เวทีทอง
เวทีทอง | |
---|---|
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ |
|
ประเภท | เกมโชว์ |
พิธีกร | ดูในบทความ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 10 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
ความยาวตอน | 60 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | |
ออกอากาศ | ดูในบทความ |
เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และรายการโทรทัศน์รายการแรกของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2532 ทางช่อง 7 และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มกราคม 2541 และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 เมื่อวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2542 จนกระทั่งออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2550 โดยได้นำรายการ ตู้ซ่อนเงิน ขึ้นมาแทน
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2559 ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทางช่องเวิร์คพอยท์[1][2] ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 13:00 - 14:00 น.[3] ก่อนเปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ช่องเวิร์คพอยท์ได้นำรายการใหม่คือรายการ Game Room ห้องชนเกม มาออกอากาศตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จนถึงวันที่ 29 มกราคม 2566 จึงได้นำละครซิทคอมใหม่เรื่อง เจ๊ไฝยอดนักสืบ มาออกอากาศแทน
ประวัติ
[แก้]รายการเวทีทองออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (14 ตุลาคม 2532 - 25 สิงหาคม 2533) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพ,ดารา,ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่มีความสามารถมาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ได้ปรับรูปแบบรายการเป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับภาษาซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 3 คน โดยได้เปลี่ยนพิธีกรจาก ปัญญา นิรันดร์กุล เป็น ซูโม่เจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม และผู้เข้าแข่งขันกลุ่มแรกในยุคเกมโชว์ได้แก่ ดิเรก อมาตยกุล , มยุรา ธนะบุตร และ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก ซึ่งรายการมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง[ต้องการอ้างอิง] โดยมีการเปลี่ยนชื่อรายการด้วย ดังนี้
ชื่อ | ช่วงปี | ระยะเวลาของชื่อรายการ | ออกอากาศ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เวทีทอง | 14 ตุลาคม 2532 - 28 พฤษภาคม 2537 | 4 ปี 7 เดือน 14 วัน | ช่อง 7 | ตั้งแต่ปี 2545 ได้เปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" จนถึงปี 2547 และใช้อีกครั้งตั้งแต่ปี 2548 - ปี 2550 และกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้งตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2565 |
4 พฤษภาคม 2545 - 31 มกราคม 2547 | 2 ปี 8 เดือน 27 วัน | ช่อง 5 | ||
20 สิงหาคม 2548 - 13 มกราคม 2550 | 1 ปี 4 เดือน 24 วัน | |||
1 กันยายน 2562 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 | 2 ปี 5 เดือน 12 วัน | ช่องเวิร์คพอยท์ | ||
เวทีทอง เนเวอร์ดาย (NEVER DIE) | 4 มิถุนายน 2537 - 30 พฤษภาคม 2541 | ช่อง 7 | ||
ช่อง 3 | ||||
เวทีทอง เมจิก (MAGIC) | 6 มิถุนายน 2541 - 27 เมษายน 2545 | |||
ช่อง 5 | ||||
เวทีทอง ซิกส์ทีน (16TH) | 7 กุมภาพันธ์ 2547 - 13 สิงหาคม 2548 | 1 ปี 6 เดือน 6 วัน | ||
เวทีทอง เวทีเธอ | 10 มกราคม 2559 - 25 สิงหาคม 2562 | 3 ปี 7 เดือน 15 วัน | ช่องเวิร์คพอยท์ | รายการ "เวทีทอง" กลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" หลังจากที่ห่างหายไปถึง 8 ปี 11 เดือน 28 วัน |
ภายหลังจากยุคเวทีทองในยุคที่ กิ๊ก-เกียรติ กิจเจริญ และ หม่ำ จ๊กมก-เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา เป็นพิธีกรผ่านพ้นไปแล้ว เวทีทองในยุค แอนดี้ เขมพิมุก และ DJภูมิ-ภูมิใจ ตั้งสง่า นั้น กระแสความนิยมเริ่มลดลง แม้ว่าในช่วงซิกซ์ทีนจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ ด้วยองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ตลอดจนกระแสของรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลทำให้รายการเวทีทอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกย้ายเวลามาอยู่ในวันเสาร์ เวลา 22.00 น.[ต้องการอ้างอิง]
ในปี 2559 ช่องเวิร์คพอยท์ได้ผลิตรายการใหม่เพิ่มอีกหลายรายการ รวมทั้งการนำรายการเวทีทองกลับมาทำใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ"[2] ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 โดยมีพิธีกรคู่ใหม่ คือ เสนาหอย-เกียรติศักดิ์ อุดมนาค และ แจ๊ส ชวนชื่น-ผดุง ทรงแสง[5] ก่อนที่จะเปลี่ยนพิธีกรอีกครั้งจากเสนาหอยเป็น อุล-ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และเปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ดำเนินรายการ
