นิโกลัส มาดูโร
นิโกลัส มาดูโร โมโรส (สเปน: Nicolás Maduro Moros; 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 – ) เป็นนักการเมืองชาวเวเนซุเอลาที่ได้เป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เขาเคยเป็นรองประธานาธิบดีเวเนซุเอลาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มาดูโรรักษาราชการแทนประธานาธิบดีหลังอูโก ชาเบซถึงแก่อสัญกรรม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556
นิโกลัส มาดูโร | |
---|---|
Nicolás Maduro | |
มาดูโรใน พ.ศ. 2558 | |
ประธานาธิบดีเวเนซุเอลาคนที่ 46 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 19 เมษายน พ.ศ. 2556[1] พิพาทกับฮวน กวยโด ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 | |
รองประธานาธิบดี | ดูรายชื่อ
|
ก่อนหน้า | อูโก ชาเบซ |
เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | Hassan Rouhani |
ประธานชั่วคราวแห่งสหภาพชาติอเมริกาใต้ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 เมษายน พ.ศ. 2559 – 21 เมษายน พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | ตาบาเร บัซเกซ |
ถัดไป | เมาริซิโอ มากริ |
รองประธานาธิบดีเวเนซุเอลา | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 | |
ประธานาธิบดี | อูโก ชาเบซ |
ก่อนหน้า | เอลิอัส ฮาวา |
ถัดไป | ฮอร์เฮ อาร์เรอาซา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2549 – 15 มกราคม พ.ศ. 2556 | |
ประธานาธิบดี | อูโก ชาเบซ |
ก่อนหน้า | อาลี โรดริเกซ อาราเก |
ถัดไป | เอลิอัส ฮาวา |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มกราคม พ.ศ. 2548 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | ฟรันซิสโก อาเมเลียช |
ถัดไป | ซิเลีย โฟลเรส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นิโกลัส มาดูโร โมโรส 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 การากัส, เวเนซุเอลา |
พรรคการเมือง | สหพรรคสังคมนิยม (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน) ขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 (ก่อน พ.ศ. 2550) |
คู่สมรส | อาเดรียนา เกร์รา อังกูโล (หย่า) ซิเลีย โฟลเรส (สมรส พ.ศ. 2556) |
บุตร | นิโกลัส มาดูโร เกร์รา |
ที่อยู่อาศัย | ทำเนียบมิราโฟลเรส |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
มาดูโรเป็นอดีตพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ก่อนมาเป็นผู้นำสหภาพแรงงาน และได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงหลายตำแหน่งในรัฐบาลเวเนซุเอลาภายใต้ชาเบซ จนที่สุดได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2549 เขาได้การบอกเล่าในช่วงนั้นว่า "นักปกครองและนักการเมืองผู้มีความสามารถที่สุดในวงในของชาเบซ"[2]
หลังชาเบซถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 มาดูโรสืบทอดอำนาจและความรับผิดชอบในตำแหน่งประธานาธิบดี มีการจัดการเลือกตั้งพิเศษขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน เพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งมาดูโรชนะด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 50.62 ในฐานะผู้สมัครจากสหพรรคสังคมนิยม คู่แข่งหลักของเขาในการเลือกตั้ง คือ เอนริเก กาปริเลส (Henrique Capriles) ผู้ว่าการรัฐมิรันดา ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการเถลิงอำนาจและการเลือกตั้งเขาเข้ารับตำแหน่งถูกฝ่ายค้านตั้งคำถาม[3][4]
แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้มาดูโรสละตำแหน่งประธานาธิบดีหลังครบวาระแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 แต่เขาก็สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ในพิธีที่ดำเนินการโดยศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งเวเนซุเอลา ส่งผลให้มีการตำหนิติเตียนอย่างกว้างขวาง ไม่กี่นาทีหลังจากมาดูโรสาบานตน สภาถาวรแห่งองค์การรัฐอเมริกาได้ผ่านมติในสมัยประชุมวิสามัญ ประกาศให้มาดูโรเป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่[5] สภานิติบัญญัติแห่งชาติระบุว่าประเทศกำลังเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินและบางชาติได้ถอนคณะทูตของตนออกจากเวเนซุเอลา ด้วยความเชื่อว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม สภานิติบัญญัติอ้างว่ามาดูโรจะเปลี่ยนเวเนซุเอลาเป็นรัฐเผด็จการโดยพฤตินัยหากเขาขึ้นครองอำนาจอีกครั้ง[6][7][8][9]
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 ฮวน กวยโด ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวโดยสภานั้น เขาได้รับการรับรองทันทีในฐานะประธานาธิบดีชอบด้วยกฎหมายจากชาติและองค์การต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสหรัฐ บราซิล และองค์การรัฐอเมริกา มาดูโรคัดค้านการอ้างเป็นประธานาธิบดีของกวยโดและประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลายชาติที่รับรองการอ้างดังกล่าว[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชั่วคราว: 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 19 เมษายน พ.ศ. 2556
- ↑ de Córdoba, José; Vyas, Kejal (9 December 2012). "Venezuela's Future in Balance". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
- ↑ Carroll, Rory; Lopez, Virginia (9 March 2013). "Venezuelan opposition challenges Nicolás Maduro's legitimacy". The Guardian.
- ↑ "Venezuela poll: Maduro opponent Capriles demands recount". BBC News. 15 April 2013.
- ↑ "La OEA aprobó la resolución que declara ilegítimo al nuevo gobierno de Nicolás Maduro". Infobae. 10 January 2019.
- ↑ "Venezuela's Maduro starts new term, as US describes him as "usurper"". Reuters. 10 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ "Alemania apoya para que asuma poder" [Germany supports Assembly taking power off Maduro]. El Nacional. 9 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ "Peru, Paraguay, etc. recall diplomats after Maduro inauguration". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ "National Assembly declares State of Emergency with the usurpation of Maduro as President". Asamblea Nacional. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-11. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ "US says it now backs Venezuela opposition". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-01-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-24.