โบอิง 2707
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โบอิง 2707 | |
---|---|
โบอิง 2707-300 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินความเร็วเหนือเสียง |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง |
สถานะ | ยกเลิกในปี พ.ศ. 2514 |
โบอิง 2707 เป็นอากาศยานความเร็วเหนือเสียง พัฒนาโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง และได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อพัฒนาโครงการ แต่เนื่องจากต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งไม่เป็นที่สนใจของสายการบินต่าง ๆ มากเท่าควร และความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องยกเลิกโครงการไปในปีพ.ศ. 2514
ประวัติ
[แก้]โบอิงได้มีแนวคิดที่จะผลิตเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง โดยทดสอบด้วยแบบจำลองขนาดเล็กหลายๆแบบ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2495 และก็ได้ตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะเมื่อปีพ.ศ. 2501 และได้ออกแบบเครื่องบินในชื่อ 733 โดยแบบส่วนใหญ่จะมีปีกเป็นโครงสามเหลี่ยม และมีแบบที่ใช้ปีกแบบปรับเปลี่ยนองศากางปีก ซึ่งเป็นแบบที่ได้รับให้พัฒนาต่อไป[1]
ต่อมาช่วงปีพ.ศ. 2505 มีข่าวยืนยันการร่วมพัฒนาอย่างจริงจังของบริสทอล แอโรเพลน คอมพานี และซัด เอวิเอชัน และในปลายปีนั้นเอง ทั้ง 2 บริษัทก็ได้ออกแถลงข่าวแบบเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง คองคอร์ด ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกต่อชาติอื่นๆ เพราะต่างเชื่อว่าการเดินทางด้วยความเร็วเหนือเสียงจะเป็นรูปแบบการเดินทางในอนาคตอย่างแพร่หลาย และชาติยุโรปกำลังจะนำหน้าเทคโนโลยีชาติอื่นๆ
ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้จัดตั้งโครงการการคมนาคมด้วยความเร็วเหนือเสียงแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนร้อยละ 75 ของต้นทุนการพัฒนาเป็นเครื่องบินพาณิชย์ เพื่อแข่งขันกับคองคอร์ด โดยจะพัฒนาเป็นเครื่องบินขนาด 250 ที่นั่ง (มากกว่าคอนคอร์ดเท่าตัว) บินด้วยความเร็ว 2.7 - 3.0 มัก และมีพิสัยบิน 4,000 ไมล์ โดยนาจีบ ฮาลาบาย ผู้อำนวยการองค์กรการบินสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น มองว่าคอนคอร์ดนั้นพัฒนาไปเกินว่าเข้าไปแข่งในตลาดเดียวกัน แต่ควรจะพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่า จึงได้ให้ผู้ผลิตอย่างโบอิง, ล็อกฮีด และนอร์ธอเมริกัน เอวิเอชัน เสนอแบบลำตัวเครื่อง และเคอร์ติสไรท์, เจเนรัล อีเลคทริค และแพรตแอนด์วิทนีย์ เสนอแบบเครื่องยนต์
ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 โบอิงได้เสนอแบบให้กับองค์กรการบินสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบบที่พัฒนาจาก 733 โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า 733-197 แต่อาจจะรู้จักกันในชื่อ 1966 โมเดล และ2707 ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากกว่า จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน โบอิงได้เสนอแบบเครื่องบินขนาด 250 ที่นั่ง ใช้ชื่อว่า 733-290 และได้เปลี่ยนตำแหน่งเครื่องยนต์ไปไว้ใต้ปีกที่หางเครื่อง และเมื่อปีกปรับองศาที่กางลง ก็จะมีรูปร่างคล้ายกับปีกแบบสามเหลี่ยม
ด้านนอร์ธอเมริกา เอ็นเอซี-60 และเครื่องบินของเคอร์ติสไรท์ ได้ถอนตัวออกจากโครงการ เนื่องจากโบอิงและล็อกฮีด มีแบบเครื่องที่ตรงตามข้อตกลงขององค์กรการบินสหรัฐอเมริกามากกว่า และได้ให้ทั้งสองบริษัทเสนอแบบที่มีข้อมูลละเอียดมากขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ. 2509 เพื่อพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย ในครั้งนี้โบอิงเสนอเครื่องบินขนาด 300 ที่นั่ง ใช้ชื่อว่า 733-390 และล็อกฮีดเสนอล็อกฮีด แอล-2000 โดยในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2509 โบอิงได้รับคำตอบว่าเป็นผู้ชนะแบบ เนื่องจากแอล-2000 มีประสิทธิภาพต่ำกว่าและมีเสียงที่ดังกว่าของโบอิง โดยแบบที่ชนะจะใช้เครื่องยนต์เจเนรัล อีเลคทริค จีอี4/เจ5
แต่แล้ววันเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 แม้ว่าประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่วุฒิสภาลงมติยุติการให้การสนับสนุนต่อไป และถึงแม้ว่าจะมีกลุ่มอุตสหกรรมการบินอื่นๆ ที่เสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือโครงการต่อไปกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในภายหลัง แต่โครงการนี้ก็ได้ยุติลงในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ซึ่งในขณะนั้นมียอดสั่งผลิต 115 ลำ จาก 25 สายการบิน
การจำหน่าย
[แก้]มีสายการบินต่อไปนี้ที่ได้มีคำสั่งผลิตเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง
- แพนอเมริกา เวิลด์ แอร์เวย์ (15)
- ทรานเวิลด์แอร์เวย์ (10)
- แควนตัส (6)
- บริติชโอเวอร์ซีแอร์เวย์คอร์ปอเรชัน (6)
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (6)
- อเมริกันแอร์ไลน์ (6)
- อัลอิตาเลีย (6)
- แอร์ฟรานซ์ (6)
- เจแปนแอร์ไลน์ (5)
- นอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ (4)
- คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (3)
- เคแอลเอ็ม (3)
- แคนาเดียนแปซิฟิก (3)
- เดลต้า แอร์ไลน์ (3)
- ลุฟต์ฮันซา (3)
- เวิลด์แอร์เวย์ (3)
- อีสเทิร์นแอร์ไลน์ (3)
- แอร์อินเดีย (3)
- ไอบีเรีย (3)
- ทรานส์แอม (2)
- บรานิฟฟ์แอร์เวย์ (2)
- ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นเนลแอรไลน์ (2)
- เอลอัล (2)
- แอโรเม็กซิโก (2)
- แอร์ลินกัส (2)
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่คล้ายกัน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลในเว็บไซต์โบอิง (อังกฤษ)