[แก้]ชื่อ | ชื่อในวงการ | ช่วงปี | ระยะเวลาที่เป็นพิธีกร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ปัญญา นิรันดร์กุล | 14 ตุลาคม 2532 - 24 กุมภาพันธ์ 2533 | 4 เดือน 10 วัน | ||
วัชระ ปานเอี่ยม | ซูโม่เจี๊ยบ | 3 มีนาคม 2533 - 25 เมษายน 2535 | 1 ปี 1 เดือน | |
เสกสรรค์ ชัยเจริญ | หนุ่มเสก | 16 พฤษภาคม - 12 กันยายน 2535 | 3 เดือน 27 วัน | เป็นพิธีกรที่อยู่ได้สั้นที่สุด |
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา | หนุ่มหม่ำ | 16 พฤษภาคม 2535 - 31 มกราคม 2547 | 11 ปี 8 เดือน 15 วัน | (ช่วงแรกใช้ชื่อว่า หนุ่มหม่ำ เพื่อให้คล้องจองกับ หนุ่มเสก) เป็นพิธีกรที่อยู่ได้นานที่สุดคู่กับซูโม่กิ๊ก
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 16 ธันวาคม 2561 หม่ำ จ๊กมก ได้กลับเข้ามาในรายการเวทีทองอีกครั้งในฐานะผู้เข้าแข่งขันในยุคซิกซ์ทีนและยุคเวทีทอง เวทีเธอ |
หม่ำ จ๊กมก | ||||
เกียรติ กิจเจริญ | ซูโม่กิ๊ก | 19 กันยายน 2535 - 31 มกราคม 2547 | 11 ปี 4 เดือน 11 วัน | เป็นพิธีกรที่อยู่ได้นานที่สุดคู่กับหม่ำ ในช่วงที่ซูโม่กิ๊กรับหน้าที่เป็นพิธีกร เขายังรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ของรายการด้วย |
แอนดี้ เขมพิมุก | แอนดี้ DRAGON FIVE | 7 กุมภาพันธ์ 2547 - 13 มกราคม 2550 | 2 ปี 11 เดือน 6 วัน | |
ภูมิใจ ตั้งสง่า | DJ ภูมิ | |||
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค | เสนาหอย | 10 มกราคม 2559 - 30 มิถุนายน 2562 | 3 ปี 5 เดือน 20 วัน | |
ผดุง ทรงแสง | แจ๊ส ชวนชื่น | 10 มกราคม 2559 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 | 6 ปี 1 เดือน 3 วัน | |
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา | อุล หกฉาก | 14 กรกฎาคม 2562 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 | 2 ปี 7 เดือน 6 วัน |
รูปแบบรายการ
[แก้]รายการเวทีทองจะแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของรายการและปีที่ออกอากาศ ดังนี้
ชื่อช่วง | ช่วงปี | หมายเหตุ |
---|---|---|
ช่วงที่ 1 | ||
โชว์ความสามารถ | 2532 - 2533 | |
สกัดดาวรุ่ง | 2533 - 2535 | |
ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก) | 2536 - 2550 | |
2559 - 2565 | ||
ช่วงที่ 2 | ||
โชว์ความสามารถ ช่วงที่ 2 | 2532 - 2533 | |
หาดาวทอง (คำปริศนา) | 2533 - 2545 | |
พาดหัวข่าว | 2545 - 2547 | |
คำปริศนา | 2547 - 2550 | |
2559 - 2565 | ||
ข้อความปริศนา | ||
รอบตกรอบ (หาดาวเทียม) | 2533 - 2535 | |
กล่องทองคำ (1 บาท / 5 บาท) | 2535 - 2539 | |
เปิดแผ่นป้ายสะสมทอง | 2539 - 2550 | |
ช่วงที่ 3 (รอบ JACKPOT,BONUS) | ||
ช่วงชิงชนะเลิศ | 2532 - 2533 | |
ชั่งทอง | 2533 - 2545 | |
2562 - 2565 | ||
เปิดแผ่นป้ายชิงทอง | 2545 - 2550 | |
กล่องทองคำปริศนา (ชิงทอง) | 2559 - 2562 |
กติกา
[แก้]ยุคซูโม่เจี๊ยบ (2533 - 2535) / หนุ่มเสก-หนุ่มหม่ำ (2535)
[แก้]สกัดดาวรุ่ง
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีคำปริศนา 2 คำ โดยจะมาในรูปแบบ VTR มาให้ผู้เข้าแข่งขันได้ดูเพื่อจับใจความถึงคำๆ นั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกดปุ่มให้ไฟติด โดยจะมี 3 ปุ่ม แต่ละปุ่มจะอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน (หน้า/ล่าง/หลัง) และปุ่มของแต่ละโพเดียมจะมีสัญลักษณ์ต่างกัน (สามเหลี่ยม/วงกลม/สี่เหลี่ยม) หากไฟติดที่ใคร คนนั้นจะมีสิทธิ์ตอบก่อน ต่อมาเป็นปุ่มเหยียบในช่อง สี่เหลี่ยม 25 ปุ่ม หากตอบถูกจะได้ผ่านเข้ารอบไปก่อน หากไม่มั่นใจก็สามารถโยนสิทธิ์ให้ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นได้ แต่ถ้าหากตอบผิด คะแนนจะติด –1 หากตอบผิดครบ 4 ครั้ง คะแนนจะกลายเป็น -4 (ต่อมาลดเหลือ 3 ครั้ง คะแนนจะกลายเป็น -3) หรือ ทำคะแนนได้น้อยกว่าผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่เหลือ ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะตกรอบทันที หลังจากนั้นทางรายการจะมีคำใบ้มาให้ผู้เข้าแข่งขันเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคนที่ตอบถูก แต่ในบางสัปดาห์ก็จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านมาร่วมแข่งขันกับดารารับเชิญ
หาดาวทอง (คำปริศนา)
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่น CD 4 แผ่น แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาก่อนมีสิทธิ์เลือกแผ่น CD [ต่อมาในเวทีทอง ยุคที่ 3 เปลี่ยนจาก CD เป็นพีรมิตข้อมูล] และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 45 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นความหมายหรือคำที่เกี่ยวข้องกับคำๆ นี้ หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" พิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ และพออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด หลังจากตอบคำปริศนาครบทั้ง 2 ชุด ผู้แข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากกว่า จะกลายเป็นดาวทองหรือแชมป์ประจำสัปดาห์ทันที หากผู้แข่งขันทำคะแนนเสมอกัน จะต้องตอบคำถามชุดพิเศษ หากผู้แข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าก็จะเป็นดาวทอง แต่หากเสมอกันอีกก็ต้องแข่งกันจนกว่าจะมีผู้ชนะ ในช่วงปี 2535 หากผู้เข้าแข่งขันทำคะแนน 30 คะแนนได้รับทอง 1 บาท
