ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศซูดานใต้

พิกัด: 8°N 30°E / 8°N 30°E / 8; 30
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซาท์ซูดาน)

8°N 30°E / 8°N 30°E / 8; 30

สาธารณรัฐซูดานใต้

คำขวัญ"ความยุติธรรม เสรีภาพ ความมั่งคั่ง"
ประเทศซูดานใต้อยู่ในสีเขียวเข้ม ดินแดนพิพาทอยู่ในสีเขียวอ่อน
ประเทศซูดานใต้อยู่ในสีเขียวเข้ม ดินแดนพิพาทอยู่ในสีเขียวอ่อน
ที่ตั้งของ ประเทศซูดานใต้  (น้ำเงินเข้ม) – ในแอฟริกา  (น้ำเงินอ่อน & เทาเข้ม) – ในสหภาพแอฟริกา  (น้ำเงินอ่อน)
ที่ตั้งของ ประเทศซูดานใต้  (น้ำเงินเข้ม)

– ในแอฟริกา  (น้ำเงินอ่อน & เทาเข้ม)
– ในสหภาพแอฟริกา  (น้ำเงินอ่อน)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
จูบา
04°51′N 31°36′E / 4.850°N 31.600°E / 4.850; 31.600
ภาษาราชการอังกฤษ[1]
และอีกประมาณ 60 ภาษา
[note 1]
ภาษาพูด[7]
ศาสนา
(2020)[8]
เดมะนิมชาวซูดานใต้
การปกครองสหพันธ์ ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ[9]
ซัลวา กีร์ มายาร์ดิต
Riek Machar[10]
เจมส์ วานี อิกกา[10]
ตาบัน เดง ไก[10]
Rebecca Nyandeng De Mabior[10]
ฮุซัยน์ อับดุลบากี[10]
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงเปลี่ยนผ่าน
สภาแห่งรัฐ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ก่อตั้ง
1 มกราคม ค.ศ. 1956
6 มกราคม ค.ศ. 2005
9 กรกฎาคม ค.ศ. 2005
9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
13 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
พื้นที่
• รวม
644,329 ตารางกิโลเมตร (248,777 ตารางไมล์) (อันดับที่ 41)
ประชากร
• 2019 ประมาณ
12,778,250 (อันดับที่ 75)
• สำมะโนประชากร 2008
8,260,490 (กำกวม)[11]
13.33 ต่อตารางกิโลเมตร (34.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 214)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
18.435 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[12]
1,420 ดอลลาร์สหรัฐ[12] (อันดับที่ 222)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
3.194 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[12]
246 ดอลลาร์สหรัฐ[12]
จีนี (2016)positive decrease 44.1[13]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.433[14]
ต่ำ · อันดับที่ 185
สกุลเงินปอนด์ซูดานใต้ (SSP)
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา[15]
รหัสโทรศัพท์+211[16]
รหัส ISO 3166SS
โดเมนบนสุด.ss[17]a
  1. ลงทะเบียนแล้ว แต่ยังไม่ดำเนินการ

ซูดานใต้[18] หรือ เซาท์ซูดาน[18] (อังกฤษ: South Sudan) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐซูดานใต้ หรือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (อังกฤษ: Republic of South Sudan)[19] เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า จูบา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิเควทอเรียลกลางที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ซูดานใต้เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับเอธิโอเปีย ทางใต้ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทางตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางเหนือติดต่อกับซูดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบึงตมซึ่งเกิดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขาว

หลังจากประเทศซูดานได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมีบางช่วงที่ซูดานใต้ได้รับสิทธิ์ในการปกครองตนเอง เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากประเทศซูดานขึ้น ผลปรากฏว่า ชาวซูดานใต้เสียงข้างมากเกือบ 99% เห็นควรแยกตัวเป็นเอกราช[20] และเมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 9 กรกฎาคม ซูดานใต้ก็กลายเป็นประเทศเอกราชโดยแยกตัวออกจากประเทศซูดาน[21]

