เลิฟสตอรี (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)
"เลิฟสตอรี" | ||||
---|---|---|---|---|
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ | ||||
จากอัลบั้มเฟียร์เลส | ||||
วางจำหน่าย | 15 กันยายน ค.ศ. 2008 | |||
บันทึกเสียง | มีนาคม 2008 | |||
สตูดิโอ | แบล็กเบิร์ด (แนชวิลล์) | |||
แนวเพลง | คันทรีป็อป | |||
ความยาว | 3:57 | |||
ค่ายเพลง | บิกมะชีน | |||
ผู้ประพันธ์เพลง | เทย์เลอร์ สวิฟต์ | |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์ | ||||
| ||||
มิวสิกวิดีโอ | ||||
"เลิฟสตอรี" ที่ยูทูบ |
"เลิฟสตอรี" (อังกฤษ: Love Story) เป็นเพลงของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ เพลงเขียนโดยสวิฟต์ และผลิตโดยนาธาน แชปแมน ร่วมกับสวิฟต์ เพลงออกจำหน่ายในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2008 ผ่านสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์ เป็นซิงเกิลนำของสตูดิโออัลบั้มที่สองของสวิฟต์ เฟียร์เลส (2008) เนื้อเพลงเล่าเรื่องเกี่ยวกับคนรักของสวิฟต์ที่ไม่เป็นที่นิยมในครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเธอ จากเหตุการณ์จำลองดังกล่าว สวิฟต์นำบทกวี โรเมโอและจูเลียต (1597) ของวิลเลียม เชกสเปียร์ มาใช้เป็นแรงบันดาลใจแต่งเพลงนี้ อย่างไรก็ตาม แทนที่จะจบด้วยเนื้อหาโศกนาฎกรรม เธอแทนที่ด้วยฉากจบแบบมีความสุข (happy ending) เพลงมีจังหวะปานกลาง เสียงร้องแบบโซปราโนเหมือนฝัน ขณะที่เสียงดนตรีเพลงค่อย ๆ ดังขึ้นต่อเนื่อง เนื้อเพลงบอกเล่าจากมุมมองของจูเลียต
เพลงประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยนักวิจารณ์ชื่นชมรูปแบบการเขียนเพลงของสวิฟต์ และเนื้อเรื่องในเพลง เพลงยังประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ขายได้มากกว่า 8 ล้านซิงเกิลทั่วโลก กลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล ในสหรัฐ เพลงขึ้นอันดับที่สี่บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และขายได้ 5.8 ล้านซิงเกิลผ่านดิจิทัลดาวน์โหลด กลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของสวิฟต์นับถึงปัจจุบัน และเป็นซิงเกิลดาวน์โหลดของนักร้องคันทรีหญิงเดี่ยวที่ขายดีที่สุดด้วย เพลงยังเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดในสหรัฐ และเคยเป็นซิงเกิลคันทรีดิจิทัลที่ขายดีที่สุดตลอดกาลด้วย ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับแพลตินัม 8 ครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) ในต่างประเทศ "เลิฟสตอรี" เป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งเพลงแรกในประเทศออสเตรเลีย ตามด้วย "เชกอิตออฟ" ใน ค.ศ. 2014 เพลงได้รับการรับรองระดับแพลตินัม 3 ครั้งจากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงออสเตรเลีย (ARIA) เพลงเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดทั่วโลก ยอดขายมากกว่า 8 ล้านซิงเกิล (จากข้อมูลของสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ หรือ IFPI)
มิวสิกวิดีโอกำกับโดยเทรย์ แฟนจอย ซึ่งเคยกำกับวิดีโอให้กับสวิฟต์แล้วหลายเพลง วิดีโอเป็นละครอิงประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลจากสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยรีเจนซีของอังกฤษ (1813) เนื้อเรื่องติดตามสวิฟต์และนักแสดง จัสติน แกสตัน ขณะพบกันที่มหาวิทยาลัยและจินตการตนอยู่ในยุคเก่า "เลิฟสตอรี" ได้รับการสนับสนุนผ่านการแสดงสดหลายครั้ง เพลงนี้ถูกรวมในทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่ 1-4 ของสวิฟต์ ได้แก่ เฟียร์เลสทัวร์ (2009–10) สปีกนาวเวิลด์ทัวร์ (2011–12) เดอะเรดทัวร์ (2013–14) และ เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ (2015) ตามลำดับ "เลิฟสตอรี" ยังถูกนำไปร้องใหม่โดยศิลปินหลายคน รวมถึงโจ แม็กเอลเดอร์รี และฟอร์เอฟเวอร์เดอะซิกเคสต์คิดส์
การแต่งเพลงและแรงบันดาลใจ
[แก้]เพลง "เลิฟสตอรี" เกิดขึ้นช่วงท้ายการผลิตอัลบั้มเฟียร์เลส[1] สวิฟต์แต่งเพลง "เลิฟสตอรี" เล่าเรื่องเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่ง เธอไม่เคยคบหาเขาจริงจัง เธอแนะนำเขาให้ครอบครัวและเพื่อน ๆ รู้จัก แต่ครอบครัวและเพื่อน ๆ ต่างไม่ปลื้มชายคนนี้[2] "สถานการณ์กับเขานั้นค่อนข้างซับซ้อน แต่ฉันไม่สนใจ" สวิฟต์กล่าว[3] สวิฟต์ยังรู้สึกว่าเป็นครั้งแรกที่เธอเชื่อมโยงเนื้อเพลงเข้ากับบทละครโรเมโอและจูเลียต ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ซึ่งเป็นบทละครที่เธอโปรดปราน เธออธิบายว่า "คนที่อยากให้พวกเขาอยู่ด้วยกันก็คือพวกเขาเอง"[2] เธอได้แนวคิดเกี่ยวกับเพลงนี้เมื่อเธอไตร่ตรองถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "ฉันคิดว่า มันยาก แต่มันเป็นเรื่องจริง มันสำคัญ มันไม่ง่ายแต่มันเป็นเรื่องจริง" จากนั้นเธอแต่งเพลงให้ใจความเกี่ยวข้องกับความคิดดังกล่าว จนในที่สุดได้วางอยู่ในเนื้อเพลง "เลิฟสตอรี" ท่อนรีเฟรนท่อนที่สอง[4] ทุกเหตุการณ์ในเพลง ยกเว้นตอนจบ บรรยายตามเรื่องจริงของสวิฟต์ ตอนท้ายเพลงแตกต่างจากตอนจบของละครโรเมโอและจูเลียต "ฉันรู้สึกว่าพวกเขามีคำมั่นสัญญาต่อกัน และสำหรับพวกเขาแล้วมันต่างก็ดูบ้า และถ้าเนื้อเรื่องดำเนินแตกต่างออกไปบ้าง มันอาจจะเป็นเรื่องเล่าที่ดีที่สุด และเป็นเรื่องราวความรักที่ดีที่สุดเท่าที่มี แต่มันเป็นโศกนาฏกรรม" แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เธอเลือกแต่งให้จบแบบมีความสุข (happy ending)[5] เนื้อเพลงทั้งเพลง ยกเว้นท่อนจบ บรรยายจากเหตุการณ์จริงของสวิฟต์ บทสรุปของเพลงแตกต่างจากละครโรเมโอและจูเลียต "ฉันรู้สึกว่าพวกเขามีคำสัญญาต่อกันและหลงใหลซึ่งกันและกันมาก และถ้าเรื่องราวแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย ก็คงจะเป็นเรื่องราวความรักที่ดีที่สุดเท่าที่จะมีใครเล่าได้ และมันก็เป็นหนึ่งในเรื่องราวความรักหลาย ๆ เรื่องที่ถูกเล่ามา แต่กลับเป็นโศกนาฏกรรม" แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เธอเลือกที่จะแต่งให้จบอย่างมีความสุข[5] เธอใช้ตัวละครที่เธอโปรดปราน และออกแบบแนวคิดในตอนจบใหม่ที่เธอเชื่อว่าเหมาะสมกับพวกเขา[6] เธอเชื่อว่ามันจะเป็นฉากจบในอุดมคติที่ผู้หญิงหลาย ๆ คนหวังให้เป็น รวมถึงเธอด้วย[4] "คุณต้องการผู้ชายสักคนที่ไม่ได้สนใจว่าใครจะคิดอะไร ใครจะพูดอะไร" แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล่า สวิฟต์กล่าวว่ามันเป็นประสบการณ์ที่สนุกดีที่ได้แต่งเพลงออกมาเกี่ยวกับสิ่งนี้[3] สวิฟต์แต่งเพลงนี้บนพื้นห้องนอน ใช้เวลาประมาณ 12 นาที มีความรู้สึกได้แรงบันดาลใจจนนำมาใส่ในเพลงได้ไม่สิ้นสุด[2]
สวิฟต์กับคนรักของเธอสานต่อความสัมพันธ์ต่อไป แต่แยกทางกันในเวลาต่อมา เนื่องจากมาพบกันได้ยาก[5] สำหรับสวิฟต์แล้ว เพลงนี้คล้ายเป็นสุทรรศนนิยมเกี่ยวกับความรักและประเด็นที่ว่าการพบเจอกับคนที่ใช่เป็นเรื่องที่เกินข้อสงสัย[6] เธอมอง "เลิฟสตอรี" เป็นหนึ่งในเพลงที่โรแมนติกที่สุดของเธอ แม้ว่าเธอไม่เคยมีความสัมพันธ์จริงจังกับคนที่กล่าวถึงในเพลง[2] สวิฟต์พูดถึงเพลงเมื่อนึกย้อนกลับไปว่า "มันเกี่ยวกับความรักที่คุณต้องซ่อนไว้เพราะมันไม่มีทางเป็นไปด้วยดี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ฉันนำเสนอในทิศทางของโรเมโอและจูเลียต พ่อแม่ของเราทะเลาะกัน ฉันเชื่อมโยงมันกับความรักที่คุณไม่สามารถประนีประนอมได้ ความรักที่บางครั้งสังคมก็ไม่ยอมรับ [หรือ] บางครั้งเพื่อน ๆ ของคุณก็ไม่ยอมรับ"[7]
การบันทึกเสียง
[แก้]"เลิฟสตอรี" บันทึกเสียงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ที่แบล็กเบิร์ดสตูดิโอส์ในแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี โดยมีนาธาน แชปแมน และอีกหลายคนเป็นโปรดิวเซอร์เพลง[8] แชปแมนผลิตทุกเพลงยกเว้นหนึ่งเพลงในอัลบั้มแรก เทย์เลอร์ สวิฟต์[9] และร่วมผลิตทุกเพลงในอัลบั้มเฟียร์เลส[10] สวิฟต์ร้องเพลงนี้ใส่ไมโครโฟนชนิดแท่งรุ่น เอแวนโทน ซีวี-12 ผลิตโดยเอแวนต์อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโฟนมีแท่งสำรองที่เรย์ เคนเนดี นักร้องคันทรี โปรดิวเซอร์เพลง และวิศวกรเสียง ออกแบบและผลิตให้แชปแมนยืม แชปแมนใช้ไมโครโฟนนี้เป็นการทดลองชั่วคราว แม้ว่าเขาเคยทดสอบไมโครโฟนหลายตัวให้สวิฟต์ เขาไม่เคยหาตัวที่เหมาะกับเสียงร้องของสวิฟต์อย่างสมบูรณ์แบบได้เลย เมื่อสวิฟต์มาที่บ้านของแชปแมนเพื่อปรับแต่งซิงเกิลจากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ เธอชอบไมโครโฟนตัวนี้ทันที[8] "เมื่อเธอสวมไมโครโฟนและพูดว่า 'ทดสอบ' ทันใดนั้น แทบจะทันที เธอกล่าวว่า 'นี่คือไมค์ฉัน ฉันรักไมค์ตัวนี้ ฉันอยากจะใช้ไมค์ตัวนี้ไปตลอดเลย' เธอไม่รู้ว่ามันคืออะไร เธอแค่รักมัน ผมก็เลยตามเลยกับสิ่งที่เหมาะสมกับเธอ เราใช้ไมค์ตัวนี้ตั้งแต่นั้นมา และมันทำให้เสียงเธอไพเราะจริง ๆ" แชปแมนกล่าว[8]
"เลิฟสตอรี" บันทึกเสียงด้วยโปรแกรมโปรทูลส์และใช้เสียงร้องตามร่องเสียง ซึ่งสวิฟต์ร้องสดร่วมกับวงดนตรี วงดนตรีประกอบด้วยกีตาร์โปร่ง กีตาร์เบส และกลองชุด[8] เครื่องดนตรีชนิดอื่น แชปแมนบันทึกทับอีกที เขากล่าวว่า "ผมคิดว่ามีกีตาร์โปร่งเก้าตัวบรรเลงอยู่ในเพลง และผมบันทึกเสียงร้องเบื้องหลังทับกันหลายชั้น ซึ่งเป็นเสียงของผมเองร้องว่า 'อา'"[8] การปรับแต่งเสียงทำโดยแชด คาร์ลสัน ที่สตูดิโอดี ในแบล็กเบิร์ดสตูดิโอส์ โดยใช้เครื่องมือชุดเอพีไอเลกาซีพลัส ได้แก่ ไมโครโฟนอะแวนโทน ซีวี-12 เนเว 1073 และทิวบ์เทค ซีแอล-1บี ผสมเสียงโดยจัสติน เนียแบงก์ ที่สตูดิโอเอฟ ด้วยอุปกรณ์ชุดโซลิดสเตตลอจิก 9080 เค และเจเนเลก 1032 ในระหว่างนั้น แชปแมนบันทึกเสียงทับที่สตูดิโออี[8] "เลิฟสตอรี" และเพลงอื่น ๆ ในอัลบั้ม ผ่านกระบวนการมาสเตอร์โดยแฮงก์ วิลเลียมส์ ที่มาสเตอร์มิกซ์สตูดิโอส์ในแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี[10] เพลงผสมเสียงด้วยแอร์เพลย์โดยแชปแมน เขาดึงสิ่งที่เนียแบงก์ทำไว้ในแล็ปท็อปแม็กโอเอส และใช้แอปเปิลลอจิกสร้างเพลงเวอร์ชันป็อป แชปแมนใช้แล็ปท็อปทำเวอร์ชันรีมิกซ์และสร้างองค์ประกอบดนตรีใหม่ ๆ ด้วย เขาปิดเสียงเครื่องดนตรีคันทรีและแทนที่ด้วยองค์ประกอบดนตรีที่ทำให้เป็นดนตรีป็อป โดยแทนที่แบนโจและฟิดเดิลด้วยกีตาร์ไฟฟ้า ดนตรีท่อนเปิดเพลงเวอร์ชันป็อปเป็นวงวนลอจิกในเครื่องกำหนดจังหวะดนตรี อัลตราบีต เสียงกีตาร์ไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดทำด้วยอุปกรณ์แอมพลิทิวบ์สตอมป์ไอ/โอ[8]