ชั่งทอง
[แก้]ก่อนจะเข้าไปเล่นเกมชั่งทอง ผู้แข่งขันที่เป็นดาวทองจะได้รับเหรียญดาวทองในการรักษาตำแหน่ง และดาวทองยังมีสิทธิ์กลับมารักษาตำแหน่งดาวทองจนกว่าจะมีดาวทองคนใหม่ หากผู้เข้าแข่งขันดาวทองสามารถรักษาตำแหน่งทุก 3 สมัย จะได้รับตั๋วเครื่องบินกรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น จากสายการบิน ANA ออล นิปปอน แอร์เวย์ ในส่วนของแผ่นป้ายนั้น มีแผ่นป้ายทั้งหมด 10 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้ายจะมีสิ่งของที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยเลือกมา 1 แผ่นป้าย เปิดเจออะไรจะได้ของชิ้นนั้น และนำไปแปรสภาพเป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ต่อมาเปลี่ยนแผ่นป้ายเป็น 5 ครั้ง 8 แผ่นป้าย ที่เหลือเป็นเลข 4 และเลข 6 โดยเลือกมา1ป้าย ถ้าเจอเลข 4 ผิดได้ 1 ครั้ง ถ้าเจอเลข 5 ผิดได้ 2 ครั้ง ถ้าเจอเลข 6 ผิดได้ 3 ครั้ง หากสามารถหยิบของที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป ครบทั้ง 3 ชิ้น จากทั้งหมด 15 ชิ้น โดยกำหนดการชั่งไว้ที่ 5 ครั้ง สามารถผิดได้ 2 ครั้ง หากหยิบของนำมาชั่งผิดเป็นครั้งที่ 3 เกมจะยุติลงทันที ต่อมาได้เป็นผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนดจากป้าย ในส่วนของตาชั่งนั้น จะกำหนดเขตไว้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสีทองคือเขตของน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป และส่วนที่เป็นสีเทาคือเขตของน้ำหนักที่มีน้อยกว่า 1 กิโลกรัม
ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการทายจำนวนน้ำหนัก โดยก่อนเล่นมี ป้าย ทั้งหมด 10 ป้าย เป็นเลข 5 อยู่ 8 ป้าย 4และ6 อย่างละป้าย โดยเลือกมา 1 ป้าย ถ้าเจอเลข 4 ผิดได้ 1 ครั้ง เลข 5 ผิดได้ 2 ครั้ง เลข 6 ผิดได้ 3 ครั้ง ก่อนจะทายน้ำหนักผู้เข้าขันต้องยกน้ำหนักสิ่งของ 30 วินาที พอยกเสร็จผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกของแล้วทายจำนวนน้ำหนัก หากทายให้น้ำหนักอยู่ในขีดทอง ครบ 3 ครั้ง ได้รับทองคำ 1 กก. ผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนด เกมจะยุติลง
ยุคกิ๊ก-หม่ำ (2535 - 2547)
[แก้]ในยุคที่เปลี่ยนแปลงพิธีกรจาก หนุ่มเสก-เสกสรร ชัยเจริญ มาเป็น ซูโม่กิ๊ก-เกียรติ กิจเจริญ รายการเวทีทองได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบและกติกาใหม่ตามปีที่ออกอากาศ ดังนี้
สกัดดาวรุ่ง (2535)
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีคำปริศนา 2 คำ โดยจะมาในรูปแบบ VTR มาให้ผู้เข้าแข่งขันได้ดูเพื่อจับใจความถึงคำๆ นั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเหยียบปุ่มให้ไฟติด โดยจะมี 25 ปุ่มในช่องสี่เหลี่ยมคล้าย dancing pad หากไฟติดที่ใคร คนนั้นจะมีสิทธิ์ตอบก่อน หากตอบถูกจะได้ผ่านเข้ารอบไปก่อน หากไม่มั่นใจก็สามารถโยนสิทธิ์ให้ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นได้ แต่ถ้าหากตอบผิด คะแนนจะติด –1 หากตอบผิดครบ 3 ครั้ง คะแนนจะกลายเป็น -3 หรือ ทำคะแนได้น้อยกว่า 2 คนที่เหลือ ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะตกรอบทันที หลังจากนั้นทางรายการจะมีคำใบ้มาให้ผู้เข้าแข่งขันเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคนที่ตอบถูก แต่ในบางสัปดาห์ก็จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านมาร่วมแข่งขันกับดารารับเชิญ
ปริศนาจ๊กมก (2536 - 2547)
[แก้]ทางรายการจะมีภาพปริศนาทั้งหมด 5 ภาพให้ผู้เข้าแข่งขันเห็น ซึ่งแต่ละภาพจะเป็นผลงานของทีมงานที่ทำขึ้นมาเองหรือจะเป็นผลงานจากทางบ้านก็ได้ โดยหม่ำ จ๊กมก จะเป็นผู้ที่คัดเลือกภาพผลงานของทางบ้านมา ในแต่ละสัปดาห์หากภาพผลงานของใครได้รับออกอากาศจะได้ของรางวัลจากทางรายการ (ในปี 2536 ยังเป็นภาพผลงานที่คิดขึ้นเองจากทีมงาน) และซูโม่กิ๊กจะเป็นผู้อธิบายภาพ คอยให้คำใบ้ไปคร่าว ๆ และบอกว่าภาพนี้มีกี่พยางค์ ผู้แข่งขันจะต้องเหยียบปุ่มไฟที่พื้น 25 ปุ่ม ต่อมาลดเหลือ 16 ปุ่ม หากไฟติดที่ใคระมีสิทธิตอบก่อน และต้องตอบออกมาภายในเวลา 7 วินาที หากคำตองยังไม่ถูกตอบออกมาผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปก็จะมีสิทธิ์ตอบ หากยังตอบไม่ได้อีก พิธีกรจะใบ้เพิ่มและหากผู้เข้าแข่งขันตอบได้ 2 คะแนนก่อนจะได้เข้ารอบ สำหรับผู้ที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 1 บาทจากทางรายการ
คำปริศนา (2535 - 2545)