ซูดานใต้ได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือจักรภพแห่งชาติ[22] และยังได้รับการประกาศว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมจะสมัครเป็นสมาชิกในสันนิบาตอาหรับได้ด้วยเช่นกัน[23] นอกจากนี้ ยังได้แสดงความสนใจจะเข้าร่วมประชาคมแอฟริกาตะวันออก ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ได้รับการสนับสนุนในหลักการโดยรัฐสมาชิก เคนยาและรวันดา[24] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวางแผนจะประชุมกันในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่ออภิปรายถึงสมาชิกภาพและการรับรองสาธารณรัฐซูดานใต้อย่างเป็นทางการ [25] ซึ่งในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ลงมติรับรองชาติเกิดใหม่นี้เป็นรัฐสมาชิกลำดับที่ 193 ของสหประชาชาติแล้ว

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบในแง่ลบจากสงครามกลางเมืองสองครั้งนับแต่ซูดานได้รับเอกราช รัฐบาลซูดานสู้รบกับกบฏตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ถึง 2515 ในสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่หนึ่ง และกองทัพปลดปล่อยประชาชนซูดาน (SPLA/M) ในสงครามกลางเมืองครั้งที่สองเป็นเวลาอีกเกือบยี่สิบเอ็ดปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง SPLA/M ในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งส่งผลให้เกิดการปล่อยปละละเลย การขาดการพัฒนาสาธารณูปโภค ตลอดจนการทำลายล้างและการย้ายประชากรอย่างมโหฬาร มีผู้ถูกสังหารมากกว่า 2.5 ล้านคน และมีอีกมากกว่า 5 ล้านคนถูกขับออกจากถิ่นที่อยู่ กลายเป็นผู้ลี้ภัยจากผลของสงครามกลางเมืองและที่เกี่ยวข้องกับสงคราม

มีการประเมินว่าภูมิภาคซูดานใต้มีประชากร 8 ล้านคน[26] แต่เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการทำสำมะโนประชากรมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ตัวเลขประมาณนี้จึงอาจคาดเคลื่อนอย่างรุนแรง เศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นแบบชนบทและพึ่งพาเกษตรกรรมเพื่อยังชีพเป็นหลัก[26] ในกลางคริสต์ทศวรรษ 2000 เศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนจากที่ชนบทเด่นกว่ามาเป็นเขตเมือง โดยสังเกตได้ว่าซูดานใต้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวาง

เอกราช

[แก้]

มีการจัดการลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราชระหว่างวันที่ 9 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2554 โดยประชากรที่ออกเสียงกว่า 98.83% โดยผลการลงประชามติเผยแพร่เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554[27] ชาวซูดานที่อาศัยอยู่ทางเหนือและที่อยู่โพ้นทะเลก็มาใช้สิทธิ์ด้วยเช่นกัน[28] ผลการลงประชามตินำไปสู่การได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ถึงแม้ว่าข้อพิพาทบางประการจะยังคงดำเนินต่อไป อย่างเช่น ส่วนแบ่งรายได้จากการค้าน้ำมัน ซึ่งมีการประเมินว่า 80% ของน้ำมันในซูดานอยู่ในซูดานใต้ นับเป็นศักยภาพทางเศรษฐกิจอันน่าทึ่งสำหรับพื้นที่เสื่อมโทรมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภูมิภาค Abyei ยังคงอยู่ในระหว่างพิพาทและจะมีการจัดการลงประชามติแยกต่างหากใน Abyei ว่าชาวเมืองต้องการจะเข้าร่วมกับซูดานเหนือหรือซูดานใต้[29] ความขัดแย้งคูร์ดูฟันใต้ปะทุขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ระหว่างกองทัพซูดานใต้กับ SPLA เหนือเทือกเขานูบา

