ไทยเวียดเจ็ทแอร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
| |||||||
ก่อตั้ง | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (11 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | ||||||
ท่าหลัก | สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 16 | ||||||
จุดหมาย | 5 , ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (4), ท่าอากาศยานภูเก็ต (1) | ||||||
บริษัทแม่ | เวียตเจ็ท เอวิชัน จอยนท์ สต็อก คอมพานี | ||||||
สำนักงานใหญ่ | โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม | ||||||
เว็บไซต์ | https://th.vietjetair.com/ |
บริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด[1] (VZ) หรือ สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือเวียดเจ็ทแอร์ จากประเทศเวียดนาม โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งประเทศเวียดนาม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ไทยเวียตเจ็ทแอร์เป็นสายการบินสัญชาติไทยโดยนิตินัย เริ่มให้บริการทำการบินเที่ยวบินแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ในเส้นทาง กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ สู่ เชียงใหม่ โดยไทยเวียตเจ็ทแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำลำดับที่ 4 ของประเทศไทยที่ให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ ครอบคลุมเส้นทางบินภายในประเทศทั่วภูมิภาค
เส้นทางการบิน
[แก้]- จาก สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบินหลัก
- เส้นทางภายในประเทศ
- จาก ภูเก็ต - ท่าอากาศยานภูเก็ต
- เส้นทางระหว่างประเทศ
- จาก สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ฐานการบินหลัก
- เวียดนาม
- กัมพูชา
- สิงคโปร์
- ไต้หวัน
- ญี่ปุ่น
ฝูงบินในปัจจุบัน
[แก้]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 สายการบินไทยเวียดเจ็ทแอร์ มีเครื่องบินแบบ แอร์บัสเอ 320-200 จำนวน 10 ลำ อายุเฉลี่ยของเครื่องบินอยู่ที่ 8 ปี 6 เดือน เครืองบินแบบ แอร์บัสเอ 320-200 นี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เที่ยวบินละ 180 ที่นั่ง (ชั้นประหยัด) แต่เนื่องด้วยสายการบิน ไทยเวียดเจ็ทแอร์ ให้บริการผู้โดยสารด้วยเที่ยวบินแบบไปกลับต่อวันตกอยู่ที่วันละประมาณ 30 เที่ยวบินต่อวัน จึงอาจมีเครื่องบินบางส่วนที่เป็นเครื่องที่อยู่ระหว่างการตกแต่งตัวเครื่องภายนอก หรือเป็นทะเบียนของเวียดนามที่ขึ้นต้นด้วย VN ไม่ใช่ HS มาให้บริการผู้โดยสารบ้างเป็นครั้งคราว แต่เครื่องทุกลำของสายการบินที่นำมาให้บริการ ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจากช่างผู้ชำนาญการโดยละเอียดเรียบร้อยแล้วก่อนนำมาให้บริการทำการบินแก่ผู้โดยสาร
เครื่องบิน | จำนวน | รอรับมอบ | ที่นั่งบนห้องโดยสาร |
---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 10 | - | 180 |
แอร์บัส เอ321-200 | 6 | - | 230 |
รวม | 16 |
สายการบินไทยเวียตเจ็ทรับมอบเครื่องบินแบบแอร์บัส A321-200 ทะเบียน “HS-VKR” ซึ่งเป็นเครื่องบินลำที่ 16 สู่ฝูงบิน ปัจจุบันสายการบินฯ มีเครื่องบินในฝูงบินทั้งสิ้น 16 ลำ ประกอบไปด้วย เครื่องบินแบบแอร์บัส A320-200 จำนวน 10 ลำ และเครื่องบินแบบแอร์บัส A321-200 จำนวน 6 ลำ[2]
ผลประกอบการ
[แก้]ผลประกอบการห้าปีล่าสุด ของบริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต๊อค จำกัด[3]
ปี | รายได้ (ล้านบาท) |
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) |
สินทรัพย์ (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
2019 | 4,274 | -1,731 | 2,766 |
2020 | 3,230 | -2,141 | 3,104 |
2021 | 3,483 | -3,955 | 396 |
2022 | 8,535 | -1,656 | 1,053 |
2023 | 13,116 | -3,597 | 1,926 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสาร". vietjetair.com. สืบค้นเมื่อ 2018-03-18. ชื่อบริษัทได้ถูกสะกดเป็น "เวียตเจ็ท" และเว้นวรรคทุกคำดังปรากฏ
- ↑ ""ไทยเวียตเจ็ท" ขยายฝูงบินแอร์บัส รองรับแผนเพิ่มเครือข่ายเส้นทางบิน". mgronline.com. 2021-09-17.
- ↑ CredenData. บริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต๊อค จำกัด