สตีฟ แม็กควีน
สตีฟ แม็กควีน | |
---|---|
แม็กควีนในเรื่อง The Thomas Crown Affair (1968) | |
เกิด | เทอร์เรนซ์ สตีเวน แม็กควีน[1]: 292 [2]: 233 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 บีชโกรฟ รัฐอินดีแอนา สหรัฐ |
เสียชีวิต | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 ซิวดัดฆัวเรซ เม็กซิโก | (50 ปี)
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | 1952–1980 |
คู่สมรส | Neile Adams (สมรส 1956; หย่า 1972) Ali MacGraw (สมรส 1973; หย่า 1978) Barbara Minty (สมรส 1980) |
บุตร | 2 รวมทั้ง Chad McQueen[3] |
ญาติ | Steven R. McQueen (หลานชาย) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหรัฐอเมริกา |
แผนก/ | เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ United States Merchant Marine |
ประจำการ | 1946 (Merchant Marine) 1947–1950 (USMC) |
ชั้นยศ | Private first class |
เว็บไซต์ | stevemcqueen |
เทอร์เรนซ์ สตีเวน "สตีฟ" แม็กควีน (อังกฤษ: Terrence Steven "Steve" McQueen; 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 - 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980)[4] เป็นนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน มีชื่อเล่นว่า "ราชาแห่งความเจ๋ง"[5][6] จากบทบาทตัวเอกที่ไม่เข้าข่ายจำพวกฮีโร โดยเฉพาะในช่วงจุดสูงสุดวัฒนธรรมที่แปลกต่างจากที่มีอยู่ในสังคมในช่วงสงครามเวียดนาม ทำให้เขามีบทบาทในภาพยนตร์ที่ขึ้นอันดับ 1 บนบ็อกซ์ออฟฟิสในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970[7] แม็กควีนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากบทบาทในเรื่อง The Sand Pebbles เขายังมีผลงานโด่งดังในภาพยนตร์ The Magnificent Seven, The Great Escape, The Thomas Crown Affair, Bullitt, The Getaway, Papillon, และ The Towering Inferno ในปี ค.ศ. 1974 เขาเป็นดาราที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก[8] ถึงแม้ว่าแม็กควีนจะมักมีปากเสียงกับผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ แต่ความนิยมนี้ทำให้เขาเป็นที่ต้องการสูง และต้องการจ่ายค่าตัวให้เขาอย่างสูง[9]
เขาชอบในการแข่งรถทั้งรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ ขณะที่เขาเรียนการแสดง เขายังได้แข่งรถมอเตอร์ไซค์ในช่วงวันหยุดและเขาซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ตัวเองครั้งแรกพร้อมกับชัยชนะในการแข่งขัน เขายังเป็นที่รู้จักกับการแสดงบทสตันท์ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทขับรถด้วยความเร็วไล่ล่าในภาพยนตร์เรื่อง Bullitt.[10]
แม็กควีนเสียชีวิตเมื่อวัย 50 ปีที่เมืองซิวดัดฮัวเรซ รัฐชีวาวา ประเทศเม็กซิโก หลังจากการผ่าตัดเอาเนื้องอกเนื้อร้ายในช่องท้อง[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aaker, Everett (2017). Television Western Players, 1960–1975: A Biographical Dictionary. McFarland. ISBN 978-1-4766-6250-3.
- ↑ Laurie, Greg (2019). Steve McQueen: The Salvation of an American Icon. Zondervan. ISBN 978-0-310-35620-2.
- ↑ "Terry Leslie McQueen dies at 38". Variety. March 23, 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2018. สืบค้นเมื่อ January 27, 2018.
- ↑ Arnold, Gary (November 8, 1980). "Movie Hero Steve McQueen Dies of Heart Attack at Age of 50". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2018. สืบค้นเมื่อ January 8, 2019.
- ↑ Valetkevitch, Caroline (2007-04-28). "Steve McQueen's Ferrari up for auction". Thomson Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
- ↑ Cullum, Paul (2006-05-14). "Steve McQueen's Dream Movie Wakes Up With a Vrooom!". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
- ↑ Flint, Peter (1980-11-08). "Steve McQueen, 50, Is Dead of a Heart Attack After Surgery for Cancer; Family Was at Bedside Established His Stardom In 'Bullitt' and 'Papillon' Friend Suggested Acting 'Don't Cap Me Up'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
- ↑ Barger, Ralph; Zimmerman, Keith; Zimmerman, Kent (2003). Ridin' High, Livin' Free: Hell-Raising Motorcycle Stories. Harper Paperbacks. p. 37. ISBN 978-0-06-000603-7.
- ↑ Terrill, Marshall (1993). Steve McQueen: Portrait of an American Rebel. Plexus Press. ISBN 978-1-556-11380-2.
- ↑ Nolan, William F. McQueen, Berkley, 1984. ISBN 0-425-06566-9, pp. 101-106
- ↑ Nolan, William F. McQueen, Berkley, 1984. ISBN 0-425-06566-9, pp. 212-213, 215