ซูดานใต้กำลังทำสงครามกับกลุ่มติดอาวุธอย่างน้อยเจ็ดกลุ่ม โดยมีประชากรถูกบังคับให้ย้ายออกจากถิ่นที่อยู่แล้วหลายหมื่นคน[30]

สงครามกลางเมือง (2556–ปัจจุบัน)

[แก้]

ในเดือนธันวาคม 2556 เกิดการแก่งแย่งอำนาจทางการเมืองระหว่างประธานาธิบดีกีร์และอดีตผู้ช่วยของเขา รีค มาชาร์ (Riek Machar) เมื่อประธานาธิบดีกล่าวหามาชาร์และผู้อื่นอีกสิบคนว่าพยายามรัฐประหาร[31] แม้ทั้งสองมีผู้สนับสนุนจากชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วซูดานใต้ แต่การสู้รบต่อมาเป็นชุมชน โดยกบฏมุ่งเป้าสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ดิงกาของกีร์และทหารรัฐบาลโจมตีนูเออร์[32] ทหารยูกันดายังสู้รบร่วมกับกำลังรัฐบาลซูดานใต้ต่อกบฏ[33]

มีประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 100,000 คนในความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ดิงกา-นูเออร์ ข้าราชการห้าคน รวมมาชาร์ ถูกพิจารณาฐานกบฏ ซึ่งทั้งหมดปฏิเสธข้อกล่าวหาโดยสิ้นเชิง ซึ่งผู้สังเกตการณ์เกรงว่าจะคุกคามการหยุดยิงล่าสุด[32] มีผู้พลัดถิ่นกว่า 1,000,000 คนในซูดานใต้ และกว่า 400,000 คนหลบหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน[34] โดยเฉพาะเคนยา ซูดานและยูกันดาอันเนื่องมาจากความขัดแย้ง[35]

เมื่อปลายเดือนกันยายน 2557 ทั้งกลุ่มแยก SPLM รวมทั้ง SPLM-IO ตกลงข้อเสนอทำให้เป็นสหพันธรัฐ (federalisation) ที่ขอมานานของฝ่ายค้านและตัวแสดงที่เป็นกลางกว่า

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ซูดานใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 3 และ 13 องศาเหนือ และลองติจูด 24 และ 36 องศาตะวันออก ปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อน บึงและทุ่งหญ้า มีแม่น้ำไนล์ขาวไหล่ผ่านประเทศ ผ่านเมืองหลวง จูบา[36]

การเมือง

[แก้]

สภานิติบัญญัติของสาธารณรัฐซูดานใต้อนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[37] ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองรัฐ โดยยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. 2548[38] รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจัดตั้งระบบการปกครองแบบระบบประธานาธิบดี ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขแห่งรัฐบาล และผู้บัญชาการทหารสูงสุด จอห์น กาแรง ผู้ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนซูดาน (SPLA/M) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัฐบาลปกครองตนเองจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซัลวา กีร์ มายาร์ดิต มือขวาของเขา สาบานตนเข้ารับตำแหน่งรองประธานาธิบดีคนแรกของซูดานและประธานาธิบดีรัฐบาลซูดานใต้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 อำนาจนิติบัญญัติตกเป็นของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติซูดานใต้ที่เป็นแบบสภาเดียว รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้ฝ่ายตุลาการทำหน้าที่เป็นอิสระ โดยมีองค์กรสูงสุดคือศาลสูงสุด

เอกสารกลาโหมว่าด้วยกระบวนการป้องกันริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยรัฐมนตรีว่าการกิจการ SPLA โดมีนีก ดิม เดง และมีการจัดทำร่างขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เอกสารดังกล่าวประกาศว่าซุดานใต้จะดำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพอากาศและกองทัพแม่น้ำ (riverine forces)[39][40]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
รัฐทั้งสิบของซูดานใต้จัดเป็นหมวดหมู่ในสามภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ของซูดาน
  บาหร์ อัล กาซัล
  เอควาทอเรีย
  เกรตเตอร์อัปเปอร์ไนล์

ซูดานใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็นสิบรัฐตามภูมิภาคทางประวัติศาสตร์สามภูมิภาคของซูดาน ได้แก่ บาหร์ อัล กาซัล, เอควาทอเรียและเกรตเตอร์อัปเปอร์ไนล์ และแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 86 เขต

  • บาหร์ อัล กาซัล
    • บาหร์ อัล กาซัลเหนือ
    • บาหร์ อัล กาซัลตะวันตก
    • ลาเคส
    • วารับ
  • เอควาทอเรีย
    • เอควาทอเรียตะวันตก
    • เอควิทอเรียกลาง (เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จูบา)
    • เอควาทอเรียตะวันออก
  • เกรตเตอร์อัปเปอร์ไนล์
    • จุนกาลี
    • ยูนิตี
    • อัปเปอร์ไนล์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เมื่อซูดานใต้แยกตัวออกจากซูดานโดยผลการลงประชามติ การลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชในบางภูมิภาคที่ติดต่อกับซูดานใต้เองก็มีการตกลงในหลักการหรือกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา รวมทั้งรัฐคูร์ดูฟันใต้และบลูไนล์[41]

นับตั้งแต่วันที่ประกาศอิสรภาพ ความสัมพันธ์กับซูดานยังคงอยู่ในระหว่างการเจรจา ประธานาธิบดีซูดาน อูมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร์ แต่แรกเคยประกาศเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ว่าอนุญาตให้พลเมืองถือสองสัญชาติในซูดานเหนือและใต้ได้[36] แต่หลังจากการประกาศอิสรภาพของซูดานใต้ เขาได้ถอนข้อเสนอดังกล่าว เขายังได้เสนอแนะสมาพันธรัฐแบบสหภาพยุโรป[42]

ซูดานใต้เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ แม้จะยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ แต่ก็คาดว่าจะได้รับสมาชิกภาพเร็ว ๆ นี้[43][44] ซูดานใต้ยังมีแผนจะเข้าร่วมเครือจักรภพแห่งชาติ[45] ประชาคมแอฟริกาตะวันออก[46][47] กองทุนการเงินระหว่างประเทศ[48] และธนาคารโลก[49]

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจซูดานใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอและด้อยพัฒนาที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีสาธารณูปโภคน้อยมากและมีอัตราการเสียชีวิตของมารดาและอัตราไม่รู้หนังสือในผู้หญิงสูงที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2554[50] ซูดานใต้ส่งออกไม้ไปยังตลาดระหว่างประเทศ ภูมิภาคนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก อย่างเช่น ปิโตรเลียม แร่เหล็ก ทองแดง แร่โครเมียม สังกะสี ทังสเตน ไมกา เงิน ทองคำ และพลังงานน้ำ เศรษฐกิจของประเทศ เหมือนกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นอีกมาก พึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก

น้ำมัน

[แก้]

บ่อน้ำมันในซูดานใต้ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงอยู่รอดได้ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อซูดานใต้ได้รับเอกราชจากซูดานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 นักเจรจาฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือยังไม่สามารถบรรลุความตกลงว่าด้วยรายได้จากบ่อน้ำมันในซูดานใต้[51] ระหว่างสมัยปกครองตนเองครั้งที่สองระหว่าง พ.ศ. 2548 ถึง 2554 รัฐบาลซูดานเรียกร้องรายได้ 50% จากการส่งออกน้ำมันของซูดานใต้ และซูดานใต้ถูกบีบให้ต้องพึ่งพาท่อส่งและโรงกลั่นน้ำมันทางเหนือ เช่นเดียวกับเมืองท่าทะเลแดงที่พอร์ตซูดาน คาดว่าข้อตกลงหลังซูดานใต้ได้รับเอกราชจะคล้ายเดิม โดยนักเจรจาฝ่ายเหนือมีรายงานว่ากดดันให้ยังคงรักษาส่วนแบ่งรายได้น้ำมัน 50-50 และนักเจรจาซูดานใต้ก็ยืนกรานให้มีข้อเสนอที่ดีกว่า[52]