การตอบรับ
[แก้]"เลิฟสตอรี" เป็นที่ชื่นชมของนักวิจารณ์ เคต คีเฟอร์จากนิตยสารเพสต์จัดให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดของสวิฟต์ และเสริมว่า เมื่อรู้เนื้อเพลงเพลงนี้แล้ว ถ้าไม่ร้องตามคงเป็นไปไม่ได้[11] ชอน ดูลีย์ จากเว็บไซต์อะเบาต์ดอตคอมจัดให้เป็นเพลงที่เปลี่ยนผ่านสวิฟต์จาก "ดาราหน้าใสเป็นซูเปอร์สตาร์ข้ามแนวเพลง" ดูลีย์มองว่าเพลงประสบความสำเร็จเนื่องจากเนื้อหาในเนื้อเพลงที่แตกต่างไป ซึ่งสรุปได้ว่า "ฉันปรารถนาว่าชายหนุ่มคนนี้จะรู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไรกับเขา"[12] ขณะที่วิจารณ์อัลบั้มเฟียร์เลส ดูลีย์เลือกเพลง "เลิฟสตอรี" ให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม[13] โจนาธาน คีฟ จากนิตยสารสแลนต์ชื่นชมสวิฟต์ในความพยายามที่จะรวมองค์ประกอบที่ซับซ้อน อย่างละครโรเมโอและจูเลียต และตราบาปสีเลือด แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากความงุ่มง่าม อธิบายไม่ได้ และจินตนาการที่ไม่มีจุดหมาย คีฟมองว่าความสำเร็จมาจากท่อนสร้อยที่โดดเด่น[14] เจมส์ รี้ด จากหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบคิดเป็นเช่นอื่นว่า เสน่ห์ของสวิฟต์อยู่ที่ทักษะการแต่งเพลงของเธอ[15]
เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์จากบีบีซีกล่าวว่า "เลิฟสตอรี" เป็นเพลงป็อปที่น่าประหลาดใจ และเนื่องจากมันเล่าเรื่องราวความรักจริง ๆ มันจึงอบอุ่นหัวใจและดึงผู้ฟังเข้าสู่โลกนิทานที่น่าตื่นเต้นและโรแมนติก[16] อย่างไรก็ตม เธอรู้สึกว่าการร้องเพลงของสวิฟต์นั้นไม่น่าแปลกใจ แต่อดไม่ได้ที่จะชื่นชมการถ่ายทอดอารมณ์ แม็กอัลไพน์กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าจะเป็นเพลงโรแมนติกชัดเจนและมีเป้าหมายคือผู้ฟังอายุน้อย แต่ "เลิฟสตอรี" แค่เป็นเพลงที่น่ารักที่สวิฟต์พิสูจน์ตนเองว่าเป็นเจ้าหญิงเพลงป็อปที่แท้จริง[16] คริส นีล จากนิตยสารคันทรีวีกลีเรียกเพลง "เลิฟสตอรี" ว่า "เพลงดังเพลงแรกที่เดือดพล่าน"[17] เดบอราห์ อีแวนส์ ไพรซ์ จากนิตยสารบิลบอร์ดวิจารณ์เพลงไปในทางชื่นชอบและเรียกว่า "ข้อเสนอที่มีเสน่ห์" ไพรซ์กล่าวว่า "เลิฟสตอรี" แสดงให้เห็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสวิฟต์ ซึ่งก็คือการแต่งเพลงและการร้องเพลงที่เหมาะสมกับอายุที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟังของเธอและคนอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ เธอจึงคาดการณ์ว่าเพลงจะประสบความสำเร็จมากในอุตสาหกรรมดนตรีคันทรี[18] อะเล็กซ์ แม็กเฟอร์สัน จากหนังสือพิมพ์บริติช เดอะการ์เดียน บรรยายว่าเพลงเกิดจาก "ความรู้สึกสนุกสนานแบบกะทันหัน" ซึ่งเขากล่าวว่าความรู้สึกนี้เกิดกับเพลง "ไมน์" (2010)[19] ด้วย เทสต์ออฟคันทรีจัดเพลงให้อยู่อันดับที่ 17 ในรายชื่อเพลงคันทรีที่ดีที่สุดตลอดกาล[20]
รางวัล
[แก้]"เลิฟสตอรี" เข้าชิงรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ สาขา "คันทรียอดนิยม" ในงานประกาศรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ ครั้งที่ 35 แต่พ่ายให้กับเพลง "ลาสต์เนม" (2008) ของแคร์รี อันเดอร์วูด[21] เพลงได้เข้าชิงรางวัล "เพลงยอดนิยม" ในงานประกาศรางวัลนิกเคโลเดียนออสเตรเลียนคิดส์ชอยส์อะวอดส์ 2009 แต่พ่ายให้กับเพลง "ไอก็อตตาฟิลิง" (2009) ของเดอะแบล็กอายด์พีส์[22] และในงานประกาศรางวัลทีนชอยส์อะวอดส์ 2009 ก็มีผลรางวัลเหมือนกัน โดยพ่ายให้กับเพลง "ครัช" (2008) ของเดวิด อาร์ชูเลตา ซึ่งเข้าชิงรางวัล "ชอยส์มิวสิก: เลิฟซอง"[23][24] ในปี ค.ศ. 2009 "เลิฟสตอรี" ได้เป็น "เพลงคันทรีแห่งปี" ประกาศโดยองค์กรเผยแพร่ดนตรี[25]
พฤติการณ์เชิงพาณิชย์
[แก้]อเมริกาเหนือ
[แก้]ในชาร์ตประจำวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2008 "เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับ 16 ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ขายได้มากกว่า 97,000 ดิจิทัลดาวน์โหลด[26] ในสัปดาห์ต่อมา "เลิฟสตอรี" ขึ้นไปถึงอันดับที่ 5 ขายได้ 159,000 ดาวน์โหลด[27] หลังจากอยู่ในสิบอันดับแรกได้สองสัปดาห์ ในชาร์ตประจำวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เพลงตกลงมาอันดับที่ 13 และอยู่ในยี่สิบอันดับแรกนาน 11 สัปดาห์ติดต่อกัน และกลับไปที่สิบอันดับแรก ในอันดับที่ 7 ในชาร์ตประจำวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2009[28][29] ในชาร์ตประจำวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2009 เพลงขึ้นอันดับที่ 4 กลายเป็นซิงเกิลที่ขึ้นชาร์ตสูงที่สุดของสวิฟต์ในขณะนั้น[30] หลายสัปดาห์ต่อมา "เลิฟสตอรี" ยังคงทำยอดขายได้ดีตลอด ใช้เวลาในสิบอันดับแรกนาน 14 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตทั้งหมด 49 สัปดาห์[30][31] ซิงเกิลนี้เป็นหนึ่งในเพลงจากอัลบั้มเฟียร์เลส 13 เพลงที่ติดสี่สิบอันดับแรกในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ทำลายสถิติเพลงจากอัลบั้มเดียวเข้าชาร์ตที่สี่สิบอันดับแรกได้มากที่สุด[32] อัลบั้มได้รับการรับรองระดับแพลตินัม 8 ครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา[33] และขายได้มากกว่า 5 ล้าน จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011[34] กลายเป็นเพลงที่ขายดีที่สุดของสวิฟต์ และเคยเป็นซิงเกิลคันทรีที่ขายดีที่สุดตลอดกาล (ถูกแทนที่ด้วยเพลง "นีดยูนาว" ของเลดีแอนทีเบลลัม)[35][36] และเป็นซิงเกิลดิจิทัลที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 9 นับถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 "เลิฟสตอรี" ขายได้ 5,872,000 หน่วยในสหรัฐ[37]
