เสมอกัน เที่ยงธรรม

เสมอกัน เที่ยงธรรม (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2521) เป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี และกรรมการบริหารพรรคชาติไทยพัฒนา

เสมอกัน เที่ยงธรรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 279 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2547–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2554–ปัจจุบัน)
บุพการี

ประวัติ

แก้

เสมอกัน เที่ยงธรรม มีชื่อเล่นว่า "ป็อป" เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เป็นบุตรของ จองชัย เที่ยงธรรม[1] นักการเมืองชาวสุพรรณบุรี กับ มุกดา เที่ยงธรรม เขาจบการศึกษาปริญญาตรี สาขา Business Administration จาก Richmond, The American International University in London ประเทศอังกฤษ และปริญญาโท สาขา International Marketing Management จากมหาวิทยาลัยอีสต์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ[2][3] รวมทั้งศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]

การทำงาน

แก้

เสมอกัน เที่ยงธรรม เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติตามบิดา (จองชัย เที่ยงธรรม) โดยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย แทนบิดาที่ย้ายไปลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกสมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เขาและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากคำวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[5]

เสมอกัน เที่ยงธรรม กลับสู่งานการเมืองอีกครั้ง โดยการเข้าร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นคนรุ่นใหม่ของพรรคชาติไทยพัฒนา (นิวบลัด)[3]

เสมอกัน ยังทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายผัก และสมุนไพร รวมถึงอาหาร 3 แห่ง เคยเป็นกรรมการบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนเงินระดมทุนให้พรรคพลังประชารัฐ 6 ล้านบาท[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เสมอกัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัด สุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ‘ลูกจองชัย’ปวดหัว ปัดไม่ยุ่งศึกช้างชนช้าง‘พ่อ-ประภัตร’
  2. รัฐสภา
  3. 3.0 3.1 'เลือกตั้งแข่งทำดี ไม่ทำลายคนอื่น' 'เสมอกัน เที่ยงธรรม' นิวบลัด ชทพ.
  4. สภาผู้แทนราษฎร
  5. "ศิลปอาชา"สูญพันธุ์ หลังยุบชาติไทย เปิด109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ"ถูกเพิกสิทธิเลือกตั้ง จากมติชน
  6. เปิดข้อมูลธุรกิจ ส.ส. (จบ): 14 คน 21 พรรคกลาง-เล็ก นั่ง กก. 24 แห่ง ทุนรวม 452 ล.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