ข้ามไปเนื้อหา

โรคหืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Asthma)
โรคหืด
(Asthma)
ท่อพลาสติกสีขาวสองท่อซึ่งส่วนหน้ามีหน้าปัดที่มีส่วนเคลื่อนที่
อุปกรณ์ทดสอบสมรรถภาพปอด ใช้สำหรับตรวจวัดอัตราลมหายใจออกสูงสุด มีความสำคัญทั้งในการติดตามและการวินิจฉัยโรคหืด[1]
สาขาวิชาวิทยาปอด
อาการหายใจมีเสียงหวีดซ้ำเป็นชุด, ไอ, แน่นหน้าอก, หายใจไม่อิ่ม[2]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[3]
สาเหตุพันธุกรรม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม[4]
ปัจจัยเสี่ยงมลภาวะทางอากาศ, สารก่อภูมิแพ้[3]
วิธีวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการ, การตอบสนองต่อการบำบัด, ตรวจด้วยสไปโรมิเตอร์[5]
การรักษาหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น, คอร์ติโคสเตอรอยด์ชนิดสูดพ่น, ซัลบูทามอล[6][7]
ความชุก358 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[8]
การเสียชีวิต397,100 คน (ค.ศ. 2015)[9]

โรคหืด (อังกฤษ: asthma) หรือ โรคหอบหืด[10] เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้[11] อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น[2]

เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน[12] การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry)[13] ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลของการหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate)[14] โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นแบบภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic)[15] โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1[16]

การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล เพื่อให้มีฤทธิ์ขยายหลอดลม และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก[7] ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้ารักษาในโรงพยาบาล[17] อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้[6]และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด[18] ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้[19][20]

การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี พ.ศ. 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน[21][22] และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน[22] ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ

การรักษา

[แก้]

การใช้ยา

[แก้]

ยาที่ใช้รักษาโรคหืดแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ ได้แก่ ยาสำหรับบรรเทาอาการเมื่อมีอาการกำเริบ และ ยาสำหรับควบคุมอาการในระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการกำเริบ[23] โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน เว้นแต่มีข้อบ่งชี้อื่น[24][25]

พยากรณ์โรค

[แก้]

ผู้ป่วยโรคหืดโดยทั่วไปแล้วจะมีพยากรณ์โรคที่ดี โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่มีอาการเล็กน้อย[26] อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมากในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยครอบคลุมมากขึ้น และการรักษาพัฒนามากขึ้น[27] ใน ค.ศ. 2010 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดอยู่ที่ 170 ในล้าน สำหรับผู้ป่วยชาย และ 90 ในล้าน สำหรับผู้ป่วยหญิง[28] อย่างไรก็ดีอัตราการเสียชีวิตในแต่ละประเทศยังแตกต่างกันมาก โดยอาจแตกต่างกันได้ถึงราว 100 เท่า[28]

อ้างอิง

[แก้]
  1. GINA 2011, p. 18
  2. 2.0 2.1 British Guideline 2009, p. 4
  3. 3.0 3.1 "Asthma Fact sheet №307". WHO. พฤศจิกายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2016.
  4. Martinez FD (มกราคม 2007). "Genes, environments, development and asthma: a reappraisal". The European Respiratory Journal. 29 (1): 179–84. doi:10.1183/09031936.00087906. PMID 17197483.
  5. Lemanske, Robert F.; Busse, William W. (2010). "Asthma: Clinical expression and molecular mechanisms". Journal of Allergy and Clinical Immunology. 125 (2): S95–S102. doi:10.1016/j.jaci.2009.10.047. ISSN 0091-6749. PMC 2853245. PMID 20176271.
  6. 6.0 6.1 NHLBI Guideline 2007, pp. 169–172
  7. 7.0 7.1 NHLBI Guideline 2007, p. 214
  8. GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  9. GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMID 27733281.
  10. แก้วอมตวงศ์, ธีระศักดิ์ (4 มิถุนายน 2018). "โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจร้ายแรงจนอาจทำให้เสียชีวิต". rama.mahidol.ac.th. RAMA CHANNEL. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022.
  11. NHLBI Guideline 2007, pp. 11–12
  12. Martinez FD (2007). "Genes, environments, development and asthma: a reappraisal". European Respiratory Journal. 29 (1): 179–84. doi:10.1183/09031936.00087906. PMID 17197483.
  13. Lemanske, R.F.; Busse, W.W. (กุมภาพันธ์ 2010). "Asthma: clinical expression and molecular mechanisms". J. Allergy Clin. Immunol. 125 (2 Suppl 2): S95–102. doi:10.1016/j.jaci.2009.10.047. PMC 2853245. PMID 20176271.
  14. Yawn BP (กันยายน 2008). "Factors accounting for asthma variability: achieving optimal symptom control for individual patients" (PDF). Primary Care Respiratory Journal. 17 (3): 138–47. doi:10.3132/pcrj.2008.00004. PMC 6619889. PMID 18264646. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2009.
  15. Kumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; Aster, Jon, บ.ก. (2010). Robbins and Cotran pathologic basis of disease (8th ed.). Saunders. p. 688. ISBN 978-1-4160-3121-5. OCLC 643462931.
  16. Stedman's Medical Dictionary (28 ed.). Lippincott Williams and Wilkins. 2005. ISBN 0-7817-3390-1.
  17. NHLBI Guideline 2007, pp. 373–375
  18. GINA 2011, p. 71
  19. GINA 2011, p. 33
  20. Scott JP, Peters-Golden M (กันยายน 2013). "Antileukotriene agents for the treatment of lung disease". Am. J. Respir. Crit. Care Med. 188 (5): 538–544. doi:10.1164/rccm.201301-0023PP. PMID 23822826.
  21. "World Health Organization Fact Sheet Fact sheet No 307: Asthma". 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2013.
  22. 22.0 22.1 GINA 2011, p. 3
  23. NHLBI Guideline 2007, p. 213
  24. "QRG 153 • British guideline on the management of asthma" (PDF). SIGN. กันยายน 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2016.
  25. Normansell R, Sayer B, Waterson S, Dennett EJ, Del Forno M, Dunleavy A (มิถุนายน 2018). "Antibiotics for exacerbations of asthma". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2018 (6): CD002741. doi:10.1002/14651858.CD002741.pub2. PMC 6513273. PMID 29938789.
  26. Sergel, Michelle J.; Cydulka, Rita K. (กันยายน 2009). "Ch. 75: Asthma". ใน Wolfson, Allan B.; Harwood-Nuss, Ann (บ.ก.). Harwood-Nuss' Clinical Practice of Emergency Medicine (5th ed.). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 432–. ISBN 978-0-7817-8943-1.
  27. NHLBI Guideline 2007, p. 1
  28. 28.0 28.1 "The Global Asthma Report 2014". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2016.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก