ข้ามไปเนื้อหา

สหพันธรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Federation)
  รัฐสหพันธ์

สหพันธรัฐ (อังกฤษ: federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐรวม เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง

ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์

สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเทศ

รูปแบบสหพันธรัฐ

[แก้]

ในระบอบสหพันธรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "รัฐบาลองค์ประกอบ") นั้นถือว่ามีอำนาจอธิปไตยในบางส่วน ทั้งยังมีอำนาจเฉพาะที่รัฐบาลกลางไม่สามารถใช้ได้ ส่วนรัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการบริหารจัดการระบบราชการส่วนรวม และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการทูต ซึ่งรวมไปถึงการค้า การสื่อสาร และการทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่มีในครอบครอง อีกทั้งยังไม่มีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยในกฎหมายสากล ซึ่งจะถือว่ารัฐบาลกลางเป็นตัวแทนของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งประเทศ

ส่วนใหญ่แล้ว ทั่วทั้งของสหพันธรัฐจะใช้ระบบรัฐบาลกลาง - ท้องถิ่นในการบริหารราชการ แต่ในบางกรณี สหพันธรัฐอาจมีดินแดนที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรง อย่างเช่นประเทศแคนาดาและออสเตรเลียที่รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเปลี่ยนหรือยกเลิกขอบเขตอำนาจบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมก่อน ทำให้ปัจจุบันแต่ละรัฐของสองประเทศนี้มีอำนาจในการปกครองตนเองที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือประเทศอินเดีย ที่นอกจากรัฐบาลองค์ประกอบแล้ว ยังมีดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของสหภาพอีกหลายแห่งด้วยกัน และสหรัฐอเมริกาที่มีเขตปกครองพิเศษของรัฐบาลกลาง คือกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (DC = District of Columbia; เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย) ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษที่ติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียและรัฐแมริแลนด์ โดยวอชิงตัน ดี.ซี. อยู่ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำพอตอแมก (Potomac River) ในกรณีข้างต้น รัฐบาลกลางจะแยกเขตปกครองออกจากการปกครองของรัฐบาลท้องถิ่นดั้งเดิม และใช้พื้นที่ของเขตเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตามที่รัฐบาลกลางกำหนด ส่วนใหญ่แล้วเขตการปกครองพิเศษที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรงจะอยู่ใน บริเวณที่มีประชากรเบาบางเกินกว่าที่จะตั้งเป็นรัฐ หรือไม่ค่อยมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก หรือไม่ก็เป็นบริเวณที่เคยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่นเมืองหลวงของประเทศ

ต้นกำเนิดของสหพันธรัฐ ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐอธิปไตย ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการทหาร (ในกรณีของสหรัฐอเมริกา) หรือข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อสถาปนารัฐชนชาติเดียว ที่รวบรวมเขตแดนจากรัฐต่าง ๆ ที่มีเชื้อชาติเดียวกันเข้ามารวมกันเป็นประเทศเดียว (ในกรณีของเยอรมนี) อย่างไรก็ดี ต้นกำเนิดและความเป็นมาของแต่ละชาติย่อมแตกต่างกัน อย่างในออสเตรเลีย ที่สถาปนาสหพันธรัฐจากการอนุมัติของประชาชนผ่านการลงคะแนนเสียงในประชามติ รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศบราซิลเคยใช้ทั้งระบอบสหพันธรัฐและการปกครองแบบรัฐเดียว บราซิลในปัจจุบันประกอบไปด้วยรัฐที่มีอาณาเขตเหมือนในยุคเริ่มแรกที่เพิ่งมี การตั้งอาณานิคมในบราซิลโดยชาวโปรตุเกส ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญในหลาย ๆ ด้านต่อประเทศ และรัฐใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลกลาง โดยรัฐล่าสุดถูกตั้งขึ้นมาผ่านรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2531 โดยมีจุดประสงค์หลักคือเป็นที่ตั้งให้กับหน่วยงานบริหารราชการ

