ไฮโดรเจนแอสทาไทด์
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
IUPAC name
Hydrogen astatide[1]
| |||
Systematic IUPAC name
Astatane[2] | |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol)
|
|||
ChEBI | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
532398 | |||
ผับเคม CID
|
|||
CompTox Dashboard (EPA)
|
|||
| |||
| |||
คุณสมบัติ | |||
HAt | |||
มวลโมเลกุล | 211 g·mol−1 | ||
จุดเดือด | −3 องศาเซลเซียส (27 องศาฟาเรนไฮต์; 270 เคลวิน) โดยประมาณ[3] | ||
ละลายได้ | |||
กรด | Astatonium | ||
เบส | Astatide | ||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
แอนไอออนอื่น ๆ
|
ไฮโดรเจนโบรไมด์ | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
ไฮโดรเจนแอสทาไทด์ (อังกฤษ: hydrogen astatide) หรือ แอสทาเทน (อังกฤษ: astatane) มีสูตรทางเคมีว่า HAt เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดจากอะตอมของธาตุแอสทาทีนเชื่อมกับอะตอมไฮโดรเจนด้วยพันธะโคเวเลนต์[4] สารประกอบชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทไฮโดรเจนแฮไลด์ (hydrogen halide) ซึ่งประกอบด้วยสาร 5 ชนิดที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน โดยไฮโดรเจนแอสทาไทด์มีสภาพเป็นกรดสูงสุดในกลุ่มดังกล่าว แต่สารชนิดนี้ยังใช้ประโยชน์ได้ในวงจำกัด เนื่องจากสามารถสลายตัวออกเป็นไฮโดรเจนกับแอสทาทีนได้อย่างรวดเร็ว[5] เช่นเดียวกับไอโซโทปของแอสทาทีนที่มีครึ่งชีวิตสั้น สาเหตุที่สลายตัวเร็วเนื่องจากทั้งไฮโดรเจนและแอสทาทีนมีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีเกือบเท่ากัน ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนแอสทาไทด์อาจเกิดได้ตามสมการดังต่อไปนี้
โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ แก๊สไฮโดรเจนและตะกอนแอสทาทีน เนื่องจากธาตุแอสทาทีนไม่มีไอโซโทปใดเลยที่เสถียร โดยโอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ แอสทาทีน-210 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียงประมาณ 8.1 ชั่วโมง ทำให้ยากต่อการศึกษาในเรื่องสารประกอบที่เกิดจากแอสทาทีน[6] ธาตุชนิดนี้จะสลายตัวได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นธาตุชนิดอื่นแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hydrogen astatide (CHEBI:30418)".
- ↑ Henri A. Favre; Warren H. Powell, บ.ก. (2014). Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013. Cambridge: The Royal Society of Chemistry. p. 131.
- ↑ Analytical Chemistry of Technetium, Promethium, Astatine and Francium by Avgusta Konstantinovna. Lavrukhina, Aleksandr Aleksandrovich Pozdnyakov ISBN 0250399237
- ↑ PubChem, "astatane - Compound Summary".
- ↑ Fairbrother, Peter, "Re: Is hydroastatic acid possible?" เก็บถาวร 2011-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Gagnon, Steve, "It's Elemental".