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีพีรมิดข้อมูล 4 ชุด แบ่งเป็นคู่ละ 2 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน [ในช่วงปี 2536 - 2541 (เวทีทอง ยุคที่ 3 สมัยกิ๊ก-หม่ำและยุค NEVER DIE) เปลี่ยนจากพีรมิตข้อมูลมาเป็นแผ่นดิสก์ และเปลี่ยนจากแผ่นดิสก์เป็นแผ่น CD ตั้งแต่ปี 2541 (เวทีทอง MAGIC)และในช่วงปี40 มี4ชุด แบ่งเป็นคู่ละ 2 ชุด ชุดละ 8 คำ ชุดที่1,2จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ชุดที่3,4 จะมีคะแนนชุดละ 4 คะแนน] ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบมาก่อนจะมีสิทธิ์เลือกชุดคำปริศนา ส่วนคนที่มีคะแนนน้อยกว่าหลังจากเล่นชุด1,2 มีสิทธิ์เลือกชุดคำปริศนา(ในช่วงปี2540ก่อนเล่นใครมีคะแนนน้อยจากรอบทายตัวอักษรมีสิทธิ์ได้เล่นก่อน)และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 45 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นความหมายหรือคำที่เกี่ยวข้องกับคำๆ นี้ หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" และพิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ พออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด หลังจากตอบคำปริศนาครบทั้ง 2 ชุด ผู้แข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากกว่า จะกลายเป็นผู้ชนะทันที (ในปี 2535 ผู้ชนะจะได้รับเหรียญดาวก่อนชั่งทอง) หากผู้แข่งขันทำคะแนนเสมอกัน จะต้องตอบคำถามชุดสำรองอีกคนละ 1 ชุด หากผู้แข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ โดยทั้ง 2 รอบ หากผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ครบ 30 คะแนน จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท จะได้ทองคำพิเศษหนัก 1 บาท (2537 ช่วงที่โทรทัศน์สี DISTAR เป็นผู้สนับสนุนมอบรางวัล รางวัลพิเศษที่ได้ไป คือ โทรทัศน์สีขนาด 14 นิ้ว 1 เครื่องและในช่วงปี40จะเป็น96คะแนนหรือมากกว่า 96 คะแนนโดยจะสะสมคะแนนจากรอบทายตัวอักษร)
ทายตัวอักษร (2540)
[แก้]กติกา คือ โดยก่อนที่จะเล่นจะต้องเลือกแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุน 10 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีเวลากำหนดไว้ 3 เวลา คือ 30 วินาที , 60 วินาที อย่างละ 1 แผ่นป้าย และ 45 วินาที 8 แผ่นป้าย โดยเลือกมารอบละ 1 แผ่นป้าย ได้เวลาเท่าไหร่จะเป็นเวลากำหนดในการอ่านประโยคปริศนา และในส่วนของชุดประโยคนั้นจะมีทั้งหมด 4 ชุด แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 1 วรรคต่อ 1 แผ่น รวมทั้งหมด 10 แผ่น โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน โดยแต่ละวรรคตอน ตัวอักษรจะแทนที่ด้วยสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอักษรตัวนั้น (เช่น ตัวอักษร ช.ช้าง จะเป็นรูปช้างมาแทนที่ , ตัวอักษร ซ.โซ่ จะเป็นรูปโซ่มาแทนที่ เป็นต้น) และจะต้องอ่านให้ถูกต้องตามเวลาที่ได้มา หากอ่านวรรคไหนไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" พิธีกรก็จะนำวรรคที่อ่านไม่ได้ไปซ้อนไว้ข้างหลัง และอ่านวรรคใหม่ ส่วนวรรคที่อ่านได้ถูกต้องจะนำมาวางไว้ข้างล่าง และพอครบ 10 วรรค พิธีกรจะนำวรรคเดิมที่อ่านไม่ได้วนกลับมาอีกครั้ง โดยทั้ง 2 รอบ
พาดหัวข่าว (2545 - 2547)
[แก้]กติกา คือ จะมีโจทย์จากภาพหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ แบ่งเป็นรอบละ 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 มีคะแนนตำแหน่งละ 1 คะแนน ส่วนฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 มีคะแนนตำแหน่งละ 2 คะแนน ในแต่ละโจทย์จะแยกออกมาเป็น 9 คำ โดยจะต้องเรียงหัวข้อข่าวให้ถูกต้องภายในเวลา 45 วินาที หากทั้ง 2 รอบ ผู้แข่งขันสามารถเรียงหัวข้อข่าวให้ถูกครบ 9 ตำแหน่ง ภายในครั้งแรก จะได้รับทองคำพิเศษหนัก 1 บาท (ในรอบนี้มีคะแนนเต็มทั้งหมด 27 คะแนน)
ชั่งทอง (2535 - 2545)
[แก้]ก่อนจะเข้าไปเล่นเกมชั่งทอง จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 10 แผ่นป้าย [ในปี 2539 เพิ่มจำนวนป้ายเป็น 12 แผ่นป้าย ในปี 2541-2542 เปลี่ยนเป็นป้ายเลข 1-12 ที่ประกอบด้วยผู้สนับสนุนรายการเดี่ยว 12 แผ่นป้าย(ในวันที่ 6 มิถุนายน 2541 เป็นKopiko ต่อมาช่วง กรกฎาคมเป็น แผ่นอนามัย โซฟี) และกลับมาใช้เป็นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้ายอีกครั้ง] โดยแต่ละแผ่นป้ายจะมีพีระมิดเลข 5 อยู่ 1 แผ่นป้าย และพีระมิดเลข 6 อยู่ 9 แผ่นป้าย [ในปี 2539 เพิ่มเป็น 11 แผ่นป้าย และในช่วงก่อนวันที่ 6 มิถุนายน 2541 ได้เปลี่ยนจากพีระมิดเป็นแผ่นป้าย] โดยเลือกมา 1 แผ่นป้าย หากผู้แข่งขันเปิดเจอเลข 6 จะต้องชั่งของทั้งหมด 6 ครั้ง แต่ถ้าหากเปิดเจอเลข 5 จะได้รับทองคำพิเศษหนัก 1 บาท และมีโอกาสชั่งของทั้งหมด 5 ครั้ง จากของทั้งหมด 6 ชุด (ในช่วงปี2536-2537,2541-2544ไม่มีการแจกทองคำพิเศษ โดยเริ่มมีการแจกทองคำพิเศษในช่วงปี 2537 - 2540,2544-2545)
