ถั่ว
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ถั่ว | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | tùua |
ราชบัณฑิตยสภา | thua | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /tʰua̯˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *tʰuəᴮ¹, จากภาษาจีนยุคกลาง 豆 (MC duwH); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨳ᩠ᩅᩫ᩵ (ถว็่), ภาษาเขิน ᨳ᩠ᩅᩫ᩵ (ถว็่), ภาษาลาว ຖົ່ວ (ถ็่ว), ภาษาไทลื้อ ᦷᦏᧈ (โถ่), ภาษาไทดำ ꪖ꪿ꪺ (ถั่ว), ภาษาไทขาว ꪖꪺꫀ, ภาษาไทใหญ่ ထူဝ်ႇ (ถู่ว), ภาษาไทใต้คง ᥗᥨᥝᥱ (โถ่ว), ภาษาพ่าเก ထုဝ် (ถุว์), ภาษาอาหม 𑜌𑜥 (ถู) (ในคำ 𑜉𑜀𑜫𑜌𑜥 (มก์ถู))
คำนาม
[แก้ไข]ถั่ว
- ชื่อไม้เถาหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Leguminosae ใช้ฝักหรือเมล็ดเป็นอาหาร เช่น ถั่วเขียว [Vigna radiata (L.) R. Wilezek] ถั่วเหลืองหรือถั่วแระ [Glycine max (L.) Merr.]
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]ชื่อไม้เถา
รากศัพท์ 2
[แก้ไข]ยืมมาจากภาษาหมิ่นใต้ 攤/摊 (tuan1, “กระจายออก, เปิดออก”)
คำนาม
[แก้ไข]ถั่ว
- ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ 4 ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ 1 เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ 2, 3 เรียกว่า ออก 2 ออก 3 ถ้าเหลือ 4 เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง 4 ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกำ ก็เรียก
หมวดหมู่:
- สัมผัส:ภาษาไทย/ua̯
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาจีนยุคกลาง
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาอาหม/m
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- รายการที่มีกล่องคำแปล
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาหมิ่นใต้
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาหมิ่นใต้
- th:พืช