมนตรีไปทั้งสิ้น 7 จาก 10 คน ขาดนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในขณะที่เวลาใกล้หมดลงนายบรรหารได้ใช้สิทธิถูกพาดพิง อภิปรายชี้แจงประเด็นต่างๆ โดยใช้เวลาระยะหนึ่ง ท่ามกลางผู้ประท้วงจากพรรคฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งเพราะฝ่ายค้านยังอภิปรายไม่ครบ จากนั้นนายชัชวาลย์ ชมภูแดง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคชาติไทยได้ขอปิดการอภิปรายและมีผู้รับรองถูกต้อง จึงเกิดการประท้วงไปมาระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอเปิดอภิปรายและกล่าวว่า "ผมไม่อยากเห็นวันพรุ่งนี้หนังสือพิมพ์พาดหัวว่า รัฐบาลของท่านนายกบรรหาร ตาขาว เป็นรัฐบาลเต่าอยู่ในกระดอง" และ "หนีการอภิปราย" นายสุธรรม แสงประทุม รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานการประชุมได้สั่งพักการประชุมลง เนื่องจากเกิดความชุลมุนวุ่นวาย จนในที่สุดบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ที่ประชุมได้ลงมติ โดยญัตติให้ปิดการอภิปรายมีผู้เห็นชอบ 194 คน ส่วนการเปิดอภิปราย ไม่มีผู้ให้ความเห็นชอบ ทำให้การอภิปรายสิ้นสุดลง[54][55][56]
การลงมติไม่ไว้วางใจเกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤษภาคม ปรากฏว่ารัฐมนตรีทุกคนได้รับความไว้วางใจ แต่พรรคพลังธรรมเลือกที่จะงดออกเสียงให้กับนายสุชาติ ส่งผลให้นายสุชาติเป็นรัฐมนตรีที่มีคะแนนไว้วางใจน้อยที่สุด ต่อมาวันที่ 23 พฤษภาคม นายสุชาติ ตันเจริญ และรัฐมนตรีจากกลุ่ม 16 ได้ลาออก[57]
พรรคฝ่ายค้านได้ทำการยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีด้วยถ้อยคำที่รุนแรงมากประกอบกับความนิยมของนายบรรหารที่ย่ำแย่ ทำให้สังคมต้องการให้นายบรรหารลาออกก่อนการอภิปรายรวมถึงแกนนำพรรคชาติไทยเองด้วยแต่ไม่เป็นผล การอภิปรายไม่ไว้วางใจเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน พ.ศ. 2539 แต่ผู้ถูกอภิปรายคือนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยเพียงคนเดียว การอภิปรายในครั้งนี้นายบรรหารถูกโจมตีอย่างหนักถึง 13 ประเด็น อาทิ การแปลงสัญชาติ (กล่าวหาว่านายบรรหารเป็นคนจีนไม่ใช่คนไทย), การหนีภาษีขายที่ดินให้ธนาคารแห่งประเทศไทย, รับเงินสนับสนุนจากนายราเกซ สักเสนา ผู้ต้องหาคดียักยอกเงินธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ, กรณีคัดลอกวิทยานิพนธ์ เป็นต้น ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค (พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน) ขาดความเชื่อมั่นในตัวนายบรรหารและต้องการให้นายบรรหารลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผลักดันให้พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ พรรคร่วมรัฐบาลที่มีเสียงอันดับ 2 ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ไม่เช่นนั้นพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 3 พรรค จะไม่ลงติไว้วางใจให้นายบรรหาร นายบรรหาร ขอให้นายเสนาะ เทียนทอง ประสานพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะลาออกภายใน 7 วัน ทำให้ผลการลงมติในวันที่ 21 กันยายน นายบรรหารได้รับความไว้วางใจ 207 เสียง ต่อเสียงไม่ไว้วางใจ 180 เสียง ในขณะนั้นมีกระแสข่าวถึงชื่อของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็น พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่, นายอำนวย วีรวรรณ หัวหน้าพรรคนำไทย, พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ที่ปรึกษาพรรคชาติไทย, พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[58][55] แต่นายบรรหารกลับใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาขึ้นในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539[59] แทนการลาออกตามที่ให้คำมั่นไว้ ส่งผลให้นายเสนาะ เทียนทอง ไม่พอใจเป็นอย่างมากและได้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มวังน้ำเย็นลาออกจากพรรคชาติไทยไปถึง 52 คน[60][61]
บุคลากรในพรรค
แก้รายนามหัวหน้าพรรคชาติไทย
แก้หัวหน้าพรรคชาติไทย | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1
(1) |
พลตํารวจเอกประมาณ อดิเรกสาร | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529 |
| |
2 | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2534 |
| |
- | จาตุรนต์ ฉายแสง | 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2534 (รักษาการ) |
26 กรกฏาคม พ.ศ. 2534 (ลาออก) |
||
3 | พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ | 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2534 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | ||
