เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี
ท่านเจ้าคุณ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี | |
---|---|
พระสนมเอก | |
ดำรงยศ | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน (5 ปี 137 วัน) |
เกิด | นิรมล อุ่นพรม 26 มกราคม พ.ศ. 2528[1][2] อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
พระสนมเอกใน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมรส 2562)[3] |
บิดา | วิรัตน์ อุ่นพรม[2] |
มารดา | คุณหญิงปราณี อุ่นพรม[2] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2551–2562, 2563–ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พลตรี |
บังคับบัญชา | ทหารรักษาพระองค์ |
พลตรีหญิง เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี ชื่อเล่น ก้อย (นามเดิม: นิรมล อุ่นพรม ; เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2528)[1][2] เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นสตรีคนแรกที่เป็นพระสนมของพระมหากษัตริย์ไทยในรอบเกือบร้อยปี[4]
เดิมเจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี เป็นพยาบาลทหารกองทัพบก ภายหลังได้เป็นบาทบริจาริกาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับพระราชทานยศและตำแหน่งทางทหาร รวมถึงชื่อ สินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ จากพระองค์ ครั้นพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสวยราชย์แล้ว ได้สถาปนาสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ ขึ้นเป็นพระสนม บรรดาศักดิ์ว่า เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562[5] ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถอดเจ้าคุณพระออกจากยศศักดิ์ทั้งหมด เนื่องจากทรงเห็นว่า มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ และมีความขัดแย้งกับสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีของพระองค์[6] อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ทรงคืนยศศักดิ์ให้ดังเดิม เพราะทรงเห็นว่า "มิได้เป็นผู้มีมลทินมัวหมอง"[7]
ประวัติ
เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี[8] เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2528 ณ ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ชื่อเมื่อเกิดว่า นิรมล อุ่นพรม เป็นธิดาของวิรัตน์ อุ่นพรม กับปราณี อุ่นพรม[9][10]
เจ้าคุณพระสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จาก โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ (ชื่อเดิม โรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์) ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม จังหวัดน่าน ระดับปริญญาตรี เข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก รุ่นที่ 41 จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2551[11] แล้วได้ทำงานเป็นพยาบาลประจำโรงพยาบาลอานันทมหิดลกองทัพบก[12]
ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เจ้าคุณพระได้เข้าร่วมขบวนพระบรมราชอิสริยยศเชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพไปยัง พระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ ในฐานะผู้บังคับแถวแซงเสด็จ ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ และออกคำสั่งให้ทหารกองเกียรติยศทำความเคารพและจัดระเบียบแถวทหารด้วยเสียงเฉียบขาด[13] นอกจากนี้ ยังปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งองครักษ์คู่เคียงพระบรมอัฐิ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยามถวายพระเกียรติพระบรมศพ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งแถวรับเสด็จขบวนพระบรมราชสรีรังคาร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560[ต้องการอ้างอิง]
เจ้าคุณพระ
วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพลตรีหญิง ท่านผู้หญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ ขึ้นเป็นเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี[14]
หลังได้รับการสถาปนาแล้ว เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ได้เดินทางไปเข้าถวายสักการะสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562[15] นับเป็นการปฏิบัติภารกิจครั้งแรกหลังเป็นเจ้าคุณพระ[16] นอกจากนี้ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณียังได้เป็นผู้แทนพระองค์ไปตรวจเยี่ยมและร่วมกิจกรรมจิตอาสาในจังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยมีข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด รวมถึงประชาชนจิตอาสา รอต้อนรับ[17] และในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เป็นรองประธานที่ปรึกษาโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[18]
อย่างไรก็ดี วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงถอดยศเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี จากยศศักดิ์ทั้งหมดและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้น เนื่องจากทรงเห็นว่า มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ และกระทำตนให้เทียบเท่าสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีของพระองค์ เพราะ "มุ่งหวังที่จะให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสถาปนาตนเองให้สูงขึ้นเทียบเท่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี"[6] แม้กระนั้น เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงคืนยศศักดิ์ทั้งหมดและพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ทุกชั้นกลับมาให้แก่เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ดังเดิม ด้วยทรงเห็นว่า "มิได้เป็นผู้มีมลทินมัวหมอง"[19][7]
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เป็นรองประธานที่ปรึกษาโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อีกครั้ง[20]
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ให้แก่ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ว่า "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี" (Chaokhun Phra Sineenatha Bilasakalyani) อ่านว่า "เจ้า - คุน - พระ - สิ - นี - นาด - พิ - ลาด - กัน - ละ - ยา - นี" ซึ่งมีความหมายว่า นางผู้เป็นที่พึ่งอันงดงาม เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติแห่งกุลสตรี[21]
เกียรติยศ
ธรรมเนียมยศของ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี | |
---|---|
ตราประจำตัว | |
การเรียน | ท่านเจ้าคุณ |
การแทนตน | กระผม/ดิฉัน |
การขานรับ | ครับผม/ค่ะ |
ชื่อและฐานันดรศักดิ์
- นิรมล อุ่นพรม (26 มกราคม พ.ศ. 2528 – ก่อน 1 กันยายน พ.ศ. 2558)
- สินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ (หลัง 1 กันยายน พ.ศ. 2558[22] – 30 เมษายน พ.ศ. 2562)
- ท่านผู้หญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ (30 เมษายน พ.ศ. 2562[5] – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
- เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[14] – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
- สินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ (20 ตุลาคม พ.ศ. 2562[6] – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563)
- เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี (28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2567)[19]
- เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี (17 สิงหาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[23]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[25]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)[26]
ยศทางทหาร
พลตรีหญิง เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2562[6] พ.ศ. 2563[19] – ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พลตรีหญิง |
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551: ร้อยตรีหญิง[27]
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553: ร้อยโทหญิง[28]
- 1 กันยายน พ.ศ. 2558: พันตรีหญิง[22]
- พ.ศ. 2559: พันโทหญิง[29]
- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559: พันเอกหญิง[30]
- พ.ศ. 2561[31]: พันเอก (พิเศษ) หญิง[8]
- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562: พลตรีหญิง[32]
- 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562: ถูกถอดยศทางทหาร[6]
- 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563: พลตรีหญิง[19]
- พ.ศ. 2567 (รอการประกาศ): พลโทหญิง
หน้าที่ทางราชการ
- พ.ศ. 2551: พยาบาลประจำแผนกห้องฉุกเฉิน กองการพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ากองทัพบก
- พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555: พยาบาลประจำแผนกอายุรกรรมหญิง กองการพยาบาลโรงพยาบาลอานันทมหิดลกองทัพบก[12]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555: เจ้าพนักงานในพระองค์ ตำแหน่ง ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน งานศิลปาชีพ 904 ฝ่ายกิจการพิเศษประจำราชสำนัก โครงการในพระองค์ฯ และการพระราชกุศลในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักพระราชวัง[12]
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 : ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส งานพระราชกุศล และพระราชานุเคราะห์และโครงการในพระองค์ ฝ่ายราชเลขานุการ กองกิจการในพระองค์สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักพระราชวัง[33]
- พ.ศ. 2558: ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองร้อยทหารมหาดเล็กหญิงราชวัลลภรักษาพระองค์ (๓) ศูนย์ฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพันตรี)
- พ.ศ. 2559: ดำรงตำแหน่งประจำหน่วยทหารทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพันโท)
- พ.ศ. 2559: ดำรงตำแหน่งประจำหน่วยทหารทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพันเอก)
- พ.ศ. 2559 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 : ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานการพระราชกุศลในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2560 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 : ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2561: ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันราชสำนัก กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพันเอกพิเศษ)
- พ.ศ. 2561: ดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการกรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพันเอกพิเศษ)
- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 : ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองปฏิบัติการกิจการราชสำนัก กรมกิจการวัง (อ) ทหารมหาดเล็ก ราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมฝ่ายเสนาธิการกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลตรี) ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้บังคับการ กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และผู้บังคับกองพันราชสำนัก กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[34]
ประสบการณ์ทางทหาร
ด้านการทหาร
- พ.ศ. 2557 สำเร็จหลักสูตรวิชาทหารอาสามหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ มวก.หญิง รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2557 สำเร็จการฝึกตามหลักสูตรหน่วยทหารทรหด
- พ.ศ. 2558 สำเร็จการฝึกหลักสูตร Combat Qualifying Course Jungle Warfare ของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2558 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ชั้นนายร้อย หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2558 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2560 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 95 ปีการศึกษา 2560
ด้านการฝึกหลักสูตรพิเศษ
- พ.ศ. 2558 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ รุ่นที่ 292 การศึกษาดีเด่น ได้แก่ กระโดดร่มตัวเปล่าในเวลากลางวัน และกระโดดร่มประกอบเครื่องสนามในเวลากลางวัน
- พ.ศ. 2560 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน ของโรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ด้วยการกระโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืน
- พ.ศ. 2560 ทบทวนหลักสูตรส่งทางอากาศส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ (การกระโดดร่มในเวลากลางคืน)
ด้านการบิน
- พ.ศ. 2561 ฝึกและศึกษาภาควิชาการบินของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศไทย (กำแพงแสน) ทำการฝึกบินกับเครื่องบิน บ.ฝ.16ก.
