เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี | |
---|---|
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี: ด้านหน้าและด้านหลังภาษาอังกฤษ | |
รูปแบบ | เหรียญการทัพ |
รางวัลสำหรับ | รัฐการการทัพ |
คำอธิบาย | จานสีบรอนซ์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 35 มม. |
จัดโดย | สหประชาชาติ |
คุณสมบัติ | กองกำลังสหประชาชาติทั้งหมด |
แคมเปญ | สงครามเกาหลี 2493 – 2496 |
ก่อตั้ง | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] |
แพรแถบย่อ | |
เกี่ยวข้อง | เหรียญประจำการสงครามเกาหลี เหรียญเกาหลี (เครือจักรภพแห่งประชาชาติ) เหรียญประจำการเกาหลี (สหรัฐ) |
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี (อังกฤษ: United Nations Service Medal for Korea) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทหาร จัดทำโดยสหประชาชาติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยมอบเหรียญนี้ให้แก่ทหารในกองทัพเกาหลีใต้และกองทัพต่างชาติที่เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี
เกณฑ์การรับ
[แก้]เหรียญรสหประชาชาติ (เกาหลี) มอบให้แก่ทหารของกองทัพที่เป็นพันธมิตรกับเกาหลีใต้ ซึ่งเข้าร่วมในการป้องกันเกาหลีใต้จากเกาหลีเหนือ ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน[2] กองทัพเนเธอร์แลนด์ได้รับเหรียญตราประจำการถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 ส่วนกองทัพไทยและสวีเดนได้รับมอบเหรียญตราซึ่งประจำการจนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498[1]
เจ้าหน้าที่กาชาดระหว่างประเทศที่เข้าประจำการในช่วงสงครามกับทีมบรรเทาทุกข์ของสหประชาชาติในเกาหลีไม่มีสิทธิ์ได้รับเหรียญรางวัล[3]
ผู้มีอำนาจในการมอบรางวัลสูงสุดของเหรียญประจำการสหประชาชาติ คือผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งสหประชาชาติในกองทัพเกาหลี[4] ประเทศส่วนใหญ่ถือว่าเหรียญประจำการสหประชาชาติเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ที่ได้รับโดยอัตโนมัติ หากมีการมอบรางวัลการประจำการอื่น ๆ ของเกาหลี และโดยทั่วไปจะมอบเหรียญดังนี้โดยไม่ต้องขออนุญาตผ่านช่องทางของสหประชาชาติ เช่น ในกองทัพสหรัฐ ทหารที่ได้รับเหรียญประจำการเกาหลี จะได้รับเหรียญประจำการสหประชาชาติโดยอัตโนมัติ
ชื่อเหรียญ
[แก้]เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 องค์การสหประชาชาติได้เปลี่ยนชื่อเหรียญประจำการของสหประชาชาติ เป็นเหรียญประจำการสหประชาชาติเกาหลี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างเหรียญสหประชาชาติหลายเหรียญต่อมาเพื่อมอบให้กับการปฏิบัติการต่าง ๆ ทั่วโลก
สหรัฐและประเทศอื่น ๆ บางประเทศยังคงเรียกเหรียญนี้ว่าเป็น เหรียญประจำการสหประชาชาติ เพื่อรักษาความสอดคล้องกับเอกสารทางการทหารในอดีตที่อ้างถึงเหรียญดังกล่าวตามชื่อเดิม
คำอธิบาย
[แก้]เหรียญสหประชาชาติเกาหลี เป็นเหรียญทรงกลมกว้าง 36 มม. ทำจากโลหะผสมทองแดง[5] ด้านหน้าเป็นรูปสัญลักษณ์ 'World-in-a Wreath' ของสหประชาชาติ ด้านหลังมีข้อความว่า : FOR SERVICE IN DEFENSE OF THE PRINCIPLES OF THE CHARTER OF THE UNITED NATIONS แต่ละประเทศที่เข้าร่วมจะมีข้อความในภาษาที่เหมาะสมที่สุด ในส่วนของไทยจะแปลด้านหลังเหรียญได้ว่า เพื่อบริการในป้องกันหลักกฎบัตรสหประชาชาติ[6] และคำจารึกอาจเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งต่อไปนี้ :[5]
- ภาษาอังกฤษ มอบให้กับทหารจากออสเตรเลีย, แคนาดา (พูดภาษาอังกฤษ), เดนมาร์ก, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, ฟิลิปปินส์, สวีเดน, สหราชอาณาจักร, สหภาพแอฟริกาใต้ และสหรัฐ ออกเหรียญรางวัล 2,760,000 เหรียญ
- ภาษาเกาหลี ออกเหรียญ 1,225,000 เหรียญ
- ภาษาตุรกี ออกเหรียญตรา 33,700 เหรียญ
- ภาษาฝรั่งเศส มอบให้ทหารจากเบลเยียม, แคนาดา, ฝรั่งเศส และลักเซมเบิร์ก มอบเหรียญรางวัล 16,900 เหรียญ
- ภาษาไทย ออกเหรียญตรา 10,650 เหรียญ
- ภาษากรีก ออกเหรียญตรา 9,000 เหรียญ
- ภาษาดัตช์ ออกเหรียญตรา 5,800 เหรียญ
- ภาษาเอธิโอเปีย มอบให้บุคลากรจากจักรวรรดิเอธิโอเปีย ออกเหรียญตรา 5,650 เหรียญ
- ภาษาสเปน มอบให้ทหารจากโคลอมเบีย ออกเหรียญตรา 1,300 เหรียญ
- ภาษาอิตาลี ออกเหรียญตรา 135 เหรียญ
สำเนาอย่างไม่เป็นทางการที่ไม่ทราบจำนวนพร้อมคำจารึกในภาษาตากาล็อกผลิตขึ้นในฟิลิปปินส์สำหรับทหารผ่านศึกในประเทศ[7]
นายทหารสำคัญของไทยที่รับเหรียญ
[แก้]- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล
- จอมพล ถนอม กิตติขจร
- จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์
- พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์
- พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ
- พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
- พลเอก เสริม ณ นคร
- พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
- นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย
- พลโท ชาญ อังศุโชติ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Regulations United Nations Service Medal Korea" (PDF). Australian Government, Department of Defence. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
- ↑ Borts, Lawrence H. (1998). Medals and Ribbons - The Medals and Ribbons of The United Nations. Fountain Inn, SC: Medals of America Press. p. 20. ISBN 1-884452-31-0.
- ↑ Joslin, Litherland and Simpkin. British Battles and Medals. p. 270. Published Spink, London. 1988.
- ↑ "Regulations United Nations Service Medal Korea" (PDF). Australian Government, Department of Defence. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
- ↑ 5.0 5.1 Joslin, Litherland and Simpkin. British Battles and Medals. p. 270. Published Spink, London. 1988.
- ↑ เหรียญจากสมรภูมิเกาหลี
- ↑ Borts, Lawrence H. (1998). Medals and Ribbons - The Medals and Ribbons of The United Nations. Fountain Inn, SC: Medals of America Press. p. 14,15. ISBN 1-884452-31-0.