"เลิฟสตอรี" ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดเรดิโอซองส์โดยมีจำนวนการฟังในทุกช่องทางการรับฟังทั้งหมด 106 ล้านครั้ง และถูกโค่นอันดับโดยเพลง "ฮาร์ตเลส" ของคานเย เวสต์[38] ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรี "เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับ 25 ในชาร์ตประจำวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2008 เพลงขึ้นถึงสิบอันดับแรกในสัปดาห์ที่สี่ที่อันดับเก้า และในสัปดาห์ที่เก้า เพลงขึ้นอันดับหนึ่งกลายเป็นเพลงอันดับหนึ่งเพลงที่สามของสวิฟต์ และเป็นเพลงที่ขึ้นอันดับหนึ่งได้เร็วที่สุด[39][40] เพลงอยู่ในอันดับที่หนึ่งได้นานสองสัปดาห์และอยู่ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรีได้รวม 13 สัปดาห์[41] ในชาร์ตบิลบอร์ดป็อปซองส์ เพลงเปิดตัวที่อันดับ 34 ในชาร์ตประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008[42] เพลงขึ้นอันดับหนึ่งในสัปดาห์ที่ 15 ในชาร์ตประจำวีนที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 กลายเป็นเพลงคันทรีที่ขึ้นอันดับสูงสุดบนชาร์ตนี้ได้นับตั้งแต่เพลง "ยัวร์สติลเดอะวัน" ของชะไนยา ทเวน ที่เคยขึ้นสูงสุดที่อันดับสามในปี ค.ศ. 1998[43] "เลิฟสตอรี" ยังขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ดอะดัลต์คอนเทมโพรารี และอันดับสามบนชาร์ตบิลบอร์ดอะดัลต์ป็อปซองส์ และปรากฏในชาร์ตบิลบอร์ดละตินป็อปซองส์ที่อันดับ 35 ด้วย[30][44]
ในประเทศแคนาดา "เลิฟสตอรี" เข้าชาร์ตที่อันดับ 88 ในชาร์ตประจำวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2008[45] เพลงขึ้นสูงสุดที่อันดับที่สี่ในชาร์ตประจำวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2008 กลายเป็นเพลงของสวิฟต์เพลงแรกที่ขึ้นสิบอันดับแรกได้ในประเทศ[46] ซิงเกิลอยู่ในสิบอันดับแรกได้นาน 10 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตนาน 52 สัปดาห์[31] เพลงอยู่อันดับที่แปดในชาร์ตสิ้นปีของแคนาดา และได้รับการรับรองระดับแพลตินัมสองครั้งโดยองค์กรมิวสิกแคนาดา จากยอดขายดิจิทัลดาวน์โหลด 160,000 ครั้ง[47][48]
ยุโรปและโอเชียเนีย
[แก้]"เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับที่ 22 ในสหราชอาณาจักร ในชาร์ตประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ในสัปดาห์ถัดมา เพลงขึ้นถึงอันดับสอง[49] กลายเป็นซิงเกิลของสวิฟต์ที่ขึ้นชาร์ตสูงที่สุด ร่วมกับเพลง "ไอนูว์ยูเวอร์ทรับเบิล" และ "เชกอิตออฟ" และเป็นเพลงที่ติดสิบอันดับเพลงแรกในสหราชอาณาจักร[50] เพลงอยู่ในสิบอันดับแรกนาน 7 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตรวม 32 สัปดาห์[49] ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับแพลตินัมโดยองค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงบริติช (BPI) หลังจากขายได้เกิน 600,000 หน่วย[51] ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2012 "เลิฟสตอรี" เข้าชาร์ตในสหราชอาณาจักรอีกครั้งที่อันดับ 55 ในประเทศไอร์แลนด์ "เลิฟสตอรี" ขึ้นถึงอันดับที่สาม[52] ในแผ่นดินใหญ่ เพลงขึ้นอันดับสิบในชาร์ตยูโรเปียนฮอต 100 ซิงเกิลส์[30] อันดับที่หกในประเทศฮังการี[53] อันดับที่เจ็ดในประเทศนอร์เวย์[54] และอันดับที่สิบในประเทศสวีเดน[55] เพลงติดชาร์ตได้ดีในประเทศอื่น ๆ เช่น เดนมาร์ก เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส โดยขึ้นถึงยี่สิบอันดับแรก[55]
ในประเทศออสเตรเลีย "เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับ 38 บนชาร์ตประจำวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2009 หลังจากขึ้นชาร์ตได้สองสัปดาห์ "เลิฟสตอรี" ขึ้นอันดับสอง และค้างอยู่นานหกสัปดาห์ก่อนขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตประจำวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2009 กลายเป็นเพลงแรกและเพลงเดียวของสวิฟต์ที่ขึ้นอันดับหนึ่งในประเทศ จนถึงเพลง "เชกอิตออฟ" ในปี ค.ศ. 2014 ในสัปดาห์ถัดมา เพลงตกลงมาอันดับสองและขึ้นอันดับหนึ่งอีกสัปดาห์ และอยู่ในห้าสิบอันดับแรกสัปดาห์สุดท้ายในชาร์ตประจำวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2009[56] ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับแพลตินัมสามครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงออสเตรเลียหลังขายได้มากกว่า 210,000 หน่วย[57] "เลิฟสตอรี" ติดอันดับสิบในชาร์ตสิ้นปีของชาร์ตซิงเกิลออสเตรเลีย ในชาร์ตประจำวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 "เลิฟสตอรี" เข้าชาร์ตในประเทศนิวซีแลนด์ที่อันดับ 33 หลังอยู่ในชาร์ตได้เก้าสัปดาห์ เพลงขึ้นถึงอันดับสามในชาร์ตประจำวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2009[58] เพลงได้รับการรับรองระดับแพลตินัมโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงนิวซีแลนด์หลังขายได้มากกว่า 15,000 หน่วย[59] โดยรวมแล้ว "เลิฟสตอรี" ขายได้มากกว่า 7.9 ล้านหน่วยทั่วโลก กลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[60][61][62]
