ข้ามไปเนื้อหา

โรคโปลิโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โปลิโอ)
โรคโปลิโอ
(Poliomyelitis)
ชื่ออื่นPoliomyelitis, infantile paralysis
ผู้ป่วยโปลิโอมีขาขวาฝ่อลีบ
การออกเสียง
สาขาวิชาประสาทวิทยา, โรคติดเชื้อ
อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้เป็นอัมพาต[1]
ภาวะแทรกซ้อนกลุ่มอาการหลังเป็นโรคโปลิโอ[2]
การตั้งต้นไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายวัน[1][3]
สาเหตุไวรัสโปลิโอ แพร่กระจายทางอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ[1]
วิธีวินิจฉัยตรวจหาไวรัสในอุจจาระ หรือตรวจหาแอนติบอดีในเลือด[1]
การป้องกันวัคซีนโรคโปลิโอ[3]
การรักษาการรักษาตามอาการ[3]
ความชุก136 คน (ค.ศ. 2018)[4]

โรคโปลิโอ (อังกฤษ: poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก[5] ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า πολιός (poliós) หมายถึง สีเทา, µυελός (myelós) หมายถึงไขสันหลัง และคำปัจจัย -itis หมายถึงการอักเสบ[6]

การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด[7] ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง[8]

โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1840 โดย Jakob Heine[9] ส่วนไวรัสโปลิโอซึ่งเป็นสาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1908 โดยคาร์ล ลันท์ชไตเนอร์[9] แม้จะไม่มีบันทึกว่ามีการระบาดของโปลิโอก่อนปลายศตวรรษที่ 19 แต่โปลิโอก็เป็นโรคในเด็กที่ก่อปัญหาสาธารณสุขมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การระบาดของโปลิโอทำให้มีผู้พิการหลายพันคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ โปลิโอระบาดในพื้นที่เล็ก ๆ มานับพันปี ก่อนที่จะมีการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 ในยุโรป และต่อมาจึงระบาดไปยังสหรัฐอเมริกา[10]

ช่วง ค.ศ. 1910 จำนวนผู้ป่วยโปลิโอเพิ่มสูงขึ้นมาก มีการระบาดบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่ในเขตชุมชนช่วงอากาศร้อน การระบาดเหล่านี้ทำให้มีผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้นหลายพันคน จึงมีการกระตุ้นให้เกิด "การแข่งขันครั้งใหญ่" (The Great Race) เพื่อผลิตวัคซีนขึ้นมาให้ได้ จนสำเร็จในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 วัคซีนโปลิโอที่ผลิตขึ้นมานี้ทำให้จำนวนผู้ป่วยโปลิโอทั่วโลกลดลงจากหลายแสนคนต่อปีเหลือไม่ถึงหนึ่งพันคนต่อปีในปัจจุบัน[11] โรตารีสากล องค์การอนามัยโลก และ UNICEF กำลังดำเนินการเพื่อให้คนทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือกำจัดโปลิโอให้หมดไปจากโลก[12][13]

การจำแนกประเภท

[แก้]

"โรคโปลิโอ" (poliomyelitis) เป็นคำที่ใช้ระบุถึงโรคที่เกิดจากไวรัสโปลิโอชนิดใดชนิดหนึ่งจาก 3 ซีโรทัยป์ มีการบรรยายแบบแผนของการติดเชื้อโปลิโอแบบทั่วไปเอาไว้สองรูปแบบ ได้แก่ โรคที่เป็นเล็กน้อย ซึ่งไม่ลุกลามเข้าถึงระบบประสาทส่วนกลาง แบบนี้บางครั้งเรียกว่า abortive poliomyelitis และโรคที่เป็นมาก ลุกลามเข้าถึงระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยอาจมีอาการอัมพาตหรือไม่มีก็ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเป็นปกติส่วนใหญ่เมื่อติดเชื้อโปลิโอจะไม่แสดงอาการ หรืออาจทำให้เกิดอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เช่น แสดงอาการเป็นการติดเชื้อในระบบหายใจส่วนบน (เช่น มีไข้ เจ็บคอ) มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร (คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก หรืออาจพบเป็นท้องร่วงได้ แต่น้อย) หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