การคมนาคม

[แก้]

ซูดานใต้มีรางรถไฟแคบ 1,067 มิลลิเมตร ทางเดี่ยวยาว 248 กิโลเมตรจากพรมแดนซูดานถึงปลายทางเวา ท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดและพัฒนามากที่สุดในซูดานใต้ คือ ท่าอากาศยานจูบา

ลักษณะประชากร

[แก้]
หมู่บ้านแห่งหนึ่งของซูดานใต้

ซูดานใต้มีประชากรราว 6 ล้านคนและเศรษฐกิจสำคัญเป็นแบบพึ่งพาตนเองในชนบท ภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบเชิงลบจากสงครามเป็นเวลาหลายสิบปี ชาวซูดานใต้ส่วนใหญ่นับถือความเชื่อชนพื้นเมืองโบราณ ถึงแม้ว่าบางส่วนจะนับถือศาสนาคริสต์ อันเป็นผลมาจากการเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารี[26]

ภาษา

[แก้]

ภาษาราชการของซูดานใต้ คือ ภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาพูดอารบิกมีพูดกันอย่างแพร่หลาย และภาษาอารบิกจูบา อันเป็นภาษาผสม ใช้พูดกันในพื้นที่รอบเมืองหลวง

ประชากรซูดานใต้ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 200 กลุ่ม และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความหลากหลายมากที่สุดในทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตาม มีภาษาจำนวนมากที่มีผู้พูดเพียงไม่กี่พันคนเท่านั้น ภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด คือ ภาษาดิงคา ซึ่งมีผู้พูดราว 2-3 ล้านคน

กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวซูดานใต้ผู้ซึ่งเติบโตขึ้นในคิวบาระหว่างสงครามซูดาน ซึ่งมีจำนวนราว 600 คน ยังสามารถพูดภาษาสเปนได้อย่างคล่องแคล่วด้วย และส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจูบาในช่วงที่ประเทศได้รับเอกราช[53]

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาที่ชาวซูดานใต้นับถือกันนั้นประกอบด้วยศาสนาชนพื้นเมืองดั้งเดิม ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม[54] แหล่งข้อมูลวิชาการและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ชาวซูดานใต้ส่วนใหญ่ยังคงนับถือความเชื่อชนพื้นเมืองแต่เดิม (บางครั้งใช้คำว่า วิญญาณนิยม) โดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์รองลงมา[55][56][57][26] ตามข้อมูลของหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 อาจมีประชากรซูดานใต้ไม่เกิน 10% ที่เป็นคริสเตียน[58] อย่างไรก็ตาม บางรายงานข่าวและองค์กรคริสเตียนระบุว่า ประชากรซูดานใต้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์[59][60] คริสเตียนส่วนใหญ่เป็นนิกายคาทอลิกและแองกลิคัน และความเชื่อถือผีนั้นมักจะผสมเข้ากับความเชื่อคริสเตียน[61]

ประธานาธิบดีซูดานใต้ คีร์ มายาร์ดิต ว่า ซูดานใต้จะเป็นชาติที่เคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนา[62]

สถานการณ์ด้านมนุษยธรรม

[แก้]
สตรีพื้นเมืองคนหนึ่ง

ซูดานใต้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีตัวชี้วัดสุขภาพบางด้านเลวร้ายที่สุดในโลก[63][64][65] อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุไม่ถึงห้าปีอยู่ที่ 112 คน ต่อ 1,000 คน ขณะที่มีอัตราการเสียชีวิตของมารดาขณะคลอดบุตรสูงที่สุดในโลกที่ 2,053.9 คน ต่อ 100,000 คน[65] ในปี พ.ศ. 2547 มีศัลยแพทย์เพียงสามคนเท่านั้นที่อยู่ในซูดานใต้ โดยมีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานเพียงสามแห่ง และในบางพื้นที่มีแพทย์เพียงหนึ่งคนต่อประชากรถึง 500,000 คน[63]

วิทยาการระบาดของเอชไอวี/เอดส์ในซูดานใต้มีบันทึกไว้อย่างเลว แต่คาดว่ามีความชุกของโรคอยู่ที่ประมาณ 3.1%[66]

ในห้วงความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2548 ความต้องการด้านมนุษยธรรมในซูดานใต้มีสูงมาก อย่างไรก็ตาม องค์การด้านมนุษยธรรมภายใต้การนำของสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) จัดการเพื่อรับรองว่ามีการระดมทุนเพียงพอที่จะนำความช่วยเหลือมายังประชากรท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูและการช่วยเหลือพัฒนา โครงการมนุษยธรรมถูกบรรจุเข้าไปในแผนการทำงานปี พ.ศ. 2550 ของสหประชาชาติและองค์กรสนับสนุน ประชากรซูดานใต้มากกว่า 90% ดำรงชีวิตอยู่ด้วยเงินน้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน แม้ว่าจีดีพีต่อหัวของซูดานทั้งประเทศจะอยู่ที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (3.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน)[67] หลังจากปี พ.ศ. 2550 OCHA เริ่มลดบทบาทในซูดานใต้ลง เนื่องจากความต้องการด้านมนุษนธรรมค่อย ๆ ลดลงเป็นลำดับ แต่ได้ส่งมอบการควบคุมกิจกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาให้แก่องค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กรที่ตั้งขึ้นในท้องถิ่น[68]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. The Transitional Constitution of the Republic of South Sudan, Part One, 6(1): "All indigenous languages of South Sudan are national languages and shall be respected, developed and promoted".[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Transitional Constitution of the Republic of South Sudan, 2011". Government of South Sudan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011. Part One, 6(2). "English shall be the official working language in the Republic of South Sudan".
  2. "The Transitional Constitution of the Republic of South Sudan, 2011" (PDF). Government of South Sudan. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 18 November 2016.
  3. United Nations Children's Fund (UNICEF): The impact of language policy and practice on children’s learning: Evidence from Eastern and Southern Africa 2016 เก็บถาวร 13 กันยายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF; 672 kB), Pages 1–3, Retrieved 9 September 2018
  4. Manfredi, Stefano (2018). "Juba Arabic (Árabi Júba): a "less indigenous" language of South Sudan" (PDF). Sociolinguistic Studies. 12 (1): 209–230. doi:10.1558/sols.35596. hdl:2318/1702685.
  5. Manfredi Stefano; Tosco Mauro (2016), A new state, an old language policy, and a pidgin-creolo: Juba Arabic in South Sudan, Forthcoming: Sociolinguistic Studies 2016 เก็บถาวร 1 พฤศจิกายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF; 1141 kB), Pages 1–18, Retrieved 9 September 2018
  6. Manfredi Stefano; Tosco Mauro (2013), Language uses vs. language policy: South Sudan and Juba Arabic in the post-independence era เก็บถาวร 9 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF; 301 kB), Pages 798–802, III Congresso Coordinamento Universitario per la Cooperazione allo Sviluppo, Sep 2013, Turin, Italy. JUNCO, Journal of Universities and International Development Cooperation, 2014, Imagining Cultures of Cooperation – Proceedings of the III CUCS Congress, Turin 19–21 September 2013, Retrieved 9 September 2018
  7. Ethnologue: Ethnologue Languages of the World – South Sudan เก็บถาวร 9 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Retrieved 9 September 2018.
  8. "South Sudan". Global Religious Futures. Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-02. สืบค้นเมื่อ 1 July 2021.
  9. "S. Sudanese government agrees to federal system with rebels – Sudan Tribune: Plural news and views on Sudan". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษ). Addis Ababa. 27 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "Salva Kiir appoints Machar as First Vice President". The East African.
  11. "Discontent over Sudan census". News24.com. AFP. 21 May 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "South Sudan". World Economic Outlook Database. International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2019. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018.
  13. "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2014. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
