แผ่นดินไหวในจังหวัดอิกิเก พ.ศ. 2557
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2014-04-01 23:46:47 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 610102185 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 1 เมษายน ค.ศ. 2014 |
เวลาท้องถิ่น | 20:46 CST (UTC-03:00) |
ขนาด | 8.2 Mw[1] |
ความลึก | 25 กิโลเมตร (16 ไมล์)[1] |
ศูนย์กลาง | 19°36′36″S 70°46′08″W / 19.610°S 70.769°W[1] |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ชิลี, เปรู, โบลิเวีย |
ความเสียหายทั้งหมด | บ้านเสียหาย 2,500 หลัง |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | VIII (อย่างรุนแรง) |
สึนามิ | 4.6 เมตร (15 ฟุต) |
ผู้ประสบภัย | ชิลี: เสียชีวิต 6 คน[2][3][4] เปรู: บาดเจ็บ 9 คน[5] |
แผ่นดินไหวในจังหวัดอิกิเก หรือ แผ่นดินไหวในนอร์เตกรันเด พ.ศ. 2557 (สเปน: terremoto del Norte Grande de 2014) เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ทางตอนเหนือของประเทศชิลี จุดเหนือศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองอิกิเกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกชายฝั่งประเทศชิลีราว 95 กิโลเมตร แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 20:46 น. ตามเวลาในประเทศชิลี (ตรงกับ 06:46 น. ของวันที่ 2 เมษายนตามเวลาในประเทศไทย) มีขนาดความรุนแรง 8.2 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหวตามขนาดสูงสุดมีระดับ 7.7 Mw
ธรณีวิทยา
[แก้]แผ่นดินไหวขนาด 8.2 Mw ครั้งนี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust) ใกล้ชายฝั่งประเทศชิลี ที่มีความลึกไม่มาก บนรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกนัซกากับแผ่นอเมริกาใต้ กลไกของแผ่นดินไหวครั้งนี้สอดคล้องกับการเคลื่อนตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่น แผ่นนัซกา ณ ตำแหน่งนี้เคลื่อนที่มุดลงใต้แผ่นอเมริกาใต้บริเวณร่องลึกเปรู-ชิลี ทางตะวันตกของประเทศชิลี ไปทางตะวันออกด้วยความเร็ว 65 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งการมุดตัวดังกล่าวทำให้เกิดการย่นของแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันออกของแผ่นนาซกา ยกตัวขึ้นเป็นเทือกเขาแอนดีสในปัจจุบัน และยังเป็นต้นเหตุของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้งซึ่งมีความรุนแรงระดับประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เช่น แผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2553 ขนาด 8.8 Mw และแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของโลกที่เคยบันทึกไว้ ขนาด 9.5 เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503[6]
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ แต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเคยถูกเรียกว่าเป็น "ช่องว่างแผ่นดินไหว" (seismic gap) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เป็นแนวใกล้ชายฝั่งประเทศชิลี ยาวประมาณ 450 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเมืองอาริกากับอันโตฟากัสตา เนื่องจากปกติแล้ว บริเวณดังกล่าวถือว่ามีศักยภาพต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แต่ตามบันทึกพื้นที่แห่งนี้ไม่ปรากฏแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เลยตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2420 ขนาด 8.8 Mw[7] นักวิทยาแผ่นดินไหวทั้งในและนอกประเทศชิลีกล่าวว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้ (พ.ศ. 2557) สามารถลบล้างความเป็น "ช่องว่าง" ได้เพียงบางส่วน เนื่องจากถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบตามที่คาดการณ์ไว้
แผ่นดินไหว
[แก้]แผ่นดินไหวมีความรุนแรง 8.2 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ สามารถรู้สึกได้ในแคว้นอาริกา-ปารินาโกตา ตาราปากา และอันโตฟากัสตา ประเทศชิลี[8] แคว้นตักนา โมเกกัว และอาเรกิปา ประเทศเปรู[9] แคว้นลาปาซ โกชาบัมบา และโอรูโร ประเทศโบลิเวีย[10] ความรุนแรงที่รู้สึกได้ตามมาตราเมร์กัลลีมีค่าสูงสุดในแคว้นอาริกา-ปารินาโกตา ซึ่งมีระดับ VIII (ทำลาย) รองลงมาเป็นแคว้นตาราปากา มีระดับ VII (แรงมาก)
แผ่นดินไหวนำ
[แก้]ก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 Mw (1 เมษายน) หนึ่งอาทิตย์ ได้เกิดแผ่นดินไหวนำในพื้นที่หลายครั้ง นับได้ทั้งหมด 57 ครั้งที่มีระดับมากกว่า 4.5 ตามมาตราริกเตอร์ โดยครั้งรุนแรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ แผ่นดินไหวนำที่มีขนาดมากกว่า 5.5 แสดงในตารางดังนี้