มิวสิกวิดีโอ
[แก้]มิวสิกวิดีโอของเพลง "เลิฟสตอรี" กำกับโดยเทรย์ แฟนจอย ซึ่งเคยกำกับวิดีโอให้สวิฟต์หลายซิงเกิลจากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ สวิฟต์ตัดสินใจร่วมงานกับแฟนจอยอีกครั้งเพราะเธอสามารถหาจุดสมดุลเกี่ยวกับแนวคิดของมิวสิกวิดีโอระหว่างเขาและเธอได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอชื่นชมอยู่ลึก ๆ[63] วิดีโอมีท้องเรื่องย้อนยุคที่มีอิทธิพลจากสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยรีเจนซี สวิฟต์เคยต้องการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอย้อนยุคมานานแล้วเพราะมันแตกต่างจากมิวสิกวิดีโอสมัยใหม่ที่เธอเคยถ่ายทำ ขณะที่เธอแต่งเพลงนี้ เธอจินตนาการถึงยุคเก่า และแฝงกลิ่นอายยุคเก่าไว้ในเนื้อเพลง[64] เธอเชื่อว่าโครงเรื่องของเพลง "เลิฟสตอรี" เป็นบทที่ไม่กำหนดเวลาตายตัว "ฉันคิดว่ามันอาจเกิดขึ้นในยุค 1700 1800 หรือ 2008 ก็ได้"[63] ดังนั้น เธอจึงมองหาคุณสมบัติที่ตรงกับพฤติกรรมของคนรักของเธอ[65] สวิฟต์มองหาคุณสมบัติดังกล่าวโดยชมภาพยนตร์ล่วงหน้าหกเดือนเพื่อมองหานักแสดงชายเพื่อตีความบทบาท คนรู้จักคนหนึ่งของสวิฟต์ที่เคยติดตามรายการแนชวิลล์สตาร์ ซีซันหก แนะนำผู้เข้าแข่งขันชื่อ จัสติน แกสตัน จากนั้นสวิฟต์มองดูรูปเขา และสรุปว่าเขาเหมาะสมกับมิวสิกวิดีโอของเธอ[66] แกสตันตรงกับความต้องการของสวิฟต์ ซึ่งสวิฟต์ให้เขาเป็น "เจ้าชายทรงเสน่ห์ที่มีชีวิตในยุค 1800"[65] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแกสตันเข้าแข่งขันรายการแนชวิลล์สตาร์อยู่ เขาจึงมาแสดงในมิวสิกวิดีโอไม่ได้ สุดท้ายแล้วแกสตันถูกคัดออกและสวิฟต์ติดต่อเขาทันทีเพื่อให้มาแสดงในมิวสิกวิดีโอ[63] สวิฟต์ประทับใจการแสดงของแกสตันมาก "ฉันประทับใจการแสดง [อารมณ์] ของเขาในวิดีโอมาก เขาไม่ต้องพูดอะไร เขาแค่ต้องจ้องตานิ่ง ๆ และมันออกมาดูดีมาก"[66]
วิดีโอถ่ายทำที่ปราสาทแห่งหนึ่ง ฝ่ายบุคลากรศึกษาปราสาทหลายแห่งในสหรัฐและไม่สามารถเลือกหลังที่มีสภาพเหมาะสมต่อการถ่ายทำได้ พวกเขาพิจารณาเดินทางไปยุโรปเพื่อหาปราสาท แต่ได้รับแจ้งว่าพบปราสาทแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ชื่อว่า ปราสาทกวินน์ สร้างในปี ค.ศ. 1973 และได้รับเลือกให้เป็นฉากของมิวสิกวิดีโอ[63] เสื้อผ้าของนักแสดงจัดหาโดยแจ็กการ์ดแฟบริกส์ ยกเว้นชุดเดรสของสวิฟต์ในฉากระเบียง ชุดของสวิฟต์ออกแบบโดยแซนดี สปิกา ออกแบบตามแรงบันดาลใจและคำแนะนำของสวิฟต์[63][64] "เธอชอบที่จะใส่ตัวเธอเป็นอินพุตลงในชุดเดรสของเธอ" สปิกากล่าว สองคนคุยกันเกี่ยวกับชุดเดรสสองเดือนก่อนถ่ายทำ มีการเตรียมฉากให้สมจริง[63] วิดีโอใช้เวลาถ่ายทำสองวันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 ในเทนเนสซี ในวันแรก ถ่ายทำฉากที่ระเบียงและสนามหญ้า ในฉาก มีคนวางแผ่นซีดีเพลย์แบ็กฉบับดัดแปลงที่มีเสียงแหลมสูง ด้วยเหตุนี้ สวิฟต์ให้กองถ่ายคนหนึ่งยืมไอพอดเพื่อเล่นเพลงฉบับดั้งเดิม[63] ขณะถ่ายทำอีกฉากหนึ่ง ดวงอาทิตย์กำลังจะตก และการถ่ายทำค่อนข้างจะเป็นไปอย่างเร็ว ในฉากนั้น แฟนจอยแนะนำให้สวิฟต์จูบกับแกสตัน แต่สวิฟต์ปฏิเสธเพราะเธอเชื่อว่ามันเหมาะกับฉากที่หวานกว่า ในวันที่สอง ถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยคัมเบอร์แลนด์ ในเลบานอน รัฐเทนเนสซี โดยถ่ายทำที่ห้องเต้นรำ[67] สวิฟต์เรียนท่าเต้นในห้องเต้นรำก่อนถ่ายทำสิบห้านาที มีนักเต้นรำประมาณ 20 คนเต้นอยู่ในฉาก[63]
วิดีโอเริ่มด้วยสวิฟต์ สวมเสื้อกันหนาวสีดำและกางเกงยีนส์ เดินอยู่ในมหาวิทยาลัยและสังเกตเห็นแกสตันนั่งอ่านหนังสืออยู่ใต้ต้นไม้ ขณะที่พวกเขาสบตากัน วิดีโอเปลี่ยนยุคเป็นยุคเก่าที่ดูเหมือนศตวรรษที่ 18 (แต่ปราสาทสร้างในปี ค.ศ. 1973) โดยสวิฟต์ยืน สวมชุดรัดรูปและเสื้อคลุม ร้องเพลงอยู่ที่ระเบียง หลังจากนั้น แกสตันร่วมงานสังสรรค์และเห็นสวิฟต์ใส่ชุดคลุมที่ดูประณีต กำลังคุยกับผู้หญิงคนอื่น ๆ อยู่ สวิฟต์และแกสตันและคนอื่น ๆ ร่วมเต้นรำในห้องเต้นรำ หลังเต้นรำ แกสตันกระซิบที่หูสวิฟต์ จากนั้นฉากแสดงสวิฟต์กำลังถือโคมไฟมองหาบางอย่างตอนกลางคืน เธอพบกับแกสตันและทั้งสองคนเดินด้วยกัน จับมือกัน และให้อาหารม้าที่บ่อน้ำ จากนั้นทั้งสองคนเดินแยกทางกัน หลังจากนั้น สวิฟต์ยืนบนระเบียงมองออกไปที่หน้าต่าง เธอพบแกสตันวิ่งมาหาเธอ และเธอรีบวิ่งลงบันไดทันที สวิฟต์และแกสตันพบกันและจับมือกัน จากนั้นวิดีโอกลับมาที่ยุคปัจจุบัน แสดงแกสตันเดินมาหาสวิฟต์และจ้องตากัน และวิดีโอจบลง ฉากคัตซีนแสดงการเต้นรำในห้องเต้นรำและสวิฟต์ร้องเพลงที่ฉากระเบียง ในยูทูบ วิดีโอนี้มีผู้ชมมากกว่า 340 ล้านครั้ง