- ศึกษาหลักสูตร Private Pilot License (PPL) ณ โรงเรียนการบิน Jesenwang ประเทศเยอรมนี
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Official Biography of Royal Consort Released". The Nation (Thailand). 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Aunso (1 August 2019). "ประวัติและเส้นทางเกียรติยศ "เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี" สตรีตำแหน่งเจ้าคุณพระ ท่านที่สองของไทย [Luxury/History and paths of honour: Fame and History—"Chao Khun Sininat Pailan Kanlayani", Lady Chao Chao Phra, The Second Person in Thailand]". Praew (แพรว). สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- ↑ Thaitrakulpanich, Asaree (30 July 2019). "Rama X Names First Royal Consort in Almost a Century". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ Yuko, Elizabeth (29 August 2019). "Pictures of the Thai King's Consort Broke the Internet — But What's a Consort?". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าและเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). Royal Gazette. 136 (17 Khǒr): 1. 9 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 ประกาศ เรื่องให้ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารพ้นจากตำแห่นง ถอดฐานันดรศักดิ์และยศทหาร ตลอดจนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๕ ข. ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๒
- ↑ 7.0 7.1 "เจ้าคุณพระสินีนาฏฯ ได้รับโปรดเกล้าฯ คืนฐานันดรศักดิ์-เครื่องราชฯ ทุกชั้นตรา". บีบีซี. 2 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 "คนนี้ละเจ้าของเสียงคำสังที่เข้มแข็ง!!". KAOHIT. 26 ตุลาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระราชทานพวงมาลาหลวง ผาไตรพระราชทานและดอกไม้จันทน์ ในการศพนายวิรัตน์ อุ่นพรม". สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน. 28 มกราคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2561". สำนักงานสำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. 11 พฤศจิกายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-26. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ หนังสืออนุสรณ์พยาบาลกองทัพบกรุ่นที่ 41 ความทรงจำที่ไม่มีวันลืม หน้าที่ 40[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 14 ง): 8. 30 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คลายสงสัย...เสียงทหารหญิง ผู้ออกคำสั่งให้ทหารกองเกียรติยศทำความเคารพและจัดระเบียบแถวทหาร ณ พระเมรุมาศ ด้วยความเข้มแข็งและน่าเกรงขาม". tnews. 27 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 "ประกาศ เรื่อง สถาปนาเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (41 ข): 3. 28 กรกฎาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจ้าคุณพระสินีนาฏฯ ถวายสักการะ สมเด็จพระสังฆราช". มติชน. 11 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ปฏิบัติภารกิจครั้งแรก". Hello Magazine. 3 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โปรดเกล้าฯ "เจ้าคุณพระสินีนาฏ" ผู้แทนพระองค์ เยี่ยมจิตอาสา - เรือนจำบางขวาง
- ↑ "ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี ด้วยหัวใจ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (217 ง): 1–3. 29 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 "ประกาศเรื่อง แต่งตั้งให้ดำรงฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ "ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 138 (8 ง): 1–3. 11 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานชื่อใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ 22.0 22.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (30 ข): 20. 7 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าและเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๗ ข, ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๘ ข, ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๘ ข, ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าและเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๗ ข, ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (10 ข): 182. 14 สิงหาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-17. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (15 ข): 121. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นต่ำกว่านายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (1 ข): 2. 6 มกราคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล และแต่งตั้งข้าราชบริพารในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (24 ข): 1–2. 24 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-24. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (พิเศษ 27 ง): 15. 2 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล และแต่งตั้งข้าราชบริพารในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (24 ข): 1. 24 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-24. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือตั้งแต่ตุลาคม 2019
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2528
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- พระภรรยาในรัชกาลที่ 10
- ทหารบกชาวไทย
- พยาบาลชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1 (ร.10)
- ท่านผู้หญิง
- บุคคลจากจังหวัดน่าน