วันที่ | เวลาท้องถิ่น (UTC–3) |
พิกัด | ความลึก (กิโลเมตร) |
ML | ความรุนแรง (มาตราเมร์กัลลี) |
อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
16 มีนาคม 2557 | 18:16:29 น. | 19°57′54″S 70°48′50″W / 19.96500°S 70.81389°W | 20.6 | 6.7 | VI | [11] |
17 มีนาคม 2557 | 02:11:34 น. | 19°55′41″S 70°56′38″W / 19.92806°S 70.94389°W | 28.3 | 6.3 | III | [12] |
18 มีนาคม 2557 | 18:26:46 น. | 19°57′29″S 70°56′38″W / 19.95806°S 70.94389°W | 38.1 | 5.8 | V | [13] |
22 มีนาคม 2557 | 09:59:54 น. | 19°50′10″S 71°23′2″W / 19.83611°S 71.38389°W | 31.8 | 5.8 | V | [14] |
23 มีนาคม 2557 | 15:20:00 น. | 19°47′38″S 70°56′35″W / 19.79389°S 70.94306°W | 33.8 | 6.2 | VI | [15] |
24 มีนาคม 2557 | 12:45:32 น. | 19°35′38″S 70°47′28″W / 19.59389°S 70.79111°W | 43.0 | 5.5 | V | [16] |
แผ่นดินไหวตาม
[แก้]หลังแผ่นดินไหวหลักขนาด 8.2 Mw ได้เกิดแผ่นดินไหวตามครั้งแรกเมื่อเวลา 20:49 น. ตามเวลาท้องถิ่นชิลี (เกิดหลังแผ่นดินไหวหลัก 3 นาที) มีขนาด 7.5 Mw ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 26.8 กิโลเมตร ห่างจากเมืองอิกิเกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 29 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามขนาดใหญ่อีกครั้งเกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน เวลา 23:43 น. (หลังแผ่นดินไหวหลักหนึ่งวัน) ขนาด 7.7 จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองอิกิเกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 50 กิโลเมตร ซึ่งทำให้ทางการท้องถิ่นต้องประกาศอพยพประชาชนหนีภัยสึนามิอีกครั้งหนึ่ง[17] โดยคลื่นหลักที่กระทบชายฝั่งเมืองอิกิเกมีความสูง 74 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่อื่นไม่มีการประกาศสึนามิถึงระดับเตือนภัย[18] แผ่นดินไหวตามทั้งหมดที่บันทึกได้จนถึงวันที่ 17 เมษายน เวลา 19:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีทั้งสิ้น 717 ครั้ง ในจำนวนนี้ 52 ครั้ง ประชาชนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจน[19]
วันที่ | เวลาท้องถิ่น (UTC–3) |
พิกัด | ความลึก (กิโลเมตร) |
MW | ความรุนแรง (มาตราเมร์กัลลี) |
อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เมษายน 2557 | 20:49:25 น. | 20°5′6″S 70°23′20″W / 20.08500°S 70.38889°W | 26.8 | 7.5 | ไม่มีข้อมูล | [20] |
1 เมษายน 2557 | 20:57:58 น. | 19°53′35″S 70°56′42″W / 19.89306°S 70.94500°W | 28.4 | 6.9 | VI | [21] |
1 เมษายน 2557 | 22:58:30 น. | 20°18′40″S 70°34′34″W / 20.31111°S 70.57611°W | 24.1 | 6.5 | VI | [22] |
1 เมษายน 2557 | 23:43:13 น. | 20°34′16″S 70°29′35″W / 20.57111°S 70.49306°W | 22.4 | 7.7 | VII | [23] |
2 เมษายน 2557 | 02:26:15 น. | 20°47′49″S 70°35′13″W / 20.79694°S 70.58694°W | 25.0 | 6.4 | VI | [24] |
3 เมษายน 2557 | 22:37:50 น. | 20°38′35″S 70°39′14″W / 20.64306°S 70.65389°W | 13.7 | 6.3 | V | [25] |
10 เมษายน 2557 | 21:01:45 น. | 20°39′32″S 70°38′49″W / 20.65889°S 70.64694°W | 13.8 | 6.2 | V | [26] |
ผลกระทบ
[แก้]เหตุแผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดอยู่ในประเทศชิลี ในจำนวนนี้สี่คนเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว หญิงรายหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกกำแพงล้มทับ แรงงานคนหนึ่งบาดเจ็บจากการถูกโครงสร้างเหล็กตกใส่และเสียชีวิตในเวลาต่อมา[27] ผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน ส่วนใหญ่อยู่ในชิลี และมีรายงานผู้บาดเจ็บอีก 6 คนในเปรู มีผู้ไร้ถิ่นฐานทั้งสิ้นกว่า 80,000 คน[28] หลังแผ่นดินไหวพื้นที่ในแคว้นอาริกา-ปารินาโกตาและตาราปากาของชิลีถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ หลายแห่งไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้[29] พื้นที่หลายแห่งในอำเภอปูเตรและเฆเนรัลลาโกส ของจังหวัดปารินาโกตา แคว้นอาริกา-ปารินาโกตา เกิดดินถล่ม รวมถึงเส้นทางคมนาคมหลักบางเส้นถูกดินทับปิดเส้นทาง[30]
คลื่นสึนามิ