  14. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  15. "Traffic and Road Conditions in Sudan, South". Countryreports.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2019. สืบค้นเมื่อ 21 January 2019.
  16. "New country, new number: Country code 211 officially assigned to South Sudan" (Press release). International Telecommunication Union. 14 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
  17. ".ss Domain Delegation Data". Internet Assigned Numbers Authority. ICANN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2012. สืบค้นเมื่อ 1 September 2011.
  18. 18.0 18.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  19. "South Sudan becomes world's newest nation". Forbes.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  20. Martell, Peter (2011 [last update]). "BBC News - South Sudan becomes an independent nation". BBC. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  21. "Sudan deal to end Abyei clashes" BBC News 14 January 2011 Retrieved 26 January 2011
  22. "South Sudan Launches Bid to Join Commonwealth". Talk of Sudan. 8 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011..
  23. "South Sudan "entitled to join Arab League"". Sudan Tribune. 12 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
  24. "South Sudan: Big trading potential for EAC". IGIHE. 8 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  25. Government of Southern Sudan (GOSS). "Washington Celebrates the Birth of a New Nation". Press Release dated 9 July 2011. 5 July 2011. http://www.gossmission.org/goss/index.php?option=com_content&task=view&id=1218&Itemid=136 เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 9 July 2011. Reilly, William. "South Sudan in Fast Lane to UN". http://english.cri.cn/6966/2011/07/09/2021s647393.htm เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 9 July 2011.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 "Background Note: Sudan" U.S. Department of State 9 November 2010 Retrieved 8 December 2010
  27. "Over 99 pct in Southern Sudan vote for secession". USA Today. 30 January 2011. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
  28. Karimi, Faith (22 January 2011). "Report: Vote for Southern Sudan independence nearly unanimous". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2 April 2011.
  29. News, BBC (30 January 2011). "99.57% of Southern Sudanese vote yes to independence". สืบค้นเมื่อ 30 January 2011. {{cite news}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  30. "South Sudan army kills fighters in clashes". Al Jazeera English. 24 April 2011. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  31. Kulish, Nicholas (9 January 2014). "New Estimate Sharply Raises Death Toll in South Sudan". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  32. 32.0 32.1 "South Sudan 'coup leaders' face treason trial". BBC News. 29 January 2014.
  33. "Yoweri Museveni: Uganda troops fighting South Sudan rebels". BBC News. 16 January 2014.
  34. "South Sudan: Massacres, Unlawful Killings, Pillage". Human Rights Watch. 8 August 2014.
  35. "UN: Over one million displaced by South Sudan conflict". BBC News. 29 March 2014.
  36. 36.0 36.1 Will Ross (9 January 2011). "Southern Sudan votes on independence". BBC. สืบค้นเมื่อ 2 April 2011.
  37. "South Sudan passes interim constitution amid concerns over presidential powers. Sudan Tribune, 8 July 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-10.
  38. "Interim Constitution of Southern Sudan of 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2011-07-10.
  39. Juba parliament authorises establishment of South Sudan air force เก็บถาวร 2012-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 25 June 2008
  40. "Creation of the South Sudan Air Force". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-12. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.
  41. The Abyei Referendum เก็บถาวร 2011-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 4 January 2011. The Carnegie guide to the future of Sudan. Carnegie Endowment for International Peace (online).
  42. "South Sudan becomes an independent nation". BBC News. 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  43. "The African Union Applauds the Success of the Referendum in Southern Sudan". au.int. 9 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-01. สืบค้นเมื่อ 2 April 2011.