รายชื่อประเทศที่ใช้ระบบสหพันธรัฐ

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]
สหพันธรัฐในปัจจุบัน
ปีสถาปนา (ค.ศ.) ประเทศ ประเภท
[t 1]
ลักษณะ เขตการปกครองระดับสูงสุด รัฐร่วม พื้นที่ของรัฐบาลกลาง
1853  สาธารณรัฐอาร์เจนตินา ประธานาธิบดี รัฐ 23 รัฐ 1 นครปกครองตนเอง
1901  เครือรัฐออสเตรเลีย รัฐสภา รัฐและดินแดน 6 รัฐ 3 ดินแดนภายใน
7 ดินแดนภายนอก
1920  สาธารณรัฐออสเตรีย รัฐสภา รัฐ 9 รัฐ
1993  ราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐสภา เขตปกครอง 3 ประชาคม, 3 แคว้น 3 พื้นที่กรรมาธิการชุมชน
1995  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รัฐสภา ประเทศ 2 ประเทศ 1 เขตปกครองตนเอง
1889  สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดี รัฐ 26 รัฐ
1 เขตสหพันธ์
1867  แคนาดา รัฐสภา รัฐและดินแดน 10 รัฐ 3 ดินแดน
1995  สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย รัฐสภา รัฐ 11 รัฐ 2 นครพิเศษ
1949  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รัฐสภา รัฐ 16 รัฐ
1947  สาธารณรัฐอินเดีย รัฐสภา รัฐและดินแดนสหภาพ 28 รัฐ 8 ดินแดนสหภาพ
2005  สาธารณรัฐอิรัก รัฐสภา เขตผู้ว่าการ 19 เขตผู้ว่าการ
1963  มาเลเซีย รัฐสภา รัฐและดินแดนสหพันธ์ 13 รัฐ 3 ดินแดนสหพันธ์
1824  สหรัฐเม็กซิโก ประธานาธิบดี รัฐ 31 รัฐ
1 มหานคร
1979  สหพันธรัฐไมโครนีเชีย ประธานาธิบดี รัฐ 4 รัฐ
2015  สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล รัฐสภา รัฐ 7 รัฐ
1960  สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ประธานาธิบดี รัฐ 36 รัฐ 1 นครหลวงสหพันธ์
1947  สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน รัฐสภา แคว้นและดินแดน 4 แคว้น 2 ดินแดนปกครองตนเอง
1 นครหลวงสหพันธ์
1992  สหพันธรัฐรัสเซีย กึ่งประธานาธิบดี แคว้น สาธารณรัฐ และดินแดน 46 แคว้น
22 สาธารณรัฐ
9 ดินแดน
4 เขตปกครองตนเอง
3 นครสหพันธ์
1 แคว้นปกครองตนเอง
1983  สหพันธรัฐเซนต์คริสโตเฟอร์และเนวิส รัฐสภา รัฐ 1 รัฐ 1 เกาะ
2012  สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย รัฐสภา รัฐ 5 รัฐ
2011  สาธารณรัฐซูดานใต้ ประธานาธิบดี รัฐ 10 รัฐ 3 เขตบริหาร
1956  สาธารณรัฐซูดาน คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง รัฐ 18 รัฐ
1848  สมาพันธรัฐสวิส คณะผู้อำนวยการ รัฐ 26 รัฐ
1971  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐ 7 รัฐ
1776  สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี รัฐและดินแดน 50 รัฐ 1 นครหลวงสหพันธ์
16 ดินแดน
1863  สาธารณรัฐโบลีวาร์เวเนซุเอลา ประธานาธิบดี รัฐ 23 รัฐ 1 เขตนครหลวง
1 เขตพึ่งพาสหพันธ์

อดีต

[แก้]
ประเทศ ตั้งแต่ - จนถึง

(ค.ศ.)

รัฐร่วม หมายเหตุ
จักรวรรดิเยอรมัน 1871 - 1918 25 รัฐ (สมาชิกของรัฐบาลกลาง)
เซอร์เบียและมอนเตเนโกร 1992 - 2003 2 ประเทศ รวมกันเป็นประเทศ ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี 2006
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1945 - 1992 6 ประเทศ
เยอรมนีตะวันออก 1949 - 1952 5 รัฐและเบอร์ลินตะวันออก
สหพันธรัฐโรดีเชียและไนแอซาแลนด์ 1952 - 1963 3 เขต
สหภาพโซเวียต 1922 - 1991 15 ประเทศ รวมกันเป็นสหภาพ
สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ 1867 - 1871 22 รัฐ
สมาพันธรัฐอเมริกา 1861 - 1865 13 รัฐ และ 1 ดินแดนพิเศษ
สหรัฐอินโดนิเซีย 1949 - 1950 16 เขต
สหรัฐโคลอมเบีย 1863 - 1866 9 รัฐ
สเปน 1873 - 1874 15 รัฐ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 1964 - 1967 26 จังหวัด
สาธารณรัฐไวมาร์ 1919 - 1933 18 รัฐ 17 รัฐในปี 1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก 1948 - 1990 2 ประเทศ
สหพันธรัฐออสเตรีย 1934 - 1938 8 เขต

ดูเพิ่ม

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "t" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="t"/> ที่สอดคล้องกัน