ในส่วนของการชั่งของนั้น จะมีของทั้งหมด 6 ชุด โดยแต่ละชุดจะมีน้ำหนักไม่เท่ากันทั้งหมด และในแต่ละชุดหากทายมาแล้วมีน้ำหนักมากกว่าชุดก่อนหน้า โดยแน่นอนว่าของชุดที่ 1 น้ำหนักจะมากกว่า 0 กิโลกรัมแน่นอน จะได้รับทองคำชุดละ 1 บาท (ในกรณีได้ชั่งของ 5 ครั้ง หากสามารถทายถูกในชิ้นที่ 4 จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท [ในช่วงที่จะเตรียมชั่งของนั้น คุณหม่ำถือสร้อยคอทองคำไว้ 5 เส้น และตั้งแต่ปี 2544 คุณหม่ำถือสร้อยคอทองคำไว้ 10 เส้น(ผู้ร่วมสนับสนุนทองคำ คือ ลิโพ ต่อมาเป็น ดีแม็ค เจล และเพี๊ยซโฟม ตามลำดับ จาก 2539 ไปจนถึง 2540)] และตั้งแต่ปี 2544 ได้เพิ่มเป็นทองคำครั้งละ 2 บาท ต่อของ 1 ชุด และหากสามารถทายถูกในชิ้นที่ 4 ในจำนวนครั้งของการชั่งของ 5 ครั้ง จะได้รับทองคำหนัก 4 บาท) หากทายลำดับสิ่งของผิดลำดับ เกมจะยุติลงและรับทองเท่าทำได้ หากผู้แข่งขันทายลำดับสิ่งของจากน้ำหนักน้อยไปหาน้ำหนักมากได้ครบ 5 หรือ 6 ชุด (ตามจำนวนครั้งที่ได้จากการเปิดป้าย) จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม[ในยุคเวทีทองปี41-42ผู้เข้าแข่งขันทำแจ๊คผอตแตกจะได้รับทองคำหนัก2กิโกกรัม10บาท โดยจะแบ่งคนละ1กก.ให้กับทางบ้านและผู้เข้าแข่งขัน ส่วนทางร้านค้ารับทอง 10 บาท(ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ โกดัก ต่อมาเป็นห้างทองทวีชัย5 แดนเนรมิต ดัชมิลล์ โกปิโก้ เบงเบง ไบก้อน และ เบญจา ตามลำดับ)]
ส่วนในยุค 2535 ในรอบชั่งทองเป็นการทายจำนวนน้ำหนัก โดยก่อนเล่นมี ป้าย ทั้งหมด 10 ป้าย เป็นเลข 5 อยู่ 8 ป้าย 4และ6 อย่างละป้าย โดยเลือกมา 1 ป้าย ถ้าเลือกเลข 5 ผิดได้ 2 ชิ้น ถ้าเลือกเลข 6 ผิดได้ 3 ชิ้น ถ้าเลือกเลข 4 ผิดได้ 1 ชิ้น พอเลือกป้ายเสร็จแล้ว ก่อนจะทายน้ำหนักผู้เข้าขันต้องยกน้ำหนักสิ่งของ 30 วินาที พอยกเสร็จผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกของแล้วทายจำนวนน้ำหนัก หากทายให้น้ำหนักอยู่ในขีดทอง ครบ 3 ครั้ง ได้รับทองคำ 1 กก. ผิดเกินป้ายจำนวนครั้งที่กำหนด เกมจะยุติลง
ก่อนเล่นเกมชั่งทองในปี 2535 หากได้รับดาวทองครบ 3 สมัย รับทอง10บาท
เปิดแผ่นป้ายชิงทอง (2545 - 2547)
[แก้]กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในช่วงแรกจะเป็นการเปิดป้ายเพื่อประกอบตัวอักษรเป็นข้อความ โดยจะมีตัวอักษร 2 ชุด ชุดละ 6 แผ่นป้าย ชุดหนึ่งจะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน โดยจะแยกเป็น โ-อ-วั-ล-ติ-น) และอีกชุดหนึ่งจะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ (เ-ว-ที-ท-อ-ง) สำหรับเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย ให้ได้ชุดตัวอักษรที่เป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการหลัก ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดได้จะได้ทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษร (เ-ว-ที-ท-อ-ง) จะไม่ได้รับทองคำในแผ่นป้ายนั้น แต่ถ้าหากผู้เล่นสามารถเปิดเจอชุดอักษรที่ประสมกันเป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการ (โ-อ-วั-ล-ติ-น) ได้ครบ 6 แผ่นป้าย และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนกติกาใหม่เล็กน้อยโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง 6 แผ่นป้าย และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้ชุดตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของรายการเวทีทอง และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดได้แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับกิ๊ฟเซ็ทของผู้สนับสนุนหลักไปแผ่นป้ายละ 1 ชุด หากเปิดได้ตัวอักษรคำว่า เ-ว-ที-ท-อ-ง ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม
แต่ถ้าหากเจอผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 1 กิโลกรัม พร้อมกับกิ๊ฟเซท6ชุด โดยทางผู้เข้าแข่งขันได้รับแค่ฝ่ายเดียว ส่วนผู้เข้าแข่งขันรับทองคำหนัก 1 บาท ปกติ
ในช่วงปลายปี 2545 จนถึงปี 2547 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้ายตัวอักษร เ-ว-ที-ท-อ-ง แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนรายการเพียงอย่างเดียว (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผลิตภัณฑ์วาสลีน ฮาร์โมนี โดยจะแบ่งเป็น 3 สูตร สูตรละ 2 แผ่นป้าย ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นผงซักฟอกโอโม และ น้ำรสผลไม้ QOO ตามลำดับ) ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย ส่วนอีก 6 แผ่นป้ายเป็นป้ายทองหลอก 6 แผ่นป้ายซึ่งจะมี ดังนี้
- ต้นทองพันชั่ง
- ปลาทอง (ในรายการจะเรียกว่า ทองหัววุ้น)
- มะม่วงทองดำ
- ทองคำเปลว
- ก๊อกน้ำทองเหลือง
- ทองม้วน
โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายทองหลอก จะได้รับรางวัลเป็นสิ่งของซึ่งมาจากป้ายทองหลอกนั้น (เช่น ถ้าเปิดได้ปลาทอง จะได้ปลาทอง เป็นต้น เช่นเดียวกับรอบตกรอบปี 2548 - 2549) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้แผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม
ยุคแอนดี้-ภูมิ (เวทีทอง ซิกส์ทีน) (2547 - 2550)
