ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งเบลเยียม
มกุฎราชกุมารีแห่งออสเตรีย-ฮังการี
เจ้าหญิงลอนไยแห่งนาจี-ลอนย่า
พระนามเต็ม สเตฟานี่ คลอทิลด์ หลุยส์ เฮอร์มีนี่ มารี ชาร์ลอต
พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2407
(ค.ศ. 1864)
สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(ค.ศ. 1945) (81 พรรษา)
พระสวามี อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี
พระราชบุตร อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ มารี
ราชวงศ์ ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
พระราชมารดา มารี เฮนรีทเทอแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม

เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งเบลเยียม (อังกฤษ: Princess Stéphanie of Belgium, Crown Princess of Austria-Hungary, เยอรมัน: Prinzessin Stephanie von Belgien, Kronprinzessin von Österreich-Ungarn) (พระนามเต็ม: สเตฟานี่ คลอทิลด์ หลุยส์ เฮอร์มีนี่ มารี ชาร์ลอต, Stéphanie Clotilde Louise Herminie Marie Charlotte von Habsburg-Lothringen (ราชสกุลเดิม Saxe-Coburg and Gotha)) ทรงเป็นเจ้าฟ้าหญิงแห่งเบลเยียม เจ้าหญิงแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา และดัชเชสแห่งแซ็กโซนี นอกจากนี้ ยังเป็นพระชายาในอาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีด้วย

พระราชประวัติ

[แก้]

เจ้าหญิงสเตฟานี ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2407พระราชวังลาเค็น ประเทศเบลเยียม เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม และ สมเด็จพระราชินีมารี เฮนรีทเทอแห่งเบลเยียม โดยพระองค์เป็นพระราชนัดดาแท้ ๆ ในพระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม และสมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์ลอต้าแห่งเม็กซิโก

เมื่อทรงพระเยาว์ สมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จพระราชมารดาทรงรีบเร่งให้มีการอภิเษกสมรสกับอาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 และสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย โดยทั้ง 2 พระองค์ได้มีพระบัญชาให้อาร์ชดยุกรูดอล์ฟเสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2423 เพื่อทรงไปปรับตัวและทำความรู้จักคุ้นเคยกับพระคู่หมั้นของพระองค์ 2 วันต่อมา ทั้ง 2 พระองค์ก็เข้าพิธีหมั้น อย่างไรก็ตาม งานอภิเษกสมรสก็ถูกเลื่อนออกไป เพราะเนื่องจากฝ่ายเจ้าสาวยังมีพระชนมายุน้อย ซึ่งไม่เป็นการเหมาะสมที่จะอภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 ขณะนั้น มีพระชนมายุ 17 ชันษา ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารรูดอล์ฟ ณ มหาวิหารเซนต์ ออกัสติน กรุงเวียนนา โดยพิธีอภิเษกสมรสครั้งนี้ ได้มีพระราชอคันตุกะมาร่วมพิธีนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ และพระนัดดา เจ้าฟ้าชายวิลเฮล์ม เจ้าชายแห่งปรัสเซีย มกุฎราชกุมารแห่งเยอรมนี เป็นต้น

มกุฎราชกุมารรูดอล์ฟ และมกุฎราชกุมารสเตฟานี่ มีพระธิดาเพียง 1 พระองค์ ดังนี้

มกุฎราชกุมารี

[แก้]
มกุฎราชกุมาร และมกุฎราชกุมารีแห่งออสเตรีย-ฮังการี

หลังจากการอภิเษกสมรส พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารีแห่งออสเตรีย-ฮังการี เพื่อที่จะทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีองค์ต่อไป โดยในระหว่างที่ทรงดำรงมกุฎราชกุมารี พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายอย่าง เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระสัสสุระ และทรงเข้าปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธ พระสัสสุไม่โปรด เนื่องจากทรงหมกมุ่นอยู่กับการบำรุงความงามของพระองค์ และด้วยความที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเหล่านี้ สร้างความโปรดปรานแก่สมเด็จพระจักรพรรดิ พระสัสสุระเป็นอย่างยิ่ง

พระองค์ทรงได้รับการให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย เพราะเนื่องจากมีการให้ความสำคัญแก่องค์มกุฎราชกุมารโดยตรงมากกว่า ประกอบกับการที่สมเด็จพระจักรพรรดินเอลิซาเบธ พระสัสสุทรงไม่โปรดพระองค์ซักเท่าไหร่ เนื่องด้วยทรงหมกมุ่นอยู่กับการบำรุงความงามของพระองค์ประกอบกับผลมาจากที่พระมาตุฉาของพระองค์(เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียมสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก) ที่ไม่โปรดพระสัสสุ ทำให้พาลไปถึงพระองค์ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ทรงเป็นโรคติดต่อ ที่สามารถส่งผลอย่างร้ายแรงต่อพระครรภ์ของพระองค์ ทั้ง 2 พระองค์จึงทรงปรึกษาหารือเรื่องการตกลงพระทัยหย่าของทั้ง 2 พระองค์

