ข้ามไปเนื้อหา

Frontal eye fields

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Frontal eye field
โดยคร่าว ๆ Frontal eye fields อยู่ระหว่างเขตบร็อดแมนน์ #4, #6, และ #8
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบหน้า
ระบบระบบการเห็น
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

Frontal eye fields[1] (ตัวย่อ FEF) เป็นเขตสมองที่อยู่ในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex)[2] ซึ่งก็เป็นส่วนของสมองกลีบหน้าในสมองของสัตว์อันดับวานร มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความใส่ใจทางตา และการเคลื่อนไหวของตา

หน้าที่

[แก้]

frontal eye fields มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการใส่ใจทางตา (visual attention) และการเคลื่อนไหวของตา[3] การกระตุ้น FEF ด้วยไฟฟ้าก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวตาแบบ saccade FEF มีการจัดระเบียบเป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ (topographic map) ที่เป็นตัวแทนของเป้าหมายของการเคลื่อนไหวตาแบบ saccade (คือการยิงสัญญาณของนิวรอนใน FEF สามารถทำให้พยากรณ์ได้ว่า ตาจะไปทอดลงที่จุดไหนหลังจาก saccade)[4] FEF จะเกิดการทำงานขึ้นเมื่อมีการเริ่มขยับตา เช่น saccade ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ[5] และการเคลื่อนไหวตาแบบ smooth pursuit[6]

ึถึงแม้ว่า FEF จะเป็นส่วนของสมองกลีบหน้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพิจารณากันว่า เป็นส่วนของการแปลผลในสมองระดับสูง แต่ก็มีหลักฐานปรากฏว่า FEF มีบทบาทในการแปลผลเกี่ยวกับข้อมูลจากประสาทสัมผัสล้วน ๆ ซึ่งเป็นส่วนของเครือข่ายในสมองที่แปลผลข้อมูลความรู้สึกในระดับล่าง โดยเป็นส่วนของวิถีประสาทขาขึ้น superior colliculus-medial dorsal nucleus-FEF[7] ที่เรียกว่า "ระบบสมองเร็ว" (fast brain system)[8] ในมนุษย์ การเกิดการทำงานอย่างเร็วที่สุดใน FEF เพื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางตาอยู่ที่ 45 มิลลิวินาที และระดับการทำงานจะแปรแปลี่ยนไปตามลักษณะเฉพาะของตัวกระตุ้นนั้นภายใน 45–60 มิลลิวินาที (ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้ ๆ กับการตอบสนองของคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิซึ่งเป็นเขตคอร์เทกซ์สายตาเขตแรกที่รับข้อมูลมาจากตา)[8] วิถีประสาทแบบเร็วนี้ ตอบสนองต่อการได้ยินได้เร็วยิ่งกว่านั้นโดยเริ่มตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ 24 มิลลิวินาที และแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของเสียงภายใน 30-60 วินาที[8] โดยสรุปแล้ว นักวิจัยงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า นอกจาก FEF จะเป็นส่วนของระบบการแปลผลระดับล่างในสมองแล้ว ก็ยังมีส่วนในการแปลผลข้อมูลจากตาล้วน ๆ และข้อมูลจากหูล้วน ๆ อีกด้วย ไม่ใช่เป็นเขตที่ประสานข้อมูลที่มาจากประสาทสัมผัสหลายอย่างพร้อม ๆ กันเพียงเท่านั้น[8]

FEF รวมกับ supplementary eye fields (SEF), intraparietal sulcus (IPS), และ superior colliculus[7] (SC) เป็นเขตที่สำคัญที่สุดในสมอง ที่มีบทบาทในการเริ่มและการควบคุมการเคลื่อนไหวของตา โดยเฉพาะไปในด้านตรงกันข้าม (contralateral) ของซีกสมองที่ FEF อยู่ (เช่น FEF ในสมองซีกซ้ายมีบทบาทในการเคลื่อนไหวตาไปทางด้านขวา)

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์, ศ.พญ. (2013). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฺBasic neuroanatomy). กรุงเทพมหานคร: ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. p. 205. ISBN 978-616-335-105-0.
  2. "Frontal Eye Field--Scholarpedia".
  3. Schall JD (2004). "On the role of frontal eye field in guiding attention and saccades". Vision Research. 44 (12): 1453–1467. doi:10.1016/j.visres.2003.10.025. PMID 15066404.
  4. Bruce CJ, Goldberg ME, Bushnell MC, Stanton GB (1985). "Primate frontal eye fields. II. Physiological and anatomical correlates of electrically evoked eye movements". Journal of Neurophysiology. 54 (3): 714–734. PMID 4045546.
  5. "Medical Neurosciences". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011.
  6. Mustari MJ, Ono S, Das VE (พฤษภาคม 2009). "Signal processing and distribution in cortical-brainstem pathways for smooth pursuit eye movements". Ann. N. Y. Acad. Sci. 1164: 147–54. doi:10.1111/j.1749-6632.2009.03859.x. PMC 3057571. PMID 19645893. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2014.
  7. 7.0 7.1 superior colliculus (SC) เป็นโครงสร้างในเทคตัมของสมองส่วนกลาง มีลักษณะเป็นชั้น ๆ โดยที่ชั้นต่าง ๆ รวมกันทำหน้าที่เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของเรตินา SC มีบทบาทในการเคลื่อนไหวตาอย่างเร็ว ๆ ที่เรียกว่า saccades
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Kirchner H, Barbeau EJ, Thorpe SJ, Régis J, Liégeois-Chauvel C (2009). "Ultra-Rapid Sensory Responses in the Human Frontal Eye Field Region". Journal of Neuroscience. 29 (23): 7599–7606. doi:10.1523/JNEUROSCI.1233-09.2009. PMID 19515928.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]