[แก้]ในยุคที่เปลี่ยนแปลงพิธีกรจาก ซูโม่กิ๊ก-เกียรติ กิจเจริญ และ หม่ำ จ๊กมก-เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา มาเป็น แอนดี้ เขมพิมุก และ VJ ภูมิ-ภูมิใจ ตั้งสง่า รายการเวทีทองได้เปลี่ยนแปลงฉากในบรรยากาศสนามบาสเกตบอล (2547-2548) ต่อมาปรับฉากเล็กน้อยเป็นโรงเรียน High School (2548-2550) แต่กติกายังคงรูปแบบเดิม
ภาพปริศนา
[แก้]ทางรายการจะมีภาพปริศนาทั้งหมด 5 ภาพให้ผู้เข้าแข่งขันเห็น ซึ่งแต่ละภาพจะเป็นผลงานของทีมงานที่ทำขึ้นมาเองหรือจะเป็นผลงานจากทางบ้านก็ได้ ในแต่ละสัปดาห์หากภาพผลงานของใครได้รับออกอากาศจะได้เงินรางวัล 1,000 บาทจากผู้สนับสนุน โดยก่อนตอบนั้นผู้แข่งขันจะต้องเหยียบปุ่มไฟ ทั้งหมด 4 ปุ่ม หากไฟติดที่ใครจะมีสิทธิตอบก่อน และต้องตอบออกมาภายในเวลา 7 วินาที หากคำตอบยังไม่ถูกตอบออกมาผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปก็จะมีสิทธิ์ตอบ หากยังตอบไม่ได้อีก พิธีกรจะใบ้เพิ่ม และหากผู้เข้าแข่งขันตอบได้ 2 คะแนนก่อนจะได้เข้ารอบ สำหรับผู้ที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 1 บาทจากทางรายการ
คำปริศนา
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่น CD 4 แผ่น แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบมาก่อนจะมีสิทธิ์เลือกแผ่น CD และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 45 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นภาพที่สื่อถึงคำ ๆ นั้น เช่น ภาพหน้าเว็บไซต์ หน้าหนังสือต่างๆ เป็นต้น หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" และพิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ พออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด หลังจากตอบคำปริศนาครบทั้ง 2 ชุด ผู้แข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากกว่า จะกลายเป็นผู้ชนะทันที หากผู้แข่งขันทำคะแนนเสมอกัน จะต้องตอบคำถามชุดสำรองอีกคนละ 1 ชุด หากผู้แข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ โดยทั้ง 2 รอบ หากผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ครบ 30 คะแนน จะได้ทองคำพิเศษหนัก 1 บาท (ตั้งแต่ปี 2549 ได้เปลี่ยนรูปแบบการแจกทองคำหนัก 1 บาทมาเป็นทองคำมูลค่า 10,000 บาท)
เปิดแผ่นป้ายชิงทอง
[แก้]กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ น้ำรสผลไม้ QOO) และแผ่นป้าย "คุณครูครับ" 6 แผ่นป้าย โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้าย "คุณครูครับ" จะต้องตอบคำถามจากคุณครูที่ดังขึ้นในห้องส่ง และถ้าตอบถูก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 1 สลึง ถ้าตอบผิดจะไม่ได้รับทองคำในแผ่นป้ายนั้นไป หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม แต่ในกรณีกลับกัน หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอแผ่นป้าย "คุณครูครับ" ครบ 6 แผ่นป้าย และตอบถูกทั้ง 6 ครั้ง จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท 2 สลึง โดยจะได้เฉพาะผู้เข้าแข่งขัน
ต่อมาเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 9 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือ แป้งเย็นชาวเวอร์ ทู ชาวเวอร์ โดยจะแบ่งเป็น 3 สูตร สูตรละ 3 แผ่นป้าย) และแผ่นป้าย "สุดหล่อสุดร้อน" 3 แผ่นป้าย โดยจะมีแผ่นป้ายตัวตั้ง และเลือกมา 6 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่สีตรงกัน กลิ่นตรงกัน จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท แต่หากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่สีและกลิ่นไม่ตรงกัน จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 สลึง แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้าย "สุดหล่อสุดร้อน" จะไม่ได้รับทองคำในแผ่นป้ายนั้นไป หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักผู้สนับสนุนหลักที่สีตรงกัน กลิ่นตรงกันครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 1 กิโลกรัม (ในปี 2549 ได้เปลี่ยนรูปแบบการแจกทองคำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาท)
ยุคเสนาหอย-แจ๊ส (เวทีทอง เวทีเธอ) (2559 - 2562) / ยุคแจ๊ส-อุล (2562 - 2565)
[แก้]ในปี 2558 นั้น มีข่าวมาว่ารายการในตำนานอย่าง "เวทีทอง" จะกลับมาอีกครั้ง โดยเดิมนั้นได้เปิดเผยชื่อแรกที่ใช้ว่า "เวทีทอง 2015" พร้อมทั้งมีการคาดเดาถึงคนที่จะมาเป็นพิธีกร เช่น กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์, พัน พลุแตก, ศิลป์ รุจิรวนิช (อาร์ต ตลก 6 ฉาก), แจ็ค เชิญยิ้ม รวมทั้งพิธีกรคู่หูในตำนานอย่าง เกียรติ กิจเจริญ และ หม่ำ จ๊กมก ก็ถูกคาดเดาที่จะให้มาเป็นพิธีกรเช่นกัน[6] จนในปี 2559 นั้น ช่องเวิร์คพอยท์ได้ผลิตรายการใหม่เพิ่มอีกหลายรายการ รวมทั้งรายการ "เวทีทอง" ที่ได้นำกลับมาอีกครั้ง จนได้พิธีกรคู่ใหม่เป็น เสนาหอย-เกียรติศักดิ์ อุดมนาค และ แจ๊ส ชวนชื่น-ผดุง ทรงแสง