ข้ามไปเนื้อหา

เมืองโบราณ

พิกัด: 13°32′48″N 100°37′43″E / 13.5467106°N 100.6286716°E / 13.5467106; 100.6286716
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองโบราณ
พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทจำลอง หนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเมืองโบราณ
แผนที่
ก่อตั้ง11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (52 ปี)
ที่ตั้งเลขที่ 296/1 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ผู้อำนวยการครอบครัววิริยะพันธุ์[1]
เว็บไซต์muangboranmuseum.com
"ศาลาพระอรหันต์" ศาลากลางน้ำขนาดใหญ่
ตลาดน้ำ ในส่วนภาคกลาง

เมืองโบราณ สมุทรปราการ เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนกลางแจ้งที่มีพื้นที่กว่า 800 ไร่[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ตั้งอยู่ติดถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยคุณเล็ก และคุณประไพ วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัยและเครือธนบุรี ประกอบรถยนต์ เมืองโบราณ สมุทรปราการ เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515

ลักษณะที่ดินมีแผนผังคล้ายกับแผนที่ประเทศไทย[3][ต้องการอ้างอิง] และได้มีการจัดวางสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศในทุกภาคตามแผนผังที่ดิน ภายในประกอบด้วยโบราณสถาน ปูชนียสถาน เช่น วัด ตลาดน้ำ ตลาดบก และ พระราชวัง เป็นต้น ซึ่งประกอบไปด้วยอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยการลดทอนสเกลลง และ อาคารจริงที่ย้ายมาจากสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย [4]ความประสงค์การสร้างเมืองโบราณ โดยคุณเล็ก และคุณประไพ วิริยะพันธุ์

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองโบราณ 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2514 (ทั้งสองพระองค์เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์) และในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองโบราณ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพระราชสวามี
มีกรรมการของเมืองโบราณ นำโดย คุณประไพ วิริยะพันธุ์ เฝ้าฯ รับเสด็จ จากนั้นทั้ง 4 พระองค์ได้ประทับรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรโบราณวัตถุสถานสำคัญต่างๆ ภายในเมืองโบราณจนทั่ว

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 500 คน นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางมายังเมืองโบราณ เพื่ออ่านแถลงการณ์ในนามเครือข่ายภาคีทวงคืนดินแดนแผ่นดินไทย เพื่อทวงคืนแผ่นดินไทยรอบปราสาทพระวิหารมาเป็นของคนไทย[5]

การเดินทาง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • รถสองแถวสาย 1140 (36) ปากน้ำ-บางปู
  • รถตู้ประจำทางสาย 1140 วิ่งระหว่างสำโรง-คลองด่าน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°32′48″N 100°37′43″E / 13.5467106°N 100.6286716°E / 13.5467106; 100.6286716