การตอบรับของวิดีโอ
[แก้]วิดีโอฉายครั้งแรกในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2008 ทางช่องซีเอ็มที[68] แมนดี เบียร์ลีจากเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีมีประเด็นว่าวิดีโอแสดงวิวัฒนาการความเป็นศิลปินในตัวสวิฟต์เพราะมันดูแพงและทำให้เธอสงสัยว่ามีอะไรเกี่ยวกับสวิฟต์ที่จะเปลี่ยนไปบ้าง อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวว่า "กังวลแต่ฉันไม่อาจต้านทานวิวัฒนาการของเทย์เลอร์ สวิฟต์ จากเพลง 'ทิม แม็กกรอว์' จนถึงเพลงล่าสุด 'เลิฟสตอรี'" เบียร์ลียังเปรียบเทียบการแสดงของสวิฟต์กับการแสดงของเคียรา ไนต์ลีย์ด้วย[69] เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์จากบีบีซีเชื่อว่าสวิฟต์เล่นเป็นเจ้าหญิง ดังนั้นมันจะทำให้ผู้หญิงหลายคนอิจฉา[16] วิดีโอได้เข้าชิงรางวัล "วิดีโอแห่งปี" ในงานประกาศรางวัลอะคาเดมีออฟคันทรีมิวสิกอะวอดส์ ครั้งที่ 45 แต่พ่ายให้กับเพลง "เวทินออนอะวูแมน" ของแบรด เพสลีย์[70][71] ในงานซีเอ็มทีมิวสิกอะวอดส์ 2009 วิดีโอได้รับรางวัล "วิดีโอแห่งปี" และ "วิดีโอนักร้องหญิงแห่งปี"[72] เพลงยังได้รับรางวัลคันทรีมิวสิกแอสโซซิเอชันอะวอร์ด สาขา "มิวสิกวิดีโอแห่งปี" ในงานมิวสิกแอสโซซิเอชันอะวอดส์ ครั้งที่ 43[73] วิดีโอได้รับรางวัล "วิดีโอเพลงสากลที่ชื่นชอบ" ในงานมิกซ์มิวสิกอะวอดส์ 2010 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ด้วย[74]
เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)
[แก้]"เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" | ||||
---|---|---|---|---|
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ | ||||
จากอัลบั้มเฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) | ||||
วางจำหน่าย | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 | |||
สตูดิโอ | แบล็กเบิร์ด (แนชวิลล์) | |||
แนวเพลง | คันทรีป็อป | |||
ความยาว | 3:56 | |||
ค่ายเพลง | รีพับลิก | |||
ผู้ประพันธ์เพลง | เทย์เลอร์ สวิฟต์ | |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์ | ||||
| ||||
Lyric video | ||||
"เลิฟสตอรี" (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ที่ยูทูบ |
หลังจากเซ็นสัญญาฉบับใหม่กับรีพับลิกเรเคิดส์ สวิฟต์เริ่มบันทึกสตูดิโออัลบั้มแรกของเธอจากหกอัลบั้มแรกใหม่ รวมถึงเฟียร์เลสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[75] การตัดสินใจเกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาทสิทธิ์ในการถือครองเพลง ค.ศ. 2019 ระหว่างสวิฟต์กับผู้จัดการ สกูตเตอร์ เบราน์ ซึ่งซื้อกิจการบิกมะชีนเร็กเคิดส์ รวมถึงมาสเตอร์ในอัลบั้มของสวิฟต์ที่ค่ายเพลงได้ออกจำหน่าย[76][77] การบันทึกแคตตาล็อกของเธอใหม่ทำให้สวิฟต์เป็นเจ้าของต้นฉบับเพลงมาสเตอร์ใหม่โดยสมบูรณ์ รวมถึงการอนุญาตลิขสิทธิ์เพลงของเธอ ซึ่งจะลดคุณค่าของเพลงมาสเตอร์ที่มีเจ้าของโดยบิกมะชีน[78]
สวิฟต์บันทึกเพลง "เลิฟสตอรี" อีกครั้งและตั้งชื่อว่า "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" ข้อความที่ตัดตอนมาจากการบันทึกซ้ำถูกนำมาใช้ในโฆษณาของ แมตช์.คอม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020[79] "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" เป็นเพลงที่บันทึกซ้ำเพลงแรกที่เธอปล่อยออกมา[80] พร้อมให้ดาวน์โหลดและสตรีมในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ก่อนการเปิดตัวอัลบั้มที่บันทึกซ้ำในชื่อ เฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ในเดือนเมษายน[81][82] "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" เวอร์ชันอีดีเอ็ม รีมิกซ์โดยโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน เอลวิรา วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2021 และรวมอยู่ใน เฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) เวอร์ชันดีลักซ์[83]
ชาร์ต
[แก้]
ชาร์ตประจำสัปดาห์[แก้]
|
ชาร์ตสิ้นปี[แก้]
|
การรับรอง
[แก้]ประเทศ | การรับรอง | จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย |
---|---|---|
United Kingdom (BPI)[101] | Silver | 200,000 |
ตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว |
ประวัติการจำหน่าย
[แก้]ภูมิภาค | วันที่ | รูปแบบ | เวอร์ชัน | ค่าย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
หลากหลาย | 12 กุมภาพันธ์ 2021 |
|
ต้นฉบับ | รีพับลิก | [102] |
26 มีนาคม 2021 | เอลวิรารีมิกซ์ | [103] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Scaggs, Austin (January 25, 2010). "Taylor's Time: Catching Up With Taylor Swift". Rolling Stone. Jann Wenner. สืบค้นเมื่อ February 1, 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Interview with Taylor Swift". Time. Time Warner. April 23, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ 3.0 3.1 Swift, Taylor. "Cut By But". Bigmachinerecords.com. Big Machine Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ March 12, 2010.