พร้อมทั้งชื่อใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" โดยรูปแบบเกมในยุคนี้ยังคงจากรูปแบบเดิมทุกประการ แต่ได้เพิ่มเกมใหม่ และเปลี่ยนรูปแบบเกมในรอบสุดท้าย รวมทั้งฉากและชุดพิธีกรที่มาในธีมยุค 70s (2559-2562) ต่อมาปรับฉากใหม่ในธีม EDM (2562-2565) แต่จะต่างจากยุคที่ผ่าน ๆ มาตรงที่รูปแบบนี้จะเล่นในรูปแบบสะสมคะแนน ซึ่งในรูปแบบก่อน ๆ จะเล่นในรูปแบบคัดออกในแต่ละรอบ รวมทั้งมีการนำเกมในตำนานอย่าง "ชั่งทอง" กลับมาอีกครั้งในปี 2562 อีกด้วย และในวันที่ 14 กรกฎาคม 2562 มีการเปลี่ยนพิธีกรจาก เสนาหอย-เกียรติศักดิ์ อุดมนาค มาเป็น อุล-ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา และเป็นพิธีกรคู่กันจนถึงเทปสุดท้ายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565
ภาพปริศนา
[แก้]ทางรายการจะมีภาพปริศนาทั้งหมด 2 ภาพให้ผู้เข้าแข่งขันเห็น ซึ่งแต่ละภาพจะเป็นผลงานของทีมงานที่ทำขึ้นมาเองหรือจะเป็นผลงานจากทางบ้านก็ได้ ในแต่ละสัปดาห์หากภาพผลงานของใครได้รับออกอากาศจะได้ของรางวัลจากทางรายการ โดยก่อนตอบนั้นผู้แข่งขันจะต้องเหยียบปุ่มไฟ หากไฟติดที่ใครจะมีสิทธิตอบก่อน และมีเวลาตอบภายในเวลา 7 วินาที หากคำตอบยังไม่ถูกตอบออกมาผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปก็จะมีสิทธิ์ตอบ หากยังตอบไม่ได้อีก พิธีกรจะใบ้เพิ่มต่อไป จนกว่าจะมีผู้ที่ตอบถูก โดยในแต่ละภาพจะมีคะแนนภาพละ 10 คะแนน โดยใครที่ได้คะแนนก่อนจะเป็นลำดับที่ 1 , 2 และ 3 ตามลำดับ
ต่อมามีการปรับกติกาเล็กน้อย โดยจะมีภาพปริศนาทั้งหมด 4 ภาพให้ผู้เข้าแข่งขันเห็น แต่คะแนนในแต่ละภาพจะมีคะแนนภาพละ 5 คะแนน และมีเวลาตอบภายในเวลา 10 วินาทีเฉพาะครั้งแรก หากคำตอบยังไม่ถูกตอบออกมาผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปก็จะมีสิทธิ์ตอบ แต่เวลาตอบจะลดเหลือ 7 วินาที โดยผู้ที่ตอบได้ 2 ภาพก่อน จะได้สิทธิ์พักการเล่นเพื่อดูผู้แข่งขันท่านอื่นเล่นต่อไป
คำปริศนา
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่นดิสก์ 3 แผ่น (ในยุคแจ๊ส-อุล ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น USB Flash Drive) แบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยแต่ละชุดจะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนเป็นลำดับที่ 1 จะมีสิทธิ์เลือกแผ่นดิสก์ และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 60 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นความหมายหรือคำที่เกี่ยวข้องกับคำ ๆ นี้ หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" และพิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ พออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด และคะแนนที่ได้ในรอบนี้จะนำไปรวมกับรอบที่ 1
ข้อความปริศนา
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่นดิสก์ 3 แผ่น (ในยุคแจ๊ส-อุล ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น USB Flash Drive) แบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยแต่ละชุดจะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนเป็นลำดับที่ 3 จะมีสิทธิ์เลือกแผ่นดิสก์ และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 60 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะเป็นคำกำหนด แต่คำหลังจะเป็นคำใกล้เคียงที่เกี่ยวกับคำ ๆ นั้น เช่น ประโยคภาษาอังกฤษที่แปลเป็นคำ ๆ นั้น , คำตรงกันข้าม เป็นต้น หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" และพิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ พออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด และคะแนนที่ได้ในรอบนี้จะนำไปรวมกับ 2 รอบก่อนหน้า ต่อมาปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย คือ ผู้ที่ทำคะแนนสูงที่สุดจะได้เข้าไปในรอบสุดท้าย และอีก 2 ท่านที่ทำคะแนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นผู้ที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป ส่วนอีก 2 ท่านจะได้เข้ารอบไปแข่งขันกันต่อในรอบสุดท้าย
กล่องทองคำปริศนา (ชื่อเดิม : ชิงทอง) (2559 - 2562)
[แก้]กติกา คือ ทางรายการจะมีกระเป๋า 4 ใบ (ในรูปแบบแรกนั้นจะเป็นกระเป๋าที่มีหมายเลขกำกับ ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเป๋า 4 สี คือ สีเหลือง สีน้ำเงิน สีแดง และสีเขียว) ในแต่ละใบจะมีจำนวนทองตั้งแต่ 0-9 แท่ง โดยผู้แข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เลือกกระเป๋าก่อน และตามด้วยผู้แข่งขันที่มีคะแนนรองลงมา และแต่ละคนมีสิทธิ์ดูกระเป๋าที่ตัวเองได้เลือกมา โดยเริ่มเปิดกระเป๋าจากผู้ที่มีคะแนนน้อยที่สุด และมีสิทธิ์เปลี่ยนกระเป๋าจากผู้แข่งขันท่านอื่นคนละ 1 ครั้ง และจากนั้นจะมีการเฉลยกระเป๋าว่ากระเป๋าของใครมีจำนวนทองคำมากที่สุด โดยผู้ที่หยิบกระเป๋าที่มีจำนวนทองคำมากที่สุด จะได้รับทองคำมูลค่า 30,000 บาท[7] ต่อมาตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2559 เป็นต้นมา ได้ปรับกติกาเล็กน้อย โดยผู้ที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้รับทองคำเพิ่มเติม 1 แท่ง และมีสิทธิ์เปลี่ยนกระเป๋าจากใบที่ไม่ได้เลือกได้อีกด้วย โดยรูปแบบนี้ใช้ตั้งแต่ 17 มกราคม 2559 จนถึง 11 มิถุนายน 2560
