เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์
เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ (อังกฤษ: carbon dioxide scrubber) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มันถูกใช้ในการบำบัดแก๊สไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากอากาศที่ปล่อยออกในระบบการช่วยชีวิตเช่นเครื่องช่วยหายใจหรือในยานอวกาศ ในเรือดำน้ำหรือในห้องสุญญากาศ เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกใช้ในสถานที่จัดเก็บที่มีการควบคุมบรรยากาศอีกด้วย
เทคโนโลยี
[แก้]การฟอกด้วยแอมีน
[แก้]แอปพลิเคชันที่โดดเด่นสำหรับใช้ฟอก CO2 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัด CO2 ออกจากไอเสียของโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ ในทางทฤษฎี มีเพียงเทคโนโลยีเดียวเท่านั้นที่ถูกประเมินอย่างจริงจังคือเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้แอมีน (แอมีน, สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเกิดจากหมู่ไฮโดรคาร์บอนแทนที่ไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียเพียงหนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามอะตอมก็ได้ เช่น อะนิลีน C6H5NH2 ไดเมทิลอามีน (CH3)2NH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) ต่าง ๆ เช่น monoethanolamine สารละลายในขณะที่เย็นของสารอินทรีย์เหล่านี้จะผูกติดกับ CO2 แต่การผูกติดกันจะเป็นตรงกันข้ามที่อุณหภูมิสูง ตามสมการต่อไปนี้ :
- CO2 + 2 HOCH2CH2NH2 ↔ HOCH2CH2NH3+ + HOCH2CH2NH(CO2−)
ณ ปี ค.ศ. 2009 เทคโนโลยีนี้มีการดำเนินการเพียงเล็กน้อย อันเนื่องมาจากต้นทุนด้านเงินทุนของการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของการใช้ประโยชน์มันมีค่าสูง[1]
แร่ธาตุและซีโอไลต์
[แก้]แร่ธาตุต่าง ๆ และวัสดุคลัายแร่ผูกติดกับ CO2 แบบผกผัน[2] ที่พบบ่อยส่วนใหญ่ แร่ธาตุเหล่านี้เป็นออกไซด์และ CO2 มักจะถูกผูกติดกันเป็นคาร์บอเนต คาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับปูนขาว (แคลเซียมออกไซด์) ประกอบกันอยู่ในรูปของหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) [3] ในกระบวนการที่เรียกว่าการวนลูปคาร์บอเนต แร่ธาตุอื่น ๆ ได้แก่ serpentinite, แมกนีเซียมซิลิเกตไฮดรอกไซ และฟันม้าโอลิวีน[4][5] Molecular sieves ยังคงทำงานในหน้าที่นี้อีกด้วย
กระบวนการฟอกต่าง ๆ ได้รับการนำเสนอในการกำจัด CO2 ออกจากอากาศหรือจากแก๊สปล่องควัน กระบวนการเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการคราฟท์ที่แตกต่างกัน กระบวนการฟอกอาจจะขึ้นอยู่กับโซดาไฟ (sodium hydroxide)[6][7] CO2 จะถูกดูดซึมเข้าสู่สารละลาย จากนั้นก็ถูกถ่ายเทเข้าสู่ปูนขาวผ่านกระบวนการที่เรียกว่า causticization แล้วปล่อยเข้าไปในเตาเผา ด้วยการปรับเปลี่ยนบางอย่างให้เป็นกระบวนการที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่กับเตาเผาที่ยิงด้วยออกซิเจนผลลัพธ์สุดท้ายคือกระแสเข้มข้นของ CO2 ที่พร้อมสำหรับการจัดเก็บหรือการใช้ในเชื้อเพลิง ทางเลือกหนึ่งสำหรับกระบวนการความร้อนสารเคมีนี้เป็นหนึ่งที่ใช้ไฟฟ้าที่แรงดันขนาดหนึ่งจะถูกใส่คร่อมสารละลายคาร์บอเนตเพื่อที่จะปล่อยแก๊ส CO2 ในขณะที่กระบวนการทางไฟฟ้าที่ง่ายกว่านี้จะบริโภคพลังงานมากขึ้นเนื่องจากมันแยกน้ำออกมาในเวลาเดียวกัน เนื่องจากมันขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้า, ไฟฟ้าจำเป็นต้องเป็นแบบหมุนเวียนเช่นเซลล์แสงอาทิตย์ มิฉะนั้น CO2 ที่ผลิตในระหว่างการผลิตไฟฟ้าจะต้องนำมาพิจารณาด้วย การกลับชาติมาเกิดในช่วงต้นของการดักจับในอากาศที่ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้น มันจึงขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตที่เป็นคาร์บอนฟรี ระบบการดักจับในอากาศร้อนจะใช้ความร้อนที่ผลิตขึ้นในสถานที่ ซึ่งจะช่วยลดความไร้ประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้านอกสถานที่ แต่แน่นอนมันยังคงต้องการแหล่งที่มาของความร้อน (ที่เป็นคาร์บอนฟรี) พลังงานแสงอาทิตย์เข้มข้นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของแหล่งที่มาของความร้อนดังกล่าว[8]
โซเดียมไฮดรอกไซด์
[แก้]Zeman และ Lackner ได้อธิบายวิธีการเฉพาะของการดักจับในอากาศดังนี้[9]
สิ่งแรก CO2 จะถูกดูดซึมโดยสารละลาย NaOH อัลคาไลน์เพื่อผลิตโซเดียมคาร์บอเนตเหลว ปฏิกิริยาการดูดซึมเป็นปฏิกิริยาแก๊สของเหลวชนิดหนึ่ง มีการคายความร้อนอย่างรุนแรง ตามสมการดังนี้ :
- 2NaOH(aq) + CO2(g) → Na2CO3(aq) + H2O(l)
- Na2CO3(aq) + Ca(OH)2(s) →-> 2NaOH(aq) + CaCO3(s)
- ΔH° = -5.3 kJ/mol
กระบวนการ Causticization จะดำเนินการอย่างทั่วไปในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษพร้อมกับทำการโอน 94% ของคาร์บอเนตไอออนจากโซเดียมไปยังแคลเซียมไอออนบวก[9] ต่อมาตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจะถูกกรองจากสารละลายและการย่อยสลายความร้อนเพื่อผลิตแก๊ส CO2 ปฏิกิริยาการเผาให้แตกตัวเป็นเพียงปฏิกิริยาดูดความร้อนในกระบวนการและแสดงให้เห็นตามสมการต่อไปนี้ :
- CaCO3(s) → CaO(s) + CO2(g)
- ΔH° = + 179.2 kJ/mol
การสลายตัวทางความร้อนของแคลเซียมคาร์บอเนตจะดำเนินการในเตาเผาปูนที่ใช้เชื้อเพลิงออกซิเจนเพิ่อที่จะหลีกเลี่ยงขั้นตอนแยกแก๊สเพิ่มเติม กระบวนการ Lime hydration (CaO) จะทำให้วงรอบเสร็จสมบูรณ์ กระบวนการ Lime hydration เป็นปฏิกิริยาคายความร้อนแบบหนึ่งที่สามารถดำเนินการกับน้ำหรือไอน้ำ การใช้น้ำเป็นปฏิกิริยาของเหลว/ของแข็ง ดังที่แสดงต่อไปนี้:
- CaO(s) + H2O(l) → Ca(OH)2(s)
- ΔH° = -64.5 kJ/mol
ลิเทียมไฮดรอกไซด์
[แก้]เบส (เคมี) ที่แข็งแกร่งอื่น ๆ เช่น soda lime, โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, และลิเทียมไฮดรอกไซด์ มีความสามารถที่จะกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกโดยการทำปฏิกิริยาเคมีกับมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิเทียมไฮดรอกไซด์ถูกนำมาใช้บนยานอวกาศ เช่นในโครงการอะพอลโล เพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ มันทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อทำให้เป็นลิเทียมคาร์บอเนต[10]:
- 2 LiOH(s) + 2 H2O(g) → 2 LiOH·H2O(s)
- 2 LiOH·H2O(s) + CO2(g) → Li2CO3(s) + 3 H2O(g)
ปฏิกิริยาสุทธิเป็น:
- 2LiOH(s) + CO2(g) → Li2CO3(s) + H2O(g)
นอกจากนี้ลิเทียมเปอร์ออกไซด์ยังสามารถนำมาใช้เนื่องจากมันดูดซับ CO2 ต่อหน่วยน้ำหนักมากกว่า และมีประโยชน์ในการปล่อยออกซิเจนเพิ่มขึ้น[11]
ระบบการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์แบบปฏิรูป
[แก้]ระบบการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์แบบปฏิรูป (อังกฤษ: The regenerative carbon dioxide removal system (RCRS)) บนยานกระสวยอวกาศจะใช้ระบบสอง-เตียงที่ทำการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่องโดยปราศจากผลิตภัณฑ์ไม่ควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้ ระบบที่สามารถปฏิรูปได้จะยอมให้ภารกิจกระสวยอวกาศสามารถยังคงอยู่ในอวกาศได้นานขึ้นโดยไม่ต้องเติมสารดูดซับเพิ่ม ระบบที่ใช้ลิเทียมไฮดรอกไซด์ (LiOH) แบบเก่าซึ่งเป็นแบบปฏิรูปไม่ได้จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่ใช้โลหะออกไซด์ที่ปฏิรูปได้ ระบบที่ใช้โลหะออกไซด์เบื้องต้นประกอบไปด้วยตัวดูดซับโลหะออกไซด์และแท่นเครื่องตัวปฏิรูป มันทำงานโดยการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้วัสดุดูดซับ จากนั้นทำการปฏิรูปวัสดุดูดซับนั้น สารดูดซับโลหะออกไซด์จะถูกปฏิรูปโดยการสูบอากาศที่อุณหภูมิประมาณ 400 องศาฟาเรนไฮต์ (204 องศาเซลเซียส) ผ่านตัวมันที่อัตราการไหลมาตรฐานที่ 7.5 ลูกบาศก์ฟุต/นาที (0.0035 m3/s) เป็นเวลา 10 ชั่วโมง[12]
ถ่านกัมมันต์
[แก้]ถ่านกัมมันต์ (อังกฤษ: Activated carbon) (ถ่านสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง [สิ่งแวดล้อม] มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับการดูดซับหรือทำปฏิกริยาทางเคมี) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ได้ อากาศที่มีเนื้อหาของคาร์บอนไดออกไซด์สูง เช่นอากาศจากสถานที่จัดเก็บผลไม้ จะถูกเป่าผ่านเตียงของถ่านกัมมันต์ คาร์บอนไดออกไซด์ก็จะดูดซับโดยถ่านกัมมันต์ หลังจากที่เตียงอิ่มตัว มันจะต้องถูก "ปฏิรูป" โดยการเป่าลมที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณต่ำ เช่นอากาศในธรรมชาติ ผ่านเตียง นี้จะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้หลุดจากเตียง จากนั้นมันจะสามารถนำกลับมาใช้ฟอกได้อีกครั้ง ค่าสุทธิของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหลือในอากาศจะเท่ากับเมื่อกระบวนการนี้เริ่มต้น
วิธีการอื่น ๆ
[แก้]มีวิธีการและวัสดุอื่น ๆ อีกมากมายที่ได้รับการกล่าวถึงสำหรับการฟอกคาร์บอนไดออกไซด์
- การดูดซับ[13]
- การสังเคราะห์แสง เช่น การจมคาร์บอนด้วยสาหร่าย (อังกฤษ: Algae based carbon sink)
- การแยกแก๊สด้วยพอลิเมอร์เมมเบรน (อังกฤษ: Polymer membrane gas separator)
- การแลกเปลี่ยนความร้อนแบบย้อนกลับ (อังกฤษ: Reversing heat exchangers)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gary T. Rochelle (2009). "Amine Scrubbing for CO2 Capture". Science. 325 (5948): 1652. Bibcode:2009Sci...325.1652R. doi:10.1126/science.1176731.
- ↑ Sunho Choi; Jeffrey H. Drese; Christopher W. Jones (2009). "Adsorbent Materials for Carbon Dioxide Capture from Large Anthropogenic Point Sources". ChemSusChem. 2 (9): 796–854. doi:10.1002/cssc.200900036. PMID 19731282.
- ↑ "Imagine No Restrictions On Fossil-Fuel Usage And No Global Warming". ScienceDaily. April 15, 2002.
- ↑ "Natural Mineral Locks Up Carbon Dioxide". Sciencedaily. September 3, 2004. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-08-24.
- ↑ Kenneth Chang (February 19, 2008). "Scientists would turn greenhouse gas into gasoline". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.
- ↑ "Chemical 'sponge' could filter CO2 from the air – environment". New Scientist. October 3, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.
- ↑ "Can technology clear the air? – environment". New Scientist. January 12, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.
- ↑ 9.0 9.1 F. S. Zeman; K. S. Lackner (2004). "Capturing carbon dioxide directly from the atmosphere". World Resour. Rev. 16: 157–172.
- ↑ J.R. Jaunsen (1989). "The Behavior and Capabilities of Lithium Hydroxide Carbon Dioxide Scrubbers in a Deep Sea Environment". US Naval Academy Technical Report. USNA-TSPR-157. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-17.
- ↑ doi:10.1002/14356007.a04_011.pub2
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ "Carbon Dioxide Removal". Hamilton Sundstrand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
The new metal-oxide-based system replaces the existing non-regenerable lithium hydroxide (LiOH) carbon dioxide (CO2) removal system located in the EMU’s Primary Life Support System.
- ↑ "Adsorption and Desorption of CO2 on Solid Sorbents" (PDF). netl.doe.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-25.