1
(2) |
พลตํารวจเอกประมาณ อดิเรกสาร | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 |
| |
4 | บรรหาร ศิลปอาชา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ยุบพรรค) |
รายนามรองหัวหน้าพรรคชาติไทย
แก้- พลตรี ศิริ สิริโยธิน 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2520[62]
- พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
- พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 7 เมษายน พ.ศ. 2525
- ดร. อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ 24 เมษายน พ.ศ. 2525 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[63]
- ดร. สอาด ปิยวรรณ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2525 - 20 มกราคม พ.ศ. 2526[64]
- ทวิช กลิ่นประทุม 21 มกราคม พ.ศ. 2526 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2530
- บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ 5 มีนาคม พ.ศ. 2530 - 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2534[65]
- ประมวล สภาวสุ 5 กรกฏาคม พ.ศ. 2534 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535[65][63]
- วัฒนา อัศวเหม 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[63][66]
- ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
- ชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ 3 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 6 มกราคม พ.ศ. 2544
- วราวุธ ศิลปอาชา 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
- ชุมพล ศิลปอาชา 2 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- พลตํารวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- อนุรักษ์ จุรีมาศ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550
- กัญจนา ศิลปอาชา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550-2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
รายนามเลขาธิการพรรคชาติไทย
แก้เลขาธิการพรรคชาติไทย | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 | 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
- | ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักดิ์ศิริ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2523 | 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
2 | บรรหาร ศิลปอาชา | 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[67] | |
3 | เสนาะ เทียนทอง | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[67] | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[68] | |
4 | ปองพล อดิเรกสาร | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | 12 เมษายน พ.ศ. 2543[69] | |
5 | สนธยา คุณปลื้ม | 12 เมษายน พ.ศ. 2543 | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[70] | |
6 | ประภัตร โพธสุธน | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(ยุบพรรค) |
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2518 | 28 / 269
|
2,220,897 | 12.1% | 28 | ฝ่ายค้าน (2518) | ประมาณ อดิเรกสาร |
ร่วมรัฐบาล (2518-2519) | ||||||
2519 | 56 / 279
|
3,280,134 | 17.5% | 28 | ร่วมรัฐบาล | |
2522 | 42 / 301
|
2,213,299 | 11.3% | 14 | ฝ่ายค้าน (2522-2523) | |
ร่วมรัฐบาล (2523-2526) | ||||||
2526 | 110 / 324
|
6,315,568 | 23.8% | 68 | ฝ่ายค้าน | |
2529 | 64 / 347
|
6,496,370 | 17.3% | 46 | ร่วมรัฐบาล | |
2531 | 87 / 357
|
7,612,148 | 19.3% | 23 | พรรคจัดตั้งรัฐบาล | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
มี.ค. 2535 | 74 / 360
|
7,305,674 | 16.4% | 13 | ร่วมรัฐบาล | สมบุญ ระหงษ์ |
ก.ย. 2535 | 77 / 360
|
7,274,474 | 15.76 | 3 | ฝ่ายค้าน | ประมาณ อดิเรกสาร |
2538 | 92 / 391
|
12,630,074 | 22.83% | 15 | พรรคจัดตั้งรัฐบาล | บรรหาร ศิลปอาชา |
2539 | 39 / 393
|
5,621,890 | 9.88% | 53 | ฝ่ายค้าน (2539-2540) | |
ร่วมรัฐบาล (2540-2543) | ||||||
2544 | 41 / 500
|
1,516,192 | 5.23% | 2 | ร่วมรัฐบาล | |
2548 | 25 / 500
|
2,061,559 | 6.56% | 16 | ฝ่ายค้าน | |
2549 | คว่ำบาตรการเลือกตั้ง - การเลือกตั้งเป็นโมฆะ | |||||
2550 | 37 / 480
|
1,542,282 | 4.24% | 12 | ร่วมรัฐบาล |
ยุบพรรค
แก้ดูบทความหลัก: คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551
เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่าพรรคมีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น[71]
ภายหลังการยุบพรรคชาติไทยแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค และสมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน โดยมีชุมพล ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค
รายนามกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
แก้- บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค
- สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรค
- วินัย วิริยกิจจา รองหัวหน้าพรรค
- จองชัย เที่ยงธรรม รองหัวหน้าพรรค
- อนุรักษ์ จุรีมาศ รองหัวหน้าพรรค
- กัญจนา ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรค
- นิกร จำนง รองหัวหน้าพรรค
- วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
- ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รองหัวหน้าพรรค
- ประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรค
- เกษม สรศักดิ์เกษม รองเลขาธิการพรรค
- ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ รองเลขาธิการพรรค
- จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ รองเลขาธิการพรรคและโฆษกพรรค
- นพดล พลเสน รองเลขาธิการพรรค
- มณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรค (ถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง)
- ธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ เหรัญญิกพรรค
- กมล จิระพันธุ์วาณิช กรรมการบริหารพรรค
- กูเฮง ยาวอหะซัน กรรมการบริหารพรรค
- ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ กรรมการบริหารพรรค
- ธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ กรรมการบริหารพรรค
- บุปผา อังกินันท์ กรรมการบริหารพรรค
- บัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย กรรมการบริหารพรรค
- ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ กรรมการบริหารพรรค
- ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ กรรมการบริหารพรรค
- ปอรรัชม์ ยอดเณร กรรมการบริหารพรรค
- มงคล โค้ววัฒนะวงษ์รักษ์ กรรมการบริหารพรรค
- ยุทธนา โพธสุธน กรรมการบริหารพรรค
- รัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ กรรมการบริหารพรรค
- วราวุธ ศิลปอาชา กรรมการบริหารพรรค
- วิพัฒน์ คงมาลัย กรรมการบริหารพรรค
- วิรัช พิมพะนิตย์ กรรมการบริหารพรรค
- วิชิต แย้มบุญเรือง กรรมการบริหารพรรค
- ศักดิ์ชัย จินตะเวช กรรมการบริหารพรรค
- สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง กรรมการบริหารพรรค
- สมพัฒน์ แก้วพิจิตร กรรมการบริหารพรรค
- สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ กรรมการบริหารพรรค
- สมชาย ไทยทัน กรรมการบริหารพรรค
- สุภัตรา วิมลสมบัติ กรรมการบริหารพรรค
- เอกพจน์ ปานแย้ม กรรมการบริหารพรรค
- เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล กรรมการบริหารพรรค
- อมร อนันตชัย กรรมการบริหารพรรค
- กฤชชัย มรรคยาธร กรรมการบริหารพรรค
- เสมอกัน เที่ยงธรรม กรรมการบริหารพรรค
การแยกตัวของสมาชิกพรรค
แก้พรรคชาติไทยเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค ทั้งช่วงก่อนการยุบพรรคและหลังการยุบพรรค โดยมีดังนี้
พรรคที่จัดตั้งก่อนการยุบพรรค
แก้- พรรคสามัคคีธรรม (นำโดย สุชาติ ตันเจริญ, ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สมาชิกส่วนหนึ่งได้ย้ายกลับเข้าพรรคชาติไทย)
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) นำโดย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2547)
- พรรคสู้เพื่อไทย นำโดย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552)
พรรคที่จัดตั้งหลังการยุบพรรค
แก้สมาชิกพรรคที่ย้ายไปพรรคอื่น
แก้- พรรคเพื่อไทย 1 คน (สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล)
- พรรคกิจสังคม 1 คน (สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์)
อ้างอิง
แก้- ↑ Carpenter, C. (2007), "Thailand: Government", World and Its Peoples: Myanmar and Thailand, Marshall Cavendish, p. 667, ISBN 9780761476313, สืบค้นเมื่อ 26 January 2012
- ↑ 2.0 2.1 Maisrikrod, Surin (1992), Thailand's Two General Elections in 1992: Democracy Sustained, Institute of South East Asian Studies, p. 11, ISBN 9789813016521, สืบค้นเมื่อ 26 January 2012
- ↑ "พรรคชาติไทยพัฒนา | Thailand Democracy Watch - ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05.