การระบาด

[แก้]
ผู้ป่วยโปลิโอที่รายงานในปี 2561[14][15]
ประเทศ ผู้ป่วยจากธรรมชาติ ผู้ป่วยจากวัคซีน สถานภาพการระบาด ชนิด
 อัฟกานิสถาน 21 0 ประจำถิ่น WPV1
 ปากีสถาน 12 0 ประจำถิ่น WPV1
 DRC 0 20 เฉพาะวัคซีน cVDPV2
 อินโดนีเซีย 0 1 เฉพาะวัคซีน cVDPV1
 โมซัมบิก 0 1 เฉพาะวัคซีน cVDPV2
 ไนเจอร์ 0 10 เฉพาะวัคซีน cVDPV2
 ไนจีเรีย 0 34 เฉพาะวัคซีน cVDPV2
 ปาปัวนิวกินี 0 26 เฉพาะวัคซีน cVDPV1
 โซมาเลีย 0 12 เฉพาะวัคซีน cVDPV2/3
รวม 33 104

แม้ว่าปัจจุบันโรคโปลิโอจะพบน้อยในโลกตะวันตก แต่โรคโปลิโอยังพบประจำถิ่นในเอเชียใต้และทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศปากีสถานและไนจีเรียตามลำดับ นับแต่มีการใช้วัคซีนโปลิโอไวรัสอย่างกว้างขวางในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 อุบัติการณ์ของโรคโปลิโอลดลงอย่างมากในประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ

ความพยายามในการกำจัดโปลิโอทั่วโลกเริ่มต้นใน ค.ศ. 1988 โดยมีองค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟและมูลนิธิโรตารีเป็นผู้นำ[16] ความพยายามเหล่านี้ลดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยต่อปีลง 99% จากผู้ป่วยที่ประเมิน 350,000 คนใน ค.ศ. 1988 เหลือเพียง 483 คนใน ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากปีนั้น จำนวนผู้ป่วยยังคงที่อยู่ที่ระดับราว 1,000 คนต่อปี (1,606 คนใน ค.ศ. 2009)[17][18][19] ใน ค.ศ. 2012 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 223 คน[20] โปลิโอเป็นหนึ่งในสองโรคที่เป็นหัวข้อโครงการกำจัดทั่วโลกในปัจจุบัน อีกโรคหนึ่งคือ โรคพยาธิกินี จวบจนปัจจุบัน โรคสองชนิดที่ถูกมนุษย์กำจัดไปอย่างสมบูรณ์คือ โรคฝีดาษ ซึ่งหมดไปใน ค.ศ. 1979[21] และโรครินเดอร์เปสต์ ใน ค.ศ. 2010[22]

ปัจจุบันหลายภูมิภาคในโลกได้รับการประกาศแล้วว่าปลอดโรคโปลิโอ ทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใน ค.ศ. 1994[23] ใน ค.ศ. 2000 มีการประกาศว่าโปลิโอถูกกำจัดอย่างเป็นทางการในประเทศแปซิฟิกตะวันตก 37 ประเทศ รวมถึงประเทศจีนและออสเตรเลีย[24][25] ทวีปยุโรปได้รับการประกาศว่าปลอดโปลิโอใน ค.ศ. 2002[26] ใน ค.ศ. 2013 โปลิโอยังประจำถิ่นในสามประเทศเท่านั้น คือ ไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน[17][27] แม้ว่าจะยังก่อโรคระบาดทั่วในประเทศใกล้เคียงอื่นได้เนื่องจากการแพร่เชื้อแบบซ่อนหรือกลับมามีอีกครั้ง[28] ตัวอย่างเช่น มีการยืนยันว่ามีการระบาดทั่วในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 แม้ว่าโรคโปลิโอในประเทศจีนจะถูกกำจัดหมดไปแล้วเมื่อสิบปีก่อน โดยสายพันธุ์โปลิโอที่ก่อโรคนั้นเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน[29] ไม่มีรายงานผู้ป่วยการติดเชื้อโรคโปลิโอจากธรรมชาติในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2011 และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ประเทศอินเดียถูกนำออกจากรายการประเทศซึ่งโปลิโอประจำถิ่นขององค์การอนามัยโลก[30][31]

