ข้ามไปเนื้อหา

1-โพรพานอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1-โพรพานอล
ชื่อ
IUPAC name
Propan-1-ol[1]
ชื่ออื่น
  • n-Propyl alcohol
  • n-Propanol
  • n-PrOH
  • Ethylcarbinol
  • 1-Hydroxypropane
  • Propanol
  • Propionic alcohol
  • Propionyl alcohol
  • Propionylol
  • Propyl alcohol
  • Propylic alcohol
  • Propylol
คุณสมบัติ
C3H8O
มวลโมเลกุล 60.096 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลวไม่มีสี
ความหนาแน่น .803 g/mL
จุดหลอมเหลว −126 องศาเซลเซียส; −195 องศาฟาเรนไฮต์; 147 เคลวิน
จุดเดือด 97–98 องศาเซลเซียส; 206–208 องศาฟาเรนไฮต์; 370–371 เคลวิน
ผสมเข้ากันได้
log P 0.329
ความดันไอ 1.99 kPa (at 20 °C)
pKa 16
Basicity (pKb) −2
1.387
ความหนืด 1.938 mPa s
1.68 D
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

1-โพรพานอล (1-Propanol) หรือ โพรพาน-1-ออล (Propan-1-ol) หรือโพรพิลแอลกอฮอล์ (Propyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยคาร์บอนสามอะตอมในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลที่ปลาย แอลกอฮอล์ชนิดนี้ใส ไม่มีสี ติดไฟได้ มีสมบัติทางเคมีเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ทั่วไปคือ สามารถฟอกสีโบรมีนได้ สามารถทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติกเกิดเป็นโพรพิลอะซิเตต โดยอาศัยกรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

1-โพรพานอลเตรียมได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมไฮโดรเจนของโพรพิโอนัลดีไฮด์ ซึ่งโพรพิโอนัลดีไฮด์เตรียมได้จากปฏิกิริยาไฮโดรฟอร์มิเลชันของเอทิลีน กับคาร์บอนมอนอกไซด์ และ ไฮโดรเจน ในสภาวะที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา[2]

H2C=CH2 + CO + H2 → CH3CH2CH=O
CH3CH2CH=O + H2 → CH3CH2CH2OH

1-โพรพานอลสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ โดยมีค่าเลขออกเทนที่ 118 และดัชนีต่อต้านการน็อก (Anti-Knock Index) ที่ 108[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "1-Propanol - Compound Summary". PubChem Compound. USA: National Center for Biotechnology Information. 26 March 2005. Identification and Related Records. สืบค้นเมื่อ 10 October 2011.
  2. Anthony J. Papa "Propanols" in Ullmann’s Encyclopedia of Industrial Chemistry 2011, Wiley-VCH, Weinheim. doi:10.1002/14356007.a22_173.pub2
  3. "Bioalcohols". Biofuel.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-16. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.
  1. Lide, David R., บ.ก. (2006-06-26). CRC Handbook of Chemistry and Physics, 87th Edition (87 ed.). TF-CRC. ISBN 0-8493-0487-3.
  2. Maryadele J. O'Neil, บ.ก. (2006-11-03). The Merck Index: An Encyclopedia of Chemicals, Drugs, and Biologicals (14 ed.). Merck. ISBN 0-911910-00-X.
  3. Perkin, W. H.; Kipping, F. S (1922). Organic Chemistry. London: W. & R. Chambers. ISBN 0-08-022354-0.