- ↑ Ungpakorn, Giles Ji (2003), "From the city, via the jungle, to defeat: the 6th Oct 1976 bloodbath and the C.P.T." (PDF), Radicalising Thailand: New Political Perspectives, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, p. 7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2013, สืบค้นเมื่อ 26 January 2011
- ↑ Pasuk Phongpaichit; Chris Baker (1997), "Power in transition: Thailand in the 1990s", Political Change in Thailand: Democracy and Participation, Routledge, p. 30
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยที่ ๒)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอก เปรม ติณสูลานนท์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ)
- ↑ "ใต้ถุนบ้านซอยสวนพลู (๒๗)". posttoday. 2022-04-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
- ↑ พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ 13.0 13.1 13.2 ประมาณ อดิเรกสาร : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก/พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2553.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชาติไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สมัยที่ ๒)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร)
- ↑ DemocracyxInnovation (2020-02-22). "คลังข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจ". The Office of Innovation for Democracy (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/วันที่ 1 พฤษภาคม 2529
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคกิจสังคม
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๙ [ยุบสภาตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙ เนื่องจากการไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙]
- ↑ 21.0 21.1 วิเคราะห์ความเป็นผู้นำทางการเมืองของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สมัยที่ ๓)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ท่าน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย นายชุมพล ศิลปอาชา นายใหม่ ศิรินวกุล)
- ↑ "บทเรียนสอนไม่จำ 32ปี กลุ่ม "10 มกรา" คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง". www.thairath.co.th. 2019-03-25.
- ↑ "ย้อนดู 4 เหตุการณ์: ล้มรัฐบาลด้วยการลงมติในสภา" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-16.
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๑ [ยุบสภาตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๑ และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๑]
- ↑ https://www.silpa-mag.com/history/article_33322
- ↑ "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45", วิกิพีเดีย, 2023-02-27, สืบค้นเมื่อ 2023-04-28
- ↑ https://www.silpa-mag.com/history/article_56956
- ↑ https://www.silpa-mag.com/history/article_56956
- ↑ 32.0 32.1 "ฉันดูประกาศ "ปฏิวัติ" จากโทรทัศน์ในห้องที่ทหารคุมตัว". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
- ↑ https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_28256
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1602854.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1602859.pdf
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่ง)
- ↑ 37.0 37.1 37.2 37.3 “พฤษภาทมิฬ” จะไม่เกิด หากมีนายกฯ ชื่อ “สมบุญ ระหงษ์” ? https://www.silpa-mag.com
- ↑ "ร่วมกันสู้ พลตรีจำลอง ศรีเมือง". www.asoke.info.
- ↑ ที่มาวาทะพลเอกสุจินดา “ผมจำเป็นต้องเสียสัตย์” ก่อนนำสู่ “พฤษภาทมิฬ” https://www.silpa-mag.com
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประมาณ อดิเรกสาร : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก/พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2553. หน้าที่ 392
- ↑ "พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร สมัยที่ 2)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค (จำนวน ๕๔ คน)
- ↑ พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (บรรหาร ศิลปอาชา สมัยที่ 1)
- ↑ DemocracyxInnovation (2020-02-22). "คลังข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจ". The Office of Innovation for Democracy (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ บทเรียน จากอดีต เดือน พฤษภาคม 2538 ของ ‘ส.ป.ก.4-01’ มติชนhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_295550
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๘ [ยุบสภาตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป ในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๘]
- ↑ ส.ป.ก.4-01 พิฆาต ปชป."ชวน" พัง-"บรรหาร" ผงาด หน้า 231, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพมหานคร) ISBN 974-323-889-1
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "เสนาะ เทียนทอง (6 ) ตอน... นักปั้นนายกฯ". www.sanook.com/money. 2009-09-06.
- ↑ สิงหาคม 2538--, ทำเนียบรัฐบาล--22 ส ค--บิสนิวส์ คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยใน ระยะ 7 เดือนที่ผ่านมา จากผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ซึ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงทั้งใน ด้านส่งออก ด้านการขยายตัวของสินเชื่อและการลงทุนจากภาคเอกชน ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในด้านปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งปัญหาเงินเฟ้อนี้คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบ กับนโยบายการเงินของ ธปท ที่จะคุมการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2538 ในอัตราประมาณร้อยละ 24 โดยเชื่อว่ามาตรการที่ ธปท ใช้อยู่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และเชื่อว่าสามารถควบคุมอัตรา เงินเฟ้อรวมทั้งปี 2538 ให้อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5 สำหรับนโยบายการเงินและการคลัง คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบถึงการ ดำเนินนโยบายทางการเงินที่สอดคล้องกับนโยบายการคลังที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ โดยนโยบาายการคลังจะ ยึดในหลักของการทำงบประมาณแบบสมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพด้านการเงินตามนโยบายเงินของ ธปท--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ-วันที่ 21. "ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2538". ryt9.com.
- ↑ พรภิรมณ์ เชียงกูล รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา (พ.ศ. 2538 - 2539) : วิเคราะห์ในมิติทางประวัติศาสตร์, 2545
- ↑ "ย้อนรอย "ค่าโง่คลองด่าน" บทเรียน 3 หมื่นล้าน ราคาที่คนไทยต้องจ่าย - ThaiPublica". thaipublica.org. 2015-11-22.
- ↑ "ย้อนอดีต ชวน-บรรหาร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วอยู่ไม่ได้ จบด้วยยุบสภา". workpointTODAY.
- ↑ 55.0 55.1 isranews (2020-02-28). "ย้อนกลหมาก'ชิงปิดสภา'ในตำนานศึกซักฟอก'ชวน vs ครม.บรรหาร'24 ปีผ่านยังเหมือนเดิม?". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 20/วันที่ 10 พฤษภาคม 2539
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก (นายเนวิน ชิดชอบ ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี นายสุชาติ ตันเจริญ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายบุญชู ตรีทอง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายจรัส พั้วช่วย นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)
- ↑ "ย้อนอดีต ชวน-บรรหาร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วอยู่ไม่ได้ จบด้วยยุบสภา". workpointTODAY.
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๙ [ยุบสภาตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๙ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙]
- ↑ "เสนาะ เทียนทอง (5 ) ตอน..น้ำตาลูกผู้ชาย". www.sanook.com/news. 2009-09-03.
- ↑ ประมาณ อดิเรกสาร : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก/พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2553. หน้าที่ 438-441
- ↑ "ราชกิจจานุเบกษา (หน้า 261)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- ↑ 63.0 63.1 63.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ 65.0 65.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคชาติไทย ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ 67.0 67.1 ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค (จำนวน ๕๔ คน)
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร พรรคชาติไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคชาติไทย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พรรคชาติไทย เก็บถาวร 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐสภาไทย เก็บถาวร 2007-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน