ข้ามไปเนื้อหา

เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
เริ่มดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2565
(2 ปี 70 วัน)
ก่อนหน้าเอกภาพ พลซื่อ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2535–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2554–2564, 2565–ปัจจุบัน)

เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 5 สมัย

ประวัติ

[แก้]

เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายพรศักดิ์ และนางประกาย ไวนิยมพงศ์ มีพี่น้อง 3 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางนราภรณ์ (นามสกุลเดิม:รัศมีฉาย)

งานการเมือง

[แก้]

ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้ง มีนาคม พ.ศ. 2535 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2538

พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 1 แต่ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตัดสินให้ใบแดงแก่นายเศกสิทธิ์ จึงหันไปสนับสนุนนายบุญเติม จันทะวัฒน์ ผู้สมัครจากพรรคถิ่นไทย[1] และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 นายเศกสิทธิ์ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลำดับที่ 69 ไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งแรก แต่ได้รับการเลื่อนในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2550 นายเศกสิทธิ์กลับไปลงรับสมัครในระบบแบ่งเขต สังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับคะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 คะแนนของเขต (มี ส.ส. ได้ 3 คน) และ พ.ศ. 2554 ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนกว่า 70,000 คะแนน

ในปี 2564 เขาได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย[2] และเตรียมการตั้งพรรคการเมืองกับ จาตุรนต์ ฉายแสง ในชื่อพรรคเส้นทางใหม่[3] แต่ในที่สุดเขาก็ย้ายกลับเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย ปี 2565 ตัดสินใจลงสมัครนายกอบจ.ร้อยเอ็ดในนามพรรคเพื่อไทย เขาได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งซึ่งเป็นภรรยาอดีตนายกคนเดิม (รัชนี พลซื่อ) และอดีตคนพรรคพลังประชารัฐ ด้วยคะแนนท่วมท้นจนเรียกกันว่า ร้อยเอ็ดแลนด์สไลด์[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคไทยรักไทย (ใบแดง)
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย (ได้รับเลื่อน)
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคพลังประชาชน
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""บุญเติม" อดีต ส.ส.4 สมัย ทรท.ถูกรถทัวร์ชนดับ". mgronline.com. 2010-03-17.
  2. 'เศกสิทธิ์' เปิดใจออก 'เพื่อไทย' เตรียมลา 'ทักษิณ' ร่วมตั้งพรรคเส้นทางใหม่ 'จาตุรนต์' หัวหน้า
  3. 'อ๋อย-เศกสิทธิ์'สานฝัน พรรคเส้นทางใหม่
  4. บัตร 2 ใบ - ต้นทุนพรรคใหม่ เลือดเก่าไหลกลับ “เพื่อไทย”
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]