  44. "The Peace and Security Council of the African Union (AU), at its 285th meeting held on 13 July 2011, was briefed by the Commissioner for Peace and Security on the accession to independence of the Republic of South Sudan". African Union. 13 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 15 July 2011.
  45. "South Sudan Launches Bid to Join Commonwealth". Talk of Sudan. 8 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  46. "South Sudan: Big trading potential for EAC". IGIHE. 8 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  47. "Welcome South Sudan to EAC!". East African Business Week. 10 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 10 July 2011.
  48. "IMF Receives Membership Application from South Sudan, Seeks Contributions to Technical Assistance Trust Fund to Help New Country". International Monetary Fund. 20 April 2011. สืบค้นเมื่อ 10 July 2011.
  49. "World Bank Group Congratulates People of South Sudan on Independence". The Financial. 9 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 10 July 2011.
  50. Elbagir, Nima; Karimi, Faith (9 July 2011). "South Sudanese celebrate the birth of their nation". CNN. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  51. "After Years of Struggle, South Sudan Becomes a New Nation". New York Times. 9 July 2011.
  52. Trivett, Vincent (8 July 2011). "Oil-Rich South Sudan Has Hours To Choose Between North Sudan, China And The U.S." Business Insider. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  53. Radio France International, "Los cubanos, la élite de Sudán del Sur". Retrieved 11 July 2011
  54. "South Sudan profile". BBC News. 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  55. Kaufmann, E.P. Rethinking ethnicity: majority groups and dominant minorities. Routledge, 2004, p. 45.
  56. Minahan, J. Encyclopedia of the Stateless Nations: S-Z. Greenwood Press, 2002, p. 1786.
  57. Arnold, G. Book Review: Douglas H. Johnson, The Root Causes of Sudan's Civil Wars. African Journal of Political Science Vol.8 No. 1, 2003, p. 147.
  58. Sudan: A Country Study Federal Research Division, Library of Congress – Chapter 2, Ethnicity, Regionalism and Ethnicity
  59. "More than 100 dead in south Sudan attack-officials" เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SABC News 21 September 2009 Retrieved 5 April 2011
  60. Hurd, Emma "Southern Sudan Votes To Split From North" Sky News 8 February 2011 Retrieved 5 April 2011
  61. Christianity, in A Country Study: Sudan, U.S. Library of Congress.
  62. "South Sudan To Respect Freedom Of Religion Says GOSS President | Sudan Radio Service". Sudanradio.org. 21 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  63. 63.0 63.1 Ross, Emma (28 January 2004). Southern Sudan as unique combination of worst diseases in the world เก็บถาวร 2014-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sudan Tribune.
  64. Moszynski, Peter (23 July 2005). Conference plans rebuilding of South Sudan's health service. BMJ.
  65. 65.0 65.1 South Sudan Household Survey(December 2007). [1] เก็บถาวร 2011-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. [South Sudan Medical Journal].
  66. Hakim, James (August 2009). [https://web.archive.org/web/20110312032025/http://www.southernsudanmedicaljournal.com/archive/2009-08/untitled-resource.html เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน HIV/AIDS: an update on Epidemiology, Prevention and Treatment. [South Sudan Medical Journal].
  67. Support freedom for Southern Sudan and fight for workers' unity against imperialism. Sean Ambler. League for the Fifth International. 10 January 2011.
  68. SUDAN: Peace bolsters food security in the south. IRIN. 18 April 2007.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Sudan Tribune 2011-11-18" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ่านเพิ่ม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Biel, Melha Rout (2007). South Sudan after the Comprehensive Peace Agreement. Jena: Netzbandt Verlag. ISBN 9783937884011.
  • Tvedt, Terje (2004). South Sudan. An Annotated Bibliography. (2 vols) (2nd ed.). London/New York: IB Tauris. ISBN 1-860-64987-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]