เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร)
เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) | |
---|---|
สมุหนายก | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2429 – พ.ศ. 2435 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ |
ถัดไป | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ[1] |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2368 |
เสียชีวิต | 23 เมษายน พ.ศ. 2441 (73 ปี) |
บุพการี | |
เจ้าพระยารัตนบดินทร์ นามเดิม รอด (บางแห่งว่าบุญรอด)[2] เป็นขุนนางในสกุลกัลยาณมิตร ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายกคนสุดท้าย
ประวัติ
[แก้]เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มีนามเดิมว่า รอด เกิดเมื่อปีจอ จ.ศ. 1187 (ตรงกับ พ.ศ. 2368) เป็นบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปีมะแม พ.ศ. 2390 มีบรรดาศักดิ์เป็นนายเล่ห์อาวุธ หุ้มแพร[3]
ปีชวด พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนเป็นหลวงฤทธินายเวร แล้วเลื่อนอีกในปีนั้นเป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็ก ถึงปีชวด พ.ศ. จึงโปรดให้เป็นพระยาราชวรานุกูล วิบูลยภักดีวิริยพาหะ ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ศักดินา 2000[3]
รับราชการ
[แก้]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2416 โปรดให้ท่านมีนามเดิมแต่เพิ่มตำแหน่งผู้รักษากรุงศรีอยุธยา ถือศักดินา 10000 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2417 จึงโปรดให้ท่านว่าที่เสมอเสนาบดีกรมเกษตราธิบดี ดำรงศักดินา 10000[3] ต่อมาได้เป็นกรรมการกฤษฎีกาและองคมนตรี แล้วได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยาตำแหน่งที่จตุสดมภ์เสนาบดีในวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 มีนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี ศรีวิไชยราชมหไยสวรรย์ อเนกานันต์ธัญญาหาร พิจารณ์ปฏิพัทธ นพรัตนมุรธาธร มหิศรสมุหเชฐเกษตราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10000[4]และสุดท้ายได้รับสถาปนาเป็นสมุหนายกเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบค่ำ ปีจออัฐศก จุลศักราช 1248 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2429 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มหินทรมหากัลยาณมิตร อเนกบุญฤทธิประสิทธิสาธุคุณ วิบุลยศุภผล นิพัทธกุศลกิริยาภิรัต วงโศปบัติมหามัตยตระกูล อดูลยเมตยาชวาธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณารักษ์ อุดมศักดิพิเศษ นาครามาตยเชษฐมหาสมุหนายก สยามโลกยดิลกบรมราชมานิต สกโลดรทิศประเทศาธิบดี มหาราชสีหมุรธาธร อัครมหาดไทยวริศรเสนาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ที่สมุหนายกศักดินา 10000[5]
ถึงแก่อสัญกรรม
[แก้]เจ้าพระยารัตนบดินทรป่วยมานาน และถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2441 วันต่อมา เวลาบ่าย 4 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าพนักงานแต่งศพ ลงลองใน ตั้งบนแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบโกศไม้สิบสอง แวดล้อมด้วยเครื่องสูงสามชั้น[2] ถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2442 เวลาบ่าย 5 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[8]
- พ.ศ. 2439 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์"
- ↑ 2.0 2.1 "ข่าวอสัญญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (5): 47. 1 พฤษภาคม ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 111
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรในปีเถาะเอกศก (หน้า 69-70)
- ↑ ข่าวราชการ (หน้า 235)
- ↑ "เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยารัตนบดินทร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (5): 61–62. 30 เมษายน ร.ศ. 118. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ (หน้า 386)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-29.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่โปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานนำไปและส่งไปพระราชทาน
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 111-115. ISBN 974-417-534-6