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโปลิโอถูกกำจัดหมดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยสิบเอ็ดประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย และติมอร์-เลสเต[17]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Hamborsky J, Kroger A, Wolfe C, บ.ก. (2015). "Poliomyelitis". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (The Pink Book) (13th ed.). Washington DC: Public Health Foundation. (chap. 18). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2016..
  2. "Post-Polio Syndrome Fact Sheet". NIH. 16 เมษายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Poliomyelitis Fact sheet N°114". who.int. ตุลาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014.
  4. "This page allows you to request a table with AFP/polio data". WHO. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
  5. Cohen JI (2004). "Chapter 175: Enteroviruses and Reoviruses". ใน Kasper DL; Braunwald E; Fauci AS; และคณะ (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (16th ed.). McGraw-Hill Professional. p. 1144. ISBN 0-07-140235-7.
  6. Chamberlin SL; Narins B, บ.ก. (2005). The Gale Encyclopedia of Neurological Disorders. Detroit: Thomson Gale. pp. 1859–70. ISBN 0-7876-9150-X.
  7. Ryan KJ; Ray CG, บ.ก. (2004). "Enteroviruses". Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 535–7. ISBN 0-8385-8529-9.
  8. Atkinson W, Hamborsky J, McIntyre L, Wolfe S, บ.ก. (2009). "Poliomyelitis". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (The Pink Book) (PDF) (11th ed.). Washington DC: Public Health Foundation. pp. 231–44.
  9. 9.0 9.1 Paul JR (1971). A History of Poliomyelitis. Yale studies in the history of science and medicine. New Haven, Conn: Yale University Press. pp. 16–18. ISBN 0-300-01324-8.
  10. Trevelyan B, Smallman-Raynor M, Cliff AD (มิถุนายน 2005). "The Spatial Dynamics of Poliomyelitis in the United States: From Epidemic Emergence to Vaccine-Induced Retreat, 1910-1971". Annals of the Association of American Geographers. 95 (2): 269–93. doi:10.1111/j.1467-8306.2005.00460.x. PMC 1473032. PMID 16741562.
  11. Aylward R (2006). "Eradicating polio: today's challenges and tomorrow's legacy". Ann Trop Med Parasitol. 100 (5–6): 401–13. doi:10.1179/136485906X97354. PMID 16899145.
  12. Heymann D (2006). "Global polio eradication initiative". Bull. World Health Organ. 84 (8): 595. doi:10.2471/BLT.05.029512. PMC 2627439. PMID 16917643. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2022.
  13. McNeil, Donald (1 กุมภาพันธ์ 2011). "In Battle Against Polio, a Call for a Final Salvo". New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011.; excerpt, "... getting rid of the last 1 percent has been like trying to squeeze Jell-O to death. As the vaccination fist closes in one country, the virus bursts out in another .... The [eradication] effort has now cost $9 billion, and each year consumes another $1 billion."
  14. "Polio Case Count". World Health Organization. 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 27 December 2017.
  15. "Polio This Week". Global Polio Eradication Initiative. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2019.
  16. Mastny, Lisa (25 มกราคม 1999). "Eradicating Polio: A Model for International Cooperation". Worldwatch Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2008.
  17. 17.0 17.1 17.2 Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (2006). "Update on vaccine-derived polioviruses". MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 55 (40): 1093–7. PMID 17035927.
  18. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (พฤษภาคม 2008). "Progress toward interruption of wild poliovirus transmission—worldwide, January 2007–April 2008". MMWR Morb. Mortal. Wkly. Rep. 57 (18): 489–94. PMID 18463607.
  19. "Wild Poliovirus 2000 - 2007" (PDF). polioeradication.org. 25 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010.
  20. "Polio this week - As of 06 February 2013". Polio Global Eradication Initiative. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013.
  21. "Smallpox". WHO Factsheet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2008.
  22. "UN 'confident' disease has been wiped out". BBC. 14 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2010.
  23. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (1994). "International Notes Certification of Poliomyelitis Eradication—the Americas, 1994". MMWR Morb Mortal Wkly Rep. Centers for Disease Control and Prevention. 43 (39): 720–2. PMID 7522302.
  24. "General News. Major Milestone reached in Global Polio Eradication: Western Pacific Region is certified Polio-Free" (PDF). Health Educ Res. 16 (1): 109. 2001. doi:10.1093/her/16.1.109.
  25. D'Souza R, Kennett M, Watson C (2002). "Australia declared polio free". Commun Dis Intell. 26 (2): 253–60. PMID 12206379.
  26. "Europe achieves historic milestone as Region is declared polio-free" (Press release). European Region of the World Health Organization. 21 มิถุนายน 2002. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2008.
  27. Fine PEM (2009). "Polio: Measuring the protection that matters most". J Infect Dis. 200 (5): 673–675. doi:10.1086/605331. PMID 19624277.
  28. "Wild Poliovirus case list 2000–2010". WHO/HQ. 9 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2010.
  29. "New polio outbreak hits China - CNN.com". CNN. 21 กันยายน 2011.
  30. Ray, Kalyan (26 กุมภาพันธ์ 2012). "India wins battle against dreaded polio". Deccan Herald.
  31. "India polio-free for a year: 'First time in history we're able to put up such a map'". The Telegraph. 26 กุมภาพันธ์ 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก