เมดัน
เมดัน Medan | |
---|---|
นครเมดัน Kota Medan | |
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ | |
• อักษรยาวี | كوتا ميدان |
• บาตัก | ᯔᯩᯑᯉ᯲ |
• จีน | 棉蘭 |
• ทมิฬ | மேடான் |
ตามนาฬิกาจากบน: ย่านศูนย์กลางธุรกิจ, ซันพลาซา, กราฮามาเรียอันไนเวลังกันนี, สถานีรถไฟเมัน, สำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดสุมาตราเหนือ, พระราชวังไมมุน และมัสยิดใหญ่แห่งเมดัน | |
สมญา: | |
คำขวัญ: Bekerja sama dan sama-sama bekerja (ทำงานร่วมกันและทุกคนทำงาน) | |
ที่ตั้งในจังหวัดสุมาตราเหนือ | |
แผนที่แบบโต้ตอบของเมดัน | |
ที่ตั้งในเกาะสุมาตราและประเทศอินโดนีเซีย | |
พิกัด: 3°35′N 98°40′E / 3.583°N 98.667°E | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค | เกาะสุมาตรา |
จังหวัด | สุมาตราเหนือ |
ก่อตั้ง | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1590 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | บ็อบบี นาซูตียน |
• รองนายกเทศมนตรี | เอาเลีย รัชมัน |
• ประธานสภาเทศมนตรี | Hasyim Huang Kien Lim (PDI-P) |
• รองประธานสภาเทศมนตรี | อิฮ์วัน รีโตงา (Gerindra), ราจุดดิน ซากาลา (Prosperous Justice Party) และ HT Bahrumsyah (National Mandate Party) |
พื้นที่ | |
• นคร | 265.10 ตร.กม. (102.36 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 478 ตร.กม. (185 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,831.97 ตร.กม. (1,093.43 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 2.5–37.5 เมตร (8–123 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน 2020) | |
• นคร | 2,435,252 (อันดับที่ 4) คน |
• ความหนาแน่น | 9,186 คน/ตร.กม. (23,790 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง[3] | 3,632,000 (อันดับที่ 4) คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 7,598 คน/ตร.กม. (19,680 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[4] | 4,744,323 (อันดับที่ 5) คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,675 คน/ตร.กม. (4,340 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากร [5] | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | มลายู บาตัก ชวา มีนังกาเบา จีน อาหรับ อินเดีย |
• ศาสนา | อิสลาม 54% โปรเตสแตนต์ 23% โรมันคาทอลิก 14% พุทธ 8.02% ฮินดู 0.34% ลัทธิขงจื้อ 0.41% อื่น ๆ 0.03% |
เขตเวลา | UTC+7 (เวลาในประเทศอินโดนีเซีย) |
รหัสพื้นที่ | (+62) 61 |
ป้ายทะเบียน | BK |
จีดีพีบุคคล[5] | 2019 |
- รวม | 241.5 ล้านล้านรูปียะฮ์ (อันดับที่ 4) 17.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 56.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี) |
- ต่อหัว | 105,908 รูปียะฮ์ (อันดับที่ 13) 7,490 ดอลลาร์สหรัฐ 24,620 ดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี) |
- การเติบโต | 6.0% |
เอชดีไอ (2019) | 0.809 (อันดับที่ 21) – สูงมาก[6] |
เว็บไซต์ | pemkomedan |
เมดัน (อินโดนีเซีย: Medan, ออกเสียง [meˈdan] ) เป็นเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย[7] โดยเป็นหนึ่งในสี่เมืองศูนย์กลางหลักของอินโดนีเซียร่วมกับจาการ์ตา ซูราบายา และมากัซซาร์[8][9] จากสำมะโน ค.ศ. 2020 เมดันมีประชากรเฉพาะในเขตเทศบาลนคร 2,435,252 คน[10][11] และในพื้นที่เมืองมากกว่า 3.4 ล้านคน ทำให้เป็นพื้นที่เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ[12]
ที่มาของชื่อ
[แก้]ตามบันทึกของพ่อค้าชาวโปรตุเกสในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ชื่อเมดันเพี้ยนมาจากคำว่า Maidhan ในภาษาทมิฬ หรือที่เรียกว่า Maidhāṉam (ทมิฬ: மைதானம்) แปลว่าพื้นดิน ซึ่งรับมาจากภาษามลายู หนึ่งในพจนานุกรมกาโร-อินโดนีเซียที่เขียนโดย Darwin Prinst SH ที่ตีพิมพ์ในปี 2545 ระบุว่าเมดันสามารถนิยามได้ว่า "ฟื้นตัว" หรือ "ดีกว่า"
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมดันเริ่มต้นเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่า กัมปงเมดัน (หมู่บ้านเมดัน) ก่อตั้งโดย Guru Patimpus ประมาณปี ค.ศ. 1590 พื้นที่ดั้งเดิมของเมดันเป็นพื้นที่บริเวณที่แม่น้ำเดอลี (Deli River) และแม่น้ำบาบูรา (Babura River) มาบรรจบกัน พ่อค้าชาวอาหรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 มีการบันทึกว่า ชื่อเมืองเมดันมีที่มาจากมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมีแหล่งข้อมูลอื่นที่ระบุว่าชื่อของเมดันที่จริงมาจากคำในภาษาฮินดีของอินเดียที่ว่า "Maidan" แปลว่า "พื้นดิน" หรือ "ที่ดิน"
ชนพื้นเมื่องดั้งเดิมของเมดันย้ายถิ่นฐานมาจากคาบสมุทรมลายู ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เมดันอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งอาเจะฮ์ มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก และในรัชสมัยปีที่สองของสุลต่าน Deli (ระหว่าง 1669-1698) เมดันเกิดมีสงครามขึ้น และมีการสู้รบกับกองทหารม้าจากอาเจะฮ์ จนทำให้เมดันขาดการเหลียวแลจากอาเจะฮ์ ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร จนถึงปี ค.ศ. 1860 มีการเข้ามาของชาวดัตช์ มีการริเริ่มเพาะปลูกยาสูบ จนทำให้เมดันเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ในปี 1918 เมดันได้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของจังหวัดสุมาตราเหนือ
ภูมิประเทศ
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]เมดันมีลักษณะภูมิอากาศป่าฝนเขตร้อนที่ไม่มีฤดูแล้งแท้จริง[13] อุณหภูมิเฉลี่ยในเมืองประมาณ 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์)
ข้อมูลภูมิอากาศของเมดัน (โปโลเนีย), ความสูง: 27 เมตร หรือ 89 ฟุต, ค.ศ. 1977-1994 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 35 (95) |
36.1 (97) |
36.1 (97) |
37.2 (99) |
36.1 (97) |
37.2 (99) |
37.2 (99) |
37.2 (99) |
36.1 (97) |
35 (95) |
35 (95) |
34.4 (93.9) |
37.2 (99) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.6 (88.9) |
32 (90) |
32.7 (90.9) |
32.9 (91.2) |
33.4 (92.1) |
33.3 (91.9) |
32.9 (91.2) |
33.3 (91.9) |
31.9 (89.4) |
31.7 (89.1) |
31 (88) |
30.9 (87.6) |
32.3 (90.1) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 25.5 (77.9) |
26.12 (79.02) |
26.6 (79.9) |
27.2 (81) |
27.2 (81) |
26.9 (80.4) |
26.9 (80.4) |
26.9 (80.4) |
26.6 (79.9) |
26.1 (79) |
26.1 (79) |
25.8 (78.4) |
26.49 (79.69) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 22.2 (72) |
22.6 (72.7) |
23.2 (73.8) |
23.5 (74.3) |
23.3 (73.9) |
23.6 (74.5) |
23.5 (74.3) |
22.8 (73) |
22.2 (72) |
22.6 (72.7) |
23 (73) |
22.5 (72.5) |
22.9 (73.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 18.3 (64.9) |
18.3 (64.9) |
18.3 (64.9) |
19.4 (66.9) |
18.3 (64.9) |
17.2 (63) |
16.1 (61) |
18.3 (64.9) |
18.8 (65.8) |
17.7 (63.9) |
15.5 (59.9) |
18.3 (64.9) |
15.5 (59.9) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 92 (3.62) |
115 (4.53) |
97 (3.82) |
157 (6.18) |
178 (7.01) |
141 (5.55) |
167 (6.57) |
185 (7.28) |
263 (10.35) |
387 (15.24) |
253 (9.96) |
228 (8.98) |
2,263 (89.09) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 14 | 19 | 13 | 18 | 22 | 15 | 13 | 17 | 24 | 22 | 20 | 19 | 216 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 129.6 | 141.0 | 153.1 | 131.2 | 134.8 | 157.9 | 153.9 | 143.9 | 123.1 | 116.3 | 104.8 | 98.1 | 1,587.7 |
แหล่งที่มา 1: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[14] และ Worldwide Bioclimatic Classification System (อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันและสถิติ)[15] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: WeatherOnline (พระอาทิตย์, 2010–2019)[16] |
การเมืองและการปกครอง
[แก้]รายชื่อนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรี
[แก้]ต่อไปนี้คือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเมดันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461
ลำดับ |
รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเลขงวด | รองนายกเทศมนตรี | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยุคอาณานิคมดัตช์ | ||||||||
1 | Daniël Mackay | 1 พฤษภาคม 2461 | 30 เมษายน 2474 | 1 | ||||
2 | J.M. Wesselink | 1 พฤษภาคม 2474 | 30 เมษายน 2478 | 2 | ||||
3 | G. Pitlo | 1 พฤษภาคม 2478 | 30 เมษายน 2481 | 3 | ||||
4 | Carl Erich Eberhard Kuntze | 1 พฤษภาคม 2481 | 14 กุมภาพันธ์ 2485 | 4 | ||||
ยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น | ||||||||
1 | Shinichi Hayasaki (早崎 真) | 15 กุมภาพันธ์ 2485 | 16 สิงหาคม 2488 | 5 | ||||
ยุคเอกราช | ||||||||
1 | Luat Siregar | 17 สิงหาคม 2488 | 10 พฤศจิกายน 2488 | 6 | ||||
2 | M. Yusuf | 10 พฤศจิกายน 2488 | 31 ตุลาคม 2490 | 7 | ||||
3 | Djaidin Purba | 1 พฤศจิกายน 2490 | 11 กรกฎาคม 2495 | 8 | ||||
4 | A.M. Jalaludin | 12 กรกฎาคม 2495 | 1 ธันวาคม 2497 | 9 | ||||
5 | Muda Siregar | 2 ธันวาคม 2497 | 2 กรกฎาคม 2501 | 10 | ||||
6 | Madja Purba | 3 กรกฎาคม 2501 | 27 กุมภาพันธ์ 2504 | 11 | ||||
7 | Basyrah Lubis | 28 กุมภาพันธ์ 2504 | 9 ตุลาคม 2507 | 12 | ||||
8 | P.R. Telaumbanua | 10 ตุลาคม 2507 | 27 สิงหาคม 2508 | 13 | ||||
9 | Aminurrasyid | 28 สิงหาคม 2508 | 26 กันยายน 2509 | 14 | ||||
10 | Sjoerkani | 26 กันยายน 2509 | 2 กรกฎาคม 2517 | 15 | ||||
11 | A.M. Saleh Arifin | 3 กรกฎาคม 2517 | 31 มีนาคม 1980 | 16 | ||||
12 | H. Agus Salim Rangkuti | 1 เมษายน 1980 | 31 มีนาคม 2528 | 17 | ||||
1 เมษายน 2528 | 31 มีนาคม 2533 | 18 | ||||||
13 | Bachtiar Djafar | 1 เมษายน 2533 | 31 มีนาคม 2538 | 19 | ||||
1 เมษายน 2538 | 31 มีนาคม 2543 | 20 | ||||||
14 | Abdillah | 1 เมษายน 2543 | 31 มีนาคม 2548 | 21 | Maulana Pohan | |||
1 เมษายน 2548 | 20 สิงหาคม 2551 | 22 | Ramli | |||||
— | Afifuddin Lubis (เจ้าหน้าที่) |
20 สิงหาคม 2551 | 22 กรกฎาคม 2552 | -- | ||||
— | Rahudman Harahap (ชั่วคราว) |
23 กรกฎาคม 2552 | 15 กุมภาพันธ์ 2553 | |||||
— | Syamsul Arifin (ชั่วคราว) |
16 กุมภาพันธ์ 2553 | 25 กรกฎาคม 2553 | |||||
15 | Rahudman Harahap | 26 กรกฎาคม 2553 | 16 พฤษภาคม 2556 | 23 | Dzulmi Eldin | |||
— | Dzulmi Eldin | 15 พฤษภาคม 2556 | 17 มิถุนายน 2557 | — | ||||
16 | 18 มิถุนายน 2557 | 26 กรกฎาคม 2558 | ||||||
— | Syaiful Bahri Lubis (ผู้บริหารรายวัน) |
27 กรกฎาคม 2558 | 5 ตุลาคม 2558 | — | ||||
— | Randiman Tarigan (เจ้าหน้าที่) |
5 ตุลาคม 2558 | 17 กุมภาพันธ์ 2559 | |||||
(16) | Dzulmi Eldin | 17 กุมภาพันธ์ 2559 | 17 ตุลาคม 2562 | 24 (2015) |
Akhyar Nasution | |||
— | Akhyar Nasution | 17 ตุลาคม 2562 | 11 กุมภาพันธ์ 2564 | Plt. | ||||
17 | 11 กุมภาพันธ์ 2564 | 17 กุมภาพันธ์ 2564 | ||||||
— | Arief Sudarto Trinugroho (ชั่วคราว) |
23 กันยายน 2563 | 6 ธันวาคม 2563 | |||||
— | Wiriya Alrahman (ผู้บริหารรายวัน) |
17 กุมภาพันธ์ 2564 | 26 กุมภาพันธ์ 2564 | — | ||||
18 | Bobby Nasution | 26 กุมภาพันธ์ 2564 | ปัจจุบัน | 25 | Aulia Rachman |
หน่วยการบริหาร
[แก้]พื้นที่นครเมดันแบ่งออกเป็น 21 แขวง (เกอจามาตัน) ได้แก่
- แขวงเมดันโกตา (Medan Kota)
- แขวงเมดันโกตาเบอลาวัน (Medan Kota Belawan)
- แขวงเมดันโจโฮร์ (Medan Johor)
- แขวงเมดันซุงกัล (Medan Sunggal)
- แขวงเมดันเซอลายัง (Medan Selayang)
- แขวงเมดันเดอไน (Medan Denai)
- แขวงเมดันเดอลี (Medan Deli)
- แขวงเมดันตะวันตก (Medan Barat)
- แขวงเมดันตะวันออก (Medan Timur)
- แขวงเมดันตุนตูงัน (Medan Tuntungan)
- แขวงเมดันเติมบุง (Medan Tembung)
- แขวงเมดันบารู (Medan Baru)
- แขวงเมดันเปอตีซะฮ์ (Medan Petisah)
- แขวงเมดันเปอร์จูวางัน (Medan Perjuangan)
- แขวงเมดันโปโลนียา (Medan Polonia)
- แขวงเมดันมาเรลัน (Medan Marelan)
- แขวงเมดันไมมุน(Medan Maimun)
- แขวงเมดันลาบูฮัน (Medan Labuhan)
- แขวงเมดันอัมปลัซ (Medan Amplas)
- แขวงเมดันอาเรอา (Medan Area)
- แขวงเมดันเฮ็ลเฟตียา (Medan Helvetia)
ประชากร
[แก้]ประชากรส่วนใหญ่ของเมดันเป็นเชื้อสายมลายู ประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และอื่น ๆ เนื่องด้วยเป็นเมืองใหญ่จึงมีความหนาแน่นของประชากรอย่างมาก
เขตพื้นที่ | พื้นที่ (km²) | ประชากร (สำรวจปี 2010) | ความหนาแน่นของประชากร (/km²) |
---|---|---|---|
เมดัน (โกตา) | 265.1 | 2,109,330 | 7,959 |
บินไจ (โกตา) | 90.2 | 246,010 | 2,726 |
เขตบริหารเดอลีเซอร์ดัง | 2,384.62 | 1,789,243 | 750.3 |
รวม | 2,739.92 | 4,144,583 | 1,512.8 |
เนื่องจากความเจริญของเมดันและแรงดึงดูดในการประกอบอาชีพ ทำให้มีการอพยพของคนอินโดนีเซียทั้งจากเกาะชวาและในเกาะสุมาตราเองมายังเมดัน รวมถึงชาวจีนและอินเดียด้วย จึงมีความหลากหลายของเชื้อชาติในเมดันอย่างมาก มีการพูดภาษาอย่างหลากหลาย แต่ภาษาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือภาษาอินโดนีเซียและภาษาอังกฤษ ภาษาจีนฮกเกี้ยนมีใช้ในกลุ่มคนจีน
เชื้อชาติ | ค.ศ. 1930 | ค.ศ. 1980 | ค.ศ. 2000 |
---|---|---|---|
ชาวชวา | 24,89% | 29,41% | 33,03% |
ชาวบาตัก | 2,93% | 14,11% | -- (see Note) |
ชาวจีน | 35,63% | 12,8% | 10,65% |
ชาวเมดัน | 6,12% | 11,91% | 9,36% |
ชาวมีนังกาเบา | 7,29% | 10,93% | 8,6% |
ชาวมลายู | 7,06% | 8,57% | 6,59% |
ชาวกาโร | 0,19% | 3,99% | 4,10% |
ชาวอาเจะฮ์ | -- | 2,19% | 2,78% |
ชาวซุนดา | 1,58% | 1,90% | -- |
อื่นๆ | 14,31% | 4,13% | 3,95% |
Source: 1930 and 1980: Usman Pelly, 1983 เก็บถาวร 2012-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; 2000: BPS Sumut[17] |
สถานที่สำคัญ
[แก้]มีอาคารเก่าแก่จำนวนมากในเมดันที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมของชาวดัตช์เอาไว้ อาคารเหล่านี้รวมถึงศาลากลางจังหวัดเก่า ไปรษณีย์กลาง และอาคาร The Tirtanadi Water Tower ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนครเมดันด้วย
การขนส่งและเดินทาง
[แก้]ในเมืองเมดันยังคงนิยมการโดยสาร รถสามล้อที่เรียกว่า motorized becaks' อยู่เนื่องด้วยสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไป ราคาถูก และสามารถต่อรองราคาได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการขนส่งประเภทอื่น เช่นรถแท็กซี่และมินิบัสที่เรียกว่า sudako
มีทางรถไฟจากเมดันเชื่อมต่อไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วเกาะสุมาตรา และท่าเรือที่มีความสำคัญเพื่อการขนส่งสินค้า สนามบินนานาชาติกูวาลานามู ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเมดัน มีสายการบินทั้งในและต่างประเทศ สามารถเลือกโดยสารได้อย่างมากมาย สายการบินที่เดินทางไปเมดันมีสายการบิน Lion Air, Garuda Indonesia, Air Asia, Malaysia Airlines, Singapore Airlines, SilkAir, Firefly, Merpati, Batavia Air และ Valuair
ระเบียงภาพ
[แก้]-
Tirtanadi Tower, Icon of Medan
-
Medan
-
Maimoon Palace, home of the Sultan of Deli
-
Medan at night
-
Medan skyline
-
The tricycle rickshaw (becak)
-
Medan
เมืองพี่น้อง
[แก้]เมดันเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้[18]
- เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย (1984)
- อิจิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น (1989)
- ควังจู ประเทศเกาหลีใต้ (1997)
- เฉิงตู ประเทศจีน (2002)
- มิลวอกี สหรัฐ (2014)[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Medan Het Parijs van Sumatra, Medan Paris di Sumatra". Teknomuda (ภาษาอินโดนีเซีย). 2017-09-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
- ↑ "Medan, Sang Parijs van Sumatera". BatakPedia (ภาษาอินโดนีเซีย). 2020-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
- ↑ "Demographia World Urban Areas, 16th Annual Edition" (PDF). February 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 June 2020.
- ↑ "PU-net". perkotaan.bpiw.pu.go.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.
- ↑ 5.0 5.1 Badan Pusat Statistik Sumatra Utara (2020). Produk Domestik Regional Bruto Kabupaten/kota di Sumatra Utara 2015-2019. Medan: Badan Pusat Statistik.
- ↑ "Badan Pusat Statistik". bps.go.id. สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
- ↑ Kumar, Pankaj; Mishra, Binaya Kumar; Avtar, Ram; Chakraborty, Shamik (2021). "Quantifying future water environment using numerical simulations: a scenario-based approach for sustainable groundwater management plan in Medan, Indonesia". Global Groundwater. Elsevier. pp. 585–596. doi:10.1016/b978-0-12-818172-0.00043-8.
Medan is the capital city of North Sumatra province.
- ↑ "26. Z. Irian Jaya". bappenas.go.id (Word DOC) (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
- ↑ Geografi. ISBN 9789797596194.
- ↑ "Jumlah Penduduk menurut Jenis Kelamin dan Kabupaten/Kota Sumatra Utara 2011–2016". Badan Pusat Statistik Provinsi Sumatra Utara (ภาษาอินโดนีเซีย). 3 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
- ↑ Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
- ↑ "Demographia World Urban Areas, 14th Annual Edition" (PDF). April 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
- ↑ "Medan, Indonesia Köppen Climate Classification (Weatherbase)". Weatherbase. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
- ↑ "World Weather Information Service–Medan". World Meteorological Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2015. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
- ↑ Worldwide Bioclimatic Classification System. "INDONESIA – POLONIA". www.globalbioclimatics.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
- ↑ "Total Hours of Sunshine – Medan – Climate Robot Indonesia". www.weatheronline.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ Indikator Statistik Esensial Provinsi Sumatera Utara 2009, Badan Pusat Statistik Sumatera Utara, January 2009
- ↑ "Medan Menjalin Hubungan Kota Kembar Keempat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2007. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
- ↑ "City will host Indonesian sister city signing ceremony Thursday" (online magazine, press release). onMilwaukee.com. 28 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เมดัน
- คู่มือการท่องเที่ยว เมดัน จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Official Government website (ในภาษาอินโดนีเซีย)
- Medanesia – Medan Forum (ในภาษาอินโดนีเซีย)