ข้ามไปเนื้อหา

Business process reengineering

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Business Process Reengineering หรือ Business Process Redisign หรือที่เรียกย่อๆว่า BPR นั้นคือความพยายามเชิงการจัดการ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการทำงานขององค์กรตลอดทั้งระบบ วิธีการนั้นก็แสนจะง่าย เพียงมองกลับไปมองที่ระบบการทำงานขององค์กร เดเวนพอร์ท (1993) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง BRP ชี้ว่า วิธีการ Reengineering นั้นจะต้องคิดหารูปแบบใหม่ในวิธีการทำงาน, กิจกรรมที่จำเป็นต้องทำจริงจริง และการนำเอาคน, วิทยาการ และองค์กร มาประสานเข้าด้วยกัน

วิธีการนี้ฟังเหมือนจะเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เดเวนพอร์ท (1996) ชี้ว่ากระแส รีเอนจิเนียร์ริงนั้น เป็นเหมือนดอกไม้ไฟเท่านั้น ด้วยความเข้าใจที่ผิดๆ เขาชี้แจงแบบเกรี้ยวกราดว่า ปัจจุบันนี้ รีเอนจิเนียร์ริง ถูกเข้าใจแบบผิดๆว่าคือการ เปลี่ยนโครงสร้างใหม่, ไล่คนออก และ เปลี่ยนแปลงแบบถี่ๆ ในขณะที่ "มหกรรมการไล่ออก" ไม่เคยได้รับการเอ่ยถึง ในช่วงต้นของประวัติศาสตร์การรีเอนจิเนียร์ริงเลย พูดง่ายๆ ผู้จัดการในปัจจุบันละทิ้งการให้ความสำคัญของมนุษย์ไปเสียแล้ว

แท้จริงแล้ว หัวใจของรีเอนจิเนียร์ริ่ง คือมนุษย์ บทบาทของเทคโนโลยีนั้นคือการช่วยงานมนุษย์ ไม่ใช่ทดแทนมนุษย์ อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจหลายคนกลับเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยี และโละพนักงานเจนสนามออก ที่คล้ายๆกัน ไลเกอร์ (2004) เองก็กล่าวว่า ปรัชญาของโตโยต้านั้น ให้ความสำคัญกับพนักงานมาก ชนิดขาดไม่ได้ อีกทั้งคำว่า "Autonomation" ในปรัชญาของโตโยต้านั้น ชี้ให้เห็นได้ชัดว่า มนุษย์มีความน่าเชื่อถือกว่าเครื่องจักร (ยืนยันการสะกดว่าถูกต้องแล้ว เป็นศัพท์ที่โตโยต้าบัญญัติขึ้นใช้เอง โดยหมายถึงการใช้เครื่องจักรที่มีมนุษย์ควบคุม ไม่ปล่อยให้เครื่องจักรทำงานเองโดยปราศจากการควบคุม)

จุดล้มเหลวอีกจุดของรีเอนจิเนียร์ริ่งนั้นก็คือ การตัดสินใจระยะสั้น มองเพียงแต่ผลกำไร โดยไม่มองถึงผลเสียในระยะยาวนั่นเอง

อ้างอิง

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • The Toyota way: 14 management principles from the world’s greatest manufacturer โดย ไลเกอร์ ISBN 978-0071392310
    • วิถีโตโยต้า โดย วิทยา สุหฤทดำรง (หนังสือแปล), ISBN 9749309618