- ↑ 4.0 4.1 Bells, Leigh (November 28, 2008). "Taylor Swift Responds!". Teen Vogue. Condé Nast Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-25. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Lewis, Randy (October 26, 2008). "She's writing her future". Los Angeles Times. Tribune Company. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ 6.0 6.1 Roznovsky, Lindsey (November 10, 2008). "Taylor Swift's fascination with Fairy Tales comes through on new album". CMT News. Viacom. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
- ↑ ""Oh, Romeo, Romeo": Taylor Swift's "Love Story"". Great American Country. Scripps Networks Interactive. September 15, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 Walsh, Christopher (March 17, 2009). "Taylor Swift — Love Story". ProAudio Review. The Wicks Group. สืบค้นเมื่อ February 14, 2011.
- ↑ Morris, Edward (December 1, 2006). "When She Thinks "Tim McGraw," Taylor Swift Savors Payoff: Hardworking Teen to Open for George Strait Next Year". CMT News. Viacom. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อliner
- ↑ Kiefer, Kate (June 4, 2009). "Six Great Taylor Swift Songs". Paste. Paste Media Group LLC. สืบค้นเมื่อ April 17, 2010.
- ↑ Dooley, Sean. "Top 10 Taylor Swift Songs". About.com. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ March 15, 2010.
- ↑ Dooley, Sean. "The Blossoming of Taylor Swift – The Artist". About.com. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ Keefe, Jonathan (November 16, 2008). "Taylor Swift: Fearless". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ Reed, James (November 10, 2008). "Young country star's 'Fearless' proves she's just that, and more". The Boston Globe. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 McAlpine, Fraser (February 28, 2009). "Taylor Swift – 'Love Story'". BBC Online. BBC. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ Neal, Chris (December 29, 2008). "Fearless: Taylor Swift". Country Weekly. American Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ Caulfield, Keith (October 11, 2008). "Singles: Love Story". Billboard. New York: Nielsen Business Media, Inc. 120 (41): 68. ISSN 0006-2510. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ Macpherson, Alex (December 9, 2010). "Taylor Swift: Speak Now: The albums we missed". The Guardian. Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ Pacella, Megan (June 24, 2012). "No. 17: Taylor Swift, 'Love Story' – Top 100 Country Songs". Taste of Country. Taste of Country. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
- ↑ "People's Choice Awards 2009 Nominees". Pleopleschoice.com. People's Choice Awards. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ Knox, David (September 20, 2009). "2009 Kid's Choice Awards: Nominees". TV Tonight. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ "Teen Choice Awards 2009 nominees". The Los Angeles Times. Tribune Company. June 15, 2009. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ "Teen Choice Awards 2009 Music". Teen Choice Awards. News Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-19. สืบค้นเมื่อ October 19, 2009.
- ↑ "BMI Country Awards 2009 Big Winners". BMI.com. Broadcast Music Incorporated. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ Cohen, Jonathan (September 18, 2008). "Pink Notches First Solo Hot 100 No. 1". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ Cohen, Jonathan (September 25, 2008). "T.I. Back Atop Hot 100, Kanye Debuts High". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ "Hot 100 – Week of October 18, 2008". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ Cohen, Jonathan (December 24, 2008). "Beyonce Celebrates Xmas Atop Hot 100". Billboard. Nielsen Business Media. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 "Love Story – Taylor Swift". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ 31.0 31.1 "Taylor Swift – Love Story – Music Charts". aCharts.us. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ Pietroluongo, Silvio (November 12, 2009). "Rihanna's 'Roulette' Lands In Hot 100's Top 10". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ January 3, 2010.
- ↑ "American single certifications – Taylor Swift – Love Story". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ Grein, Paul (May 25, 2011). "Week Ending May 22, 2011. Songs: Flooding The Zone". Yahoo! Music. Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ Grein, Paul (April 7, 2011). "Chart Watch Extra: Lady A Makes Country History". Yahoo! Music. Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ April 9, 2011.
- ↑ Grein, Paul (August 6, 2010). "Chart Watch Extra: Top 20 Songs In Digital History". Yahoo! Music. Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-15. สืบค้นเมื่อ October 2, 2010.
- ↑ Matt Bjorke (July 22, 2015). "The Top 30 Digital Country Singles: July 22, 2015". Roughstock.
- ↑ "Radio Songs: week-ending March 7, 2009". Billboard.com. Billboard.com. March 7, 2009. สืบค้นเมื่อ March 7, 2009.
- ↑ "Hot Country Songs: week-ending October 18, 2008". Billboard.com. Billboard.com. October 18, 2008. สืบค้นเมื่อ October 18, 2008.
- ↑ "Hot Country Songs: week-ending November 22, 2008". Billboard.com. Billboard.com. November 22, 2008. สืบค้นเมื่อ November 22, 2008.
- ↑ "Hot Country Songs: week-ending November 22, 2008". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. November 22, 2008. สืบค้นเมื่อ November 22, 2008.
- ↑ "Pop Songs: week-ending November 29, 2008". Billboard.com. Billboard.com. November 29, 2008. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ Trust, Gary (December 15, 2009). "Best of 2009: Part 1". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ "Love Story [Music Video] – Taylor Swift". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ "Canadian Hot 100 – Week of October 18, 2008". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ 46.0 46.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcanada
- ↑ "Best of 2009 – Canadian Hot 100 Songs". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ "Canadian certifications – Taylor Swift – Love Story". Music Canada. สืบค้นเมื่อ July 11, 2011.