[แก้]ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในรัฐฮาวายได้ประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิครอบคลุมชายฝั่งประเทศชิลี เปรู และเอกวาดอร์ และแจ้งให้ประเทศคอสตาริกา นิการากัว เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เม็กซิโก และฮอนดูรัส เฝ้าระวังและเตรียมพร้อม ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกประกาศเตือนประเทศดังกล่าวอย่างรวดเร็ว (ยกเว้นเปรูและชิลี)[30] ทางการชิลีได้อพยพประชาชนหลายพันคนออกห่างจากชายฝั่ง[31] คลื่นสึนามิกระทบชายฝั่งหลังจากแผ่นดินไหวระหว่าง 1–2 ชั่วโมง สึนามิที่สูงที่สุดวัดได้ 2.11 เมตร ที่เมืองอิกิเก ส่วนที่เมืองอาริกาวัดได้ 1.83 เมตร ชายฝั่งอื่นของชิลีส่วนมากวัดได้ต่ำกว่าหนึ่งเมตร[32] สึนามิได้เดินทางถึงฮาวายหลังเกิดแผ่นดินไหวราว 13 ชั่วโมง[33] คลื่นยังเดินทางไปไกลถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเดินทางถึงเมื่อวันที่ 3 เมษายน ตามเวลาในท้องถิ่น วัดความสูงได้ 60 เซนติเมตรที่เมืองคูจิ จังหวัดอิวาเตะ[34]
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "M8.2 - 95km NW of Iquique, Chile". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
- ↑ "Chile earthquake: 2 dead, 3 seriously injured". Canadian Broadcasting Corporation. 2 April 2014.
- ↑ Franklin, Jonathan; Davidson, Helen; Farrell, Paul (2 April 2014). "Chile earthquake triggers tsunami warning and evacuation – live updates". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
- ↑ Stout, David; Winograd, David (1 April 2014). "Five Dead After Huge Quake Hits off Coast of Chile". Time. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
- ↑ "Massive earthquake and tsunami at the Tarapaca coast, Northern Chile – The full story from the very beginning". Earthquake-Report.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "M8.2 - 95km NW of Iquique, Chile" (ภาษาอังกฤษ). United States Geological Survey.
- ↑ M. Chlieh (2547). "Crustal deformation and fault slip during the seismic cycle in the North Chile subduction zone, from GPS and InSAR observations" (PDF). Geophys. J. Int. (ภาษาอังกฤษ). 158: หน้า 695–711. doi:10.1111/j.1365-246X.2004.02326.x.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Oficina Nacional de Emergencia del Ministerio del Interior (1 เมษายน 2557). "Sismo de mayor intensidad en las regiones de Arica y Parinacota, Tarapacá y Antofagasta" (ภาษาสเปน).
- ↑ "M8.2 - 95km NW of Iquique, Chile" บทความจากหน้าเว็บไซต์ [http://earthquake.usgs.gov/ U. S. Geological Survey Earthquake Hazards Program (อังกฤษ)
- ↑ Observatorio San Calixto. "Boletín último sismo" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Experts: Strict building codes saved lives in powerful Chile earthquake" (ภาษาอังกฤษ). CNN. 4 เมษายน 2557.
- ↑ Pacific Tsunami Warning Center (3 เมษายน 2557). "Tsunami bulletin number 3" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Monitoreo sismo de mayor intensidad y alarma de tsunami" (ภาษาสเปน). ONEMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "M6.9 - 91km WNW of Iquique, Chile". USGS.
- ↑ "M6.5 - 46km WSW of Iquique, Chile". USGS.
- ↑ "M7.7 - 53km SW of Iquique, Chile". USGS.
- ↑ "M6.4 - 78km SW of Iquique, Chile". USGS.
- ↑ "M6.3 - 70km SW of Iquique, Chile". USGS.
- ↑ "M6.2 - 72km SW of Iquique, Chile". USGS.
- ↑ ""La estralla de Iquique"" (ภาษาสเปน). 4 เมษายน 2557.
- ↑ "8.2 earthquake hits Chile, killing 6 and displacing 80,000". RT. 2 เมษายน 2557.
- ↑ Moreno, Génesis; Paz Núñez, María (2 เมษายน 2557). "Reposición de servicios básicos ha sido más lenta en comunas de Iquique y Alto Hospicio" (ภาษาสเปน). La Tercera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-03. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ 30.0 30.1 "Chile declares disaster in quake-hit regions (updated 07:22 UTC)" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2 เมษายน 2557.
- ↑ "Tsunami alert after 8.2 quake strikes off Chile (updated 04:41 UTC)" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2 เมษายน 2557.
- ↑ Pacific Tsunami Warning Center (2 เมษายน 2557). "Tsunami Bulletin Number 6" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Hawai'ian Islands Tsumani Advisory" (ภาษาอังกฤษ). Pacific Tsunami Warning Center. 2 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "岩手県久慈市で津波60センチ観測 チリ地震" (ภาษาญี่ปุ่น). Asahi Shimbun Company (朝日新聞). 3 เมษายน 2557.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แผ่นดินไหวในอิกิเก พ.ศ. 2557