ต่อมาตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2560 มีการปรับกติกาใหม่ คือ จะมีกระเป๋าทั้งหมด 4 ใบ โดยจะมีกระเป๋าที่มีทองคำ และกระเป๋าเปล่าอย่างละ 2 ใบ โดยผู้แข่งขันจะเปิดดูกระเป๋าก่อนเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจให้ผู้แข่งขันอีกท่านดู และจะมีสิทธิ์เปลี่ยนกระเป๋าคนละ 1 ครั้ง ว่าจะเปลี่ยนกระเป๋าสีอะไร โดยใครที่ได้กระเป๋าที่มีทองคำทั้ง 2 ใบ จะได้รับทองคำมูลค่า 30,000 บาท แต่ถ้าผู้แข่งขันทั้ง 2 ท่านได้กระเป๋าที่มีทองคำและกล่องเปล่าอย่างละ 1 ใบ ทองคำมูลค่า 30,000 บาท จะไม่มีใครได้ไป และถือว่าเสมอกัน ต่อมาลดรางวัลเหลือ 25,000 บาท
ชั่งทอง (2562 - 2565)
[แก้]กติกา คือ จะมีของทั้งหมด 5 ชุด โดยแต่ละชุดจะมีน้ำหนักไม่เท่ากันทั้งหมด และในแต่ละชุดหากทายมาแล้วมีน้ำหนักมากกว่าชุดก่อนหน้า โดยของชุดที่ 1 จะเป็นน้ำหนักตั้งต้น และชุดต่อมาหากมีน้ำหนักมากกว่า จะได้รับทองคำมูลค่าชุดละ 5,000 บาท หากทายลำดับสิ่งของผิด เกมจะยุติลงและรับทองเท่าทำได้ หากผู้แข่งขันสามารถทายสิ่งของโดยเรียงน้ำหนักจากน้อยไปมากได้ครบ 5 ชุด จะได้รับทองคำมูลค่า 25,000 บาท โดยเกมนี้นำกลับมาอีกครั้งในรอบ 17 ปี แต่มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อยตามยุคสมัย
ต่อมาเปลี่ยนกติกาใหม่ จะมีของ 3 ชิ้น ผู้เข้าแข่งขัน 2 คน ที่เข้ารอบจาก คำปริศนา 2 ช่วง จะต้องทายจำนวนน้ำหนัก ถ้า ใครทายน้ำหนักได้ใกล้เคียง รับ ทองคำมูลค่า 5000 บาท ใครทายถูกต้อง จะเป็นผู้ชนะ และได้รับทองมูลค่า 10000 บาท
การดัดแปลงสู่แอปพลิเคชั่นเกม
[แก้]รายการ "เวทีทอง" มีการดัดแปลงเป็นแอปพลิเคชัน ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ ON MOBILE" เป็นแอปพลิเคชั่นประเภทเกมสำหรับใช้งานบน SMART PHONE สร้างโดย Ammonite Studio ซึ่งจะเป็นการนำเกมที่ใช้ในช่วงภาพปริศนาของรายการ เวทีทอง ในยุคต่าง ๆ นำมาทำเป็นระบบหลักของเกมในแอปพลิเคชันนี้ โดยที่ผู้เล่นสามารถตอบได้ทั้ง 2 รูปแบบ คือ พิมพ์คำตอบลงไปและใช้ไมโครโฟนในตัวโทรศัพท์เพื่อพูดคำตอบ และสามารถใช้ไอเท็มในเกมช่วยเหลือได้ แอปพลิเคชันนี้เปิดบริการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559[8]
รางวัล
[แก้]- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 9 ประจำปี 2532 สาขารายการส่งเสริมความสามารถดีเด่น มอบไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม 2533[9]
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 15 ประจำปี 2538 สาขารายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น มอบไว้ ณ วันที่ 19 มกราคม 2539[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ WorkpointOfficial (29 ธันวาคม 2558). เวทีทอง เวทีเธอ Teaser 1. Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559.
{{cite AV media}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "เสนาหอย - แจ๊ส ชวนชื่น นั่งแท่นพิธีกรเกมโชว์ในตำนาน[เวทีทอง เวทีเธอ Workpoint 23 การันตีความสนุก". Dara.Truelife.com. 7 มกราคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผังรายการเดือนมกราคม 2559". Workpointtv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "จวก'เวทีทอง' ภาษาไทยอ่อน". News.Sanook.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ admin (5 มกราคม 2559). "ช่องเวิร์คพอยท์ ส่งเกมโชว์ "เวทีทอง เวทีเธอ" ลงจอ เริ่ม 10 ม.ค.นี้". Zoomzogzag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กลับมาแล้ว!! เวทีทอง 2015". Pantip. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567
- ↑ ในเกมนี้จะคล้ายคลึงกับเกมชิงบ๊วย ของรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ในช่วงปี 2533 - 2535
- ↑ Thaiware (1 ตุลาคม 2559). "เวทีทอง (App เกม เวทีทอง ตอบคำถามภาพปริศนาคำใบ้)". Thaiware.com. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แนะนำรายการ จากเว็บไซต์ WORKPOINT
- เว็บไซต์แฟนเพจรายการ "เวทีทอง เวทีเธอ" อย่างเป็นทางการ ที่เฟซบุ๊ก
- รายการโทรทัศน์โดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
- รายการโทรทัศน์ช่อง 7
- รายการโทรทัศน์ช่อง 3
- รายการโทรทัศน์ช่อง 5
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2532
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1980
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2550
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ถูกนำกลับคืนมาหลังจากถูกยกเลิก
- รายการโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2559
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2565