- ↑ 49.0 49.1 "Chart Stats – Taylor Swift – Love Story". Chartstats.com. The Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ "Chart Stats – Taylor Swift". Chartstats.com. The Official Charts Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ "British single certifications – Taylor Swift – Love Story". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011. Select singles in the Format field. Type Love Story in the "Search BPI Awards" field and then press Enter.
- ↑ "Discography Taylor Swift". Irish-charts.com. Irish Recorded Music Association. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ "Top 40 album- és válogatáslemez- lista – 200952". Mahasz (ภาษาฮังการี). Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ June 18, 2010.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story (Song)". Norwegieancharts.com. VG-lista. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ 55.0 55.1 "Taylor Swift – Love Story (Song)". Swedishcharts.com. Sverigetopplistan. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story (Song)". Australian-charts.com. Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2009 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ January 2, 2010.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story (Song)". Charts.org.nz. Recording Industry Association of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ "Latest Gold / Platinum Singles". RadioScope. Recording Industry Association of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2010. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ "Digital Music Sales Around the World" (PDF). IFPI.org. International Federation of the Phonographic Industry. January 21, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
- ↑ http://www.billboard.com/articles/chartbeat/480278/ask-billboard-taylor-swifts-career-sales
- ↑ http://www.mtv.com/news/articles/1627833/eminem-best-selling-artist-decade.jhtml
- ↑ 63.0 63.1 63.2 63.3 63.4 63.5 63.6 63.7 "On the Set Behind the Scenes at 'Love Story'". Taylor Swift: On the Set. 22:00 นาที. Great American Country.
{{cite episode}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ 64.0 64.1 "Video Replay: Taylor Swift – Love Story". CMT. Viacom. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
- ↑ 65.0 65.1 "On the Set Behind the Scenes 'White Horse'". Taylor Swift: On the Set. 22:00 นาที. Great American Country.
{{cite episode}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ 66.0 66.1 Lewis, Randy (October 16, 2008). "Who's that Romeo in Taylor Swift's "Love Story" video?". Los Angeles Times. Tribune Company. สืบค้นเมื่อ February 17, 2011.
- ↑ "Taylor Swift on the Set: Love Story". Great American Country. Scripps Network Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
- ↑ "Taylor Swift Premiering New Video on CMT". CMT News. Viacom. September 12, 2008. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
- ↑ Bierly, Mandi (September 17, 2008). "How much do you love Taylor Swift's 'Love Story' video?". Entertainment Weekly. Time Warner. สืบค้นเมื่อ February 17, 2011.
- ↑ "Nominations announced for the 44th Annual Academy of Country Music Awards" (Press release). Academy of Country Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ "Winners announced for the 44th Annual Academy of Country Music Awards" (Press release). Academy of Country Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ "2009 CMT Music Awards: Winners". CMT. Viacom. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ "2009 CMA Awards: Winners". CMT. Viacom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-22. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ "The MYX Music Awards 2010 Winners". MYXph.com. MYX. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ Melas, Chloe (November 16, 2020). "Taylor Swift Speaks Out about Sale of Her Masters". CTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
- ↑ "Taylor Swift Wants to Re-record Her Old Hits". BBC News. August 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
- ↑ Finnis, Alex (November 17, 2020). "Taylor Swift Masters: The Controversy around Scooter Braun Selling the Rights to Her Old Music Explained". i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ Shah, Neil (2021-04-09). "Taylor Swift Releases New Fearless Album, Reclaiming Her Back Catalog". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.
- ↑ Shaffer, Claire (2020-12-02). "Taylor Swift Drops Her First Re-Recorded Song – in an Ad for Match". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
- ↑ Lipshutz, Jason (February 11, 2021). "Taylor Swift Announces Re-Recorded Fearless Album: Updated 'Love Story' Out Tonight". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 11, 2021.
- ↑ Willman, Chris (February 11, 2021). "Taylor Swift Sets Fearless: Taylor's Version as First in Her Series of Full-Album Do-Overs". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2021. สืบค้นเมื่อ February 11, 2021.
- ↑ Legaspi, Claire Shaffer (February 12, 2021). "Taylor Swift Releases Lyric Video for Re-Recorded 'Love Story'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
- ↑ Kaufman, Gil (March 26, 2021). "Taylor Swift Surprise Releases Dancefloor 'Elvira Remix' of 'Love Story'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2021. สืบค้นเมื่อ April 13, 2021.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)". ARIA Top 50 Singles. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)" (in Dutch). Ultratip. สืบค้นเมื่อ March 5, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Euro Digital Song Sales)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Global 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 23, 2020.
- ↑ "Official Irish Singles Chart Top 50". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ February 19, 2021.
- ↑ "EHR Top 40 – 2021.03.05". European Hit Radio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2021. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
- ↑ "Top 20 Most Streamed International & Domestic Singles in Malaysia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2021. สืบค้นเมื่อ March 6, 2021 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "Netherlands Single Tip Chart". MegaCharts. February 20, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)". Top 40 Singles. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ "Taylor Swift – Love Story". AFP Top 100 Singles. สืบค้นเมื่อ March 3, 2021.
- ↑ "RIAS Top Charts". Recording Industry Association Singapore. February 23, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2021. สืบค้นเมื่อ March 2, 2021.
- ↑ "Veckolista Singlar, vecka 7" (ภาษาสวีเดน). Sverigetopplistan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 19, 2021.
- ↑ "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ Cohen, Jonathan (September 25, 2008). "T.I. Back Atop Hot 100, Kanye Debuts High". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Country Airplay)". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 13, 2021.
- ↑ "Rolling Stone Top 100, February 12 – February 18, 2021". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2021. สืบค้นเมื่อ February 25, 2021.
- ↑ "Hot Country Songs – Year-End 2021". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2021. สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
- ↑ "British single certifications – Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ August 19, 2022.
- ↑ "Love Story (Taylor's Version) – Single by Taylor Swift". Spotify. February 12, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ February 17, 2021.
- ↑ "Love Story (Taylor's Version) [Elvira Remix] – Single by Taylor Swift". Spotify. March 23, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2021. สืบค้นเมื่อ March 26, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "เลิฟสตอรี" มิวสิกวิดีโอบนวีโว
- เนื้อเพลงที่เว็บไซต์ทางการของเทย์เลอร์ สวิฟต์เก็บถาวร 2012-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cite certification used for United Kingdom without ID
- เพลงในปี พ.ศ. 2551
- ซิงเกิลในปี พ.ศ. 2551
- เพลงของเทย์เลอร์ สวิฟต์
- ซิงเกิลอันดับ 1 ในบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรี
- คันทรีบัลลาด
- เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสมรส
- เพลงที่ประพันธ์คำร้องโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
- ซิงเกิลสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์
- ซิงเกิลอันดับ 1 ในประเทศออสเตรเลีย
- เพลงบันทึกเสียงที่ผลิตโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
- ซิงเกิลในสังกัดรีพับลิกเรเคิดส์