ระหว่างที่พระองค์เสด็จประพาสราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดมีเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์ และประเทศยูเครน) เมื่อปีพ.ศ. 2430 พระองค์ทรงหลงรักกับท่านเค้านท์ชาวโปแลนด์คนหนึ่ง ซึ่งอีก 18 เดือนต่อมา พระองค์ก็ไม่ทรงปกปิดแก่พระสวามี โดยทรงยอมเลิกความสัมพันธ์กับเค้านท์ชาวโปแลนด์คนนั้น ซึ่งตรงกันข้าม พระสวามีทรงปกปิดความสัมพันธ์ลับระหว่างพระองค์และนางสนมได้อย่างมิดชิด แต่ก็ทรงเก็บเป็นความลับไม่นาน ก็ล่วงรู้ทั่วราชสำนัก

การสวรรคตชองพระสวามี

[แก้]

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2432 มกุฎราชกุมารรูดอล์ฟ พระสวามีเสด็จสวรรคต ณ คฤหาสน์ล่าสัตว์มาเยอร์ลิ่ง พร้อมด้วยบารอนเนสแมรี่ เว็ทเซร่า นางสนมลับของพระองค์ สาเหตุการสวรรคต เนื่องจากพระองค์ทรงใช้ปืนส่วนพระองค์ยิงบารอนเนสแมรี่ถึงแก่ความตาย จากนั้นก็ทรงใช้ปืนยิงพระองค์สวรรคตตาม การสวรรคตของพระองค์นี้ สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่อาร์ชดัชเชสสเตฟานี่ พระชายาเป็นอย่างมาก เป็นการทำลายความหวังที่จะเริ่มต้นชีวิตคู่ครั้งใหม่ในอนาคต หลังจากการสวรรคตของพระสวามี ทำให้พระองค์ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดาย ถึงแม้ว่าจะมีพระธิดาประทับด้วย แต่พระองค์ก็ยังทรงรู้สึกเดียวดาย ประกอบกับพระองค์ ทรงมีความขัดแย้งกับสมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์ พระราชบิดาถึงการที่ทรงถอนพระองค์ออกจากลำดับการสืบสันตติวงศ์ราชบัลลงก์เบลเยียม พระองค์จึงได้ออกจากราชสำนักออสเตรีย โดยทรงแยกมาอยู่ในพระตำหนักส่วนพระองค์พร้อมด้วยพระธิดาตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา โดยพระองค์ทรงใช้พระยศใหม่ที่ทรงตั้งขึ้นมาเอง เช่น เค้านท์เตสลาโครมา (The Countess Lacroma) เค้านท์เตสเอ็พแพน (The Countess Eppan) เค้านท์เตสก๊อดเรคอร์ต (The Countess Godrecourt) หรือ เลดีบองเชิร์ช (The Lady Bonchurch) เป็นต้น

การอภิเษกสมรสครั้งใหม่

[แก้]

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2443 พระองค์ทรงได้อภิเษกสมรสครั้งใหม่กับ เค้านท์เอลแมร์ ลอนไย ซึ่งเป็นเค้านท์ชาวฮังการี โดยงานอภิเษกสมรสครั้งนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียทรงมีส่วนร่วมด้วย โดยหลังจากอภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเค้านท์เอลแมร์ เป็นเจ้าชายแห่งลอนไย (The Prince Lónyai, Fürst von Lónyai) ทั้ง 2 พระองค์ทรงไม่มีพระโอรสหรือพระธิดาด้วยกัน โดยทั้ง 2 พระองค์ทรงย้ายไปประทับอยู่ที่พระตำหนักออโรสวาร์ ทางตะวันตกของประเทศฮังการี

เมื่อปีพ.ศ. 2478 พระองค์ทรงเขียนหนังสือ และตีพิมพ์วางจำหน่ายตามที่ต่างๆ ยกเว้นออสเตรีย เรื่อง Ich Sollte Kaiserin Werden หรือ I Was To Be Empress

เจ้าหญิงสเตฟานี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รวมพระชันษาทั้งหมด 81 ชันษา

พระอิสริยยศ

[แก้]

ราชตระกูล

[แก้]
พระราชตระกูลในสามรุ่นของเจ้าหญิงสเตฟานี่แห่งเบลเยียม
เจ้าหญิงสเตฟานี่แห่งเบลเยียม พระชนก:
สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
ฟรันซ์ ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงออกัสต้าแห่งรอยส์-เอเบอร์สดอร์ฟ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หลุยส์-มารีแห่งออร์เลอ็อง
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
หลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
มารีอา อะเมเลียแห่งเนเปิลส์และซิซิลี
พระชนนี:
มารี เฮนรีทเทอแห่งออสเตรีย
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
อาร์ชดยุกโจเซฟแห่งออสเตรีย สมุหนายกแห่งฮังการี
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงมาเรีย หลุยซ่าแห่งสเปน
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ดัชเชสมาเรีย โดโรเธียแห่งวืร์ทเต็มเบิร์ก
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ดยุกหลุยส์แห่งวืร์ทเต็มเบิร์ก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงเฮ็นเรียตแห่งนัสซอว์-ไวล์บูร์ก

อ้างอิง

[แก้]
  • Stephanie von Lónyay: Ich sollte Kaiserin werden. Lebenserinnerungen der letzten Kronprinzessin von Österreich-Ungarn. Koehler und Amelang, Leipzig 1935
  • Irmgard Schiel: Stephanie - Kronprinzessin im Schatten von Mayerling. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart 1978
  • Helga Thoma: Ungeliebte Königin. Piper, München 2000

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]